แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงการคลัง
สำนักงาน ก.พ.
คณะรัฐมนตรี
ก.พ.ร.
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบขั้นตอนการจัดตั้งองค์การมหาชน ตามมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ครั้งที่ 4/2549 วันที่ 8 มิถุนายน 2549 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ทั้งนี้ให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับความเห็นของกระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมของสำนักงบประมาณไปพิจารณาก่อนดำเนินการแจ้งเวียนให้ส่วนราชการถือปฏิบัติต่อไปด้วย
สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่าในการประชุม ก.พ.ร. ครั้งที่ 4/2549 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2549 ได้พิจารณาเรื่องขั้นตอนการจัดตั้งองค์การมหาชนแล้ว มีมติเห็นชอบกับข้อเสนอของ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาองค์การมหาชนและองค์กรรูปแบบอื่นในกำกับของราชการฝ่ายบริหารที่มิใช่ส่วนราชการที่มอบให้สำนักงาน ก.พ.ร.แจ้งเวียนหนังสือให้กับส่วนราชการเพื่อซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งองค์การมหาชนและถือปฏิบัติใหม่ โดยให้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนดำเนินการแจ้งเวียนขั้นตอนดังกล่าวแก่ส่วนราชการ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ความหมายขององค์การมหาชน
องค์การมหาชนในที่นี้ครอบคลุมองค์การมหาชน 2 รูปแบบคือ
1) องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542
2) หน่วยงานในกำกับของกระทรวงที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ซึ่งมีภารกิจในการให้บริการสาธารณะเช่นเดียวกับองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542
ภารกิจของรัฐที่ไม่อาจจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน
1) ภารกิจด้านการกำหนดนโยบาย
2) ภารกิจในการกำหนดหลักเกณฑ์ กฎระเบียบและข้อบังคับเพื่อใช้บังคับต่อหน่วยงานอื่น และประชาชน
3) ภารกิจที่เป็นบริการสาธารณะเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมที่แสวงหารายได้เป็นหลัก
4) จำเป็นต้องใช้อำนาจรัฐที่กระทบกับสิทธิ เสรีภาพของประชาชนเพื่อดำเนินภารกิจของหน่วยงาน (เฉพาะกรณีองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542)
2. ข้อเสนอขั้นตอนการจัดตั้งองค์การมหาชน
2.1 หลักการ
1) ยืนยันขั้นตอนการขอจัดตั้งองค์การมหาชนตามหนังสือเวียนสำนักงาน ก.พ.ร. ที่ นร 1204.1/ว 3 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2547 ที่กำหนดให้ส่วนราชการต้องเสนอขอจัดตั้งองค์การมหาชนต่อ ก.พ.ร. ก่อนนำเสนอ
คณะรัฐมนตรี
2) กำหนดให้ส่วนราชการระดับกระทรวงที่จะขอจัดตั้งองค์การมหาชนจัดทำข้อเสนอของจัดตั้งองค์การมหาชนประกอบด้วย เหตุผลความจำเป็น ภารกิจที่จะดำเนินการ ร่างแผนการดำเนินงาน ผลลัพธ์ ผลผลิตในระยะเวลาปีที่ 1-3 ของการจัดตั้งองค์การมหาชน เพื่อเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างองค์การมหาชน กระทรวง ก.พ.ร. และคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะนำมาใช้ในการประเมินผลเมื่อดำเนินการครบ 3 ปี ร่างแผนการเงินในระยะแรก แผนการจัดตั้งหรือแผนการถ่ายโอน และร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเสนอ ก.พ.ร. ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี
3) กำหนดเป็นเงื่อนไขในการขอจัดตั้งว่ากระทรวงต้องเสนอเอกสารประกอบคำขอจัดตั้งอย่างครบถ้วนทุกข้อ จึงจะสามารถนำเรื่องเสนอต่อ ก.พ.ร. รวมทั้งต้องแนบมติ ก.พ.ร. พร้อมกับการนำเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
