คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ รายงานการดำเนินงานนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาที่ได้เกิดปัญหาและอุปสรรคที่มีผลเชิงนโยบาย ซึ่งได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาแล้ว สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินงานตามโครงการขอขยายวงเงินโดยกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานและแจ้งซักซ้อมไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด ในแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
1.1 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ที่ขอขยายวงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินตามโครงการดังกล่าว ต้องมีคุณสมบัติสำคัญ 2 ประการ คือ 1) การบริหารจัดการที่ดี (AAA) ตามผลการประเมินประสิทธิภาพกองทุนของ สทบ. และ 2) เป็นหมู่บ้าน/ชุมชนที่ปลอดยาเสพติด
1.2 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ต้องผ่านขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติของคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ ให้ความเห็นชอบ ก่อนแจ้งไปยังคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด และสถาบันการเงินพิจารณาการอนุมัติเพื่อขยายวงเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ปัจจุบันมีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้รับการขยายวงเงินแล้วจำนวนทั้งสิ้น 37,605 กองทุน โดยจำแนกเป็นการขยายวงเงินจากธนาคารออมสิน จำนวน 4,949 กองทุน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)จำนวน 31,690 กองทุน และธนาคารกรุงไทย จำนวน 966 กองทุน ในขณะที่มีกองทุนที่มีการบริหารจัดการที่ดี (AAA) ตามผลการประเมินประสิทธิภาพกองทุนของ สทบ. จำนวน 24,902 กองทุน
เมื่อพิจารณาแล้วมีกองทุนที่ได้รับการขอขยายวงเงินสูงกว่ากองทุนที่มีการบริหารจัดการที่ดี (AAA) จำนวนถึง 12,703 กองทุน โดยเป็นกองทุนที่ได้รับการขยายวงเงินจาก ธ.ก.ส. เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสาเหตุมาจากนโยบายของธนาคารในการตั้งเป้าหมายเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพหรือความพร้อมของกองทุน และอาจเป็นปัญหาการส่งเงินคืนชำระเงินกู้จากสถาบันการเงินได้
เพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้มอบหมายให้ทั้ง 3 ธนาคาร ดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ และขั้นตอนปฏิบัติโครงการขยายวงเงินกู้ของ สทบ. หากธนาคารใดไม่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ขอให้ระงับการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และให้ดำเนินการตรวจสอบการสนับสนุนวงเงินที่ขอขยายไปแล้วเป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติหรือไม่อย่างไร
2. การขยายวงเงินสำหรับจัดสรรและโอนเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป้าหมาย
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2548 ได้กำหนดวงเงินการจัดสรรและโอนเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ไม่เกิน 80,000 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอแก่การจัดสรรและโอนเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านตั้งใหม่ จำนวน 1,321 กองทุน วงเงิน 1,321 ล้านบาท และกองทุนที่บริหารจัดการดีที่ยังไม่ได้โอนเงินให้ จำนวน 1,792 กองทุน วงเงิน 179.2 ล้านบาท รวมเป็นเงินที่ยังไม่เพียงพอแก่การจัดสรรและโอนเงินทั้งสิ้น 1,500.2 ล้านบาท
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้เสนอคณะรัฐมนตรี และมีมติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 อนุมัติให้ขยายวงเงินสำหรับการจัดสรรและโอนเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป้าหมายจากที่กำหนดไว้เดิม จำนวน 80,000 ล้านบาท เป็นเงินจำนวน 81,500 ล้านบาท
การประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2549 ได้อนุมัติจัดสรรเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ผ่านมาประเมินความพร้อม จำนวน 458 กองทุน โดยจำแนกเป็นหมู่บ้านจัดตั้งใหม่ จำนวน 400 กองทุน กองทุนหมู่บ้านเดิม จำนวน 12 กองทุน และกองทุนชุมชนเมือง จำนวน 46 กองทุน วงเงินรวม 458 ล้านบาท และจัดสรรและโอนเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านที่มีการบริหารจัดการที่ดี จำนวน 184 กองทุน เป็นเงิน 18.4 ล้านบาท
3. การดำเนินงานด้านสวัสดิการ เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้จัดทำโครงการสวัสดิการรากหญ้าเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือพร้อมระเบียบข้อบังคับ ว่าด้วยโครงการสวัสดิการรากหญ้า เมื่อพิจารณาแล้วเป็นโครงการเชิงธุรกิจประกันชีวิต และอาจมีผลเสียต่อการดำเนินงานนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในอนาคต
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงได้แจ้งให้ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ระงับโครงการอันเนื่องมาจากผลกระทบ ดังนี้
3.1 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ไม่มีนโยบายที่จะให้เครือข่ายกองทุนฯ ดำเนินธุรกิจ หรือโครงการที่มีลักษณะเชิงธุรกิจ
3.2 เครือข่ายกองทุน ฯ ไม่มีสถานภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ดังนั้นจึงไม่สามารถทำนิติกรรม ธุรกรรม สัญญา โดยผู้แทนนิติบุคคล หากแต่การกระทำใด ๆ ของผู้แทนเครือข่ายกองทุน ฯ ผูกพันเฉพาะบุคคลนั้น ๆ
3.3 โครงการสวัสดิการรากหญ้าดังกล่าวอาจมีปัญหาข้อกฎหมายอื่น ๆ กล่าวคือหากมีลักษณะเข้าข่ายเชิงธุรกิจการประกันชีวิต ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะกรรมการเครือข่ายกองทุน ฯ ในระดับต่าง ๆ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองดำเนินการโครงการดังกล่าวต่อไป อาจเข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา 18 และมาตรา 19 ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 91 และมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 อีกทั้งอาจเข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา 4 และมาตรา 5 ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2534
3.4 ยังไม่มีระเบียบว่าด้วยเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านในระดับต่าง ๆ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำระเบียบดังกล่าว
ทั้งนี้ได้แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินการกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัดทราบ เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบ และเกิดผลเสียหายต่อนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พร้อมจัดประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจแก่เลขานุการคณะอนุกรรมการสนับสนุน ฯ ระดับจังหวัด ประธานเครือข่าย กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับจังหวัดของทุกจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับอำเภอในบางอำเภอแล้ว
4. การประเมินศักยภาพการจัดชั้นมาตรฐานกองทุนสำหรับกองทุนชุมชนกองทัพบก เพื่อดำเนินงานโครงการเพิ่มทุนและขยายวงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ได้เสนอความเห็นให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พิจารณาดังนี้
4.1 เห็นควรให้มีการประเมินศักยภาพการจัดชั้นมาตรฐานกองทุนสำหรับกองทุนชุมชนกองทัพบกที่ได้รับการโอนเงิน 1 ล้านบาท และดำเนินการครบ 1 ปีแล้ว โดยใช้แบบสอบถามและตัวชี้วัดเช่นเดียวกับที่ สทบ. ดำเนินการอยู่แล้ว
4.2 สำหรับรูปแบบ วิธีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์และประมวลผลให้คณะอนุกรรมการโครงการนำร่องกองทุนชุมชนกองทัพบกกำหนดแนวทางดำเนินการ
4.3 เห็นควรโอนเงินงบประมาณให้กับกองทัพบก โดยให้อนุกรรมการโครงการนำร่องกองทุนชุมชนกองทัพบกเป็นผู้เบิกจ่าย จากงบประมาณ สทบ. ปี 2548 ผลผลิตที่ 1 การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ค้นหาศักยภาพกองทุนด้วยตนเอง
4.4 เมื่อผลการประเมินศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนเสร็จเรียบร้อย เห็นควรนำเสนอคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อเข้าสู่โครงการเพิ่มทุนและขยายวงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่อไป
ปัจจุบันยังไม่ทราบผลการพิจารณาเพื่อการดำเนินดังกล่าวทำให้เกิดการเสียโอกาสของกองทุนชุมชนกองทัพบกในการเข้าสู่โครงการเพิ่มทุนและการขยายวงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินในกองทุนชุมชนกองทัพบกเช่นเดียวกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั่วไป ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ฯ จึงมอบหมายให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เร่งรัดติดตามเพื่อให้เกิดผลการดำเนินดังกล่าวต่อไป
5. โครงการพัฒนาและสนับสนุนเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามหลักศาสนาอิสลาม
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้มีนโยบายในการจัดตั้งเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามหลักศาสนาอิสลามด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและจัดทำโครงการหลักสูตรการเรียนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามหลักศาสนาอิสลามโดยจัดเป็นอักษรไทยและอักษรมาลายู เพื่อสอนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และสถาบันศึกษาปอเนาะในเขต 5 จังหวัดชายแดนภายใต้ เพื่อสร้างการเรียนรู้และการปฏิบัติตามปรัชญากองทุน ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชุมชนแก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ดังกล่าว
