คณะรัฐมนตรีรับทราบมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 9 และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ออกไปอีก 1 ปี (ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 ถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2549) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข ประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอ และให้กระทรวงสาธารณสุขจัดให้มีการเผยแพร่ รายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ต่อสาธารณชนต่อไป
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายพินิจ จารุสมบัติ) ประธานคณะกรรมการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ชี้แจงว่า
1. นับตั้งแต่เริ่มใช้บังคับพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ ได้มีการขอขยายระยะเวลาใน การตราพระราชกฤษฎีกามาแล้ว 2 ครั้งคือ ในปี 2546 และปี 2547 สำหรับปี 2548 เหตุที่ยังไม่อาจตราพระราชกฤษฎีกาได้อีก เนื่องจากผู้รับผิดชอบกองทุนทั้ง 3 กองทุน ซึ่งได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรมบัญชีกลาง และสำนักงานประกันสังคม ยังต้องเตรียมความพร้อมในการพัฒนาระบบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าประชาชนคนไทยทุกคนจะมีหลักประกันในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพด้วยระบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยระบบที่อยู่ระหว่างการพัฒนาได้แก่ ระบบฐานข้อมูล ระบบตรวจสอบคุณภาพบริการทางการแพทย์ ระบบบริหารการจ่ายชดเชย ค่าบริการและการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน ซึ่งทั้งหมดยังต้องการการพัฒนาอีกระยะหนึ่ง
2. กรณีผู้มีสิทธิตามมาตรา 9 ขณะนี้กรมบัญชีกลางและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมมือกันดำเนินโครงการให้ผู้มีสิทธิกลุ่มผู้รับเบี้ยหวัด บำนาญ ให้ได้รับความสะดวกในการเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น ซึ่ง โครงการนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548 โดยกรมบัญชีกลางยังคงเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทำหน้าที่ปรับปรุงระบบบริหารการเบิกจ่ายและพัฒนาคุณภาพบริการ โดยโครงการนี้จะ ขยายต่อไปเป็นระยะ ๆ ซึ่งคาดว่าจะสามารถขยายผลครอบคลุมข้าราชการทั้งหมด และรวมทั้งครอบครัวผู้มีสิทธิภายในเดือนตุลาคม 2549
3. สำหรับผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมตามมาตรา 10 ยังไม่สามารถดำเนินการได้มาก เนื่องจากเป็นกองทุนที่ผู้มีสิทธิมีส่วนร่วมสมทบในเงินกองทุนด้วย การดำเนินการจึงต้องค่อยเป็นค่อยไปและพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามภารกิจกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
4. คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 12/2548 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2548 ให้ขยายระยะเวลาในการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 9 และมาตรา 10 ออกไปอีกเป็นเวลา 1 ปี และให้ รายงานคณะรัฐมนตรีทราบ จึงเสนอเรื่องดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 มกราคม 2549--จบ--
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายพินิจ จารุสมบัติ) ประธานคณะกรรมการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ชี้แจงว่า
1. นับตั้งแต่เริ่มใช้บังคับพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ ได้มีการขอขยายระยะเวลาใน การตราพระราชกฤษฎีกามาแล้ว 2 ครั้งคือ ในปี 2546 และปี 2547 สำหรับปี 2548 เหตุที่ยังไม่อาจตราพระราชกฤษฎีกาได้อีก เนื่องจากผู้รับผิดชอบกองทุนทั้ง 3 กองทุน ซึ่งได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรมบัญชีกลาง และสำนักงานประกันสังคม ยังต้องเตรียมความพร้อมในการพัฒนาระบบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าประชาชนคนไทยทุกคนจะมีหลักประกันในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพด้วยระบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยระบบที่อยู่ระหว่างการพัฒนาได้แก่ ระบบฐานข้อมูล ระบบตรวจสอบคุณภาพบริการทางการแพทย์ ระบบบริหารการจ่ายชดเชย ค่าบริการและการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน ซึ่งทั้งหมดยังต้องการการพัฒนาอีกระยะหนึ่ง
2. กรณีผู้มีสิทธิตามมาตรา 9 ขณะนี้กรมบัญชีกลางและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมมือกันดำเนินโครงการให้ผู้มีสิทธิกลุ่มผู้รับเบี้ยหวัด บำนาญ ให้ได้รับความสะดวกในการเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น ซึ่ง โครงการนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548 โดยกรมบัญชีกลางยังคงเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทำหน้าที่ปรับปรุงระบบบริหารการเบิกจ่ายและพัฒนาคุณภาพบริการ โดยโครงการนี้จะ ขยายต่อไปเป็นระยะ ๆ ซึ่งคาดว่าจะสามารถขยายผลครอบคลุมข้าราชการทั้งหมด และรวมทั้งครอบครัวผู้มีสิทธิภายในเดือนตุลาคม 2549
3. สำหรับผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมตามมาตรา 10 ยังไม่สามารถดำเนินการได้มาก เนื่องจากเป็นกองทุนที่ผู้มีสิทธิมีส่วนร่วมสมทบในเงินกองทุนด้วย การดำเนินการจึงต้องค่อยเป็นค่อยไปและพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามภารกิจกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
4. คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 12/2548 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2548 ให้ขยายระยะเวลาในการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 9 และมาตรา 10 ออกไปอีกเป็นเวลา 1 ปี และให้ รายงานคณะรัฐมนตรีทราบ จึงเสนอเรื่องดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 มกราคม 2549--จบ--