คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญดังนี้
1. แก้ไขบทนิยาม “วิชาชีพเภสัชกรรม” และเพิ่มเติมบทนิยาม “การบริบาลทางเภสัชกรรม” เพื่อให้
สอดคล้องกับการพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรมในระดับสากลและครอบคลุมภารกิจที่รับผิดชอบในปัจจุบัน
2. กำหนดให้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมมีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
3. กำหนดให้ใบอนุญาตที่ออกตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 ที่ยังมีผลอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมีอายุต่อไปอีกห้าปีนับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 มีบางมาตราไม่สอดคล้องกับภารกิจที่รับผิดชอบในปัจจุบันและเพื่อให้สนองต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 52 และมาตรา 82 ซึ่งกำหนดให้รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง และเพื่อทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นผลให้การปฎิบัติงานมีคุณภาพและมีมาตรฐานอันจะส่งผลให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย จึงเห็นควรให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 สิงหาคม 2549--จบ--
1. แก้ไขบทนิยาม “วิชาชีพเภสัชกรรม” และเพิ่มเติมบทนิยาม “การบริบาลทางเภสัชกรรม” เพื่อให้
สอดคล้องกับการพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรมในระดับสากลและครอบคลุมภารกิจที่รับผิดชอบในปัจจุบัน
2. กำหนดให้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมมีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
3. กำหนดให้ใบอนุญาตที่ออกตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 ที่ยังมีผลอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมีอายุต่อไปอีกห้าปีนับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 มีบางมาตราไม่สอดคล้องกับภารกิจที่รับผิดชอบในปัจจุบันและเพื่อให้สนองต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 52 และมาตรา 82 ซึ่งกำหนดให้รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง และเพื่อทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นผลให้การปฎิบัติงานมีคุณภาพและมีมาตรฐานอันจะส่งผลให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย จึงเห็นควรให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 สิงหาคม 2549--จบ--