คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ 2549 ดังนี้
1. ความเป็นมา
ปี 2542 กรมส่งเสริมการส่งออกหารือการจัดงานมหกรรมพืชสวน เพื่อส่งเสริมการส่งออกและการท่องเที่ยว
ปี 2543 สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทยและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยื่นเสนอขอเป็นเจ้าภาพจัดงานในปี 2549
ปี 2546 AIPH : Association of International Horticultural Producer รับรองให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานในปี 2549 ระดับ A2 B1
ครม.มิ.ย.2546 เห็นชอบการจัดงาน โดยให้จัดที่เชียงใหม่และมีมติต่อเนื่องเกี่ยวกับการจัดงานอีกหลายครั้ง รวมทั้งอนุมัติงบประมาณ 2,060.7 ล้านบาท
ปี 2548 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอปรับระดับการจัดงานเป็นระดับ A1 เป็นระดับนานาชาติที่เป็นระดับสูงสุด โดยมีองค์กรรับรอง คือ AIPH รับรอง 27 ก.ย.48 และ BIE : Bureau of International Expositions รับรอง 1 ธ.ค. 48
2. วัตถุประสงค์ของการจัดงาน
2.1 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี 2549 และมีพระชนมายุ 80 พรรษาในปี 2550
2.2 เพื่อแสดงถึงศักยภาพพืชสวนของไทย รวมทั้งการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างประเทศ
2.3 เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าพืชสวน การท่องเที่ยว และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย
3. การจัดงาน
3.1 พื้นที่ 470 ไร่ บริเวณศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (กรมวิชาการเกษตร) ต. แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
3.2 ระยะเวลา 1 พ.ย.49-31 ม.ค.50
3.3 เป้าหมาย มีประเทศเข้าร่วม 30 ประเทศ ผู้เข้าชมงาน 2 ล้านคน (เป็นต่างชาติ 10% )
3.4 หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย
4. องค์ประกอบของงาน
4.1 การจัดสวนนานาชาติ (International Garden) จาก 5 ทวีป (พื้นที่ประมาณ 15 ไร่) 1) สวนนอกอาคาร มี 21 ประเทศ 22 สวน 2) สวนในอาคาร มี 6 ประเทศ
4.2 การจัดสวนเฉลิมพระเกียรติ (Cooperate Garden) (พื้นที่ประมาณ 25 ไร่) โดยองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 22 สวน โดยนำเอาแนวพระราชดำริมาเป็นแนวคิดในการจัดสวนด้วย
4.3 การจัดสวนพรรณไม้เขตร้อนชื้น (Thai Tropical Garden) (พื้นที่ประมาณ 80 ไร่) เป็นการจัดสวนแสดงถึงนานาพันธุ์ไม้และวัฒนธรรมของไทยที่เกี่ยวข้อง โดยกรมวิชาการเกษตรจ้างให้บริษัทกิจการร่วมค้า CKNNL เป็นผู้ดำเนินการ มีการแสดงพันธุ์ไม้ เช่น 1. ไม้ผล 2. พืชผัก 3. ไม้ดอก 4. สมุนไพร 5. ไม้ในกลุ่มต่าง ๆ : ไม้ด่าง ไม้น้ำ ไม้ในร่ม ไม้หอม ไม้ในวรรณคดี ไม้ประจำจังหวัด ปาล์ม/ปรง ฯลฯ 6. การแสดงเทคโนโลยีกลุ่มต่าง ๆ
