สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 2

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 17, 2010 13:42 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 2 ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ การเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2552/2553 และการให้ความช่วยเหลือ สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

1. ภัยแล้ง ช่วงภัย วันที่ 15 ธ.ค. 52 ถึง 27 ม.ค. 53 (ข้อมูล ณ วันที่ 12 ก.พ.53) พื้นที่ประสบภัย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย(3 อำเภอ) แพร่ (5 อำเภอ) น่าน (1 อำเภอ) และสุโขทัย (1 อำเภอ) เกษตรกร 19,028 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 82,274 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 3,431 ไร่ พืชไร่ 78,353 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 490 ไร่

การดำเนินการ จังหวัดแพร่และสุโขทัย ช่วยเหลือด้วยการสูบน้ำเข้าพื้นที่ ยังไม่มีพื้นที่เสียหาย จังหวัดเชียงราย สำรวจเสร็จและผ่าน ก.ช.ภ.อ.แล้ว 2 อำเภอ อยู่ระหว่างสำรวจ 1 อำเภอ จังหวัดน่านอยู่ระหว่างการสำรวจ

2. ศัตรูพืช โรคพืช ระบาด

2.1 เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 10 ก.พ. 53)

พื้นที่การระบาด 27 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ ศรีษะเกษ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยนาท ชลบุรี สระแก้ว จันทบุรี ระยอง ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา อุทัยธานี นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร ตาก ราชบุรี กาญจนบุรีและแพร่ พื้นที่ 462,471 ไร่

2.2 เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคเขี้ยวเตี้ยและใบหงิก (ข้อมูล ณ วันที่ 5 ก.พ.53)

พื้นที่การระบาด 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร อ่างทอง ปทุมธานี ชัยนาท ลพบุรี เกษตรกร 20,681 ราย พื้นที่ระบาด 398,577 ไร่ เป็นพื้นที่ระบาดรุนแรง 59,114 ไร่ และพื้นที่ระบาดไม่รุนแรง 339,463 ไร่

2.3 หนูนาระบาด (ข้อมูล ณ วันที่ 12 ก.พ.53)

พื้นที่การระบาด 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด(1 อำเภอ) กาญจนบุรี(1 อำเภอ) เกษตรกร 2,818 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 32,140 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 31,699 ไร่ พืชไร่ 424 ไร่ และพืชสวนและอื่นๆ 17 ไร่

2.4 แมลงนูนหลวงระบาดในอ้อย

พื้นที่การระบาด 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี ลักษณะการทำลายจะเป็นหย่อมๆ ไม่แพร่กระจาย กออ้อยที่ถูกหนอนของแมลงนูนหลวงเข้าทำลายเพียงหนึ่งตัวต่อกอจะทำให้อ้อยตายไปทั้งกอได้ ทำให้ผลผลิตของอ้อย

สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ (12 กุมภาพันธ์ 2553) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 47,356 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 68 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 23,829 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (50,770 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 3,414 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 7 ของความจุอ่างฯ

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.52 ถึง 11 ก.พ.53 จำนวน 4,568 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณระบายสะสมในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.52 ถึง 11 ก.พ.53 จำนวน 11,513 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

                                                                                         หน่วย : ล้าน ลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำ       ปริมาตรน้ำในอ่างฯ     ปริมาตรน้ำใช้การได้       ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ            ปริมาณน้ำระบาย
               ปริมาตร   %ความจุ   ปริมาตร    %ความจุ     วันนี้   เมื่อวาน       สะสม    วันนี้   เมื่อวาน       สะสม
                   น้ำ     อ่างฯ       น้ำ      อ่างฯ                    1 พ.ย.52                   1 พ.ย.52
ภูมิพล            7,173       53    3,373        25       0        0        541     38       38      2,571
สิริกิติ์            4,730       50    1,880        20    4.69     4.66        548  22.03    22.04      1,771
ภูมิพล+สิริกิติ์      11,903       52    5,253        23    4.69     4.66      1,089  60.03    60.04      4,342
ป่าสักชลสิทธิ์         588       61      585        61       0        0        201   6.11     6.14        467

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 5 อ่าง ได้แก่ แม่งัดสมบูรณ์ชล (81) กระเสียว(84) ศรีนครินทร์(87) หนองปลาไหล(87) ประแสร์(84)

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 2 อ่าง ได้แก่ แม่กวง (24) และทับเสลา (18)

