คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการน้ำบาดาลบรรเทาความเดือดร้อนจากอุทกภัยปี 2549 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ แล้วมีมติอนุมัติเฉพาะกรณีให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินการเฉพาะในพื้นที่ที่ประสบภัย 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ น่าน และลำปาง โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 186,030,000 บาท จำแนกตามเป้าหมาย 4 กิจกรรมดังนี้ 1. สำรวจและเจาะน้ำบาดาล จำนวน 600 บ่อ 2. เป่าล้างบ่อน้ำบาดาล จำนวน 4,052 บ่อ 3. ซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำแบบบ่อลึก จำนวน 1,892 เครื่อง 4. ซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน 756 ระบบ สำหรับอีก 3 จังหวัดที่เหลือได้แก่ จังหวัดตาก พะเยา และพิจิตร ซึ่งได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากน้ำไหลหลากแต่ไม่รุนแรง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบในการดำเนินการต่อไป ตามความเห็นของ สำนักงบประมาณ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานว่า
1. จากสภาพการน้ำท่วมและโคลนถล่มในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือและภาคกลางตอนบน เมื่อกลางดึกวันที่ 21 พฤษภาคม 2549 ต่อเนื่องถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2549 ทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำบาดาลและสิ่งปลูกสร้าง เช่น ฝายกั้นน้ำ บ่อน้ำบาดาล และระบบประปาหมู่บ้านได้รับความเสียหายและแหล่งน้ำบาดาลมีการปนเปื้อนใช้งานไม่ได้ ประชาชนไม่มีแหล่งน้ำที่สะอาดสำหรับใช้ดื่ม อุปโภคบริโภคและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือประชาชนในเรื่องน้ำดื่มน้ำใช้ที่เป็นการเฉพาะหน้า โดยการปรับปรุงแก้ไข ฟื้นฟูแหล่งน้ำบาดาลให้อยู่ในสภาพที่ดี สามารถใช้งานได้ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้มีน้ำดื่มสะอาดอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอถือเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่หลักในด้านการสำรวจ กำกับ ควบคุม ดูแลรักษา บริหารจัดการ พัฒนา อนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรน้ำบาดาล และมีความพร้อมทางด้านบุคลากรและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการน้ำบาดาลบรรเทาความเดือดร้อนจากอุทกภัยปี 2549 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 แผนขั้นตอนการดำเนินโครงการฯ
2.1.1 การให้ความช่วยเหลือประชาชนเป็นการเฉพาะหน้า โดยการให้บริการน้ำบาดาลตามมาตรฐานน้ำดื่มองค์การอนามัยโลก
2.1.2 การช่วยเหลือที่จำเป็นและเร่งด่วน โดยการพัฒนาเป่าล้างฟื้นฟูบ่อน้ำบาดาล การซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำและซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและโคลนถล่มให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีดังเดิม ถือว่าเป็นการอนุรักษ์และป้องกันการปนเปื้อนในชั้นน้ำบาดาลได้อีกทางหนึ่ง
2.1.3 การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเสริมโดยการเจาะบ่อน้ำบาดาลเพื่อให้มีน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำบาดาลอย่างมีคุณค่า ได้ประโยชน์สูงสุดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
2.2 กิจกรรมของโครงการ
2.2.1 จัดส่งเจ้าหน้าที่สำรวจพื้นที่ประสบอุทกภัยและรับเรื่องราวร้องทุกข์การแก้ปัญหาเรื่องน้ำบาดาล
2.2.2 จัดหน่วยเฉพาะกิจในการให้บริการน้ำดื่ม โดยระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่มมาตรฐานองค์การอนามัยโลกเคลื่อนที่ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลให้แก่ประชาชน
2.2.3 ดำเนินการปฏิบัติงานเป่าล้างบ่อน้ำบาดาลตามคำร้องขอของราษฎรที่ประสบอุทกภัย
2.2.4 ดำเนินการปฏิบัติงานซ่อมเครื่องสูบน้ำแบบบ่อลึกตามคำร้องขอของราษฎรที่ประสบอุทกภัย
2.2.5 ดำเนินการปฏิบัติงานซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้านตามคำร้องขอของราษฎรที่ประสบอุทกภัย
2.2.6 ดำเนินการปฏิบัติงานเจาะบ่อน้ำบาดาลตามคำร้องขอของราษฎรที่ประสบอุทกภัย
2.2.7 ประเมินผลและรายงานผลการปฏิบัติงานตามกรอบระยะเวลา
2.3 ระยะเวลาดำเนินงาน ใช้เวลาในการปฏิบัติงาน 5 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2549 - สิ้นเดือนตุลาคม 2549
