คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ตามแนวทางที่เสนอ โดยให้ใช้จ่ายภายในกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ที่ได้รับจัดสรรไว้แล้ว ซึ่งขณะนี้ยังคงมีวงเงินงบประมาณเหลือยู่อีกจำนวน 155.92 ล้านบาท โดยปรับปรุงแนวทางดำเนินการงาน โดยจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนให้สอดคล้องกับวงเงินที่ยังคงเหลืออยู่ต่อไปด้วย และให้นำผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนที่ได้ดำเนินการมาแล้วไปใช้ประโยชน์ก่อน หากยังมีความจำเป็นต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติม ก็สามารถนำมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. ตามที่ได้มีการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ต่าง ๆ รอบที่ 2 (กรกฎาคม 2547- เมษายน 2548) และรอบที่ 3 (กรกฎาคม-พฤศจิกายน 2548) เป็นต้นมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (x-ray) โดยการขึ้นทะเบียนไก่ชน สนามไก่ชน/ซ้อมไก่ชน จัดระบบการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งให้เข้าสู่ฟาร์มหรือโรงเรือน จับกุมผู้ลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ซึ่งกระทำความผิดกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ และได้รับรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกเชิงรุก รวมทั้งสถานการณ์และความก้าวหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกด้วยแล้ว
2. เนื่องจากกรมปศุสัตว์ต้องดำเนินการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (x-ray)
เพิ่มเติม ตลอดจนการทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ การจัดระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกปลอดโรค การเข้มงวดด้านการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก การเร่งรัดตรวจตัวอย่างเพื่อการวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ การศึกษาประสิทธิภาพวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนก และการตรวจติดตามการใช้วัคซีนร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้งบประมาณปี พ.ศ. 2549 ที่กรมปศุสัตว์ได้รับเพื่อแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกไม่เพียงพอ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขอรับงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับการปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงตามแผนงานและมาตรการควบคุมแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกที่กำหนด สรุปได้ดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์ (1) เพื่อค้นหาโรคที่ยังอาจแฝงอยู่ และทำการควบคุมและกำจัดโดยเร็ว (2) เพื่อศึกษาและประเมินภาวะโรคไข้หวัดนกในแต่ละพื้นที่ (3) เพื่อสำรวจจำนวนสัตว์ปีกทั้งหมดในประเทศไทยให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน (4) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกและการติดตามการใช้วัคซีน
2.2 วิธีดำเนินงาน ตามยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก (1) พัฒนาการจัดระบบปศุสัตว์ปลอดโรค (2) เฝ้าระวังโรคและควบคุมเมื่อเกิดการระบาดของโรค (3) สร้างและจัดการความรู้เรื่องไข้หวัดนก (4) สร้างเสริมศักยภาพขององค์กรและบุคลากร (5) สร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและธุรกิจ
2.3 ผลที่คาดว่าจะได้รับ (1) ลดจำนวนสัตว์ติดเชื้อไข้หวัดนกที่แฝงอยู่ในพื้นที่ให้เหลือน้อยที่สุด (2) รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของเชื้อโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ประเทศไทย (3) ได้ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนสัตว์ปีกทั้งประเทศ รวมทั้งภาวะโรคไข้หวัดนกในแต่ละพื้นที่เพื่อใช้ในการวางแผนควบคุมโรค และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโรค (4) ทราบแนวทางในการควบคุม ป้องกัน ตลอดจนข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจที่จะอนุญาตและกำหนดรูปแบบการใช้วัคซีนในสัตว์ปีกในประเทศไทย
2.4 ระยะเวลาในการดำเนินการ ปีงบประมาณ 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 เมษายน 2549--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. ตามที่ได้มีการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ต่าง ๆ รอบที่ 2 (กรกฎาคม 2547- เมษายน 2548) และรอบที่ 3 (กรกฎาคม-พฤศจิกายน 2548) เป็นต้นมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (x-ray) โดยการขึ้นทะเบียนไก่ชน สนามไก่ชน/ซ้อมไก่ชน จัดระบบการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งให้เข้าสู่ฟาร์มหรือโรงเรือน จับกุมผู้ลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ซึ่งกระทำความผิดกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ และได้รับรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกเชิงรุก รวมทั้งสถานการณ์และความก้าวหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกด้วยแล้ว
2. เนื่องจากกรมปศุสัตว์ต้องดำเนินการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (x-ray)
เพิ่มเติม ตลอดจนการทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ การจัดระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกปลอดโรค การเข้มงวดด้านการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก การเร่งรัดตรวจตัวอย่างเพื่อการวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ การศึกษาประสิทธิภาพวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนก และการตรวจติดตามการใช้วัคซีนร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้งบประมาณปี พ.ศ. 2549 ที่กรมปศุสัตว์ได้รับเพื่อแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกไม่เพียงพอ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขอรับงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับการปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงตามแผนงานและมาตรการควบคุมแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกที่กำหนด สรุปได้ดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์ (1) เพื่อค้นหาโรคที่ยังอาจแฝงอยู่ และทำการควบคุมและกำจัดโดยเร็ว (2) เพื่อศึกษาและประเมินภาวะโรคไข้หวัดนกในแต่ละพื้นที่ (3) เพื่อสำรวจจำนวนสัตว์ปีกทั้งหมดในประเทศไทยให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน (4) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกและการติดตามการใช้วัคซีน
2.2 วิธีดำเนินงาน ตามยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก (1) พัฒนาการจัดระบบปศุสัตว์ปลอดโรค (2) เฝ้าระวังโรคและควบคุมเมื่อเกิดการระบาดของโรค (3) สร้างและจัดการความรู้เรื่องไข้หวัดนก (4) สร้างเสริมศักยภาพขององค์กรและบุคลากร (5) สร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและธุรกิจ
2.3 ผลที่คาดว่าจะได้รับ (1) ลดจำนวนสัตว์ติดเชื้อไข้หวัดนกที่แฝงอยู่ในพื้นที่ให้เหลือน้อยที่สุด (2) รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของเชื้อโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ประเทศไทย (3) ได้ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนสัตว์ปีกทั้งประเทศ รวมทั้งภาวะโรคไข้หวัดนกในแต่ละพื้นที่เพื่อใช้ในการวางแผนควบคุมโรค และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโรค (4) ทราบแนวทางในการควบคุม ป้องกัน ตลอดจนข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจที่จะอนุญาตและกำหนดรูปแบบการใช้วัคซีนในสัตว์ปีกในประเทศไทย
2.4 ระยะเวลาในการดำเนินการ ปีงบประมาณ 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 เมษายน 2549--จบ--