คณะรัฐมนตรีพิจารณาการของบกลางเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติปี 2548 (ด้านการเกษตร) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติเห็นชอบในหลักการช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังกล่าวได้ ภายในวงเงินไม่เกิน 954,745,794 บาท โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ที่ได้รับอนุมัติให้ขยายระยะเวลากันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีก่อน หากไม่เพียงพอให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ทั้งนี้ เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบในการตรวจสอบไม่ให้เกิดการช่วยเหลือที่ซ้ำซ้อน แล้วขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ ดังนี้
สำหรับการขออนุมัติในหลักการเพื่อให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกร นั้น เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสานขอยกเว้นค่าใช้จ่ายดังกล่าวกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตามแนวทางของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2546
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานการสำรวจพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติว่า ได้รับความเสียหายและขอความช่วยเหลือจากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง และกรมปศุสัตว์ เพิ่มอีก 21 จังหวัด เนื่องจาก ภัยแล้ง อุทกภัย และวาตภัย ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน พิจิตร ขอนแก่น หนองคาย มุกดาหาร นครราชสีมา ชัยภูมิ อุทัยธานี สุพรรณบุรี นครปฐม ชัยนาท กาญจนบุรีประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ชุมพร ปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง และตรัง ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบพื้นที่การเกษตรเสียหาย ด้านพืช ด้านประมงและ ด้านปศุสัตว์ ดังนี้ 1. ด้านพืช 3 ภัย จำนวน 20 จังหวัด คือ ภัยแล้ง 9 จังหวัด อุทกภัย 14 จังหวัด และวาตภัย 1 จังหวัด 2. ด้านประมง อุทกภัย 7 จังหวัด 3. ด้านปศุสัตว์ อุทกภัย 6 จังหวัดก.ช.ภ.จ. ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ได้มีมติให้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังกล่าวเป็นเงินโดยใช้เงินงบกลาง เนื่องจากไม่สามารถใช้เงินทดลองราชการได้ทันตามที่ระเบียบกระทรวงการคลังฯ กำหนดไว้ และได้ใช้หลักเกณฑ์และอัตราการให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ โดยอนุโลม วงเงินขอรับการช่วยเหลือ จำนวน 954,745,793.76 บาท แยกเป็น ด้านพืช 20 จังหวัด เกษตรกร 254,014 ราย วงเงิน 723,992,777.56 บาท ด้านประมง 7 จังหวัด เกษตรกร 22,103 ราย วงเงิน 78,458,957.70 บาท ด้านปศุสัตว์ 6 จังหวัด เกษตรกร 54,339 ราย วงเงิน 152,294,058.50 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--
สำหรับการขออนุมัติในหลักการเพื่อให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกร นั้น เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสานขอยกเว้นค่าใช้จ่ายดังกล่าวกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตามแนวทางของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2546
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานการสำรวจพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติว่า ได้รับความเสียหายและขอความช่วยเหลือจากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง และกรมปศุสัตว์ เพิ่มอีก 21 จังหวัด เนื่องจาก ภัยแล้ง อุทกภัย และวาตภัย ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน พิจิตร ขอนแก่น หนองคาย มุกดาหาร นครราชสีมา ชัยภูมิ อุทัยธานี สุพรรณบุรี นครปฐม ชัยนาท กาญจนบุรีประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ชุมพร ปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง และตรัง ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบพื้นที่การเกษตรเสียหาย ด้านพืช ด้านประมงและ ด้านปศุสัตว์ ดังนี้ 1. ด้านพืช 3 ภัย จำนวน 20 จังหวัด คือ ภัยแล้ง 9 จังหวัด อุทกภัย 14 จังหวัด และวาตภัย 1 จังหวัด 2. ด้านประมง อุทกภัย 7 จังหวัด 3. ด้านปศุสัตว์ อุทกภัย 6 จังหวัดก.ช.ภ.จ. ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ได้มีมติให้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังกล่าวเป็นเงินโดยใช้เงินงบกลาง เนื่องจากไม่สามารถใช้เงินทดลองราชการได้ทันตามที่ระเบียบกระทรวงการคลังฯ กำหนดไว้ และได้ใช้หลักเกณฑ์และอัตราการให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ โดยอนุโลม วงเงินขอรับการช่วยเหลือ จำนวน 954,745,793.76 บาท แยกเป็น ด้านพืช 20 จังหวัด เกษตรกร 254,014 ราย วงเงิน 723,992,777.56 บาท ด้านประมง 7 จังหวัด เกษตรกร 22,103 ราย วงเงิน 78,458,957.70 บาท ด้านปศุสัตว์ 6 จังหวัด เกษตรกร 54,339 ราย วงเงิน 152,294,058.50 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--