คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการข้อเสนอเกี่ยวกับการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจัดทำโดยคณะที่ปรึกษาฝ่ายการเสริมสร้างสมานฉันท์และความเป็นธรรมในสังคมในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ตามที่สำนักงานเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเสนอ โดยให้ทุกภาคส่วนเสนอแผนงานผ่านศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดความเป็นเอกภาพ
เลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติแจ้งว่า คณะที่ปรึกษาฝ่ายการเสริมสร้างสมานฉันท์และความเป็นธรรมในสังคมได้เสนอประเด็นที่ควรได้รับการพิจารณาแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน คือ การเสริมสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีความเห็นว่า แก่นของปัญหาคือความไม่ยุติธรรมในสังคม การถูกลิดรอนสิทธิ์ในการดำรงชีวิตอย่างมีความมั่นคงและมีศักดิ์ศรี ความไม่เข้าใจในวิถีชีวิตของชุมชน การขาดการพัฒนาที่เหมาะสมด้านการศึกษาและโอกาสที่พึงมี รวมทั้งเยาวชนไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ดังนั้น เพื่อความสมานฉันท์ในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้น คณะที่ปรึกษาฯ จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. การดำเนินการขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคม
1.1 กรณีการหายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร ควรเร่งรัดดำเนินการให้ความจริงปรากฏโดยเร็วที่สุด
1.2 กรณีดำเนินการพิจารณาคดีตากใบที่กล่าวหาประชาชน 58 คน อย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งต้องสืบพยาน 1,900 ปาก ขณะที่ผ่านไปครบ 2 ปี ในวันที่ 26 ตุลาคม 2549 แต่มีการสืบพยานไปเพียงไม่กี่ปาก ควรดำเนินการถอนฟ้อง
1.3 กรณีมีการวิสามัญฆาตกรรม เช่น สะบ้าย้อย กรือเซะ ควรเร่งดำเนินการให้ความจริงปรากฏโดยเร็วที่สุด
1.4 กรณีที่ทำกินของประชาชนในพื้นที่ และกรณีชาวประมงพื้นบ้านที่ถูกประมงพาณิชย์รุกล้ำพื้นที่ทำกินบริเวณชายฝั่งต้องเร่งแก้ไขปัญหาโดยด่วน
2. การลดปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
2.1 สนับสนุนโครงการสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติที่มีการปฏิบัตินำร่องอย่างได้ผล
2.2 ให้ความคุ้มครองและหลักประกันประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการฟื้นศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อประสานการปฏิบัติอย่างมีเอกภาพทั้งการข่าว การสื่อสาร และการปฏิบัติ
2.3 ให้เปลี่ยนกำลังทหารมาใช้ทหารจากบุคคลในพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ และอาจใช้แนวทางสันติเสนา ตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)
2.4 หาทางออกของปัญหาความรุนแรงโดยการสานเสวนา (Dialogue) กับกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้ภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาทำงานอีกภาษาหนึ่ง และให้มีสัดส่วนผู้ปฏิบัติงานที่เหมาะสมในหน่วยงานของรัฐที่สามารถสื่อสารด้วยภาษามลายูได้
2.5 ส่งเสริมให้มีการพูดคุยหรือการสานเสวนากับผู้นำทางความคิดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
2.6 มีการสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และประชาชนในส่วนอื่นของประเทศ โดยการใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์
3. สร้างหลักประกันเพื่อให้เกิดความยุติธรรมและความเป็นธรรม โดยถือหลักยุติธรรมอย่างเคร่งครัด
3.1 สร้างความยุติธรรมทั้งทางกฎหมาย (Legal Justice) และความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice) ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
3.2 ส่งเสริมให้มีการยอมรับกระบวนการยุติธรรมชุมชน (Community Justice) และกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) ให้สอดคล้องกับกระบวนการยุติธรรมทางกฎหมาย
3.3 ส่งเสริมการสร้างกฎ กติกาของชุมชน/ตำบลเพื่อแก้ปัญหากันเองในกรอบของกฎหมาย รวมถึงกติกาการมีสิทธิในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติบนฐานความเชื่อของศาสนา
4. ให้ใช้หลักการดำเนินการบริหารพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเน้นการค้นหาความจริง งดใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ สร้างความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมมีบทบาทในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาต่าง ๆ
5. ส่งเสริมระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและหลากหลาย ให้โอกาสการเรียนรู้ทางศาสนาและทางวิชาการสายสามัญ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กนักเรียนพุทธกับมุสลิม เช่น มีศูนย์กิจกรรมร่วม
