คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนรายงานสรุปผลการดำเนินการตามมาตรการ และแผนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุ ทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2549 และแนวทางในการดำเนินการระยะต่อไป ของปี 2549 โดยศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจะได้ประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เพื่อหาข้อสรุปนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ในโอกาสต่อไปสรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2549 (วันที่ 29 ธันวาคม 2548 - 4 มกราคม 2549 รวม 7 วัน) ดังนี้
(1) อุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้น 4,164 ครั้ง ต่ำกว่าปี 2548 (6,842 ครั้ง) จำนวน 2,678 ครั้ง คิดเป็น ร้อยละ 39.14
(2) ผู้เสียชีวิต จำนวน 434 คน ลดลงจากประมาณการเสียชีวิต 7 วัน ปี 2549 (536 คน) จำนวน 102 คน คิดเป็นร้อยละ 19.03
เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายคาดคะเน (ลด 15% จากค่าประมาณการ) ค่าคาดคะเนสะสม 7 วัน รวม 456 คน ลดลงได้ต่ำกว่าเป้าหมายคาดคะเน จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 4.82
เปรียบเทียบกับปี 2548 สะสม 7 วัน รวม 469 คน ลดลงจำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 7.46
(3) ผู้บาดเจ็บ จำนวน 4,772 คน ลดลงจากประมาณการบาดเจ็บ (9,651คน)จำนวน 4,879 คน คิดเป็นร้อยละ 50.55 และลดลงจากปี 2548 (8,547 คน) 3,775 คน คิดเป็นร้อยละ 44.17
(4) จังหวัดที่มียอดผู้เสียชีวิตสูงสุด เรียงตามลำดับ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ (20 คน สูงกว่าประมาณการ 11 คน) จังหวัดนครราชสีมา (17 คน ต่ำกว่าประมาณการ 4 คน) จังหวัดเชียงใหม่ (15 คน ต่ำกว่าประมาณการ 3 คน) จังหวัดหนองคาย (14 คน สูงกว่าประมาณการ 8 คน) และจังหวัดอุบลราชธานี (13 คน สูงกว่าประมาณการ 1 คน)
(5) ประเภทยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ รถมอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 86.29 รถปิกอัพร้อยละ 5.71
(6) สาเหตุพฤติกรรมเสี่ยงของอุบัติเหตุที่สำคัญ ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 37 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 20.19
(7) ประเภทถนนเป็นนอกเขตทางหลวง ร้อยละ 63.70 ในเขตทางหลวง ร้อยละ 36.30
(8) บริเวณจุดเกิดเหตุ ส่วนใหญ่เป็นทางตรงร้อยละ 60.00 ทางโค้ง ร้อยละ 17.43
(9) การนำส่งสถานพยาบาล ส่วนใหญ่เป็นประชาชน ร้อยละ 54.31 รองลงมา มูลนิธิ/อาสาสมัคร ร้อยละ 20.08
(10) ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่ช่วง 16.01 — 20.00 น. ร้อยละ 28.77
(11) การปฏิบัติงานจัดตั้งจุดตรวจทั่วประเทศ เฉลี่ยวันละ 3,071 จุด มีผู้ปฏิบัติหน้าที่เฉลี่ยวันละ 28 คนต่อจุด เฉลี่ยรวม 88,022 คนต่อวัน
(12) ผลการดำเนินการตามมาตรการ 3ม 2ข 1ร ยานพาหนะถูกเรียกตรวจ 13,623,125 คัน ถูกดำเนินคดี 278,259 ราย
การปฏิบัติงานในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2549 มีลักษณะและรูปแบบการดำเนินการ ดังนี้
(1) การดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2549 ครั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 ในลักษณะของการบูรณาการความร่วมมือในการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยปฏิบัติในระดับพื้นที่ (จังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอ/ท้องถิ่น) มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมและจุดตรวจ/ด่านตรวจร่วม โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 เป็นต้นมา และปฏิบัติงานเข้มข้นช่วง 7 วัน (29 ธันวาคม 2548 - 4 มกราคม 2549)
(2) การปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติในระดับพื้นที่ มีเจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยที่ได้เสียสละ และทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ ปฏิบัติงานใกล้ชิดและคลุกคลีอยู่ในเหตุการณ์และสถานการณ์ อาทิ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ฝ่ายคมนาคม เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เจ้าหน้าที่จากกระทรวงแรงงานและสถาบันการศึกษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งนครบาล ภูธร ทางหลวง และท่องเที่ยว รวมทั้งภาคเอกชน มูลนิธิ อาสาสมัคร องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน/หมู่บ้าน
