คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการประชุม นานาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 16 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้
1. ในวันที่ 13 สิงหาคม 2549 ระหว่างเวลา 12.30 - 16.00 น. มีการประชุม High Level Meeting Session ณ โรงแรม Royal York นครโตรอนโต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า การประชุมระหว่างประเทศเรื่องเอดส์ครั้งที่ 15 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุม ในปี พ.ศ. 2547 ภายใต้หัวข้อ Access for All ครั้งนั้น มีความสอดคล้องกับหัวข้อของการประชุมครั้งนี้ในหัวข้อ Time to deliver for Women and Girls ประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ และในขณะนี้ประเทศไทย ได้พยายามมุ่งเป้าไปที่กลุ่มสตรีและเด็ก โดยเฉพาะปัญหาเด็กติดเชื้อที่กำพร้ารวมถึงปัญหาการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก นอกจากนั้น ประเทศไทยยังให้ความสำคัญต่อการลดความรังเกียจในสังคม เช่น จัดให้มีโครงการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อ และการทำงานร่วมกันของหลายภาคส่วนในสังคมเพื่อร่วมกันดำเนินโครงการระดับชาติ ในช่วงท้าย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ยกตัวอย่างคำย่อภาษาอังกฤษ 3 คำ ในการแก้ไขปัญหาเอดส์ คือ
F - Focus การตั้งความมุ่งหวังที่จะลดปัญหาการติดเชื้อ
G - Generosity ความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่และความใจกว้าง
H - Heart จิตใจที่เอื้ออารีต่อกัน
2. ในวันที่ 13 สิงหาคม 2549 ระหว่างเวลา 14.30 น. นาย Peter Piot ผู้อำนวยการบริหาร UNAIDS ได้เข้าพบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ณ ห้อง Salona โรงแรม Royal York โดยมีประเด็นในการหารือคือ การผลิตยาต้านไวรัสโรคเอดส์ (generic ARV drug) ขององค์การเภสัชกรรมไทย โดยนายอนุทินฯ กล่าวว่า ขณะนี้ TOR ของโรงงานผลิตยาดังกล่าวแห่งใหม่ จะเสร็จสิ้นในประมาณปลายเดือนนี้หรือไม่เกินเดือนพฤศจิกายน และประเทศไทยไม่ได้นิ่งนอนใจกับคำแนะนำของ WHO เกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการและประสงค์จะหารือกับกองทุน Global Fund เพื่อชี้แจงความคืบหน้าในการดำเนินการของฝ่ายไทยให้ทราบไว้ชั้นหนึ่งก่อน หากเป็นไปได้อาจเป็นช่วงเดือนพฤศจิกายนปีนี้ ก่อนการประชุมประจำปีของ Global Fund ซึ่ง นาย Peter Piot กล่าวว่าการประชุม WHO Executive Board จะมีขึ้นหนึ่งสัปดาห์ก่อนการประชุมประจำปีของ Global Fund ฉะนั้นหากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสามารถเข้าร่วมการประชุมทั้งสองแห่ง ก็จะเป็นการดีต่อโครงการที่ไทยกำลังดำเนินการอยู่ นอกจากนี้ได้มีการพูดคุยประเด็นเกี่ยวกับการหยุดการให้ทุนสนับสนุนโครงการต่างๆ ของ Global Fund ซึ่งหลายโครงการกำลังดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง และการปิดโรงงานผลิตยาเพนนิซิลินที่องค์การเภสัชกรรมกำลังดำเนินการเพื่อไม่ให้ขัดกับมาตรฐานการผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ ทั้งนี้ นาย Peter Piot ได้รับทราบขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ของไทย และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนไทยเพื่อให้สามารถผลิตยาที่ได้มาตรฐาน และจะพยายามหาทางช่วยเหลือเพื่อหาทางออกสำหรับประเด็นที่ยังมีปัญหาอยู่ให้
3. วันที่ 13 สิงหาคม 2549 ตั้งแต่เวลา 19.00 - 21.00 น. คณะผู้แทนไทยได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 16 ณ ศูนย์การประชุม Rogers Center, Blue Jays Way นครโตรอนโต มลรัฐออนตาริโอ นาย Michaelle Jean ผู้สำเร็จราชการแคนาดาได้กล่าวเปิดการประชุม จากนั้นได้มีบุคคลสำคัญขึ้นกล่าว เช่น นาย David Miller นายกเทศมนตรีนครโตรอนโต นาย Peter Piot ผู้อำนวยการบริหารองค์การ UNAIDS นาง Ellen Johnson - Sirleaf ประธานาธิบดีประเทศไลบีเรีย นาย Bill Gates และนาง Melinda Gates นาง Helen Gayle นาย Mark Wainberg ประธานจัดการประชุมร่วม จากนั้นมีการแสดงคอนเสริต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเด็กเนลสันเมนเดลล่า และมูลนิธิวิจัยเอดส์ แคนาดา