6. ส่งเสริมระบบสหกรณ์ออมทรัพย์อิสลาม โดยปรับแก้กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในระบบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2549--จบ--
เลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติแจ้งว่า คณะที่ปรึกษาฝ่ายการเสริมสร้างสมานฉันท์และความเป็นธรรมในสังคมได้เสนอประเด็นที่ควรได้รับการพิจารณาแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน คือ การเสริมสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีความเห็นว่า แก่นของปัญหาคือความไม่ยุติธรรมในสังคม การถูกลิดรอนสิทธิ์ในการดำรงชีวิตอย่างมีความมั่นคงและมีศักดิ์ศรี ความไม่เข้าใจในวิถีชีวิตของชุมชน การขาดการพัฒนาที่เหมาะสมด้านการศึกษาและโอกาสที่พึงมี รวมทั้งเยาวชนไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ดังนั้น เพื่อความสมานฉันท์ในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้น คณะที่ปรึกษาฯ จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. การดำเนินการขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคม
1.1 กรณีการหายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร ควรเร่งรัดดำเนินการให้ความจริงปรากฏโดยเร็วที่สุด
1.2 กรณีดำเนินการพิจารณาคดีตากใบที่กล่าวหาประชาชน 58 คน อย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งต้องสืบพยาน 1,900 ปาก ขณะที่ผ่านไปครบ 2 ปี ในวันที่ 26 ตุลาคม 2549 แต่มีการสืบพยานไปเพียงไม่กี่ปาก ควรดำเนินการถอนฟ้อง
1.3 กรณีมีการวิสามัญฆาตกรรม เช่น สะบ้าย้อย กรือเซะ ควรเร่งดำเนินการให้ความจริงปรากฏโดยเร็วที่สุด
1.4 กรณีที่ทำกินของประชาชนในพื้นที่ และกรณีชาวประมงพื้นบ้านที่ถูกประมงพาณิชย์รุกล้ำพื้นที่ทำกินบริเวณชายฝั่งต้องเร่งแก้ไขปัญหาโดยด่วน
2. การลดปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
2.1 สนับสนุนโครงการสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติที่มีการปฏิบัตินำร่องอย่างได้ผล
2.2 ให้ความคุ้มครองและหลักประกันประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการฟื้นศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อประสานการปฏิบัติอย่างมีเอกภาพทั้งการข่าว การสื่อสาร และการปฏิบัติ
2.3 ให้เปลี่ยนกำลังทหารมาใช้ทหารจากบุคคลในพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ และอาจใช้แนวทางสันติเสนา ตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)
2.4 หาทางออกของปัญหาความรุนแรงโดยการสานเสวนา (Dialogue) กับกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้ภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาทำงานอีกภาษาหนึ่ง และให้มีสัดส่วนผู้ปฏิบัติงานที่เหมาะสมในหน่วยงานของรัฐที่สามารถสื่อสารด้วยภาษามลายูได้
2.5 ส่งเสริมให้มีการพูดคุยหรือการสานเสวนากับผู้นำทางความคิดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
2.6 มีการสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และประชาชนในส่วนอื่นของประเทศ โดยการใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์
3. สร้างหลักประกันเพื่อให้เกิดความยุติธรรมและความเป็นธรรม โดยถือหลักยุติธรรมอย่างเคร่งครัด
3.1 สร้างความยุติธรรมทั้งทางกฎหมาย (Legal Justice) และความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice) ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
3.2 ส่งเสริมให้มีการยอมรับกระบวนการยุติธรรมชุมชน (Community Justice) และกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) ให้สอดคล้องกับกระบวนการยุติธรรมทางกฎหมาย
3.3 ส่งเสริมการสร้างกฎ กติกาของชุมชน/ตำบลเพื่อแก้ปัญหากันเองในกรอบของกฎหมาย รวมถึงกติกาการมีสิทธิในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติบนฐานความเชื่อของศาสนา
4. ให้ใช้หลักการดำเนินการบริหารพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเน้นการค้นหาความจริง งดใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ สร้างความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมมีบทบาทในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาต่าง ๆ
5. ส่งเสริมระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและหลากหลาย ให้โอกาสการเรียนรู้ทางศาสนาและทางวิชาการสายสามัญ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กนักเรียนพุทธกับมุสลิม เช่น มีศูนย์กิจกรรมร่วม
6. ส่งเสริมระบบสหกรณ์ออมทรัพย์อิสลาม โดยปรับแก้กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในระบบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2549--จบ--