คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพิจารณาส่งออกกากน้ำตาล (molasses) ของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2548 โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลแล้ว และได้ส่งข้อมูลปริมาณอ้อยและกากน้ำตาลปี 2548/2549 รวมทั้งแนวทางการดำเนินการต่อไป ดังนี้
1. ข้อมูลเรื่องปริมาณอ้อยและปริมาณกากน้ำตาลปี 2548/2549
1.1 ปริมาณอ้อยปี 2548/2549 จะมีปริมาณ 40 ล้านตัน
1.2 จำนวนกากน้ำตาลปี 2548/2549 เมือปิดหีบแล้ว คาดว่าจะมีประมาณ 1.62 ล้านตัน
1.3 กากน้ำตาลเหลือค้างของปีที่ผ่านมา มีจำนวน 0.037 ล้านตัน รวมเป็นปริมาณกากน้ำตาลปี 2548/2549 ทั้งสิ้น 1.65 ล้านตัน
1.4 ปริมาณการใช้กากน้ำตาลในประเทศ 1.95 ล้านตัน (ประมาณการจากความต้องการใช้กากน้ำตาลของโรงงานเอทานอล 3 แห่ง ประมาณ 650,000 ตัน โรงงานสุรา 1,000,000 ตัน โรงงานอาหารสัตว์ โรงงานผงชูรสและอื่น ๆ อีก 300,000 ตัน
1.5 ปริมาณกากน้ำตาลในฤดูการผลิตปี 2548/2549 มีไม่เพียงพอสำหรับใช้ในประเทศประมาณ 0.30 ล้านตัน
2. แนวทางดำเนินการต่อไป
2.1 กระทรวงพลังงานแจ้งข้อมูลและข้อคิดเห็นว่า ปัจจุบันบริษัทน้ำมันได้เจรจาซื้อขายเอทานอลจากผู้ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาลในประเทศ ในราคาลิตรละ 19.00 บาท และหากการผลิตเอทานอลในประเทศไม่เพียงพอ จำเป็นต้องนำเข้า การกำหนดราคาเอทานอลควรเทียบกับราคาเอทานอลนำเข้าที่ตลาดโลก เพื่อให้มีการอ้างอิงที่เป็นมาตรฐานและมีความเหมาะสม ทั้งนี้ ราคากากน้ำตาล เมื่อเทียบกับราคาเอทานอลนำเข้า ณ ตลาดชิคาโก ควรอยู่ในระดับที่ไม่เกิน 95 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (หรือประมาณ 3,800 บาทต่อตัน)
2.2 ราคาเอทานอล ณ ตลาดชิคาโด ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2549 เท่ากับ 2.47 ดอลลาร์สหรัฐต่อแกลลอนหรือเท่ากับ 26.10 บาทต่อลิตร คิดเทียบเป็นราคากากน้ำตาลประมาณ 5,225.76 บาทต่อตัน หรือเทียบกับ 130.64 ดอลลาร์สหรัฐ
2.3 ราคากากน้ำตาลในประเทศขณะนี้มีการขยับตัวค่อนข้างสูงอยู่ที่ 110-115 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เนื่องจากสถานการณ์โลกปีนี้มีปริมาณกากน้ำตาลน้อยกว่าปริมาณที่ต้องการบริโภค ทำให้ราคากากน้ำตาลมีแนวโน้มว่าจะคงตัวหรือขยับสูงขึ้น
2.4 ในส่วนของอุตสาหกรรมเอทานอล เนื่องจากกระทรวงพลังงานได้กำหนดราคาให้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อขาย และประกาศที่ได้ตกลงกันไว้ก็อยู่ในช่วงระยะที่สั้น ยากแก่การวางแผนผลิต ประกอบกับราคาเอทานอลในประเทศไม่คุ้มทุน ทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตหรือจะผลิตเอทานอลชะลอตัวและหยุดการผลิต
