คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทน-ราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีดังนี้
1. ยกเลิกความในมาตรา 4(1) แห่งพระราชบัญญัติพันธุ์พืชฯ ในส่วนของ “เมล็ดพันธุ์ควบคุม” ซึ่งเป็นบทที่ไม่ใช้บังคับกับส่วนราชการฯ เนื่องจากไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติว่าด้วยความเสมอภาค ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2. แก้ไขคุณสมบัติของผู้ที่เจ้าหน้าที่จะออกใบอนุญาตให้ในมาตรา 16(1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติพันธุ์พืชฯ ดังนี้
(1) เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กรมวิชาการเกษตรประกาศกำหนด
(2) เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ
3. แก้ไขในมาตรา 22 (ง) แห่งพระราชบัญญัติพันธุ์พืชฯ เกี่ยวกับข้อความที่ต้องแสดงในฉลากของภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์ควบคุม ดังนี้
(ง) น้ำหนักสุทธิของเมล็ดพันธุ์ควบคุมตามระบบเมตริกหรือจำนวนเมล็ดพันธุ์ควบคุมหรือหน่วยวัดอื่น ๆ ตามหลักสากลของแต่ละชนิดพืช
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่าพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีบทบัญญัติบางประการเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลอันเนื่องมาจากความแตกต่างในเรื่องอายุและฐานะทางเศรษฐกิจ ถือว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้นการยกเว้นไม่นำบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์ควบคุมมาใช้บังคับกับหน่วยงานราชการ แต่นำไปใช้บังคับกับเอกชนถือเป็นการไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติว่าด้วยความเสมอภาคตามมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจเมล็ดพันธุ์ควบคุมจะได้รับประโยชน์จากการแก้ไขดังกล่าว เนื่องจากจะทำให้สิทธิในการขออนุญาต รวบรวม ขาย นำเข้า หรือส่งออกเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้าเปิดกว้าง ไม่ถูกจำกัดในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลอันเนื่องมาจากความแตกต่างในเรื่องอายุและฐานะทางเศรษฐกิจ ซึ่งคณะกรรมการพัฒนากฎหมายกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีดังนี้
1. ยกเลิกความในมาตรา 4(1) แห่งพระราชบัญญัติพันธุ์พืชฯ ในส่วนของ “เมล็ดพันธุ์ควบคุม” ซึ่งเป็นบทที่ไม่ใช้บังคับกับส่วนราชการฯ เนื่องจากไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติว่าด้วยความเสมอภาค ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2. แก้ไขคุณสมบัติของผู้ที่เจ้าหน้าที่จะออกใบอนุญาตให้ในมาตรา 16(1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติพันธุ์พืชฯ ดังนี้
(1) เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กรมวิชาการเกษตรประกาศกำหนด
(2) เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ
3. แก้ไขในมาตรา 22 (ง) แห่งพระราชบัญญัติพันธุ์พืชฯ เกี่ยวกับข้อความที่ต้องแสดงในฉลากของภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์ควบคุม ดังนี้
(ง) น้ำหนักสุทธิของเมล็ดพันธุ์ควบคุมตามระบบเมตริกหรือจำนวนเมล็ดพันธุ์ควบคุมหรือหน่วยวัดอื่น ๆ ตามหลักสากลของแต่ละชนิดพืช
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่าพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีบทบัญญัติบางประการเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลอันเนื่องมาจากความแตกต่างในเรื่องอายุและฐานะทางเศรษฐกิจ ถือว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้นการยกเว้นไม่นำบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์ควบคุมมาใช้บังคับกับหน่วยงานราชการ แต่นำไปใช้บังคับกับเอกชนถือเป็นการไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติว่าด้วยความเสมอภาคตามมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจเมล็ดพันธุ์ควบคุมจะได้รับประโยชน์จากการแก้ไขดังกล่าว เนื่องจากจะทำให้สิทธิในการขออนุญาต รวบรวม ขาย นำเข้า หรือส่งออกเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้าเปิดกว้าง ไม่ถูกจำกัดในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลอันเนื่องมาจากความแตกต่างในเรื่องอายุและฐานะทางเศรษฐกิจ ซึ่งคณะกรรมการพัฒนากฎหมายกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--