ที่ผ่านมาไม่มีความคืบหน้า ทำให้เกิดการเสียโอกาสในการเรียนของนักเรียนและแนวร่วมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและความมั่นคง
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ฯ จึงได้เร่งรัดให้ดำเนินการโครงการดังกล่าวให้เกิดความต่อเนื่องต่อไปแล้วและคาดว่าจะสามารถจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนได้ภายในปีการศึกษา 2549
6. โครงการศึกษาระดับปริญญาโท แก่ผู้สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ฯ ได้มีนโยบายให้เกิดการศึกษาต่อเนื่องของผู้สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ให้มีการศึกษาระดับปริญญาโท โดยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อผลิตมหาบัณฑิตในการเข้าไปช่วยเหลือในการยกระดับกองทุนให้เกิดความพร้อมเป็นสถาบันการเงินชุมชน
ปัจจุบันได้เสนอคณะรัฐมนตรี แต่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรอง และยังไม่ทราบความคืบหน้าอาจจะด้วยเหตุผลด้านงบประมาณเพื่อดำเนินการ
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านฯ จึงมอบหมายให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองติดตามโครงการดังกล่าว และพิจารณาให้ลดจำนวนเป้าหมายของโครงการลงเพื่อลดงบประมาณดำเนินการ และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
7. แผนงานโครงการที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. กองทุนหมู่บ้านฯ พ.ศ. 2547 และนโยบายของรัฐบาล
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านฯ ได้เร่งรัดให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติดำเนินการเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาให้เป็นไปตามนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน และแผนการปฏิบัติงานของกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
7.1 การจัดตั้งสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติสาขาภาคและจังหวัด
7.2 การพัฒนาเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนากองทุน
7.3 การดำเนินงานการจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547
7.4 การดำเนินงานการพัฒนากองทุนที่มีความพร้อมเป็นสถาบันการเงินชุมชน ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551
7.5 การดำเนินงานการจัดทำระบบฐานข้อมูล และระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 มีนาคม 2549--จบ--
1. การดำเนินงานตามโครงการขอขยายวงเงินโดยกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานและแจ้งซักซ้อมไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด ในแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
1.1 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ที่ขอขยายวงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินตามโครงการดังกล่าว ต้องมีคุณสมบัติสำคัญ 2 ประการ คือ 1) การบริหารจัดการที่ดี (AAA) ตามผลการประเมินประสิทธิภาพกองทุนของ สทบ. และ 2) เป็นหมู่บ้าน/ชุมชนที่ปลอดยาเสพติด
1.2 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ต้องผ่านขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติของคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ ให้ความเห็นชอบ ก่อนแจ้งไปยังคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด และสถาบันการเงินพิจารณาการอนุมัติเพื่อขยายวงเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ปัจจุบันมีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้รับการขยายวงเงินแล้วจำนวนทั้งสิ้น 37,605 กองทุน โดยจำแนกเป็นการขยายวงเงินจากธนาคารออมสิน จำนวน 4,949 กองทุน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)จำนวน 31,690 กองทุน และธนาคารกรุงไทย จำนวน 966 กองทุน ในขณะที่มีกองทุนที่มีการบริหารจัดการที่ดี (AAA) ตามผลการประเมินประสิทธิภาพกองทุนของ สทบ. จำนวน 24,902 กองทุน
เมื่อพิจารณาแล้วมีกองทุนที่ได้รับการขอขยายวงเงินสูงกว่ากองทุนที่มีการบริหารจัดการที่ดี (AAA) จำนวนถึง 12,703 กองทุน โดยเป็นกองทุนที่ได้รับการขยายวงเงินจาก ธ.ก.ส. เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสาเหตุมาจากนโยบายของธนาคารในการตั้งเป้าหมายเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพหรือความพร้อมของกองทุน และอาจเป็นปัญหาการส่งเงินคืนชำระเงินกู้จากสถาบันการเงินได้
เพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้มอบหมายให้ทั้ง 3 ธนาคาร ดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ และขั้นตอนปฏิบัติโครงการขยายวงเงินกู้ของ สทบ. หากธนาคารใดไม่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ขอให้ระงับการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และให้ดำเนินการตรวจสอบการสนับสนุนวงเงินที่ขอขยายไปแล้วเป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติหรือไม่อย่างไร