2.5 พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มิได้ระบุขอบข่ายถึงการห้ามส่งออกกากน้ำตาลหรือกำหนดราคากากน้ำตาล หากมีความจำเป็นต้องห้ามส่งออก อาจใช้พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงพาณิชย์ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 พฤษภาคม 2549--จบ--
1. ข้อมูลเรื่องปริมาณอ้อยและปริมาณกากน้ำตาลปี 2548/2549
1.1 ปริมาณอ้อยปี 2548/2549 จะมีปริมาณ 40 ล้านตัน
1.2 จำนวนกากน้ำตาลปี 2548/2549 เมือปิดหีบแล้ว คาดว่าจะมีประมาณ 1.62 ล้านตัน
1.3 กากน้ำตาลเหลือค้างของปีที่ผ่านมา มีจำนวน 0.037 ล้านตัน รวมเป็นปริมาณกากน้ำตาลปี 2548/2549 ทั้งสิ้น 1.65 ล้านตัน
1.4 ปริมาณการใช้กากน้ำตาลในประเทศ 1.95 ล้านตัน (ประมาณการจากความต้องการใช้กากน้ำตาลของโรงงานเอทานอล 3 แห่ง ประมาณ 650,000 ตัน โรงงานสุรา 1,000,000 ตัน โรงงานอาหารสัตว์ โรงงานผงชูรสและอื่น ๆ อีก 300,000 ตัน
1.5 ปริมาณกากน้ำตาลในฤดูการผลิตปี 2548/2549 มีไม่เพียงพอสำหรับใช้ในประเทศประมาณ 0.30 ล้านตัน
2. แนวทางดำเนินการต่อไป
2.1 กระทรวงพลังงานแจ้งข้อมูลและข้อคิดเห็นว่า ปัจจุบันบริษัทน้ำมันได้เจรจาซื้อขายเอทานอลจากผู้ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาลในประเทศ ในราคาลิตรละ 19.00 บาท และหากการผลิตเอทานอลในประเทศไม่เพียงพอ จำเป็นต้องนำเข้า การกำหนดราคาเอทานอลควรเทียบกับราคาเอทานอลนำเข้าที่ตลาดโลก เพื่อให้มีการอ้างอิงที่เป็นมาตรฐานและมีความเหมาะสม ทั้งนี้ ราคากากน้ำตาล เมื่อเทียบกับราคาเอทานอลนำเข้า ณ ตลาดชิคาโก ควรอยู่ในระดับที่ไม่เกิน 95 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (หรือประมาณ 3,800 บาทต่อตัน)
2.2 ราคาเอทานอล ณ ตลาดชิคาโด ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2549 เท่ากับ 2.47 ดอลลาร์สหรัฐต่อแกลลอนหรือเท่ากับ 26.10 บาทต่อลิตร คิดเทียบเป็นราคากากน้ำตาลประมาณ 5,225.76 บาทต่อตัน หรือเทียบกับ 130.64 ดอลลาร์สหรัฐ
2.3 ราคากากน้ำตาลในประเทศขณะนี้มีการขยับตัวค่อนข้างสูงอยู่ที่ 110-115 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เนื่องจากสถานการณ์โลกปีนี้มีปริมาณกากน้ำตาลน้อยกว่าปริมาณที่ต้องการบริโภค ทำให้ราคากากน้ำตาลมีแนวโน้มว่าจะคงตัวหรือขยับสูงขึ้น
2.4 ในส่วนของอุตสาหกรรมเอทานอล เนื่องจากกระทรวงพลังงานได้กำหนดราคาให้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อขาย และประกาศที่ได้ตกลงกันไว้ก็อยู่ในช่วงระยะที่สั้น ยากแก่การวางแผนผลิต ประกอบกับราคาเอทานอลในประเทศไม่คุ้มทุน ทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตหรือจะผลิตเอทานอลชะลอตัวและหยุดการผลิต
2.5 พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มิได้ระบุขอบข่ายถึงการห้ามส่งออกกากน้ำตาลหรือกำหนดราคากากน้ำตาล หากมีความจำเป็นต้องห้ามส่งออก อาจใช้พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงพาณิชย์ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 พฤษภาคม 2549--จบ--