(3) การทำงานในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2549 ของเจ้าหน้าที่และหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ได้ดำเนินการควบคุมตรวจสอบและดูแล เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน/นักเดินทางและประชาชนโดยทั่วไป ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทั้ง 7 วัน (วันที่ 29 ธันวาคม 2548 - 4 มกราคม 2549) ใช้ผู้ปฏิบัติงานทั่วประเทศเฉลี่ยวันละ 28 คน ต่อจุด เฉลี่ยรวม 88,022 คนต่อวัน ได้รับค่าตอบแทนเพียง วันละ 100 บาท/คน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับหน้าที่ที่ปฏิบัติแล้ว ถือว่าเป็นการทำงานที่หนักและเสียสละอย่างมาก
(4) ความร่วมมือจากสถานีบริการน้ำมัน สมาคมรถบรรทุกสินค้า สถานีวิทยุโทรทัศน์ทุกช่อง รวมทั้งภาคีเครือข่ายวิทยุชุมชนและวิทยุทหาร ตำรวจ ร่วมรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การงดจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในบริเวณร้านสะดวกซื้อของสถานีบริการน้ำมัน และการเข้มงวดห้ามจำหน่ายแก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี การหยุดวิ่งของรถบรรทุกสินค้าในช่วงเทศกาลปีใหม่ตลอดจนการอำนวยความสะดวกโดยการจัดหน่วยบริการ/ช่วยเหลือซ่อมแซมรถเสีย และประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ความรู้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนเพื่อการเดินทางที่ปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง เป็นประจำทุกวัน
ข้อค้นพบสำคัญจากการปฏิบัติงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล ปีใหม่ 2549
(1) ด้านการบังคับใช้กฎหมาย
- พบว่ามอเตอร์ไซด์มากกว่า 80% เป็นพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ สาเหตุ คือ เมาสุรา ขับรถเร็ว และมีพฤติกรรมเสี่ยงสูงสุด คือ ไม่สวมหมวกนิรภัย ประมาณ 64% และส่วนใหญ่เป็นผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ซึ่งอยู่ในวัยรุ่นและวัยแรงงาน
- การตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจ/การตรวจจับดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุอย่างจริงจังสม่ำเสมอ เช่น เมาสุรา ความเร็ว ทำให้เกิดอุบัติเหตุลดลง
- จุดตรวจเคลื่อนที่ตามห้วงเวลาและถนนสายสำคัญ
(2) ปัญหาด้านวิศวกรรมจราจร
- สภาพถนนที่ยังซ่อมแซมไม่สมบูรณ์
- ทางโค้ง ทางร่วม ทางแยก ทางเชื่อมถนนตรอก/ซอย กับถนนหลัก และทางที่เกิดอุบัติเหตุ บ่อยครั้ง บางจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุใหญ่ ในเทศกาลปีใหม่นี้ ขาดป้ายเตือนหรือเครื่องหมายเตือน และ ไฟส่องสว่างที่เพียงพอ
- ทางตรงเกิดอุบัติเหตุสูงสุด จึงต้องตั้งด่านตรวจให้มากขึ้น เพื่อชลอความเร็วรถ
(3) การรณรงค์ประชาสัมพันธ์
- ความร่วมมือของเครือข่ายวิทยุ (ราชการ เอกชน และท้องถิ่น/ชุมชน)
- ความต่อเนื่องของการดำเนินการ (ก่อนเทศกาลต่อเนื่องและเพิ่มความเข้ม ความถี่ในช่วงเทศกาล)
- การนำเสนอรายการที่มีสาระและครอบคลุมพื้นที่อย่างต่อเนื่องเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้รถใช้ถนน (รายการสัญจรปลอดภัย)
(4) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จ
- มีการกำหนดนโยบายการปฏิบัติที่ชัดเจน เช่น การตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ การตรวจจับ
- มีการกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายรองผู้ว่าราชการจังหวัด โดยเฉพาะเพื่อรับผิดชอบประสานงานกับศูนย์ฯ จังหวัด และผู้รับผิดชอบระดับอำเภอ
- การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เข้มข้น
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นในการให้คำแนะนำคนในชุมชน
- การมอบความรับผิดชอบในการกำหนดแผนปฏิบัติและยุทธวิธีตามความเหมาะสมของจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัด CEO
- การประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึงและต่อเนื่อง จากสื่อมวลชนทุกประเภท ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น
- ความร่วมมือขององค์กรเครือข่ายทุกภาคส่วน
