คณะรัฐมนตรีอนุมัติการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนแก่ครูอัตราจ้างใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกระทรวงศึกษาธิการ (จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส) และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย) จำนวน 3,695 คน ในอัตรา 1,000 บาท/คน/เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 เป็นต้นไป โดยเบิกจ่ายจากงบบุคลากรของส่วนราชการ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. จากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา มีข้าราชการครูย้ายออกจากพื้นที่เป็นจำนวนมากทำให้สถานศึกษาขาดแคลนบุคลากรผู้สอนในทุกระดับโดยเฉพาะในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดจ้างผู้ที่มีคุณวุฒิสอดคล้องกับสาขาที่ขาดแคลนมาเป็นครูอัตราจ้าง
2. ในปี 2549 ได้มีการจัดจ้างครูอัตราจ้างจำนวน 3,695 คน จำแนกตามสังกัด ดังนี้ 1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3,081 คน 2) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 181 คน 3) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 143 คน 4) สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 290 คน
3. ครูอัตราจ้างถือเป็นลูกจ้างชั่วคราวประเภทหนึ่ง จึงไม่อยู่ในกลุ่มที่จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษรายเดือน ซึ่งเมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ปี 2550 ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีมติเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2549 จะเห็นได้ว่ามีการขยายกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนให้กว้างขวางมากขึ้น เช่น พนักงาน ราชการ สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น ในขณะที่ครูอัตราจ้างของกระทรวงศึกษาธิการจะต้องปฏิบัติหน้าที่ลักษณะเดียวกับข้าราชการครู ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในทางปฏิบัติจึงควรเสนอให้ครูอัตราจ้างได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนเช่นเดียวกับข้าราชการครู
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2549--จบ--
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. จากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา มีข้าราชการครูย้ายออกจากพื้นที่เป็นจำนวนมากทำให้สถานศึกษาขาดแคลนบุคลากรผู้สอนในทุกระดับโดยเฉพาะในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดจ้างผู้ที่มีคุณวุฒิสอดคล้องกับสาขาที่ขาดแคลนมาเป็นครูอัตราจ้าง
2. ในปี 2549 ได้มีการจัดจ้างครูอัตราจ้างจำนวน 3,695 คน จำแนกตามสังกัด ดังนี้ 1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3,081 คน 2) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 181 คน 3) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 143 คน 4) สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 290 คน
3. ครูอัตราจ้างถือเป็นลูกจ้างชั่วคราวประเภทหนึ่ง จึงไม่อยู่ในกลุ่มที่จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษรายเดือน ซึ่งเมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ปี 2550 ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีมติเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2549 จะเห็นได้ว่ามีการขยายกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนให้กว้างขวางมากขึ้น เช่น พนักงาน ราชการ สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น ในขณะที่ครูอัตราจ้างของกระทรวงศึกษาธิการจะต้องปฏิบัติหน้าที่ลักษณะเดียวกับข้าราชการครู ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในทางปฏิบัติจึงควรเสนอให้ครูอัตราจ้างได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนเช่นเดียวกับข้าราชการครู
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2549--จบ--