4) กำหนดเวลาการพิจารณาแล้วเสร็จของ ก.พ.ร. ภายใน 45 วันทำการ (กรณีได้รับเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์)
2.2 รายการคำชี้แจง (Check list) ประกอบการขอจัดตั้งองค์การมหาชน
ในการขอจัดตั้งองค์การมหาชน ให้กระทรวงที่ประสงค์จะขอจัดตั้งองค์การมหาชนจัดทำรายละเอียดประกอบการพิจารณา ตามแบบคำชี้แจงประกอบการขอจัดตั้งองค์การมหาชน โดยมีสาระที่ครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้
1) เหตุผลความจำเป็นในการขอจัดตั้ง
ต้องระบุเหตุผลความจำเป็นของงานที่จะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนให้ชัดเจน ได้แก่
- เมื่อจัดตั้งขึ้นแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ของชาติในด้านใด
- เหตุใดจึงจำเป็นต้องจัดตั้งเป็นหน่วยงานในรูปแบบองค์การมหาชน
- เหตุผลของการที่องค์กรรูปแบบส่วนราชการไม่สามารถดำเนินภารกิจนั้น ๆ ได้ รวมทั้งเหตุผลของการที่ไม่จัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานบริการรูปแบบพิเศษ ตลอดจนเหตุของการไม่สามารถถ่ายโอนให้เป็นภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือให้ภาคเอกชนดำเนินการ
- เหตุผลที่แสดงว่าการจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารราชการ สามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และ/หรือสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในบริบท ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร และประชาชนจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไร
2) ภารกิจที่จะดำเนินการ บทบาทขององค์การมหาชน
ต้องระบุให้ชัดเจนว่า
- องค์การมหาชนที่จะจัดตั้งมีกรอบภารกิจอะไรบ้างที่จะดำเนินการ บทบาทขององค์การมหาชนนั้นคืออะไร มีอำนาจหน้าที่อย่างไร มีความแตกต่างจากการดำเนินกิจการส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกันอย่างไร
- ต้องจำแนกภารกิจให้ชัดเจนว่า ภารกิจใดเป็นภารกิจขององค์การมหาชน ภารกิจใดเป็น ภารกิจของส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานอื่น ๆ
- และมีระบบการดำเนินงานและระบบความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างไร
ทั้งนี้ในกรณีที่จะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ต้องเป็นภารกิจที่สอดคล้องกับมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542
สำหรับองค์การมหาชนที่จะจัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะจะต้องแสดงเหตุผลความจำเป็นของการที่ต้องใช้อำนาจรัฐในการกระทบกับสิทธิ เสรีภาพของประชาชนในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามภารกิจของหน่วยงาน
3) ร่างแผนการดำเนินงานขององค์การมหาชน
หมายถึงร่างแผนกลยุทธ์ (strategic plan) และแผนธุรกิจ (business plan) หรือแผนดำเนินการงานขององค์การมหาชน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์เป้าหมาย ผลผลิต ผลลัพธ์ ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน จำแนกเป็นรายปี ในระยะเวลาปีที่ 1-3 ของการจัดตั้งองค์การมหาชน เพื่อแสดงแผนที่เดินทาง (road map) ของการดำเนินภารกิจขององค์การมหาชน
ซึ่งจะถูกกำหนดเป็นข้อตกลงระหว่างคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกา และองค์การมหาชน ทั้งนี้ เมื่อครบกำหนด 3 ปีของการจัดตั้ง ก.พ.ร. มีหน้าที่ในการประเมินและรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาความคุ้มค่าและผลสัมฤทธิ์ของการจัดตั้งองค์การมหาชนแห่งนั้น