- การตั้งจุดตรวจแบบบูรณาการจากทุกหน่วยงาน รวมทั้งจุดอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนบนเส้นทางหลักทุกเส้นทาง
- การอำนวยการ ติดตาม แก้ไขปัญหาของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน และ ศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 มกราคม 2549--จบ--
(1) อุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้น 4,164 ครั้ง ต่ำกว่าปี 2548 (6,842 ครั้ง) จำนวน 2,678 ครั้ง คิดเป็น ร้อยละ 39.14
(2) ผู้เสียชีวิต จำนวน 434 คน ลดลงจากประมาณการเสียชีวิต 7 วัน ปี 2549 (536 คน) จำนวน 102 คน คิดเป็นร้อยละ 19.03
เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายคาดคะเน (ลด 15% จากค่าประมาณการ) ค่าคาดคะเนสะสม 7 วัน รวม 456 คน ลดลงได้ต่ำกว่าเป้าหมายคาดคะเน จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 4.82
เปรียบเทียบกับปี 2548 สะสม 7 วัน รวม 469 คน ลดลงจำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 7.46
(3) ผู้บาดเจ็บ จำนวน 4,772 คน ลดลงจากประมาณการบาดเจ็บ (9,651คน)จำนวน 4,879 คน คิดเป็นร้อยละ 50.55 และลดลงจากปี 2548 (8,547 คน) 3,775 คน คิดเป็นร้อยละ 44.17
(4) จังหวัดที่มียอดผู้เสียชีวิตสูงสุด เรียงตามลำดับ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ (20 คน สูงกว่าประมาณการ 11 คน) จังหวัดนครราชสีมา (17 คน ต่ำกว่าประมาณการ 4 คน) จังหวัดเชียงใหม่ (15 คน ต่ำกว่าประมาณการ 3 คน) จังหวัดหนองคาย (14 คน สูงกว่าประมาณการ 8 คน) และจังหวัดอุบลราชธานี (13 คน สูงกว่าประมาณการ 1 คน)
(5) ประเภทยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ รถมอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 86.29 รถปิกอัพร้อยละ 5.71
(6) สาเหตุพฤติกรรมเสี่ยงของอุบัติเหตุที่สำคัญ ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 37 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 20.19
(7) ประเภทถนนเป็นนอกเขตทางหลวง ร้อยละ 63.70 ในเขตทางหลวง ร้อยละ 36.30
(8) บริเวณจุดเกิดเหตุ ส่วนใหญ่เป็นทางตรงร้อยละ 60.00 ทางโค้ง ร้อยละ 17.43
(9) การนำส่งสถานพยาบาล ส่วนใหญ่เป็นประชาชน ร้อยละ 54.31 รองลงมา มูลนิธิ/อาสาสมัคร ร้อยละ 20.08
(10) ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่ช่วง 16.01 — 20.00 น. ร้อยละ 28.77
(11) การปฏิบัติงานจัดตั้งจุดตรวจทั่วประเทศ เฉลี่ยวันละ 3,071 จุด มีผู้ปฏิบัติหน้าที่เฉลี่ยวันละ 28 คนต่อจุด เฉลี่ยรวม 88,022 คนต่อวัน
(12) ผลการดำเนินการตามมาตรการ 3ม 2ข 1ร ยานพาหนะถูกเรียกตรวจ 13,623,125 คัน ถูกดำเนินคดี 278,259 ราย
การปฏิบัติงานในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2549 มีลักษณะและรูปแบบการดำเนินการ ดังนี้
(1) การดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2549 ครั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 ในลักษณะของการบูรณาการความร่วมมือในการปฏิบัติงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยปฏิบัติในระดับพื้นที่ (จังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอ/ท้องถิ่น) มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมและจุดตรวจ/ด่านตรวจร่วม โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 เป็นต้นมา และปฏิบัติงานเข้มข้นช่วง 7 วัน (29 ธันวาคม 2548 - 4 มกราคม 2549)
(2) การปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติในระดับพื้นที่ มีเจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยที่ได้เสียสละ และทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ ปฏิบัติงานใกล้ชิดและคลุกคลีอยู่ในเหตุการณ์และสถานการณ์ อาทิ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ฝ่ายคมนาคม เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เจ้าหน้าที่จากกระทรวงแรงงานและสถาบันการศึกษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งนครบาล ภูธร ทางหลวง และท่องเที่ยว รวมทั้งภาคเอกชน มูลนิธิ อาสาสมัคร องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน/หมู่บ้าน
