คณะรัฐมนตรีพิจารณาการขอสนับสนุนจากรัฐเพื่อดำเนินการ “โครงการบ้านมั่นคง” ตามที่กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแล้วมีมติเห็นชอบ ดังนี้
1. ให้กระทรวงการคลังจัดแหล่งเงินในการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐ (Mega Project) ซึ่งประกอบด้วย
1.1 วงเงินอุดหนุนทั่วไปจากรัฐบาล สำหรับการปรับปรุง/พัฒนาระบบสาธารณูปโภคชุมชน ขณะนี้มีโครงการที่มีความพร้อมจะดำเนินการตามแผนปี 2548 จำนวน 19,248 หน่วย มีวงเงินที่พร้อมจะเบิกจ่ายภายในเดือนธันวาคม 2548 จำนวน 1,276 ล้านบาท และกรอบวงเงินงบประมาณอุดหนุนทั่วไปเพื่อดำเนินการของโครงการบ้านมั่นคง ปี 2549 จำนวน 99,252 หน่วย วงเงินรวม 4,096 ล้านบาท และเพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ ที่เหลือจนถึง ปี 2552 อีกจำนวน 13,555 ล้านบาท ดังนี้ (1) ปี 2550 เป้าหมาย 80,000 หน่วย วงเงินรวม 5,094 ล้านบาท (2) ปี 2551 เป้าหมาย 85,000 หน่วย วงเงินรวม 5,588 ล้านบาท (3) ปี 2552 ผูกพันงบประมาณการเบิกจ่ายวงเงินรวม 2,873 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในกรณีมีความจำเป็นเพื่อให้การดำเนินโครงการสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ หรือที่มีความเร่งด่วน ขอให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินอุดหนุนให้ก่อนหรือให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เบิกจ่ายจากกองทุน พอช. ไปก่อน และให้กระทรวงการคลังจัดงบประมาณคืนให้สำนักงบประมาณหรือสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนต่อไป
1.2 วงเงินสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแผนปฏิบัติการโครงการบ้านมั่นคง (พ.ศ. 2548-2551) ซึ่งคาดว่ามีความต้องการวงเงินประมาณรวม 34,200 ล้านบาท โดยขอความเห็นชอบในความร่วมมือให้สถาบันการเงินของรัฐสนับสนุนการให้สินเชื่อ เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยแก่ชุมชนตามโครงการ “บ้านมั่นคง” ในลักษณะการให้กู้แบบกลุ่มหรือแก่สหกรณ์ของชุมชน
2. ให้หน่วยงานให้ความร่วมมือในการผ่อนปรน การยกเว้นกฎระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงาน โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย ที่เป็นข้อจำกัดในการพัฒนาโครงการในเรื่องเกี่ยวกับเทศบัญญัติควบคุมและก่อสร้างอาคาร และทะเบียนบ้านถาวร โดยให้หน่วยงานให้การสนับสนุน ตลอดจนในเรื่องของที่ดินสาธารณะเพื่อรองรับการอยู่อาศัยของชุมชน เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการบ้านมั่นคงตามนโยบายของรัฐให้ลุล่วงไปได้ โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธาน เพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
3. ให้หน่วยงานเจ้าของที่ดินทั้งราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรของรัฐโดยเฉพาะที่มีชุมชนแออัดอาศัยอยู่ในที่ดินของหน่วยงานเป็นจำนวนมาก เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมการศาสนา กรมเจ้าท่า ให้การสนับสนุนการใช้ที่ดิน รวมทั้งการให้สิทธิการเช่าระยะยาว หรือจัดหาที่ดินรองรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มั่นคงของชุมชน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่าได้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการ กลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายการท่องเที่ยว กีฬา พุทธศาสนา แรงงานและการพัฒนาสังคม) เมื่อวันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2548 ที่มีมติให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนประสานกับสำนักงบประมาณให้ได้ข้อยุติในส่วนของค่าใช้จ่ายที่จะใช้ดำเนินการจริงในการดำเนินโครงการปีงบประมาณ 2548 และปี 2549 รวมทั้งรายละเอียดวงเงินที่เพิ่มขึ้น หากรัฐต้องอุดหนุนส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในส่วนของสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2 พร้อมทั้งสรุปผลการประเมินผล “โครงการบ้านมั่นคง” รวมทั้งการประสานกับหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ แล้วดังนี้
1. สำนักงบประมาณและสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้ประชุมร่วมกัน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธาน เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2548 ผลการประชุมสรุปว่า เรื่องโครงการบ้านมั่นคงเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐ (Mega Project) ดังนั้น จึงเห็นควรให้เสนอการใช้จ่ายงบประมาณภายใต้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐ ดังนี้
1.1 ที่ประชุมเห็นชอบแผนปฏิบัติการที่พร้อมจะดำเนินการ 19,248 หน่วย มีวงเงินอุดหนุนที่พร้อมจะเบิกจ่ายภายในเดือนธันวาคม 2548 จำนวน 1,276 ล้านบาท และกรอบการดำเนินงานในปี 2549 จำนวน 99,252 หน่วย จำนวนเงินอุดหนุน 4,096 ล้านบาท โดยรายละเอียดของวงเงินเบิกจ่ายจริงในปี 2549 จะเสนอต่อกระทรวงการคลังต่อไป