4.4 การจัดนิทรรศการภายในอาคาร ทั้งในอาคารถาวรและอาคารชั่วคราว โดยเชิญชวนองค์กรทั้งภาครัฐ-เอกชน ทั้งในและต่างประเทศมาร่วมจัดแสดงในแต่ละช่วงเวลา (กรณีในอาคารชั่วคราว)
1) ในอาคารถาวร เช่น ประวัติพืชสวนไทย บ้านชาวสวน เรือนไทย 4 ภาค พืชไร้ดิน พืชทะเลทราย พืชเมืองหนาว เทคโนโลยีชีวภาพ พืชหายาก ฯลฯ
2) ในอาคารชั่วคราว เช่น ไม้ดอกนานาชาติ ดอกไม้สี่ฤดู บัวและไม้น้ำ ไม้แปลกไม้หายาก ผักผลไม้ ไม้ใบ ไม้กระถาง ภาพถ่ายมหกรรมพืชสวนโลก ฯลฯ
4.5 การประกวดแข่งขัน เป็นเงื่อนไขที่ต้องจัดให้มีขึ้นตลอดการจัดงาน โดยมีกรรมการกลางระหว่างประเทศ (Grand Jury) กำกับการประกวดจำนวน 12 กลุ่ม 535 รายการ ตลอดช่วง 92 วัน เช่น กล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ใบ ไม้ด่าง ไม้น้ำ ที่สำคัญมากคือ สวนนานาชาติ ทั้งในและนอกอาคาร
4.6 การประชุม-สัมมนาทางวิชาการ ที่เชียงใหม่
1) การประชุมนานาชาติ (6 รายการ) ได้แก่ กระบวนการตรวจสอบและรับรองการผลิตผัก ผลไม้ ไม้ผลเมืองร้อน-กึ่งเมืองร้อน สายการผลิตผัก-ผลไม้สด ไม้ดอกและไม้ประดับ สมุนไพรและไม้หอม มาตรฐานสินค้าอาหาร
2) การประชุมระดับชาติ (8 รายการ) ได้แก่ พืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 6 บัวเป็นพืชเศรษฐกิจ การเป็นผู้นำการส่งออกกล้วยไม้ของไทย การปลูกผักโดยระบบไฮโดรโพนิกส์ การผลิตและตลาดกาแฟ ส้ม มะม่วง ลำไย
4.7 งานเทิดพระเกียรติ
1) หอคำหลวง สร้างอาคารที่เป็นศิลปะล้านนาและใช้เป็นอาคารจัดแสดงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระราชกระแส โดยชั้นบนจะเป็นจิตรกรรมฝาผนังร่วมสมัยและมีสัญลักษณ์ต้นไม้แห่งทศพิธราชธรรม 21,915 ใบ เท่ากับจำนวนวันที่ทรงครองราชย์ (60 ปี) ส่วนด้านล่างเป็นการแสดงนิทรรศการพระราชกรณียกิจ แบ่งเป็น 9 หมวด
2) ต้นโพธิ์แห่งความจงรักภักดี เป็นต้นไม้จำลอง ตั้งอยู่ในแนวแกนจากประตูสู่อาคารหอคำหลวง โดยจะให้ประชาชนร่วมเอาใบโพธิ์ ไปแขวน แล้วนำมาหลอมเป็นพระพุทธรูปถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3) เหรียญเบญจมหามงคล (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.99 เมตร) ตั้งอยู่บนแท่นแก้วในแกนเดียวกันกับต้นโพธิ์แห่งความจงรักภักดีและอาคารหอคำหลวง เพื่อเพิ่มความสง่างามของบริเวณจัดงาน
4.8 งานเสริมเพิ่มสีสรร 1) โลกของแมลง แสดงแมลงทั้งที่ยังมีชีวิตและที่เก็บรวบรวมไว้ 2) งานด้านประติมากรรม 3) งานประดับแสงสีบริเวณสวนและอาคาร
4.9 วัฒนธรรมและการแสดง
1) การแสดงศิลปวัฒนธรรมของต่างประเทศต่าง ๆ 9 ประเทศ โดยจัดขึ้นเป็นการแสดงในวันชาติของตน โดยมี 7 ประเทศที่จัดแสดงตลอดทั้งสัปดาห์
2) การแสดงศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดต่าง ๆ 38 จังหวัด 90 รายการ
3) การแสดงที่ฝ่ายจัดการจัดให้มีขึ้น เช่น ขบวนพาเหรด (ทั้งภาคกลางวันและกลางคืน — Electric Parade) การแสดงม่านน้ำแสงสี