ทั้งนี้ จะต้องคาดการณ์ถึงกำหนดการยุบเลิกขององค์การมหาชน โดยต้องนำเสนอว่า องค์การมหาชนที่จะจัดตั้งจะดำเนินการแล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในระยะเวลากี่ปี
4) ร่างแผนการเงิน (Financial Proposal)
- ต้องระบุถึงแผนรายรับว่าที่มาของทุน และรายได้ที่จะใช้สนับสนุนการดำเนินงานขององค์การมหาชน ในระยะ 5 ปีแรก โดยให้ระบุรายละเอียดของงบประมาณที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมหรือเงินอุดหนุนรายปี เงินอุดหนุนจากภาคเอกชนหรือองค์กรอื่น สำหรับค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บจะต้องระบุรายละเอียดด้วยว่า จะเรียกเก็บเป็นเงินเท่าใด รวมทั้งรายได้อื่น ๆ ขององค์การมหาชนจะมาจากทางใดได้บ้าง
- ต้องระบุถึงแผนรายจ่ายในรายละเอียดว่า จะใช้เงินปีละเท่าไหร่ โดยเฉพาะในระยะ 5 ปีแรก จะใช้จ่ายเงินในกิจกรรมใด ผลผลิตของแต่ละกิจกรรมได้แก่อะไรบ้าง
5) แผนการจัดตั้งหรือแผนการถ่ายโอน (Transition Plan)
- ให้ระบุแผนการจัดตั้งหน่วยงาน ได้แก่ โครงสร้างองค์กร กำหนดกรอบอัตรากำลังที่ต้องการในชั้นต้น
- ในกรณีที่เปลี่ยนสภาพมาจากหน่วยงานของรัฐเดิม ให้ระบุว่าเปลี่ยนมาจากส่วนราชการหรือหน่วยงานใด เมื่อจัดตั้งขึ้นแล้วจะมีการยุบเลิกหรือรวมหน่วยงานใดเข้ากับองค์การมหาชน จะมีการถ่ายโอนภารกิจ กิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน บุคลากร จากส่วนราชการหรือหน่วยงานใดบ้าง
6) โครงสร้างการบริหารและการดำเนินกิจการ
- ต้องระบุโครงสร้างองค์กรบริหารประกอบด้วย คณะกรรมการและผู้อำนวยการ โดยต้องระบุองค์ประกอบของคณะกรรมการให้ชัดเจน สำหรับผู้อำนวยการอาจจะเรียกชื่อตำแหน่งเป็นอย่างอื่นก็ได้ แต่ต้องระบุไว้ในกฎหมายจัดตั้ง
สำหรับกรณีองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรา 19 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542
- ระบุวิธีการทำงาน และแนวทางการดำเนินกิจการ การบริหารทรัพยากรขององค์การมหาชนที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่
7) ระบบการกำกับและประเมินผล
ต้องระบุบทบาทของรัฐมนตรีในการกำกับดูแลกิจการขององค์การมหาชน และกรอบในการประเมินประสิทธิภาพการทำงานขององค์การมหาชน
8) ร่างพระราชกฤษฎีกาหรือร่างพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ให้หน่วยงานที่จะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนจัดทำร่างกฎหมายจัดตั้งหน่วยงาน ซึ่งอาจเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือพระราชบัญญัติ
สำหรับกรณีองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ต้องจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชน โดยจะต้องมีรายละเอียดตามที่ปรากฏในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542
9) รายละเอียดอื่น ๆ
ควรมีการรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeolders) ในภารกิจที่จะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน โดยเสนอหลักฐานของการสำรวจความคิดเห็น หรือการจัดประชุมสัมมนา หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงถึงความเห็นที่เป็นทางการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
นอกจากนั้น อาจระบุรายละเอียดอื่น ๆ ที่เห็นว่าเกี่ยวข้องและจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการพิจารณา หรือที่เป็นประเด็นสำคัญที่นอกเหนือจากที่ระบุข้างต้น เช่น นโยบายและแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับองค์การมหาชน ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในโครงการ หรือแผนงานสำคัญๆ การทำบันทึกข้อตกลงในโครงการ หรือแผนงานความร่วมมือระหว่างองค์การมหาชนกับหน่วยงานอื่น ข้อมูลเชิงสถิติแสดงปริมาณความต้องการผลผลิตขององค์การมหาชน เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กรกฎาคม 2549--จบ--
สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่าในการประชุม ก.พ.ร. ครั้งที่ 4/2549 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2549 ได้พิจารณาเรื่องขั้นตอนการจัดตั้งองค์การมหาชนแล้ว มีมติเห็นชอบกับข้อเสนอของ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาองค์การมหาชนและองค์กรรูปแบบอื่นในกำกับของราชการฝ่ายบริหารที่มิใช่ส่วนราชการที่มอบให้สำนักงาน ก.พ.ร.แจ้งเวียนหนังสือให้กับส่วนราชการเพื่อซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งองค์การมหาชนและถือปฏิบัติใหม่ โดยให้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนดำเนินการแจ้งเวียนขั้นตอนดังกล่าวแก่ส่วนราชการ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ความหมายขององค์การมหาชน
องค์การมหาชนในที่นี้ครอบคลุมองค์การมหาชน 2 รูปแบบคือ
1) องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542
2) หน่วยงานในกำกับของกระทรวงที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ซึ่งมีภารกิจในการให้บริการสาธารณะเช่นเดียวกับองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542
ภารกิจของรัฐที่ไม่อาจจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน
1) ภารกิจด้านการกำหนดนโยบาย
2) ภารกิจในการกำหนดหลักเกณฑ์ กฎระเบียบและข้อบังคับเพื่อใช้บังคับต่อหน่วยงานอื่น และประชาชน
3) ภารกิจที่เป็นบริการสาธารณะเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมที่แสวงหารายได้เป็นหลัก
4) จำเป็นต้องใช้อำนาจรัฐที่กระทบกับสิทธิ เสรีภาพของประชาชนเพื่อดำเนินภารกิจของหน่วยงาน (เฉพาะกรณีองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542)
2. ข้อเสนอขั้นตอนการจัดตั้งองค์การมหาชน
2.1 หลักการ
1) ยืนยันขั้นตอนการขอจัดตั้งองค์การมหาชนตามหนังสือเวียนสำนักงาน ก.พ.ร. ที่ นร 1204.1/ว 3 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2547 ที่กำหนดให้ส่วนราชการต้องเสนอขอจัดตั้งองค์การมหาชนต่อ ก.พ.ร. ก่อนนำเสนอ
คณะรัฐมนตรี
2) กำหนดให้ส่วนราชการระดับกระทรวงที่จะขอจัดตั้งองค์การมหาชนจัดทำข้อเสนอของจัดตั้งองค์การมหาชนประกอบด้วย เหตุผลความจำเป็น ภารกิจที่จะดำเนินการ ร่างแผนการดำเนินงาน ผลลัพธ์ ผลผลิตในระยะเวลาปีที่ 1-3 ของการจัดตั้งองค์การมหาชน เพื่อเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างองค์การมหาชน กระทรวง ก.พ.ร. และคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะนำมาใช้ในการประเมินผลเมื่อดำเนินการครบ 3 ปี ร่างแผนการเงินในระยะแรก แผนการจัดตั้งหรือแผนการถ่ายโอน และร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเสนอ ก.พ.ร. ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี
3) กำหนดเป็นเงื่อนไขในการขอจัดตั้งว่ากระทรวงต้องเสนอเอกสารประกอบคำขอจัดตั้งอย่างครบถ้วนทุกข้อ จึงจะสามารถนำเรื่องเสนอต่อ ก.พ.ร. รวมทั้งต้องแนบมติ ก.พ.ร. พร้อมกับการนำเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
4) กำหนดเวลาการพิจารณาแล้วเสร็จของ ก.พ.ร. ภายใน 45 วันทำการ (กรณีได้รับเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์)
2.2 รายการคำชี้แจง (Check list) ประกอบการขอจัดตั้งองค์การมหาชน