1.2 ในเรื่องเงินอุดหนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัย มีข้อสรุปว่าควรให้เป็นการอุดหนุนตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติตามแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาชุมชนแออัดบ้านมั่นคงปี 2548-2551 ไว้แล้ว (เฉลี่ยจำนวนหน่วยละ 20,000 บาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินอุดหนุนหน่วยละ 68,000 บาท) เพื่อให้ดำเนินโครงการได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และสามารถเชื่อมโยงกับระบบของสถาบันการเงินในการให้สินเชื่อกับชุมชน
2. ในส่วนของการประเมินผลการดำเนินงาน “โครงการบ้านมั่นคง” สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้จัดทำการประเมินผลโครงการบ้านมั่นคง โดยได้ว่าจ้างคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำการประเมินผลโครงการเรียบร้อยแล้ว และได้นำเสนอเป็นเอกสารแนบในการเสนอแผนปฏิบัติการพัฒนาชุมชนแออัด 4 ปี (พ.ศ. 2548 -2551) ต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2548 แล้ว
3. การประสานกับหน่วยงานท้องถิ่นนั้น ในการดำเนินโครงการบ้านมั่นคง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ได้ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการร่วมดำเนินโครงการ โดยในแต่ละเมืองได้สนับสนุนให้เกิดกลไกการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในแต่ละเมืองซึ่งในหลายเมืองมีนายกเทศมนตรีเป็นประธานคณะทำงาน นอกจากนี้ได้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการความร่วมมือขององค์กรท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนแออัด ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ในวันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2548 ที่ผ่านมา
4. ขอให้หน่วยงานเจ้าของที่ดินทั้งราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรของรัฐ โดยเฉพาะที่มีชุมชนแออัดอาศัยอยู่ในที่ดินของหน่วยงานเป็นจำนวนมาก เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมการศาสนา กรมเจ้าท่า ให้การสนับสนุนการใช้ที่ดิน รวมทั้งการให้สิทธิการเช่าระยะยาว หรือจัดหาที่ดินรองรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มั่นคงของชุมชน
เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 4 ตุลาคม 2548 อนุมัติให้โครงการบ้านมั่นคงเป็นส่วนหนึ่งของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐ (Mega Project) สาขาที่อยู่อาศัย เพื่อให้การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจนเป็นไปอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ส่วนเรื่องงบประมาณให้นำเสนอเข้าคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวมีแหล่งเงินสนับสนุนชัดเจน รวมทั้งสนับสนุนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่าง ๆ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. ให้กระทรวงการคลังจัดแหล่งเงินในการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐ (Mega Project) ซึ่งประกอบด้วย
1.1 วงเงินอุดหนุนทั่วไปจากรัฐบาล สำหรับการปรับปรุง/พัฒนาระบบสาธารณูปโภคชุมชน ขณะนี้มีโครงการที่มีความพร้อมจะดำเนินการตามแผนปี 2548 จำนวน 19,248 หน่วย มีวงเงินที่พร้อมจะเบิกจ่ายภายในเดือนธันวาคม 2548 จำนวน 1,276 ล้านบาท และกรอบวงเงินงบประมาณอุดหนุนทั่วไปเพื่อดำเนินการของโครงการบ้านมั่นคง ปี 2549 จำนวน 99,252 หน่วย วงเงินรวม 4,096 ล้านบาท และเพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ ที่เหลือจนถึง ปี 2552 อีกจำนวน 13,555 ล้านบาท ดังนี้ (1) ปี 2550 เป้าหมาย 80,000 หน่วย วงเงินรวม 5,094 ล้านบาท (2) ปี 2551 เป้าหมาย 85,000 หน่วย วงเงินรวม 5,588 ล้านบาท (3) ปี 2552 ผูกพันงบประมาณการเบิกจ่ายวงเงินรวม 2,873 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในกรณีมีความจำเป็นเพื่อให้การดำเนินโครงการสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ หรือที่มีความเร่งด่วน ขอให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินอุดหนุนให้ก่อนหรือให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เบิกจ่ายจากกองทุน พอช. ไปก่อน และให้กระทรวงการคลังจัดงบประมาณคืนให้สำนักงบประมาณหรือสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนต่อไป
1.2 วงเงินสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแผนปฏิบัติการโครงการบ้านมั่นคง (พ.ศ. 2548-2551) ซึ่งคาดว่ามีความต้องการวงเงินประมาณรวม 34,200 ล้านบาท โดยขอความเห็นชอบในความร่วมมือให้สถาบันการเงินของรัฐสนับสนุนการให้สินเชื่อ เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยแก่ชุมชนตามโครงการ “บ้านมั่นคง” ในลักษณะการให้กู้แบบกลุ่มหรือแก่สหกรณ์ของชุมชน
2. ให้หน่วยงานให้ความร่วมมือในการผ่อนปรน การยกเว้นกฎระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงาน โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย ที่เป็นข้อจำกัดในการพัฒนาโครงการในเรื่องเกี่ยวกับเทศบัญญัติควบคุมและก่อสร้างอาคาร และทะเบียนบ้านถาวร โดยให้หน่วยงานให้การสนับสนุน ตลอดจนในเรื่องของที่ดินสาธารณะเพื่อรองรับการอยู่อาศัยของชุมชน เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการบ้านมั่นคงตามนโยบายของรัฐให้ลุล่วงไปได้ โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธาน เพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
