แท็ก
นายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่ประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ เป็นผู้นัดประชุมและปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ แทน เว้นแต่ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมให้รองนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ประธานที่ประชุมคราวนั้นแทนรองประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯหากรองนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมหลายคน ให้รองนายกรัฐมนตรีผู้อยู่ในลำดับต้นของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 439/2548 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน เป็นประธาน
9. เมื่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีมติเป็นประการใด ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีอนุมัติและเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ เว้นแต่คณะกรรมการกลั่นกรองฯ หรือนายกรัฐมนตรีจะเห็นควรดำเนินการเป็นประการอื่น ก็ให้ดำเนินการตามมติหรือคำสั่งการนั้น ให้ประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการเป็นผู้ลงนามในบันทึกเสนอมติคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ต่อคณะรัฐมนตรี
10. ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเข้าประชุมแทนและหากจำเป็นอาจพิจารณามอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบและรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ จะพิจารณาเป็นอย่างดี เป็นผู้เข้าประชุมแทน
ในกรณีที่ปลัดกระทรวง เลขาธิการ ผู้อำนวยการหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าปลัดกระทรวง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรองปลัดกระทรวง รองเลขาธิการ หรือรองผู้อำนวยการเป็นผู้เข้าประชุมแทน
11. ในกรณีเห็นสมควร คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามคำสั่งนี้จะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ กลั่นกรอง ฯ หลายคณะร่วมกัน เพื่อพิจารณาปัญหาคาบเกี่ยวให้เกิดความรอบคอบ ชัดเจน และมีการประสานสอดคล้องกันก็ได้
12. เรื่องใดที่ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะใดเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะอื่นที่ไม่ใช่คณะของตนให้ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะนั้นมีอำนาจสั่งการให้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิจารณาได้
13. ในกรณีเรื่องที่เสนอคณะกรรมการกลั่นกรองฯ เรื่องใด เป็นปัญหาข้อกฎหมาย หรือปัญหาเกี่ยวกับการตั้งหน่วยงาน การเพิ่มอัตรากำลังหรือมีผลกระทบต่อเงินเดือน ให้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 7 เป็นผู้พิจารณา
14. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอำนวยความสะดวกในการประชุมคณะกรรมการทุกคณะตามคำสั่งนี้ และมีอำนาจออกระเบียบหรือคำสั่งที่จำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
15. ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอาจขอให้นายกรัฐมนตรีหรือที่ประชุมร่วมรองนายกรัฐมนตรีวินิจฉัยหรือสั่งการตามที่เห็นสมควรได้บทเฉพาะกาล
16. ในระยะเริ่มแรก ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานกับรองนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ทั้ง 7 คณะ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ระหว่างการจัดเข้าระเบียบวาระ ฯ ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ทั้งหมด ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่ด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
7. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 442/2548 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2548 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร โดยยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 441/2548 (ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548) ดังต่อไปนี้
1. พื้นที่
1.1 รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 8 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สมุทรปราการ สระแก้ว
เขตตรวจราชการที่ 9 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง
1.2 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 5 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี
เขตตรวจราชการที่ 6 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี
เขตตรวจราชการที่ 11 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร
1.3 รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 14 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
เขตตรวจราชการที่ 18 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา
เขตตรวจราชการที่ 19 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดสงขลา สตูล
1.4 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 1 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน
เขตตรวจราชการที่ 13 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์
เขตตรวจราชการที่ 17 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต
1.5 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 2 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์
เขตตรวจราชการที่ 3 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี และให้มีอำนาจหน้าที่ประสานและติดตามการปฏิบัติราชการส่วนราชการทุกแห่งที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศด้วย
1.6 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุชัย เจริญรัตนกุล) กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 10 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดหนองคาย หนองบัวลำภู เลย อุดรธานี
เขตตรวจราชการที่ 12 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด
เขตตรวจราชการที่ 15 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี
1.7 รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 4 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง
เขตตรวจราชการที่ 7 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร
1.8 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
1.9 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ)
1.9.1 กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 16 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง
1.9.2 กำกับติดตามการปฏิบัติราชการและการตรวจราชการตามนโยบายรัฐบาลและการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
2. การกำกับติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคและกรุงเทพมหานครตามคำสั่งนี้ หมายถึงการตรวจราชการ การขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่รายงานเหตุการณ์และผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี การประสานราชการเพื่อให้เกิดการบูรณาการ การติดตามผล การเร่งรัด การให้คำแนะนำช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่และการประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
3. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรายงานปัญหา อุปสรรค แนวทางการแก้ไข ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ อันเนื่องจากการกำกับติดตามการปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการหรือพื้นที่ในความรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรีทุกสามสิบวัน
4. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจ ราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อีกทั้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ตรวจราชการกระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล อำนวยความสะดวก และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ด้วย สำหรับการกำกับการปฏิบัติราชการส่วนราชการในต่างประเทศให้ทุกกระทรวงที่มีส่วนราชการในต่างประเทศให้ความร่วมมือตามข้อนี้โดยอนุโลม
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--
9. เมื่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีมติเป็นประการใด ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีอนุมัติและเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ เว้นแต่คณะกรรมการกลั่นกรองฯ หรือนายกรัฐมนตรีจะเห็นควรดำเนินการเป็นประการอื่น ก็ให้ดำเนินการตามมติหรือคำสั่งการนั้น ให้ประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการเป็นผู้ลงนามในบันทึกเสนอมติคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ต่อคณะรัฐมนตรี
10. ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเข้าประชุมแทนและหากจำเป็นอาจพิจารณามอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบและรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ จะพิจารณาเป็นอย่างดี เป็นผู้เข้าประชุมแทน
ในกรณีที่ปลัดกระทรวง เลขาธิการ ผู้อำนวยการหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าปลัดกระทรวง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรองปลัดกระทรวง รองเลขาธิการ หรือรองผู้อำนวยการเป็นผู้เข้าประชุมแทน
11. ในกรณีเห็นสมควร คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามคำสั่งนี้จะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ กลั่นกรอง ฯ หลายคณะร่วมกัน เพื่อพิจารณาปัญหาคาบเกี่ยวให้เกิดความรอบคอบ ชัดเจน และมีการประสานสอดคล้องกันก็ได้
12. เรื่องใดที่ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะใดเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะอื่นที่ไม่ใช่คณะของตนให้ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะนั้นมีอำนาจสั่งการให้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิจารณาได้
13. ในกรณีเรื่องที่เสนอคณะกรรมการกลั่นกรองฯ เรื่องใด เป็นปัญหาข้อกฎหมาย หรือปัญหาเกี่ยวกับการตั้งหน่วยงาน การเพิ่มอัตรากำลังหรือมีผลกระทบต่อเงินเดือน ให้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 7 เป็นผู้พิจารณา
14. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอำนวยความสะดวกในการประชุมคณะกรรมการทุกคณะตามคำสั่งนี้ และมีอำนาจออกระเบียบหรือคำสั่งที่จำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
15. ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอาจขอให้นายกรัฐมนตรีหรือที่ประชุมร่วมรองนายกรัฐมนตรีวินิจฉัยหรือสั่งการตามที่เห็นสมควรได้บทเฉพาะกาล
16. ในระยะเริ่มแรก ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานกับรองนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ทั้ง 7 คณะ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ระหว่างการจัดเข้าระเบียบวาระ ฯ ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ทั้งหมด ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่ด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
7. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 442/2548 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2548 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร โดยยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 441/2548 (ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548) ดังต่อไปนี้
1. พื้นที่
1.1 รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 8 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สมุทรปราการ สระแก้ว
เขตตรวจราชการที่ 9 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง
1.2 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 5 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี
เขตตรวจราชการที่ 6 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี
เขตตรวจราชการที่ 11 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร
1.3 รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 14 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
เขตตรวจราชการที่ 18 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา
เขตตรวจราชการที่ 19 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดสงขลา สตูล
1.4 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 1 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน
เขตตรวจราชการที่ 13 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์
เขตตรวจราชการที่ 17 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต
1.5 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 2 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์
เขตตรวจราชการที่ 3 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี และให้มีอำนาจหน้าที่ประสานและติดตามการปฏิบัติราชการส่วนราชการทุกแห่งที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศด้วย
1.6 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุชัย เจริญรัตนกุล) กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 10 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดหนองคาย หนองบัวลำภู เลย อุดรธานี
เขตตรวจราชการที่ 12 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด
เขตตรวจราชการที่ 15 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี
1.7 รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 4 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง
เขตตรวจราชการที่ 7 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร
1.8 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
1.9 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ)
1.9.1 กำกับติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 16 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง
1.9.2 กำกับติดตามการปฏิบัติราชการและการตรวจราชการตามนโยบายรัฐบาลและการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
2. การกำกับติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคและกรุงเทพมหานครตามคำสั่งนี้ หมายถึงการตรวจราชการ การขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่รายงานเหตุการณ์และผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี การประสานราชการเพื่อให้เกิดการบูรณาการ การติดตามผล การเร่งรัด การให้คำแนะนำช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่และการประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
3. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรายงานปัญหา อุปสรรค แนวทางการแก้ไข ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ อันเนื่องจากการกำกับติดตามการปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการหรือพื้นที่ในความรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรีทุกสามสิบวัน
4. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจ ราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อีกทั้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ตรวจราชการกระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล อำนวยความสะดวก และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ด้วย สำหรับการกำกับการปฏิบัติราชการส่วนราชการในต่างประเทศให้ทุกกระทรวงที่มีส่วนราชการในต่างประเทศให้ความร่วมมือตามข้อนี้โดยอนุโลม
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--