4. วันที่ 16 สิงหาคม 2549 เวลา 10.00 - 10.30 น. นาย Julio Frenk รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประเทศเม็กซิโก เข้าพบหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ณ โรงแรม Delta Chelsea นครโตรอนโต ร่วมกับนายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค นายชัยยงค์ สัจจิพานนท์ เอกอัครราชทูต คณะทูตถาวรประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา เพื่อขอเสียงการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยสำหรับตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ซึ่งกำหนดจะมีการเลือกตั้งในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายน 2549 ณ นครเจนีวา นาย Julio Frenk กล่าวชื่นชมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยและมอบหนังสือแนะนำตัวเองจำนวน 3 ฉบับ หลังจากนี้ประธานาธิบดีเม็กซิโกจะได้มีสาส์นถึงผู้นำประเทศต่างๆ ที่มีตัวแทนในฐานะคณะกรรมการบริหารของ WHO เพื่อขอเสียงสนับสนุน ซึ่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ได้เรียนเชิญให้นาย Julio Frenk เดินทางเยือนประเทศไทยเพื่อพบและหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและนายกรัฐมนตรีประเทศไทย กับขอให้ดำเนินการส่งสาส์นผ่านสถานเอกอัครราชทูตเม็กซิโก ประจำประเทศไทยเพื่อจะได้นำเรียนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ นาย Julio Frenk จึงเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยโรคเอดส์ครั้งที่ 17 ครั้งต่อไปในอีกสองปีข้างหน้า และการประชุมนานาชาติเรื่องการปฏิรูปสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 4 - 6 ตุลาคม 2549 ซึ่งประเทศเม็กซิโกจะเป็นเจ้าภาพของการประชุมดังกล่าว โดยประเทศเม็กซิโกยินดีที่จะให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กันยายน 2549--จบ--
1. ในวันที่ 13 สิงหาคม 2549 ระหว่างเวลา 12.30 - 16.00 น. มีการประชุม High Level Meeting Session ณ โรงแรม Royal York นครโตรอนโต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า การประชุมระหว่างประเทศเรื่องเอดส์ครั้งที่ 15 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุม ในปี พ.ศ. 2547 ภายใต้หัวข้อ Access for All ครั้งนั้น มีความสอดคล้องกับหัวข้อของการประชุมครั้งนี้ในหัวข้อ Time to deliver for Women and Girls ประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ และในขณะนี้ประเทศไทย ได้พยายามมุ่งเป้าไปที่กลุ่มสตรีและเด็ก โดยเฉพาะปัญหาเด็กติดเชื้อที่กำพร้ารวมถึงปัญหาการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก นอกจากนั้น ประเทศไทยยังให้ความสำคัญต่อการลดความรังเกียจในสังคม เช่น จัดให้มีโครงการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อ และการทำงานร่วมกันของหลายภาคส่วนในสังคมเพื่อร่วมกันดำเนินโครงการระดับชาติ ในช่วงท้าย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ยกตัวอย่างคำย่อภาษาอังกฤษ 3 คำ ในการแก้ไขปัญหาเอดส์ คือ
F - Focus การตั้งความมุ่งหวังที่จะลดปัญหาการติดเชื้อ
G - Generosity ความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่และความใจกว้าง
H - Heart จิตใจที่เอื้ออารีต่อกัน