3. ให้หน่วยงานเจ้าของที่ดินทั้งราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรของรัฐโดยเฉพาะที่มีชุมชนแออัดอาศัยอยู่ในที่ดินของหน่วยงานเป็นจำนวนมาก เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมการศาสนา กรมเจ้าท่า ให้การสนับสนุนการใช้ที่ดิน รวมทั้งการให้สิทธิการเช่าระยะยาว หรือจัดหาที่ดินรองรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มั่นคงของชุมชน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่าได้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการ กลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายการท่องเที่ยว กีฬา พุทธศาสนา แรงงานและการพัฒนาสังคม) เมื่อวันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2548 ที่มีมติให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนประสานกับสำนักงบประมาณให้ได้ข้อยุติในส่วนของค่าใช้จ่ายที่จะใช้ดำเนินการจริงในการดำเนินโครงการปีงบประมาณ 2548 และปี 2549 รวมทั้งรายละเอียดวงเงินที่เพิ่มขึ้น หากรัฐต้องอุดหนุนส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในส่วนของสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2 พร้อมทั้งสรุปผลการประเมินผล “โครงการบ้านมั่นคง” รวมทั้งการประสานกับหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ แล้วดังนี้
1. สำนักงบประมาณและสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้ประชุมร่วมกัน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธาน เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2548 ผลการประชุมสรุปว่า เรื่องโครงการบ้านมั่นคงเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐ (Mega Project) ดังนั้น จึงเห็นควรให้เสนอการใช้จ่ายงบประมาณภายใต้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐ ดังนี้
1.1 ที่ประชุมเห็นชอบแผนปฏิบัติการที่พร้อมจะดำเนินการ 19,248 หน่วย มีวงเงินอุดหนุนที่พร้อมจะเบิกจ่ายภายในเดือนธันวาคม 2548 จำนวน 1,276 ล้านบาท และกรอบการดำเนินงานในปี 2549 จำนวน 99,252 หน่วย จำนวนเงินอุดหนุน 4,096 ล้านบาท โดยรายละเอียดของวงเงินเบิกจ่ายจริงในปี 2549 จะเสนอต่อกระทรวงการคลังต่อไป
1.2 ในเรื่องเงินอุดหนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัย มีข้อสรุปว่าควรให้เป็นการอุดหนุนตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติตามแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาชุมชนแออัดบ้านมั่นคงปี 2548-2551 ไว้แล้ว (เฉลี่ยจำนวนหน่วยละ 20,000 บาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินอุดหนุนหน่วยละ 68,000 บาท) เพื่อให้ดำเนินโครงการได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และสามารถเชื่อมโยงกับระบบของสถาบันการเงินในการให้สินเชื่อกับชุมชน
2. ในส่วนของการประเมินผลการดำเนินงาน “โครงการบ้านมั่นคง” สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้จัดทำการประเมินผลโครงการบ้านมั่นคง โดยได้ว่าจ้างคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำการประเมินผลโครงการเรียบร้อยแล้ว และได้นำเสนอเป็นเอกสารแนบในการเสนอแผนปฏิบัติการพัฒนาชุมชนแออัด 4 ปี (พ.ศ. 2548 -2551) ต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2548 แล้ว
3. การประสานกับหน่วยงานท้องถิ่นนั้น ในการดำเนินโครงการบ้านมั่นคง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ได้ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการร่วมดำเนินโครงการ โดยในแต่ละเมืองได้สนับสนุนให้เกิดกลไกการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในแต่ละเมืองซึ่งในหลายเมืองมีนายกเทศมนตรีเป็นประธานคณะทำงาน นอกจากนี้ได้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการความร่วมมือขององค์กรท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนแออัด ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ในวันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2548 ที่ผ่านมา
4. ขอให้หน่วยงานเจ้าของที่ดินทั้งราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรของรัฐ โดยเฉพาะที่มีชุมชนแออัดอาศัยอยู่ในที่ดินของหน่วยงานเป็นจำนวนมาก เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมการศาสนา กรมเจ้าท่า ให้การสนับสนุนการใช้ที่ดิน รวมทั้งการให้สิทธิการเช่าระยะยาว หรือจัดหาที่ดินรองรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มั่นคงของชุมชน
เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 4 ตุลาคม 2548 อนุมัติให้โครงการบ้านมั่นคงเป็นส่วนหนึ่งของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐ (Mega Project) สาขาที่อยู่อาศัย เพื่อให้การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจนเป็นไปอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ส่วนเรื่องงบประมาณให้นำเสนอเข้าคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวมีแหล่งเงินสนับสนุนชัดเจน รวมทั้งสนับสนุนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่าง ๆ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--