สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มีนาคม 2553)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 10, 2010 15:04 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มีนาคม 2553) สรุปสถานการณ์ดังกล่าว รวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 - 8 มีนาคม 2553)

1.1 พื้นที่ประสบภัย 36 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย ตาก น่าน พะเยา แพร่ ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ พิจิตร เชียงใหม่ ขอนแก่น เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม ลพบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ปราจีนบุรี ตรัง นครศรีธรรมราช ระนอง และจังหวัดสตูล รวม 277 อำเภอ 1,874 ตำบล 13,975 หมู่บ้าน แยกเป็น

ข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2553 (ณ วันที่ 8 มีนาคม 2553)

ที่                         พื้นที่ประสบภัย                                                       ราษฎรประสบภัย
   ภาค       จังหวัด     อำเภอ     ตำบล      หมู่บ้าน     รายชื่อจังหวัด                           คน      ครัวเรือน
1  เหนือ         13       120      768      5,310     กำแพงเพชร เชียงราย ตาก         1,095,820      367,961
                                                     น่าน นครสวรรค์ พะเยา
                                                     พิจิตร แพร่ ลำปาง ลำพูน
                                                     สุโขทัย อุตรดิตถ์ เชียงใหม่
2  ตะวันออก       6        93      734      6,525     ขอนแก่น เลย หนองบัวลำภู          1,868,746      444,100
   เฉียงเหนือ                                          อุดรธานี อุบลราชธานี บุรีรัมย์
3  กลาง          9        25      146        902     กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์             210,356       68,869
                                                     เพชรบุรี  ราชบุรี  สุพรรณบุรี
                                                     ชัยนาท นครนายก นครปฐม ลพบุรี
4  ตะวันออก       4        22      135        792     จันทบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว          646,452      114,393
                                                     ปราจีนบุรี
5  ใต้            4        17       91        446     ตรัง นครศรีธรรมราช ระนอง สตูล      110,339       34,488
รวมทั้งประเทศ     36       277    1,874     13,975                                   3,931,713    1,029,811

ข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2552 ในห้วงเวลาเดียวกัน

ที่                         พื้นที่ประสบภัย                                                       ราษฎรประสบภัย
   ภาค       จังหวัด     อำเภอ     ตำบล      หมู่บ้าน     รายชื่อจังหวัด                           คน      ครัวเรือน
1  เหนือ         11        85      480      3,727     กำแพงเพชร ตาก น่าน พิจิตร        1,034,706      301,780
                                                     แพร่ ลำปาง พิษณุโลก สุโขทัย
                                                     อุตรดิตถ์ พะเยา ลำพูน
2  ตะวันออก       7        83      420      4,015     ชัยภูมิ  ขอนแก่น นครพนม           1,478,807      356,689
   เฉียงเหนือ                                          สกลนคร นครราชสีมา กาฬสินธุ์
                                                     สุรินทร์
3  กลาง          3        19      111        483     ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี        123,434       30,421
4  ตะวันออก       5        31      107        730     ตราด  สระแก้ว  จันทบุรี             271,124       77,598
                                                     ฉะเชิงเทรา ระยอง
5  ใต้            3        10       47        277     ชุมพร  ตรัง นครศรีธรรมราช           55,915       15,160
รวมทั้งประเทศ     29       228    1,165      9,232                                   2,963,986      781,648

ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2553 กับปี 2552 ในห้วงเวลาเดียวกัน

ที่   ภาค      จำนวนหมู่บ้าน              ข้อมูลปี  2553               ข้อมูลปี  2552            เปรียบเทียบข้อมูลภัย
               ทั้งประเทศ        (ณ วันที่  8 มีนาคม 2553)     (ณ วันที่  8 มีนาคม 2552)       แล้ง ปี 2553 กับปี 2552
                                หมู่บ้าน     คิดเป็นร้อยละ       หมู่บ้าน     คิดเป็นร้อยละ       จำนวน    คิดเป็นร้อยละ
                               ที่ประสบ    (ของหมู่บ้านทั้ง      ที่ประสบ    (ของหมู่บ้านทั้ง       หมู่บ้าน     ของหมู่บ้านที่
                                ภัยแล้ง        ประเทศ)       ภัยแล้ง      ทั้งประเทศ)      + เพิ่ม/    ประสบภัยแล้ง
                                                                                       - ลด        ปี 2552
1   เหนือ         16,590         5,310          32.01       3,727          22.47      +1,583        +42.47
2   ตะวันออก      33,099         6,525          19.71       4,015          12.13      +2,510        +62.52
    เฉียงเหนือ
3   กลาง         11,736           902           7.68         483           4.12        +419        +86.75
4   ตะวันออก       4,859           792          16.30         730          15.02         +62         +8.49
5   ใต้            8,660           446           5.15         277           3.20        +169        +61.01
    รวม          74,944        13,975          18.65       9,232          12.32      +4,743        +51.38

ปี 2553 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง 36 จังหวัด 277 อำเภอ 1,874 ตำบล 13,975 หมู่บ้าน (คิดเป็นร้อยละ 38.15 ของหมู่บ้านทั้งหมดในจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง 36,634 หมู่บ้าน และร้อยละ 18.65 ของหมู่บ้านทั้งประเทศ 74,944 หมู่บ้าน)

เปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 29 จังหวัด 228 อำเภอ 1,165 ตำบล 9,232 หมู่บ้าน (คิดเป็นร้อยละ 31.32 ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 29 จังหวัด ที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็นร้อยละ 12.32 ของหมู่บ้านทั้งประเทศ 74,944 หมู่บ้าน)

ปี 2553 หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง มากกว่า ปี 2552 จำนวน 4,743 หมู่บ้าน หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.38

1.2 ความเสียหาย

  • ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3,931,713 คน 1,029,811 ครัวเรือน
  • พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย รวม 118,414 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 114,327 ไร่ นาข้าว 3,431 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 656 ไร่

1.3 การให้ความช่วยเหลือ

1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 348 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว จำนวน 46,758,650 ลิตร

2) ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 2,559 แห่ง

3) ขุดลอกแหล่งน้ำ 479 แห่ง

4) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 264,452,113 บาท แยกเป็น

  • งบทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 185,684,112 บาท
  • งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 78,727,612 บาท (ข้อมูลกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
  • งบอื่น ๆ 40,389 บาท

5) กรมชลประทาน ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 669 เครื่อง ไปให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ 39 จังหวัด โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 231 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 245 เครื่อง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก 160 เครื่อง ภาคใต้ 33 เครื่อง และรถบรรทุกน้ำ 8 คัน

2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 8 - 13 มีนาคม 2553

2.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ในช่วงวันที่ 8-12 มีนาคม 2553 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้เกิดพายุฤดูร้อนได้ โดยเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ทำให้อุณหภูมิลดลงซึ่งจะบรรเทาอากาศร้อนได้ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกที่จะเกิดขึ้น ซึ่งทำให้ต้นไม้หักโค่น ป้ายโฆษณาหรือบ้านเรือนได้รับความเสียหาย สำหรับคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังแรงตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2553 ชาวเรือควรระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือในระยะนี้

2.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศ ให้จังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากพายุฤดูร้อน อาจสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิต ทรัพย์สิน และพืชผลทางการเกษตรของประชาชน และแจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะคลื่นลมแรง ให้จังหวัดในภาคใต้ เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาคลื่นลมแรง และให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 มีนาคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