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำภาคตะวันออก

จังหวัดชลบุรี มีอ่างเก็บน้ำ 7 อ่าง รวมปริมาณน้ำ 95.1 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำใช้การได้ 80 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ

จังหวัดระยอง มีอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง รวมปริมาณน้ำ 436.1 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 83 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำใช้การได้ 408 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 78 ของความจุอ่างฯ

2. สภาพน้ำท่า

ภาคเหนือ แม่น้ำปิง ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้น อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำมูล ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

ภาคกลาง แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

ภาคใต้ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย ยกเว้น อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต และอำเภอละงู จังหวัดสตูล ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ

3. คุณภาพน้ำ (ข้อมูล ณ วันที่ 7 ก.พ.53)

กรมชลประทาน ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำการตรวจวัด จำนวน 20 จุด พบว่า ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (Do) อยู่ในเกณฑ์ปกติ 10 จุด ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (Do) ต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 6 จุด และค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (Do) ต่ำกว่าเกณฑ์และค่าความเค็มของน้ำ (Sal) สูงกว่าเกณฑ์ จำนวน 4 จุด ดังนี้

    จุดเฝ้าระวัง                                        ค่า pH        ค่า         ค่า  เกณฑ์
                                                            DO(mg/l)  Sal (g/l)
1   ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) อ.สรรพยา จ.ชัยนาท              8      7.41        0.1  ปกติ
2   สถานี C.3 อ.เมือง  จ.สิงห์บุรี                             8      6.87        0.1  ปกติ
3   สถานี C.7A อ.เมือง จ.อ่างทอง                            8      6.48        0.1  ปกติ
4   หน้าวัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา                          8      4.44        0.1  ปกติ
5   ฝั่งตรงข้ามวัดบางไทร อ.บางไทร  จ.พระนครศรีอยุธยา           8      3.35        0.1  ปกติ
6   ปากคลองแม่น้ำน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา กม.119             6.89      2.96       0.15  ปกติ
7   ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา กม.113    6.9      2.77       0.15  ปกติ
8   วัดโพธิ์แดงใต้ กม.110  อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา       6.83       2.5       0.15  ปกติ
9   ปากคลองสำแล ประปาสำแล ต.สำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี      6.75      2.43       0.15  ปกติ
10  ปากคลองเชียงรากน้อย กม.92                           6.69      2.12       0.16  ปกติ
11  สะพานนนทบุรี                                        6.65      1.98       0.16  ค่า DO ต่ำกว่าเกณฑ์
12  สถานีโทรมาตร กรมชลฯ ปากเกร็ด                        6.67      1.57       0.16  ค่า DO ต่ำกว่าเกณฑ์
13  ท่าน้ำนนทบุรี                                         7.39      0.98       0.17  ค่า DO ต่ำกว่าเกณฑ์
14  กรมชลประทาน(สามเสน)                               7.32      0.67       0.19  ค่า DO ต่ำกว่าเกณฑ์
15  สะพานพุทธยอดฟ้า                                     7.41      0.63       0.24  ค่า DO ต่ำกว่าเกณฑ์
16  สะพานกรุงเทพฯ                                      7.31      0.54       0.43  ค่า DO ต่ำกว่าเกณฑ์
17  ปากคลองพระโขนง                                    6.89      0.52       3.92  ค่า DO ต่ำ, Sal สูงกว่าเกณฑ์
18  วัดบางนา                                           6.69      0.68       5.01  ค่า DO ต่ำ, Sal สูงกว่าเกณฑ์
19  ปากคลองสำโรง                                      7.08      0.93       6.29  ค่า DO ต่ำ, Sal สูงกว่าเกณฑ์
20  ศาลากลาง จ.สมุทรปราการ                             7.15      1.34     113.34  ค่า DO ต่ำ, Sal สูงกว่าเกณฑ์

หมายเหตุ ค่า Do หมายถึง ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ ไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร

ค่า Sal หมายถึง ค่าความเค็มของน้ำ สำหรับการเกษตรไม่เกิน 2 กรัม/ลิตร

การจัดสรรน้ำและการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2552/2553

แผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2552/2553 (วันที่ 1 พ.ย.52-30 เม.ย. 53) จำนวน 20,720 ล้าน ลบ.ม. (เพื่อการอุปโภคบริโภค 1,836 ล้าน ลบ.ม. รักษาระบบนิเวศน์และอื่นๆ 5,539 ล้าน ลบ.ม. เกษตรกรรม 13,176 ล้าน ลบ.ม. และอุตสาหกรรม 169 ล้าน ลบ.ม.) โดยจัดสรรน้ำในลุ่มเจ้าพระยา 8,000 ล้าน ลบ.ม. (เขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ 6,000 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 400 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนป่าสักฯ 600 ล้าน ลบ.ม. และลุ่มน้ำแม่กลอง 1,000 ล้าน ลบ.ม.)