2. การขยายวงเงินสำหรับจัดสรรและโอนเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป้าหมาย
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2548 ได้กำหนดวงเงินการจัดสรรและโอนเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ไม่เกิน 80,000 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอแก่การจัดสรรและโอนเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านตั้งใหม่ จำนวน 1,321 กองทุน วงเงิน 1,321 ล้านบาท และกองทุนที่บริหารจัดการดีที่ยังไม่ได้โอนเงินให้ จำนวน 1,792 กองทุน วงเงิน 179.2 ล้านบาท รวมเป็นเงินที่ยังไม่เพียงพอแก่การจัดสรรและโอนเงินทั้งสิ้น 1,500.2 ล้านบาท
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้เสนอคณะรัฐมนตรี และมีมติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 อนุมัติให้ขยายวงเงินสำหรับการจัดสรรและโอนเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป้าหมายจากที่กำหนดไว้เดิม จำนวน 80,000 ล้านบาท เป็นเงินจำนวน 81,500 ล้านบาท
การประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2549 ได้อนุมัติจัดสรรเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ผ่านมาประเมินความพร้อม จำนวน 458 กองทุน โดยจำแนกเป็นหมู่บ้านจัดตั้งใหม่ จำนวน 400 กองทุน กองทุนหมู่บ้านเดิม จำนวน 12 กองทุน และกองทุนชุมชนเมือง จำนวน 46 กองทุน วงเงินรวม 458 ล้านบาท และจัดสรรและโอนเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านที่มีการบริหารจัดการที่ดี จำนวน 184 กองทุน เป็นเงิน 18.4 ล้านบาท
3. การดำเนินงานด้านสวัสดิการ เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้จัดทำโครงการสวัสดิการรากหญ้าเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือพร้อมระเบียบข้อบังคับ ว่าด้วยโครงการสวัสดิการรากหญ้า เมื่อพิจารณาแล้วเป็นโครงการเชิงธุรกิจประกันชีวิต และอาจมีผลเสียต่อการดำเนินงานนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในอนาคต
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงได้แจ้งให้ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ระงับโครงการอันเนื่องมาจากผลกระทบ ดังนี้
3.1 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ไม่มีนโยบายที่จะให้เครือข่ายกองทุนฯ ดำเนินธุรกิจ หรือโครงการที่มีลักษณะเชิงธุรกิจ
3.2 เครือข่ายกองทุน ฯ ไม่มีสถานภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ดังนั้นจึงไม่สามารถทำนิติกรรม ธุรกรรม สัญญา โดยผู้แทนนิติบุคคล หากแต่การกระทำใด ๆ ของผู้แทนเครือข่ายกองทุน ฯ ผูกพันเฉพาะบุคคลนั้น ๆ
3.3 โครงการสวัสดิการรากหญ้าดังกล่าวอาจมีปัญหาข้อกฎหมายอื่น ๆ กล่าวคือหากมีลักษณะเข้าข่ายเชิงธุรกิจการประกันชีวิต ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะกรรมการเครือข่ายกองทุน ฯ ในระดับต่าง ๆ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองดำเนินการโครงการดังกล่าวต่อไป อาจเข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา 18 และมาตรา 19 ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 91 และมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 อีกทั้งอาจเข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา 4 และมาตรา 5 ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2534
3.4 ยังไม่มีระเบียบว่าด้วยเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านในระดับต่าง ๆ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำระเบียบดังกล่าว
ทั้งนี้ได้แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินการกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัดทราบ เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบ และเกิดผลเสียหายต่อนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พร้อมจัดประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจแก่เลขานุการคณะอนุกรรมการสนับสนุน ฯ ระดับจังหวัด ประธานเครือข่าย กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับจังหวัดของทุกจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับอำเภอในบางอำเภอแล้ว
4. การประเมินศักยภาพการจัดชั้นมาตรฐานกองทุนสำหรับกองทุนชุมชนกองทัพบก เพื่อดำเนินงานโครงการเพิ่มทุนและขยายวงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ได้เสนอความเห็นให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พิจารณาดังนี้