4) การจัดงานในวันเทศกาลสำคัญ เช่น วันลอยกระทง วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันปีใหม่ วันเด็ก เป็นต้น โดยจัดรายการกระจายไปในแต่ละวันทั้ง 92 วัน
4.10 การจำหน่ายสินค้า 1) ในบริเวณงาน เน้นให้กับมูลนิธิและที่เกี่ยวกับโครงการพระราชดำริ 2) นอกบริเวณงาน จัดให้กับอำเภอต่าง ๆ ของเชียงใหม่และเอกชนทั่วไป (สิทธิประโยชน์)
4.11 การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก 1) ร้านอาหาร-ห้องสุขา 2) ศูนย์สื่อสารและการบริการ (Press&Business Centre) 3) ศูนย์บริการผู้เข้าชมงาน (Visitor Centre) 4) ศูนย์การจราจร ขนส่ง และการรักษาความปลอดภัย 5) ศูนย์บริการการสาธารณสุข 6) ศูนย์บริการด้านการนำเข้าส่งออกสิ่งแสดง 7) ศูนย์บริการการก่อสร้าง 8) ศูนย์บริการทั่วไป 9) ศูนย์บริการด้านวิชาการ
5. ความก้าวหน้า เกือบทั้งหมดมีความก้าวหน้าไปตามที่กำหนดและเชื่อมั่นว่าจะสามารถเปิดให้เข้าชมงานได้ตามกำหนด (1 พ.ย.49) และจะเป็นที่ชื่นชอบของผู้เข้าชมงาน
6. การบริหารงานหลังจากงานมหกรรมพืชสวนโลก
6.1 แนวคิด-เป้าหมายการใช้ประโยชน์ 1) เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพืชสวน (open learning center) 2) เป็นสถานที่จัดงานมหกรรม/นิทรรศการ 3) เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
6.2 การบริหารงาน อยู่ระหว่างการพิจารณาการจัดตั้งองค์กรรับผิดชอบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 ตุลาคม 2549--จบ--
1. ความเป็นมา
ปี 2542 กรมส่งเสริมการส่งออกหารือการจัดงานมหกรรมพืชสวน เพื่อส่งเสริมการส่งออกและการท่องเที่ยว
ปี 2543 สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทยและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยื่นเสนอขอเป็นเจ้าภาพจัดงานในปี 2549
ปี 2546 AIPH : Association of International Horticultural Producer รับรองให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานในปี 2549 ระดับ A2 B1
ครม.มิ.ย.2546 เห็นชอบการจัดงาน โดยให้จัดที่เชียงใหม่และมีมติต่อเนื่องเกี่ยวกับการจัดงานอีกหลายครั้ง รวมทั้งอนุมัติงบประมาณ 2,060.7 ล้านบาท
ปี 2548 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอปรับระดับการจัดงานเป็นระดับ A1 เป็นระดับนานาชาติที่เป็นระดับสูงสุด โดยมีองค์กรรับรอง คือ AIPH รับรอง 27 ก.ย.48 และ BIE : Bureau of International Expositions รับรอง 1 ธ.ค. 48
2. วัตถุประสงค์ของการจัดงาน
2.1 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี 2549 และมีพระชนมายุ 80 พรรษาในปี 2550
2.2 เพื่อแสดงถึงศักยภาพพืชสวนของไทย รวมทั้งการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างประเทศ
2.3 เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าพืชสวน การท่องเที่ยว และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย
3. การจัดงาน
3.1 พื้นที่ 470 ไร่ บริเวณศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (กรมวิชาการเกษตร) ต. แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
3.2 ระยะเวลา 1 พ.ย.49-31 ม.ค.50
3.3 เป้าหมาย มีประเทศเข้าร่วม 30 ประเทศ ผู้เข้าชมงาน 2 ล้านคน (เป็นต่างชาติ 10% )
3.4 หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย
4. องค์ประกอบของงาน
4.1 การจัดสวนนานาชาติ (International Garden) จาก 5 ทวีป (พื้นที่ประมาณ 15 ไร่) 1) สวนนอกอาคาร มี 21 ประเทศ 22 สวน 2) สวนในอาคาร มี 6 ประเทศ
4.2 การจัดสวนเฉลิมพระเกียรติ (Cooperate Garden) (พื้นที่ประมาณ 25 ไร่) โดยองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 22 สวน โดยนำเอาแนวพระราชดำริมาเป็นแนวคิดในการจัดสวนด้วย
4.3 การจัดสวนพรรณไม้เขตร้อนชื้น (Thai Tropical Garden) (พื้นที่ประมาณ 80 ไร่) เป็นการจัดสวนแสดงถึงนานาพันธุ์ไม้และวัฒนธรรมของไทยที่เกี่ยวข้อง โดยกรมวิชาการเกษตรจ้างให้บริษัทกิจการร่วมค้า CKNNL เป็นผู้ดำเนินการ มีการแสดงพันธุ์ไม้ เช่น 1. ไม้ผล 2. พืชผัก 3. ไม้ดอก 4. สมุนไพร 5. ไม้ในกลุ่มต่าง ๆ : ไม้ด่าง ไม้น้ำ ไม้ในร่ม ไม้หอม ไม้ในวรรณคดี ไม้ประจำจังหวัด ปาล์ม/ปรง ฯลฯ 6. การแสดงเทคโนโลยีกลุ่มต่าง ๆ
4.4 การจัดนิทรรศการภายในอาคาร ทั้งในอาคารถาวรและอาคารชั่วคราว โดยเชิญชวนองค์กรทั้งภาครัฐ-เอกชน ทั้งในและต่างประเทศมาร่วมจัดแสดงในแต่ละช่วงเวลา (กรณีในอาคารชั่วคราว)
1) ในอาคารถาวร เช่น ประวัติพืชสวนไทย บ้านชาวสวน เรือนไทย 4 ภาค พืชไร้ดิน พืชทะเลทราย พืชเมืองหนาว เทคโนโลยีชีวภาพ พืชหายาก ฯลฯ
2) ในอาคารชั่วคราว เช่น ไม้ดอกนานาชาติ ดอกไม้สี่ฤดู บัวและไม้น้ำ ไม้แปลกไม้หายาก ผักผลไม้ ไม้ใบ ไม้กระถาง ภาพถ่ายมหกรรมพืชสวนโลก ฯลฯ
4.5 การประกวดแข่งขัน เป็นเงื่อนไขที่ต้องจัดให้มีขึ้นตลอดการจัดงาน โดยมีกรรมการกลางระหว่างประเทศ (Grand Jury) กำกับการประกวดจำนวน 12 กลุ่ม 535 รายการ ตลอดช่วง 92 วัน เช่น กล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ใบ ไม้ด่าง ไม้น้ำ ที่สำคัญมากคือ สวนนานาชาติ ทั้งในและนอกอาคาร
4.6 การประชุม-สัมมนาทางวิชาการ ที่เชียงใหม่
1) การประชุมนานาชาติ (6 รายการ) ได้แก่ กระบวนการตรวจสอบและรับรองการผลิตผัก ผลไม้ ไม้ผลเมืองร้อน-กึ่งเมืองร้อน สายการผลิตผัก-ผลไม้สด ไม้ดอกและไม้ประดับ สมุนไพรและไม้หอม มาตรฐานสินค้าอาหาร
2) การประชุมระดับชาติ (8 รายการ) ได้แก่ พืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 6 บัวเป็นพืชเศรษฐกิจ การเป็นผู้นำการส่งออกกล้วยไม้ของไทย การปลูกผักโดยระบบไฮโดรโพนิกส์ การผลิตและตลาดกาแฟ ส้ม มะม่วง ลำไย
4.7 งานเทิดพระเกียรติ