ในการขอจัดตั้งองค์การมหาชน ให้กระทรวงที่ประสงค์จะขอจัดตั้งองค์การมหาชนจัดทำรายละเอียดประกอบการพิจารณา ตามแบบคำชี้แจงประกอบการขอจัดตั้งองค์การมหาชน โดยมีสาระที่ครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้
1) เหตุผลความจำเป็นในการขอจัดตั้ง
ต้องระบุเหตุผลความจำเป็นของงานที่จะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนให้ชัดเจน ได้แก่
- เมื่อจัดตั้งขึ้นแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ของชาติในด้านใด
- เหตุใดจึงจำเป็นต้องจัดตั้งเป็นหน่วยงานในรูปแบบองค์การมหาชน
- เหตุผลของการที่องค์กรรูปแบบส่วนราชการไม่สามารถดำเนินภารกิจนั้น ๆ ได้ รวมทั้งเหตุผลของการที่ไม่จัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานบริการรูปแบบพิเศษ ตลอดจนเหตุของการไม่สามารถถ่ายโอนให้เป็นภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือให้ภาคเอกชนดำเนินการ
- เหตุผลที่แสดงว่าการจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารราชการ สามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และ/หรือสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในบริบท ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร และประชาชนจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไร
2) ภารกิจที่จะดำเนินการ บทบาทขององค์การมหาชน
ต้องระบุให้ชัดเจนว่า
- องค์การมหาชนที่จะจัดตั้งมีกรอบภารกิจอะไรบ้างที่จะดำเนินการ บทบาทขององค์การมหาชนนั้นคืออะไร มีอำนาจหน้าที่อย่างไร มีความแตกต่างจากการดำเนินกิจการส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกันอย่างไร
- ต้องจำแนกภารกิจให้ชัดเจนว่า ภารกิจใดเป็นภารกิจขององค์การมหาชน ภารกิจใดเป็น ภารกิจของส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานอื่น ๆ
- และมีระบบการดำเนินงานและระบบความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างไร
ทั้งนี้ในกรณีที่จะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ต้องเป็นภารกิจที่สอดคล้องกับมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542
สำหรับองค์การมหาชนที่จะจัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะจะต้องแสดงเหตุผลความจำเป็นของการที่ต้องใช้อำนาจรัฐในการกระทบกับสิทธิ เสรีภาพของประชาชนในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามภารกิจของหน่วยงาน
3) ร่างแผนการดำเนินงานขององค์การมหาชน
หมายถึงร่างแผนกลยุทธ์ (strategic plan) และแผนธุรกิจ (business plan) หรือแผนดำเนินการงานขององค์การมหาชน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์เป้าหมาย ผลผลิต ผลลัพธ์ ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน จำแนกเป็นรายปี ในระยะเวลาปีที่ 1-3 ของการจัดตั้งองค์การมหาชน เพื่อแสดงแผนที่เดินทาง (road map) ของการดำเนินภารกิจขององค์การมหาชน
ซึ่งจะถูกกำหนดเป็นข้อตกลงระหว่างคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกา และองค์การมหาชน ทั้งนี้ เมื่อครบกำหนด 3 ปีของการจัดตั้ง ก.พ.ร. มีหน้าที่ในการประเมินและรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาความคุ้มค่าและผลสัมฤทธิ์ของการจัดตั้งองค์การมหาชนแห่งนั้น
ทั้งนี้ จะต้องคาดการณ์ถึงกำหนดการยุบเลิกขององค์การมหาชน โดยต้องนำเสนอว่า องค์การมหาชนที่จะจัดตั้งจะดำเนินการแล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในระยะเวลากี่ปี
4) ร่างแผนการเงิน (Financial Proposal)