4.1 เห็นควรให้มีการประเมินศักยภาพการจัดชั้นมาตรฐานกองทุนสำหรับกองทุนชุมชนกองทัพบกที่ได้รับการโอนเงิน 1 ล้านบาท และดำเนินการครบ 1 ปีแล้ว โดยใช้แบบสอบถามและตัวชี้วัดเช่นเดียวกับที่ สทบ. ดำเนินการอยู่แล้ว
4.2 สำหรับรูปแบบ วิธีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์และประมวลผลให้คณะอนุกรรมการโครงการนำร่องกองทุนชุมชนกองทัพบกกำหนดแนวทางดำเนินการ
4.3 เห็นควรโอนเงินงบประมาณให้กับกองทัพบก โดยให้อนุกรรมการโครงการนำร่องกองทุนชุมชนกองทัพบกเป็นผู้เบิกจ่าย จากงบประมาณ สทบ. ปี 2548 ผลผลิตที่ 1 การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ค้นหาศักยภาพกองทุนด้วยตนเอง
4.4 เมื่อผลการประเมินศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนเสร็จเรียบร้อย เห็นควรนำเสนอคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อเข้าสู่โครงการเพิ่มทุนและขยายวงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่อไป
ปัจจุบันยังไม่ทราบผลการพิจารณาเพื่อการดำเนินดังกล่าวทำให้เกิดการเสียโอกาสของกองทุนชุมชนกองทัพบกในการเข้าสู่โครงการเพิ่มทุนและการขยายวงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินในกองทุนชุมชนกองทัพบกเช่นเดียวกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั่วไป ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ฯ จึงมอบหมายให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เร่งรัดติดตามเพื่อให้เกิดผลการดำเนินดังกล่าวต่อไป
5. โครงการพัฒนาและสนับสนุนเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามหลักศาสนาอิสลาม
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้มีนโยบายในการจัดตั้งเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามหลักศาสนาอิสลามด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและจัดทำโครงการหลักสูตรการเรียนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามหลักศาสนาอิสลามโดยจัดเป็นอักษรไทยและอักษรมาลายู เพื่อสอนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และสถาบันศึกษาปอเนาะในเขต 5 จังหวัดชายแดนภายใต้ เพื่อสร้างการเรียนรู้และการปฏิบัติตามปรัชญากองทุน ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชุมชนแก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ดังกล่าว
ที่ผ่านมาไม่มีความคืบหน้า ทำให้เกิดการเสียโอกาสในการเรียนของนักเรียนและแนวร่วมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและความมั่นคง
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ฯ จึงได้เร่งรัดให้ดำเนินการโครงการดังกล่าวให้เกิดความต่อเนื่องต่อไปแล้วและคาดว่าจะสามารถจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนได้ภายในปีการศึกษา 2549
6. โครงการศึกษาระดับปริญญาโท แก่ผู้สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ฯ ได้มีนโยบายให้เกิดการศึกษาต่อเนื่องของผู้สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ให้มีการศึกษาระดับปริญญาโท โดยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อผลิตมหาบัณฑิตในการเข้าไปช่วยเหลือในการยกระดับกองทุนให้เกิดความพร้อมเป็นสถาบันการเงินชุมชน
ปัจจุบันได้เสนอคณะรัฐมนตรี แต่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรอง และยังไม่ทราบความคืบหน้าอาจจะด้วยเหตุผลด้านงบประมาณเพื่อดำเนินการ
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านฯ จึงมอบหมายให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองติดตามโครงการดังกล่าว และพิจารณาให้ลดจำนวนเป้าหมายของโครงการลงเพื่อลดงบประมาณดำเนินการ และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
7. แผนงานโครงการที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. กองทุนหมู่บ้านฯ พ.ศ. 2547 และนโยบายของรัฐบาล
ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านฯ ได้เร่งรัดให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติดำเนินการเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาให้เป็นไปตามนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน และแผนการปฏิบัติงานของกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
7.1 การจัดตั้งสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติสาขาภาคและจังหวัด
7.2 การพัฒนาเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนากองทุน
7.3 การดำเนินงานการจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547
7.4 การดำเนินงานการพัฒนากองทุนที่มีความพร้อมเป็นสถาบันการเงินชุมชน ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551
7.5 การดำเนินงานการจัดทำระบบฐานข้อมูล และระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 มีนาคม 2549--จบ--