1) หอคำหลวง สร้างอาคารที่เป็นศิลปะล้านนาและใช้เป็นอาคารจัดแสดงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระราชกระแส โดยชั้นบนจะเป็นจิตรกรรมฝาผนังร่วมสมัยและมีสัญลักษณ์ต้นไม้แห่งทศพิธราชธรรม 21,915 ใบ เท่ากับจำนวนวันที่ทรงครองราชย์ (60 ปี) ส่วนด้านล่างเป็นการแสดงนิทรรศการพระราชกรณียกิจ แบ่งเป็น 9 หมวด
2) ต้นโพธิ์แห่งความจงรักภักดี เป็นต้นไม้จำลอง ตั้งอยู่ในแนวแกนจากประตูสู่อาคารหอคำหลวง โดยจะให้ประชาชนร่วมเอาใบโพธิ์ ไปแขวน แล้วนำมาหลอมเป็นพระพุทธรูปถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3) เหรียญเบญจมหามงคล (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.99 เมตร) ตั้งอยู่บนแท่นแก้วในแกนเดียวกันกับต้นโพธิ์แห่งความจงรักภักดีและอาคารหอคำหลวง เพื่อเพิ่มความสง่างามของบริเวณจัดงาน
4.8 งานเสริมเพิ่มสีสรร 1) โลกของแมลง แสดงแมลงทั้งที่ยังมีชีวิตและที่เก็บรวบรวมไว้ 2) งานด้านประติมากรรม 3) งานประดับแสงสีบริเวณสวนและอาคาร
4.9 วัฒนธรรมและการแสดง
1) การแสดงศิลปวัฒนธรรมของต่างประเทศต่าง ๆ 9 ประเทศ โดยจัดขึ้นเป็นการแสดงในวันชาติของตน โดยมี 7 ประเทศที่จัดแสดงตลอดทั้งสัปดาห์
2) การแสดงศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดต่าง ๆ 38 จังหวัด 90 รายการ
3) การแสดงที่ฝ่ายจัดการจัดให้มีขึ้น เช่น ขบวนพาเหรด (ทั้งภาคกลางวันและกลางคืน — Electric Parade) การแสดงม่านน้ำแสงสี
4) การจัดงานในวันเทศกาลสำคัญ เช่น วันลอยกระทง วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันปีใหม่ วันเด็ก เป็นต้น โดยจัดรายการกระจายไปในแต่ละวันทั้ง 92 วัน
4.10 การจำหน่ายสินค้า 1) ในบริเวณงาน เน้นให้กับมูลนิธิและที่เกี่ยวกับโครงการพระราชดำริ 2) นอกบริเวณงาน จัดให้กับอำเภอต่าง ๆ ของเชียงใหม่และเอกชนทั่วไป (สิทธิประโยชน์)
4.11 การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก 1) ร้านอาหาร-ห้องสุขา 2) ศูนย์สื่อสารและการบริการ (Press&Business Centre) 3) ศูนย์บริการผู้เข้าชมงาน (Visitor Centre) 4) ศูนย์การจราจร ขนส่ง และการรักษาความปลอดภัย 5) ศูนย์บริการการสาธารณสุข 6) ศูนย์บริการด้านการนำเข้าส่งออกสิ่งแสดง 7) ศูนย์บริการการก่อสร้าง 8) ศูนย์บริการทั่วไป 9) ศูนย์บริการด้านวิชาการ
5. ความก้าวหน้า เกือบทั้งหมดมีความก้าวหน้าไปตามที่กำหนดและเชื่อมั่นว่าจะสามารถเปิดให้เข้าชมงานได้ตามกำหนด (1 พ.ย.49) และจะเป็นที่ชื่นชอบของผู้เข้าชมงาน
6. การบริหารงานหลังจากงานมหกรรมพืชสวนโลก
6.1 แนวคิด-เป้าหมายการใช้ประโยชน์ 1) เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพืชสวน (open learning center) 2) เป็นสถานที่จัดงานมหกรรม/นิทรรศการ 3) เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
6.2 การบริหารงาน อยู่ระหว่างการพิจารณาการจัดตั้งองค์กรรับผิดชอบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 ตุลาคม 2549--จบ--