2. ในวันที่ 13 สิงหาคม 2549 ระหว่างเวลา 14.30 น. นาย Peter Piot ผู้อำนวยการบริหาร UNAIDS ได้เข้าพบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ณ ห้อง Salona โรงแรม Royal York โดยมีประเด็นในการหารือคือ การผลิตยาต้านไวรัสโรคเอดส์ (generic ARV drug) ขององค์การเภสัชกรรมไทย โดยนายอนุทินฯ กล่าวว่า ขณะนี้ TOR ของโรงงานผลิตยาดังกล่าวแห่งใหม่ จะเสร็จสิ้นในประมาณปลายเดือนนี้หรือไม่เกินเดือนพฤศจิกายน และประเทศไทยไม่ได้นิ่งนอนใจกับคำแนะนำของ WHO เกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการและประสงค์จะหารือกับกองทุน Global Fund เพื่อชี้แจงความคืบหน้าในการดำเนินการของฝ่ายไทยให้ทราบไว้ชั้นหนึ่งก่อน หากเป็นไปได้อาจเป็นช่วงเดือนพฤศจิกายนปีนี้ ก่อนการประชุมประจำปีของ Global Fund ซึ่ง นาย Peter Piot กล่าวว่าการประชุม WHO Executive Board จะมีขึ้นหนึ่งสัปดาห์ก่อนการประชุมประจำปีของ Global Fund ฉะนั้นหากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสามารถเข้าร่วมการประชุมทั้งสองแห่ง ก็จะเป็นการดีต่อโครงการที่ไทยกำลังดำเนินการอยู่ นอกจากนี้ได้มีการพูดคุยประเด็นเกี่ยวกับการหยุดการให้ทุนสนับสนุนโครงการต่างๆ ของ Global Fund ซึ่งหลายโครงการกำลังดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง และการปิดโรงงานผลิตยาเพนนิซิลินที่องค์การเภสัชกรรมกำลังดำเนินการเพื่อไม่ให้ขัดกับมาตรฐานการผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ ทั้งนี้ นาย Peter Piot ได้รับทราบขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ของไทย และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนไทยเพื่อให้สามารถผลิตยาที่ได้มาตรฐาน และจะพยายามหาทางช่วยเหลือเพื่อหาทางออกสำหรับประเด็นที่ยังมีปัญหาอยู่ให้
3. วันที่ 13 สิงหาคม 2549 ตั้งแต่เวลา 19.00 - 21.00 น. คณะผู้แทนไทยได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 16 ณ ศูนย์การประชุม Rogers Center, Blue Jays Way นครโตรอนโต มลรัฐออนตาริโอ นาย Michaelle Jean ผู้สำเร็จราชการแคนาดาได้กล่าวเปิดการประชุม จากนั้นได้มีบุคคลสำคัญขึ้นกล่าว เช่น นาย David Miller นายกเทศมนตรีนครโตรอนโต นาย Peter Piot ผู้อำนวยการบริหารองค์การ UNAIDS นาง Ellen Johnson - Sirleaf ประธานาธิบดีประเทศไลบีเรีย นาย Bill Gates และนาง Melinda Gates นาง Helen Gayle นาย Mark Wainberg ประธานจัดการประชุมร่วม จากนั้นมีการแสดงคอนเสริต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเด็กเนลสันเมนเดลล่า และมูลนิธิวิจัยเอดส์ แคนาดา
4. วันที่ 16 สิงหาคม 2549 เวลา 10.00 - 10.30 น. นาย Julio Frenk รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประเทศเม็กซิโก เข้าพบหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ณ โรงแรม Delta Chelsea นครโตรอนโต ร่วมกับนายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค นายชัยยงค์ สัจจิพานนท์ เอกอัครราชทูต คณะทูตถาวรประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา เพื่อขอเสียงการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยสำหรับตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ซึ่งกำหนดจะมีการเลือกตั้งในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายน 2549 ณ นครเจนีวา นาย Julio Frenk กล่าวชื่นชมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยและมอบหนังสือแนะนำตัวเองจำนวน 3 ฉบับ หลังจากนี้ประธานาธิบดีเม็กซิโกจะได้มีสาส์นถึงผู้นำประเทศต่างๆ ที่มีตัวแทนในฐานะคณะกรรมการบริหารของ WHO เพื่อขอเสียงสนับสนุน ซึ่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ได้เรียนเชิญให้นาย Julio Frenk เดินทางเยือนประเทศไทยเพื่อพบและหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและนายกรัฐมนตรีประเทศไทย กับขอให้ดำเนินการส่งสาส์นผ่านสถานเอกอัครราชทูตเม็กซิโก ประจำประเทศไทยเพื่อจะได้นำเรียนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ นาย Julio Frenk จึงเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยโรคเอดส์ครั้งที่ 17 ครั้งต่อไปในอีกสองปีข้างหน้า และการประชุมนานาชาติเรื่องการปฏิรูปสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 4 - 6 ตุลาคม 2549 ซึ่งประเทศเม็กซิโกจะเป็นเจ้าภาพของการประชุมดังกล่าว โดยประเทศเม็กซิโกยินดีที่จะให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กันยายน 2549--จบ--