คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
โดยร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญ เป็นการปรับปรุงกฎกระทรวง ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ขยายขอบเขตในการควบคุมการก่อสร้างอาคารในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรงของอาคารและความปลอดภัยของประชาชนกระทรวงมหาดไทยรายงานตามรายงานของกรมโยธาธิการและผังเมืองว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทานและความคงทนของอาคารหรือพื้นดินที่รองรับอาคาร สำหรับการก่อสร้างอาคารในเขตที่อาจได้รับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว) ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากผลการศึกษาพบว่าชั้นดินอ่อนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีผลให้เกิดการขยายการสั่นสะเทือนในกรณีที่เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งมีผลทำให้อาคารในพื้นที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวในระยะไกล ประกอบกับในพื้นที่ภาคใต้ปรากฏว่ามีรอยเลื่อน และมีการสั่นสะเทือนในพื้นที่ดังกล่าวบ่อยครั้ง โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในทะเลอันดามัน ทำให้อาคารในพื้นที่บริเวณรอยเลื่อนมีความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวดังกล่าว และเพื่อเป็นการขยายขอบเขตในการควบคุมการก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหว สมควรกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทานและความคงทนของอาคาร หรือพื้นที่รองรับอาคารในการ ต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวให้สามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ซึ่งคณะกรรมการควบคุมอาคารได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--
โดยร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญ เป็นการปรับปรุงกฎกระทรวง ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ขยายขอบเขตในการควบคุมการก่อสร้างอาคารในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรงของอาคารและความปลอดภัยของประชาชนกระทรวงมหาดไทยรายงานตามรายงานของกรมโยธาธิการและผังเมืองว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทานและความคงทนของอาคารหรือพื้นดินที่รองรับอาคาร สำหรับการก่อสร้างอาคารในเขตที่อาจได้รับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว) ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากผลการศึกษาพบว่าชั้นดินอ่อนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีผลให้เกิดการขยายการสั่นสะเทือนในกรณีที่เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งมีผลทำให้อาคารในพื้นที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวในระยะไกล ประกอบกับในพื้นที่ภาคใต้ปรากฏว่ามีรอยเลื่อน และมีการสั่นสะเทือนในพื้นที่ดังกล่าวบ่อยครั้ง โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในทะเลอันดามัน ทำให้อาคารในพื้นที่บริเวณรอยเลื่อนมีความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวดังกล่าว และเพื่อเป็นการขยายขอบเขตในการควบคุมการก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหว สมควรกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทานและความคงทนของอาคาร หรือพื้นที่รองรับอาคารในการ ต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวให้สามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ซึ่งคณะกรรมการควบคุมอาคารได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--