คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) รายงานความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติและศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาและกระจายสินค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้
ความคืบหน้าการดำเนินงาน
1. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ทำการปรับปรุงรายละเอียดการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติและศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาและกระจายสินค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องของแบบรายละเอียดการก่อสร้างและประมาณการค่าก่อสร้าง เพื่อใช้ประกอบการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
2. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่าง ๆ แล้ว ประกอบด้วย
(1) คณะกรรมการกำหนดราคากลาง เพื่อดำเนินการในข้อ 1
(2) คณะกรรมการร่างขอบเขตของงาน (TOR) และร่างเอกสารประกวดราคา ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดทำเอกสารประกอบการประกวดราคา
(3) นำเสนอรายชื่อคณะกรรมการประกวดราคาส่งให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เพื่อทำคำสั่งแต่งตั้ง
ทั้งนี้ โดยคาดว่าการดำเนินขั้นตอนต่าง ๆ สามารถจัดทำสัญญาจ้างได้ในเดือนกันยายน 2549
3. สำหรับแผนการจัดทำแผนบริหารจัดการธุรกิจ (BUSINESS PLAN) ซึ่งสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการ นั้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเตรียมการสรรหาที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการ โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2549
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน
จากการดำเนินการปรับปรุงแบบรายละเอียดการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว นั้น ปรากฏว่าจะต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งโครงการ รวมทั้งสิ้น 24 เดือน ซึ่งล่าช้ากว่าแผนการดำเนินการก่อสร้าง ตามที่ได้วิเคราะห์จากแบบก่อสร้างเดิมซึ่งกำหนดไว้ 15 เดือน อันเนื่องมาจากสาเหตุหลัก ดังนี้
1. สภาพชั้นดินที่ตั้งโครงการ เนื่องจากการย้ายสถานีที่ตั้งโครงการตามแบบเดิมที่จะทำการก่อสร้างบริเวณศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชยงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มายังบริเวณที่ราชพัสดุหนองฮ่อ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ นั้น จากผลการทดสอบชันดินแล้ว ต้องทำให้เพิ่มขนาดของเสาเข็ม จากเดิมซึ่งใช้ความยาวเพียง 8.00 เมตร เป็นขนด 18.00 เมตร
2. มีการปรับแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบอะคูสติกส์กันเสียงให้มากขึ้น
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากการสัญจร และการขึ้น-ลง ของเครื่องบินในบริเวณสถานที่ตั้งโครงการฯ ซึ่งจะหนาแน่นกว่าบริเวณที่ตั้งโครงการเดิม ทำให้งบประมาณของงานระบบอะคูสติกส์เพิ่มขึ้นเกือบ 200 ล้านบาท ทำให้ที่ปรึกษาฯ ต้องทำการลดงบประมาณค่าก่อสร้างส่วนอื่นลงทดแทน เพื่อให้ค่าก่อสร้างเป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งได้ข้อสรุปโดยทำการเปลี่ยนโครงสร้างจากระบบเสา , คาน และพื้น HOLLOW CORE เป็นระบบ FLAT SLAB เพื่อทำให้งบประมาณค่าก่อสร้างงานส่วนนี้ลดลง แต่ทั้งนี้ การเปลี่ยนโครงสร้างในลักษณะดังกล่าว ทำให้ต้องใช้เสาเข็มเพิ่มขึ้นเป็นเหตุให้ต้องใช้ระยะเวลาการก่อสร้างงานโครงสร้างส่วนนี้เพิ่มขึ้นถึง 9 เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กรกฎาคม 2549--จบ--
ความคืบหน้าการดำเนินงาน
1. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ทำการปรับปรุงรายละเอียดการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติและศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาและกระจายสินค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องของแบบรายละเอียดการก่อสร้างและประมาณการค่าก่อสร้าง เพื่อใช้ประกอบการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
2. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่าง ๆ แล้ว ประกอบด้วย
(1) คณะกรรมการกำหนดราคากลาง เพื่อดำเนินการในข้อ 1
(2) คณะกรรมการร่างขอบเขตของงาน (TOR) และร่างเอกสารประกวดราคา ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดทำเอกสารประกอบการประกวดราคา
(3) นำเสนอรายชื่อคณะกรรมการประกวดราคาส่งให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เพื่อทำคำสั่งแต่งตั้ง
ทั้งนี้ โดยคาดว่าการดำเนินขั้นตอนต่าง ๆ สามารถจัดทำสัญญาจ้างได้ในเดือนกันยายน 2549
3. สำหรับแผนการจัดทำแผนบริหารจัดการธุรกิจ (BUSINESS PLAN) ซึ่งสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการ นั้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเตรียมการสรรหาที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการ โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2549
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน
จากการดำเนินการปรับปรุงแบบรายละเอียดการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว นั้น ปรากฏว่าจะต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งโครงการ รวมทั้งสิ้น 24 เดือน ซึ่งล่าช้ากว่าแผนการดำเนินการก่อสร้าง ตามที่ได้วิเคราะห์จากแบบก่อสร้างเดิมซึ่งกำหนดไว้ 15 เดือน อันเนื่องมาจากสาเหตุหลัก ดังนี้
1. สภาพชั้นดินที่ตั้งโครงการ เนื่องจากการย้ายสถานีที่ตั้งโครงการตามแบบเดิมที่จะทำการก่อสร้างบริเวณศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชยงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มายังบริเวณที่ราชพัสดุหนองฮ่อ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ นั้น จากผลการทดสอบชันดินแล้ว ต้องทำให้เพิ่มขนาดของเสาเข็ม จากเดิมซึ่งใช้ความยาวเพียง 8.00 เมตร เป็นขนด 18.00 เมตร
2. มีการปรับแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบอะคูสติกส์กันเสียงให้มากขึ้น
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากการสัญจร และการขึ้น-ลง ของเครื่องบินในบริเวณสถานที่ตั้งโครงการฯ ซึ่งจะหนาแน่นกว่าบริเวณที่ตั้งโครงการเดิม ทำให้งบประมาณของงานระบบอะคูสติกส์เพิ่มขึ้นเกือบ 200 ล้านบาท ทำให้ที่ปรึกษาฯ ต้องทำการลดงบประมาณค่าก่อสร้างส่วนอื่นลงทดแทน เพื่อให้ค่าก่อสร้างเป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งได้ข้อสรุปโดยทำการเปลี่ยนโครงสร้างจากระบบเสา , คาน และพื้น HOLLOW CORE เป็นระบบ FLAT SLAB เพื่อทำให้งบประมาณค่าก่อสร้างงานส่วนนี้ลดลง แต่ทั้งนี้ การเปลี่ยนโครงสร้างในลักษณะดังกล่าว ทำให้ต้องใช้เสาเข็มเพิ่มขึ้นเป็นเหตุให้ต้องใช้ระยะเวลาการก่อสร้างงานโครงสร้างส่วนนี้เพิ่มขึ้นถึง 9 เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กรกฎาคม 2549--จบ--