ผลการจัดสรรน้ำ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 52 ถึง 12 ก.พ. 53 จัดสรรน้ำไปแล้ว 11,690 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 56 ของแผนการจัดสรรน้ำ

คาดการณ์พื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งทั้งประเทศ ปี 2552/2553 จำนวน 12.28 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 9.50 ล้านไร่ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน 7.50 ล้านไร่ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน 2.00 ล้านไร่) พืชไร่ พืชผัก 2.78 ล้านไร่ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน 0.78 ล้านไร่ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน 2.00 ล้านไร่) และมีการจัดสรรน้ำให้พืชอื่นๆ เช่น ไม้ยืนต้น อ้อย บ่อปลา บ่อกุ้ง จำนวน 3.64 ล้านไร่ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน)

ผลการปลูกพืชฤดูแล้ง ณ วันที่ 12 ก.พ. 53 พื้นที่ปลูกแล้วทั้งสิ้น จำนวน 12.90 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 10.84 ล้านไร่ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน 7.16 ล้านไร่ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน 3.68 ล้านไร่) พืชไร่ พืชผัก 2.06 ล้านไร่ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน 0.50 ล้านไร่ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน 1.56 ล้านไร่)

ผลการปลูกพืชอื่นๆ จำนวน 3.85 ล้านไร่

การให้ความช่วยเหลือ

1. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ จำนวน 575 เครื่อง ในพื้นที่ 36จังหวัด (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 39 เครื่อง พื้นที่ 2 จังหวัด) ดังนี้

ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 231 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ (35 เครื่อง) ลำพูน (10 เครื่อง) แม่ฮ่องสอน (18 เครื่อง) ลำปาง (26 เครื่อง) น่าน (9 เครื่อง) พะเยา (2 เครื่อง) เชียงราย (6 เครื่อง) พิษณุโลก (8 เครื่อง) พิจิตร (16 เครื่อง) นครสวรรค์ (23 เครื่อง) อุตรดิตถ์ (5 เครื่อง)ตาก (16 เครื่อง) สุโขทัย (14 เครื่อง) แพร่ (33 เครื่อง) และกำแพงเพชร (10 เครื่อง)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด จำนวน 228 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดหนองคาย (17 เครื่อง) อุดรธานี (8 เครื่อง) ขอนแก่น (14 เครื่อง) มหาสารคาม (26 เครื่อง) ร้อยเอ็ด (76 เครื่อง) กาฬสินธุ์ (59 เครื่อง) ชัยภูมิ (9 เครื่อง) สกลนคร (12 เครื่อง) เลย (6 เครื่อง) และหนองบัวลำภู (1 เครื่อง)

ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก 11 จังหวัด จำนวน 116 เครื่อง ได้แก่ จังหวัด นครนายก (12 เครื่อง) ชัยนาท (32 เครื่อง) ปราจีนบุรี (29 เครื่อง) ฉะเชิงเทรา (22 เครื่อง) ชลบุรี(4 เครื่อง) ลพบุรี (5 เครื่อง) จันทบุรี (4 เครื่อง) เพชรบูรณ์ (6 เครื่อง) สุพรรณบุรี (3 เครื่อง) และอ่างทอง (1เครื่อง) พระนครศรีอยุธยา(2 เครื่อง)

2. การปฏิบัติการฝนหลวง สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร จะมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 5 ศูนย์ 7 หน่วย ได้แก่ ภาคเหนือ (เชียงใหม่ พิษณุโลก) ภาคกลาง (นครสวรรค์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ขอนแก่น นครราชสีมา) ภาคตะวันออก(ระยอง) และภาคใต้(อ.หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์) โดยเปิดศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงแล้ว จำนวน 1 ศูนย์ คือ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ (หน่วยฯหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง และเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้บริเวณพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และประจวนคีรีขันธ์ตอนบน

ผลการปฏิบัติฝนหลวง ระหว่างวันที่ 25 มกราคม - 11 กุมภาพันธ์ 2553 มีการขึ้นบิน จำนวน 3 วัน จำนวน 9 เที่ยวบิน ขณะนี้ยังไม่มีพื้นที่ฝนตกในพื้นที่เป้าหมายในการปฏิบัติการฝนหลวง

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