2.4 พื้นที่ดำเนินการ : หมู่บ้านที่บ่อน้ำบาดาล ระบบประปา เครื่องสูบน้ำชำรุดเสียหายในพื้นที่ที่ประสบภัย อุทกภัย 8 จังหวัด
2.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
2.5.1 สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคของประชาชนในเขตประสบอุทกภัย
2.5.2 ประชาชนมีน้ำสะอาดและมีคุณภาพดีใช้ในการอุปโภค-บริโภคอย่างเพียงพอและทั่วถึง
2.5.3 คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น
2.5.4 ลดการอพยพย้ายถิ่นฐานของประชาชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานว่า
1. จากสภาพการน้ำท่วมและโคลนถล่มในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือและภาคกลางตอนบน เมื่อกลางดึกวันที่ 21 พฤษภาคม 2549 ต่อเนื่องถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2549 ทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำบาดาลและสิ่งปลูกสร้าง เช่น ฝายกั้นน้ำ บ่อน้ำบาดาล และระบบประปาหมู่บ้านได้รับความเสียหายและแหล่งน้ำบาดาลมีการปนเปื้อนใช้งานไม่ได้ ประชาชนไม่มีแหล่งน้ำที่สะอาดสำหรับใช้ดื่ม อุปโภคบริโภคและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือประชาชนในเรื่องน้ำดื่มน้ำใช้ที่เป็นการเฉพาะหน้า โดยการปรับปรุงแก้ไข ฟื้นฟูแหล่งน้ำบาดาลให้อยู่ในสภาพที่ดี สามารถใช้งานได้ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้มีน้ำดื่มสะอาดอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอถือเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่หลักในด้านการสำรวจ กำกับ ควบคุม ดูแลรักษา บริหารจัดการ พัฒนา อนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรน้ำบาดาล และมีความพร้อมทางด้านบุคลากรและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการน้ำบาดาลบรรเทาความเดือดร้อนจากอุทกภัยปี 2549 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 แผนขั้นตอนการดำเนินโครงการฯ
2.1.1 การให้ความช่วยเหลือประชาชนเป็นการเฉพาะหน้า โดยการให้บริการน้ำบาดาลตามมาตรฐานน้ำดื่มองค์การอนามัยโลก
2.1.2 การช่วยเหลือที่จำเป็นและเร่งด่วน โดยการพัฒนาเป่าล้างฟื้นฟูบ่อน้ำบาดาล การซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำและซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและโคลนถล่มให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีดังเดิม ถือว่าเป็นการอนุรักษ์และป้องกันการปนเปื้อนในชั้นน้ำบาดาลได้อีกทางหนึ่ง
2.1.3 การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเสริมโดยการเจาะบ่อน้ำบาดาลเพื่อให้มีน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำบาดาลอย่างมีคุณค่า ได้ประโยชน์สูงสุดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
2.2 กิจกรรมของโครงการ
2.2.1 จัดส่งเจ้าหน้าที่สำรวจพื้นที่ประสบอุทกภัยและรับเรื่องราวร้องทุกข์การแก้ปัญหาเรื่องน้ำบาดาล
2.2.2 จัดหน่วยเฉพาะกิจในการให้บริการน้ำดื่ม โดยระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่มมาตรฐานองค์การอนามัยโลกเคลื่อนที่ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลให้แก่ประชาชน
2.2.3 ดำเนินการปฏิบัติงานเป่าล้างบ่อน้ำบาดาลตามคำร้องขอของราษฎรที่ประสบอุทกภัย
2.2.4 ดำเนินการปฏิบัติงานซ่อมเครื่องสูบน้ำแบบบ่อลึกตามคำร้องขอของราษฎรที่ประสบอุทกภัย
2.2.5 ดำเนินการปฏิบัติงานซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้านตามคำร้องขอของราษฎรที่ประสบอุทกภัย
2.2.6 ดำเนินการปฏิบัติงานเจาะบ่อน้ำบาดาลตามคำร้องขอของราษฎรที่ประสบอุทกภัย
2.2.7 ประเมินผลและรายงานผลการปฏิบัติงานตามกรอบระยะเวลา
2.3 ระยะเวลาดำเนินงาน ใช้เวลาในการปฏิบัติงาน 5 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2549 - สิ้นเดือนตุลาคม 2549
2.4 พื้นที่ดำเนินการ : หมู่บ้านที่บ่อน้ำบาดาล ระบบประปา เครื่องสูบน้ำชำรุดเสียหายในพื้นที่ที่ประสบภัย อุทกภัย 8 จังหวัด
2.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
2.5.1 สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคของประชาชนในเขตประสบอุทกภัย
2.5.2 ประชาชนมีน้ำสะอาดและมีคุณภาพดีใช้ในการอุปโภค-บริโภคอย่างเพียงพอและทั่วถึง
2.5.3 คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น
2.5.4 ลดการอพยพย้ายถิ่นฐานของประชาชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--