- ต้องระบุถึงแผนรายรับว่าที่มาของทุน และรายได้ที่จะใช้สนับสนุนการดำเนินงานขององค์การมหาชน ในระยะ 5 ปีแรก โดยให้ระบุรายละเอียดของงบประมาณที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมหรือเงินอุดหนุนรายปี เงินอุดหนุนจากภาคเอกชนหรือองค์กรอื่น สำหรับค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บจะต้องระบุรายละเอียดด้วยว่า จะเรียกเก็บเป็นเงินเท่าใด รวมทั้งรายได้อื่น ๆ ขององค์การมหาชนจะมาจากทางใดได้บ้าง
- ต้องระบุถึงแผนรายจ่ายในรายละเอียดว่า จะใช้เงินปีละเท่าไหร่ โดยเฉพาะในระยะ 5 ปีแรก จะใช้จ่ายเงินในกิจกรรมใด ผลผลิตของแต่ละกิจกรรมได้แก่อะไรบ้าง
5) แผนการจัดตั้งหรือแผนการถ่ายโอน (Transition Plan)
- ให้ระบุแผนการจัดตั้งหน่วยงาน ได้แก่ โครงสร้างองค์กร กำหนดกรอบอัตรากำลังที่ต้องการในชั้นต้น
- ในกรณีที่เปลี่ยนสภาพมาจากหน่วยงานของรัฐเดิม ให้ระบุว่าเปลี่ยนมาจากส่วนราชการหรือหน่วยงานใด เมื่อจัดตั้งขึ้นแล้วจะมีการยุบเลิกหรือรวมหน่วยงานใดเข้ากับองค์การมหาชน จะมีการถ่ายโอนภารกิจ กิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน บุคลากร จากส่วนราชการหรือหน่วยงานใดบ้าง
6) โครงสร้างการบริหารและการดำเนินกิจการ
- ต้องระบุโครงสร้างองค์กรบริหารประกอบด้วย คณะกรรมการและผู้อำนวยการ โดยต้องระบุองค์ประกอบของคณะกรรมการให้ชัดเจน สำหรับผู้อำนวยการอาจจะเรียกชื่อตำแหน่งเป็นอย่างอื่นก็ได้ แต่ต้องระบุไว้ในกฎหมายจัดตั้ง
สำหรับกรณีองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรา 19 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542
- ระบุวิธีการทำงาน และแนวทางการดำเนินกิจการ การบริหารทรัพยากรขององค์การมหาชนที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่
7) ระบบการกำกับและประเมินผล
ต้องระบุบทบาทของรัฐมนตรีในการกำกับดูแลกิจการขององค์การมหาชน และกรอบในการประเมินประสิทธิภาพการทำงานขององค์การมหาชน
8) ร่างพระราชกฤษฎีกาหรือร่างพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ให้หน่วยงานที่จะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนจัดทำร่างกฎหมายจัดตั้งหน่วยงาน ซึ่งอาจเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือพระราชบัญญัติ
สำหรับกรณีองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ต้องจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชน โดยจะต้องมีรายละเอียดตามที่ปรากฏในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542
9) รายละเอียดอื่น ๆ
ควรมีการรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeolders) ในภารกิจที่จะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน โดยเสนอหลักฐานของการสำรวจความคิดเห็น หรือการจัดประชุมสัมมนา หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงถึงความเห็นที่เป็นทางการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
นอกจากนั้น อาจระบุรายละเอียดอื่น ๆ ที่เห็นว่าเกี่ยวข้องและจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการพิจารณา หรือที่เป็นประเด็นสำคัญที่นอกเหนือจากที่ระบุข้างต้น เช่น นโยบายและแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับองค์การมหาชน ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในโครงการ หรือแผนงานสำคัญๆ การทำบันทึกข้อตกลงในโครงการ หรือแผนงานความร่วมมือระหว่างองค์การมหาชนกับหน่วยงานอื่น ข้อมูลเชิงสถิติแสดงปริมาณความต้องการผลผลิตขององค์การมหาชน เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กรกฎาคม 2549--จบ--