คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามปฏิบัติการรวมพลังไทยทั้งชาติขจัดยาเสพติด ระหว่างวันที่ 1-7 เมษายน 2549 สรุปได้ดังนี้
ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) ได้กำหนดห้วงเวลาการรายงานผลการปฏิบัติการฯ ทุก 7 วัน เพื่อสามารถรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรี และ ศตส. ให้ทันวงรอบการประชุมในแต่ละสัปดาห์ รายงานฉบับนี้ เป็นครั้งที่ 1 โดยทุกจังหวัดรายงานอย่างครบถ้วน และสามารถจำแนกเป็นผลการดำเนินงานรายมาตรการ ดังนี้
สรุปผลการดำเนินการในแต่ละมาตรการ
ด้าน Supply เป้าหมายการดำเนินงานด้าน supply แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
ลักษณะที่ 1 เป้าหมายที่เป็นบุคคลประกอบด้วยเป้าหมายที่เป็นนักค้ารายสำคัญ นักค้ารายย่อย การยึดทรัพย์สิน นักค้าที่หลบหนีหมายจับ รวมทั้งข้อมูลที่ได้รับจากการแจ้งข่าวสารของประชาชน ซึ่ง ศตส. ได้กำหนดเป้าหมายแต่ละประเภทอย่างชัดเจน โดยในห้วงที่ 1 แทบทุกจังหวัดสามารถดำเนินการได้ตามลำดับโดยเฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 2
ลักษณะที่ 2 เป้าหมายที่เป็นพื้นที่ ซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 พื้นที่ :
พื้นที่หมู่บ้านตามแนวชายแดนโดยกำหนดพื้นที่ 22 จังหวัด 50 อำเภอ 426 หมู่บ้านตามแนวชายแดนเป็นพื้นที่เป้าหมาย โดยได้ดำเนินการใน 206 หมู่บ้าน/ชุมชน โดยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เป้าหมายของแผนฯ
พื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนที่ปรากฏปัญหายาเสพติด มีเป้าหมาย 3,764 หมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ จำนวน 154 หมู่บ้าน/ชุมชน หรือคิดเป็นร้อยละ 4 ของเป้าหมายทั้งหมด หากสามารถดำเนินการตามอัตราส่วนนี้ จะสามารถดำเนินการครบตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนฯ
ด้าน Demand ในห้วงที่ 1 จำนวน 25 จังหวัด มีการ Re-x- ray ผู้เสพยาเสพติด สามารถค้นพบผู้เสพยาเสพติดประมาณ 1,206 ราย ขณะเดียวกันการบำบัดรักษาในระบบบังคับ ฯ มีจำนวน 830 ราย มากกว่าระบบสมัครใจที่มีประมาณ 159 ราย คิดเป็นผลการดำเนินงาน ร้อยละ 6.69 และ ร้อยละ 2.79 ของเป้าหมายทั้งหมดตามลำดับ
ด้าน Potential Demand ในห้วงที่ 1 มีการดำเนินการในสถานบันเทิง 52 จังหวัด ตรวจปัสสาวะพบสารเสพติด 770 ราย หอพักดำเนินการใน 36 จังหวัด แหล่งมั่วสุมดำเนินการใน 42 จังหวัด และร้านเกมส์/อินเตอร์เน็ต 42 จังหวัด หน่วยงานในระดับพื้นที่ยังคงให้ความสำคัญต่อการจัดระเบียบสังคม และหากรักษาอัตราการดำเนินการต่อไปจะเป็นการป้องปรามและขจัดปัญหายาเสพติดตามแหล่งมั่วสุมได้
สำหรับการดำเนินการในสถานศึกษาดำเนินการได้ 29 จังหวัด นอกสถานศึกษา 9 จังหวัด
ด้านบริหารจัดการ
การประชุมคณะทำงานเฝ้าระวังดำเนินการใน 32 จังหวัด และการประชุม ศตส.จ./กทม. ดำเนินการใน 22 จังหวัด หากจังหวัดดำเนินการประชุมได้อย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดการบูรณาการทางความคิดและกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการด้านยาเสพติดอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
ด้านการแก้ไขปัญหาพื้นที่/กลุ่มเป้าหมายพิเศษ
พื้นที่ปัญหาสารระเหยดำเนินการได้ 6 จังหวัด จากเป้าหมาย 13 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 46.15 พื้นที่บุคคล 3 สัญชาติดำเนินการได้ 2 จังหวัด จาก 7 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 28.57 พื้นที่ท่องเที่ยว 5 จังหวัด ยังไม่มีการรายงานผลการดำเนินงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--
ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) ได้กำหนดห้วงเวลาการรายงานผลการปฏิบัติการฯ ทุก 7 วัน เพื่อสามารถรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรี และ ศตส. ให้ทันวงรอบการประชุมในแต่ละสัปดาห์ รายงานฉบับนี้ เป็นครั้งที่ 1 โดยทุกจังหวัดรายงานอย่างครบถ้วน และสามารถจำแนกเป็นผลการดำเนินงานรายมาตรการ ดังนี้
สรุปผลการดำเนินการในแต่ละมาตรการ
ด้าน Supply เป้าหมายการดำเนินงานด้าน supply แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
ลักษณะที่ 1 เป้าหมายที่เป็นบุคคลประกอบด้วยเป้าหมายที่เป็นนักค้ารายสำคัญ นักค้ารายย่อย การยึดทรัพย์สิน นักค้าที่หลบหนีหมายจับ รวมทั้งข้อมูลที่ได้รับจากการแจ้งข่าวสารของประชาชน ซึ่ง ศตส. ได้กำหนดเป้าหมายแต่ละประเภทอย่างชัดเจน โดยในห้วงที่ 1 แทบทุกจังหวัดสามารถดำเนินการได้ตามลำดับโดยเฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 2
ลักษณะที่ 2 เป้าหมายที่เป็นพื้นที่ ซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 พื้นที่ :
พื้นที่หมู่บ้านตามแนวชายแดนโดยกำหนดพื้นที่ 22 จังหวัด 50 อำเภอ 426 หมู่บ้านตามแนวชายแดนเป็นพื้นที่เป้าหมาย โดยได้ดำเนินการใน 206 หมู่บ้าน/ชุมชน โดยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เป้าหมายของแผนฯ
พื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนที่ปรากฏปัญหายาเสพติด มีเป้าหมาย 3,764 หมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ จำนวน 154 หมู่บ้าน/ชุมชน หรือคิดเป็นร้อยละ 4 ของเป้าหมายทั้งหมด หากสามารถดำเนินการตามอัตราส่วนนี้ จะสามารถดำเนินการครบตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนฯ
ด้าน Demand ในห้วงที่ 1 จำนวน 25 จังหวัด มีการ Re-x- ray ผู้เสพยาเสพติด สามารถค้นพบผู้เสพยาเสพติดประมาณ 1,206 ราย ขณะเดียวกันการบำบัดรักษาในระบบบังคับ ฯ มีจำนวน 830 ราย มากกว่าระบบสมัครใจที่มีประมาณ 159 ราย คิดเป็นผลการดำเนินงาน ร้อยละ 6.69 และ ร้อยละ 2.79 ของเป้าหมายทั้งหมดตามลำดับ
ด้าน Potential Demand ในห้วงที่ 1 มีการดำเนินการในสถานบันเทิง 52 จังหวัด ตรวจปัสสาวะพบสารเสพติด 770 ราย หอพักดำเนินการใน 36 จังหวัด แหล่งมั่วสุมดำเนินการใน 42 จังหวัด และร้านเกมส์/อินเตอร์เน็ต 42 จังหวัด หน่วยงานในระดับพื้นที่ยังคงให้ความสำคัญต่อการจัดระเบียบสังคม และหากรักษาอัตราการดำเนินการต่อไปจะเป็นการป้องปรามและขจัดปัญหายาเสพติดตามแหล่งมั่วสุมได้
สำหรับการดำเนินการในสถานศึกษาดำเนินการได้ 29 จังหวัด นอกสถานศึกษา 9 จังหวัด
ด้านบริหารจัดการ
การประชุมคณะทำงานเฝ้าระวังดำเนินการใน 32 จังหวัด และการประชุม ศตส.จ./กทม. ดำเนินการใน 22 จังหวัด หากจังหวัดดำเนินการประชุมได้อย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดการบูรณาการทางความคิดและกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการด้านยาเสพติดอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
ด้านการแก้ไขปัญหาพื้นที่/กลุ่มเป้าหมายพิเศษ
พื้นที่ปัญหาสารระเหยดำเนินการได้ 6 จังหวัด จากเป้าหมาย 13 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 46.15 พื้นที่บุคคล 3 สัญชาติดำเนินการได้ 2 จังหวัด จาก 7 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 28.57 พื้นที่ท่องเที่ยว 5 จังหวัด ยังไม่มีการรายงานผลการดำเนินงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--