คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการกำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2550 (กากถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปลาป่น) ตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหาร เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2549 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้กระทรวงการคลังโดยกรมศุลกากรออกประกาศลด/ยกเว้นอากรนำเข้าของวัตถุดิบอาหารสัตว์ ดังกล่าว โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายอาหารเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2549 ได้มีมติเห็นชอบให้กำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2550 ดังนี้
1. กากถั่วเหลือง
(1) การนำเข้าภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) จากประเทศสมาชิก WTO ในโควตาให้นำเข้าได้โดยไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้าอากรนำเข้าร้อยละ 4 ผู้มีสิทธินำเข้า ได้แก่ ผู้มีสิทธินำเข้าเดิมประกอบด้วย 7 สมาคม (สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและการส่งออก สมาคมปศุสัตว์ไทย สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์) และมีเงื่อนไขผู้มีสิทธินำเข้าต้องรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศของโรงงานสกัดน้ำมันพืชทั้งหมด ในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 9.85 บาท ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมันพืช ตลาด กทม. โดยต้องทำสัญญาการปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวไว้กับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ หากมีผู้ยื่นขอมีสิทธินำเข้ารายใหม่ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการนโยบายอาหารพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสม นอกโควตากำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 119
(2) การนำเข้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 5
(3) การนำเข้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์ (FTA ) กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 0
(4) การนำเข้าทั่วไป (ไม่ใช่การนำเข้า ตามข้อ (1)-(3)) กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 6 และค่าธรรมเนียมพิเศษ ตันละ 2,519 บาท
2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
(1) การนำเข้าภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) จากประเทศสมาชิก WTO ในโควตากำหนดปริมาณนำเข้า 54,700 ตัน อากรนำเข้าร้อยละ 20 โดยให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้าและกำหนดระยะเวลานำเข้าระหว่างวันที่ 1 มีนาคมถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2550 นอกโควตา กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 73 และค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 180 บาท
(2) การนำเข้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) อากรนำเข้าร้อยละ 5 หรือกิโลกรัมละ 2.75 บาท
(3) การนำเข้าตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) และภายใต้มาตรการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (ASEAN Integration System of Preferences : AISP) อากรนำเข้าร้อยละ 0 โดยกำหนดผู้มีสิทธินำเข้าต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการค้าต่างประเทศ และจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ได้แก่ การรายงานการนำเข้า การใช้ การจำหน่าย
(4) การนำเข้าตามความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ (FTA) กำหนดอากร นำเข้าร้อยละ 0
(5) การนำเข้าตามความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (FTA) ในโควตากำหนดปริมาณ นำเข้า 6,030.68 ตัน อากรนำเข้าร้อยละ 17.33 โดยให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้า ระหว่างวันที่ 1 มีนาคมถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2550 นอกโควตา กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 65.70
(6) การนำเข้าทั่วไป (ไม่ใช่การนำเข้าตามข้อ (2)-(5)) กำหนดอากรนำเข้ากิโลกรัมละ 2.75 บาท และค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 1,000 บาท ทั้งนี้ การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามข้อ (1)-(6) นอกเหนือจากในโควตาสามารถนำเข้าได้ไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า
3. ปลาป่น
ปลาป่นโปรตีนร้อยละ 60 ขึ้นไป ให้นำเข้าโดยไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า โดย
(1) การนำเข้าทั่วไปกำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 10 และอากรพิเศษอีกร้อยละ 50 ของอากรนำเข้า (รวมเป็นอากรนำเข้าทั้งสิ้นร้อยละ 15)
(2) การนำเข้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 5
(3) การนำเข้าตามความตกลงทางการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลียและไทย-นิวซีแลนด์ (FTA) กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 6
(4) การนำเข้าตามความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 8
ส่วนปลาป่นโปรตีนต่ำกว่าร้อยละ 60 กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 5 และต้องขออนุญาตนำเข้า
ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้กระทรวงการคลังโดยกรมศุลกากรดำเนินการออกประกาศกระทรวงการคลัง เพื่อลดและยกเว้นอัตราอากรศุลกากรขาเข้ากากถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปลาป่น โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายอาหารเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2549 ได้มีมติเห็นชอบให้กำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2550 ดังนี้
1. กากถั่วเหลือง
(1) การนำเข้าภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) จากประเทศสมาชิก WTO ในโควตาให้นำเข้าได้โดยไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้าอากรนำเข้าร้อยละ 4 ผู้มีสิทธินำเข้า ได้แก่ ผู้มีสิทธินำเข้าเดิมประกอบด้วย 7 สมาคม (สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและการส่งออก สมาคมปศุสัตว์ไทย สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์) และมีเงื่อนไขผู้มีสิทธินำเข้าต้องรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศของโรงงานสกัดน้ำมันพืชทั้งหมด ในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 9.85 บาท ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมันพืช ตลาด กทม. โดยต้องทำสัญญาการปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวไว้กับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ หากมีผู้ยื่นขอมีสิทธินำเข้ารายใหม่ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการนโยบายอาหารพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสม นอกโควตากำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 119
(2) การนำเข้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 5
(3) การนำเข้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์ (FTA ) กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 0
(4) การนำเข้าทั่วไป (ไม่ใช่การนำเข้า ตามข้อ (1)-(3)) กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 6 และค่าธรรมเนียมพิเศษ ตันละ 2,519 บาท
2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
(1) การนำเข้าภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) จากประเทศสมาชิก WTO ในโควตากำหนดปริมาณนำเข้า 54,700 ตัน อากรนำเข้าร้อยละ 20 โดยให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้าและกำหนดระยะเวลานำเข้าระหว่างวันที่ 1 มีนาคมถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2550 นอกโควตา กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 73 และค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 180 บาท
(2) การนำเข้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) อากรนำเข้าร้อยละ 5 หรือกิโลกรัมละ 2.75 บาท
(3) การนำเข้าตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) และภายใต้มาตรการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (ASEAN Integration System of Preferences : AISP) อากรนำเข้าร้อยละ 0 โดยกำหนดผู้มีสิทธินำเข้าต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการค้าต่างประเทศ และจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ได้แก่ การรายงานการนำเข้า การใช้ การจำหน่าย
(4) การนำเข้าตามความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ (FTA) กำหนดอากร นำเข้าร้อยละ 0
(5) การนำเข้าตามความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (FTA) ในโควตากำหนดปริมาณ นำเข้า 6,030.68 ตัน อากรนำเข้าร้อยละ 17.33 โดยให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้า ระหว่างวันที่ 1 มีนาคมถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2550 นอกโควตา กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 65.70
(6) การนำเข้าทั่วไป (ไม่ใช่การนำเข้าตามข้อ (2)-(5)) กำหนดอากรนำเข้ากิโลกรัมละ 2.75 บาท และค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 1,000 บาท ทั้งนี้ การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามข้อ (1)-(6) นอกเหนือจากในโควตาสามารถนำเข้าได้ไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า
3. ปลาป่น
ปลาป่นโปรตีนร้อยละ 60 ขึ้นไป ให้นำเข้าโดยไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า โดย
(1) การนำเข้าทั่วไปกำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 10 และอากรพิเศษอีกร้อยละ 50 ของอากรนำเข้า (รวมเป็นอากรนำเข้าทั้งสิ้นร้อยละ 15)
(2) การนำเข้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 5
(3) การนำเข้าตามความตกลงทางการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลียและไทย-นิวซีแลนด์ (FTA) กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 6
(4) การนำเข้าตามความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 8
ส่วนปลาป่นโปรตีนต่ำกว่าร้อยละ 60 กำหนดอากรนำเข้าร้อยละ 5 และต้องขออนุญาตนำเข้า
ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้กระทรวงการคลังโดยกรมศุลกากรดำเนินการออกประกาศกระทรวงการคลัง เพื่อลดและยกเว้นอัตราอากรศุลกากรขาเข้ากากถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปลาป่น โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--