แท็ก
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เขื่อนรัชชประภา
ภาษีโรงเรือน
คณะรัฐมนตรี
ตำบล
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ลดหย่อนค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ปี พ.ศ. 2549 ของเขื่อนรัชชประภา ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน คำนวณไว้จากค่ารายปี 62,090,046.24 บาท และค่าภาษี ฯ 7,761,225.78 บาท เป็นค่ารายปี 20,003,044 บาท และค่าภาษี ฯ 2,500,380.50 บาท ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ทั้งนี้ ให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สำหรับความเห็นของกระทรวงการคลังนั้น กระทรวงการคลังเห็นด้วยกับแนวทางการประเมินของ กฟผ. ซึ่งใช้แนวทางคำพิพากษาฎีกา 6337/2539 ในการประเมินค่ารายปีเครื่องจักร แต่อย่างไรก็ตาม ที่ กฟผ. คำนวณเป็นการคำนวณค่ารายปีในส่วนที่เป็นเครื่องจักรเพียงอย่างเดียว จึงยังไม่สอดคล้องกับมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 ซึ่งกำหนดให้เจ้าของโรงเรือนที่ตั้งส่วนควบที่เป็นเครื่องจักรให้ลดค่ารายปีลงเหลือ 1 ใน 3 ของค่ารายปีขอทรัพย์สินนั้น รวมทั้งส่วนควบดังกล่าว จึงควรที่จะประเมินในส่วนที่เป็นอาคารโรงไฟฟ้าด้วย
คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความเห็นดังนี้
1. กรณีขอลดหย่อนค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของเขื่อนรัชชประภา กฟผ. ที่มีการคิดคำนวณค่ารายปีของอาคารโรงไฟฟ้าและค่าเครื่องจักรที่แตกต่างกัน เป็นประเด็นในลักษณะเดียวกับที่ กฟผ.ได้เคยเสนอขอลดหย่อนภาษีโรงเรือนและที่ดิน ปี พ.ศ. 2544 ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพังได้ประเมินไว้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2545 ได้มีมติรับทราบแนวทางการคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามข้อตกลงระหว่างกรมการปกครอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี กฟผ. องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพัง โดยการคำนวณค่ารายปีเครื่องจักรไฟฟ้าให้นำมูลค่าของเครื่องจักรผลิตพลังงานไฟฟ้าที่หักค่าเสื่อมราคาแล้วมาคำนวณหาประโยชน์จากการนำเงินไปฝากสถาบันการเงิน หรือซื้อเป็นพันธบัตรของรัฐบาล หรือนำไปให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยที่เป็นประโยชน์สูงสุด และนำค่ารายปีที่ได้มาลดหย่อน 1 ใน 3 เพื่อนำไปคำนวณอัตราภาษีในอัตราร้อยละ 12.5 แต่ภายหลังได้มีการยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพังเข้ากับเทศบาลตำบลเขาพังเป็นเทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน ทำให้การประเมินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินในปี พ.ศ. 2549 เปลี่ยนแปลงไป จึงเห็นสมควรใช้แนวทางตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้วเป็นแนวทางในการคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดิน ในปี พ.ศ. 2549
2. กรณีปัญหาการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน เกิดจากการคำนวณค่ารายปีที่ผู้จัดเก็บและผู้เสียภาษี มีความเห็นไม่ตรงกันและไม่มีแนวทางการประเมินที่ชัดเจน จึงเป็นสาเหตุให้มีการเสนอเรื่องทำนองเดียวกันนี้ให้ คณะรัฐมนตรีพิจารณา ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวและให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแสวงหารายได้ที่จัดเก็บเองเพิ่มขึ้น ลดการพึ่งพารายได้และเงินอุดหนุนจากรัฐบาล จึงเห็นสมควรเร่งรัดให้มีการบังคับกฎหมายว่าด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--
สำหรับความเห็นของกระทรวงการคลังนั้น กระทรวงการคลังเห็นด้วยกับแนวทางการประเมินของ กฟผ. ซึ่งใช้แนวทางคำพิพากษาฎีกา 6337/2539 ในการประเมินค่ารายปีเครื่องจักร แต่อย่างไรก็ตาม ที่ กฟผ. คำนวณเป็นการคำนวณค่ารายปีในส่วนที่เป็นเครื่องจักรเพียงอย่างเดียว จึงยังไม่สอดคล้องกับมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 ซึ่งกำหนดให้เจ้าของโรงเรือนที่ตั้งส่วนควบที่เป็นเครื่องจักรให้ลดค่ารายปีลงเหลือ 1 ใน 3 ของค่ารายปีขอทรัพย์สินนั้น รวมทั้งส่วนควบดังกล่าว จึงควรที่จะประเมินในส่วนที่เป็นอาคารโรงไฟฟ้าด้วย
คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความเห็นดังนี้
1. กรณีขอลดหย่อนค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของเขื่อนรัชชประภา กฟผ. ที่มีการคิดคำนวณค่ารายปีของอาคารโรงไฟฟ้าและค่าเครื่องจักรที่แตกต่างกัน เป็นประเด็นในลักษณะเดียวกับที่ กฟผ.ได้เคยเสนอขอลดหย่อนภาษีโรงเรือนและที่ดิน ปี พ.ศ. 2544 ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพังได้ประเมินไว้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2545 ได้มีมติรับทราบแนวทางการคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามข้อตกลงระหว่างกรมการปกครอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี กฟผ. องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพัง โดยการคำนวณค่ารายปีเครื่องจักรไฟฟ้าให้นำมูลค่าของเครื่องจักรผลิตพลังงานไฟฟ้าที่หักค่าเสื่อมราคาแล้วมาคำนวณหาประโยชน์จากการนำเงินไปฝากสถาบันการเงิน หรือซื้อเป็นพันธบัตรของรัฐบาล หรือนำไปให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยที่เป็นประโยชน์สูงสุด และนำค่ารายปีที่ได้มาลดหย่อน 1 ใน 3 เพื่อนำไปคำนวณอัตราภาษีในอัตราร้อยละ 12.5 แต่ภายหลังได้มีการยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพังเข้ากับเทศบาลตำบลเขาพังเป็นเทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน ทำให้การประเมินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินในปี พ.ศ. 2549 เปลี่ยนแปลงไป จึงเห็นสมควรใช้แนวทางตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้วเป็นแนวทางในการคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดิน ในปี พ.ศ. 2549
2. กรณีปัญหาการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน เกิดจากการคำนวณค่ารายปีที่ผู้จัดเก็บและผู้เสียภาษี มีความเห็นไม่ตรงกันและไม่มีแนวทางการประเมินที่ชัดเจน จึงเป็นสาเหตุให้มีการเสนอเรื่องทำนองเดียวกันนี้ให้ คณะรัฐมนตรีพิจารณา ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวและให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแสวงหารายได้ที่จัดเก็บเองเพิ่มขึ้น ลดการพึ่งพารายได้และเงินอุดหนุนจากรัฐบาล จึงเห็นสมควรเร่งรัดให้มีการบังคับกฎหมายว่าด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--