(3) การทำงานในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2549 ของเจ้าหน้าที่และหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ได้ดำเนินการควบคุมตรวจสอบและดูแล เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน/นักเดินทางและประชาชนโดยทั่วไป ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทั้ง 7 วัน (วันที่ 29 ธันวาคม 2548 - 4 มกราคม 2549) ใช้ผู้ปฏิบัติงานทั่วประเทศเฉลี่ยวันละ 28 คน ต่อจุด เฉลี่ยรวม 88,022 คนต่อวัน ได้รับค่าตอบแทนเพียง วันละ 100 บาท/คน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับหน้าที่ที่ปฏิบัติแล้ว ถือว่าเป็นการทำงานที่หนักและเสียสละอย่างมาก
(4) ความร่วมมือจากสถานีบริการน้ำมัน สมาคมรถบรรทุกสินค้า สถานีวิทยุโทรทัศน์ทุกช่อง รวมทั้งภาคีเครือข่ายวิทยุชุมชนและวิทยุทหาร ตำรวจ ร่วมรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การงดจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในบริเวณร้านสะดวกซื้อของสถานีบริการน้ำมัน และการเข้มงวดห้ามจำหน่ายแก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี การหยุดวิ่งของรถบรรทุกสินค้าในช่วงเทศกาลปีใหม่ตลอดจนการอำนวยความสะดวกโดยการจัดหน่วยบริการ/ช่วยเหลือซ่อมแซมรถเสีย และประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ความรู้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนเพื่อการเดินทางที่ปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง เป็นประจำทุกวัน
ข้อค้นพบสำคัญจากการปฏิบัติงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล ปีใหม่ 2549
(1) ด้านการบังคับใช้กฎหมาย
- พบว่ามอเตอร์ไซด์มากกว่า 80% เป็นพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ สาเหตุ คือ เมาสุรา ขับรถเร็ว และมีพฤติกรรมเสี่ยงสูงสุด คือ ไม่สวมหมวกนิรภัย ประมาณ 64% และส่วนใหญ่เป็นผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ซึ่งอยู่ในวัยรุ่นและวัยแรงงาน
- การตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจ/การตรวจจับดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุอย่างจริงจังสม่ำเสมอ เช่น เมาสุรา ความเร็ว ทำให้เกิดอุบัติเหตุลดลง
- จุดตรวจเคลื่อนที่ตามห้วงเวลาและถนนสายสำคัญ
(2) ปัญหาด้านวิศวกรรมจราจร
- สภาพถนนที่ยังซ่อมแซมไม่สมบูรณ์
- ทางโค้ง ทางร่วม ทางแยก ทางเชื่อมถนนตรอก/ซอย กับถนนหลัก และทางที่เกิดอุบัติเหตุ บ่อยครั้ง บางจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุใหญ่ ในเทศกาลปีใหม่นี้ ขาดป้ายเตือนหรือเครื่องหมายเตือน และ ไฟส่องสว่างที่เพียงพอ
- ทางตรงเกิดอุบัติเหตุสูงสุด จึงต้องตั้งด่านตรวจให้มากขึ้น เพื่อชลอความเร็วรถ
(3) การรณรงค์ประชาสัมพันธ์
- ความร่วมมือของเครือข่ายวิทยุ (ราชการ เอกชน และท้องถิ่น/ชุมชน)
- ความต่อเนื่องของการดำเนินการ (ก่อนเทศกาลต่อเนื่องและเพิ่มความเข้ม ความถี่ในช่วงเทศกาล)
- การนำเสนอรายการที่มีสาระและครอบคลุมพื้นที่อย่างต่อเนื่องเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้รถใช้ถนน (รายการสัญจรปลอดภัย)
(4) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จ
- มีการกำหนดนโยบายการปฏิบัติที่ชัดเจน เช่น การตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ การตรวจจับ
- มีการกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายรองผู้ว่าราชการจังหวัด โดยเฉพาะเพื่อรับผิดชอบประสานงานกับศูนย์ฯ จังหวัด และผู้รับผิดชอบระดับอำเภอ
- การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เข้มข้น
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นในการให้คำแนะนำคนในชุมชน
- การมอบความรับผิดชอบในการกำหนดแผนปฏิบัติและยุทธวิธีตามความเหมาะสมของจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัด CEO
- การประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึงและต่อเนื่อง จากสื่อมวลชนทุกประเภท ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น
- ความร่วมมือขององค์กรเครือข่ายทุกภาคส่วน
- การตั้งจุดตรวจแบบบูรณาการจากทุกหน่วยงาน รวมทั้งจุดอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนบนเส้นทางหลักทุกเส้นทาง
- การอำนวยการ ติดตาม แก้ไขปัญหาของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน และ ศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 มกราคม 2549--จบ--