คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์โรคและมาตรการการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก และโรคมือ เท้า ปาก ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคน
1. ในต่างประเทศรวมทั้งประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้อหวัดนก H5N1 ขององค์การอนามัยโลก (เฉพาะที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยัน) ณ วันที่ 1 มีนาคม 2549 มีผู้ป่วยไข้หวัดนก รวม 174 ราย เสียชีวิต 94 ราย ดังนี้
- สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีผู้ป่วย 93 ราย เสียชีวิต 42 ราย
- ราชอาณาจักรกัมพูชา มีผู้ป่วย 4 ราย เสียชีวิตทั้งหมด
- สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีผู้ป่วย 27 ราย เสียชีวิต 20 ราย
- ประเทศไทย มีผู้ป่วย 22 ราย เสียชีวิต 14 ราย
- สาธารณรัฐประชาชนจีน มีผู้ป่วย 14 ราย เสียชีวิต 8 ราย
- ประเทศตุรกี มีผู้ป่วย 12 ราย เสียชีวิต 4 ราย
- ประเทศอิรัก มีผู้ป่วย 2 ราย เสียชีวิตทั้งหมด
2. ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 8 มีนาคม 2549 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่หรือ ปอดบวม อยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก จาก 61 จังหวัด จำนวน 695 ราย และจากการสอบสวนโรคไม่พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไข้หวัดนกรายใหม่
3. ความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านสาธารณสุข
ในวันที่ 2-3 มีนาคม 2549 ที่ผ่านมา มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่และกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้จัดสัมมนาวิชาการโรคไข้หวัดใหญ่ ปี 2549 เรื่อง Influenza Inter-Pandemic Preparedness Plan Episode lll ณ จังหวัดภูเก็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนเรื่องไข้หวัดนก ทั้งด้านสถานการณ์และความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมทั้งนโยบายเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ให้แก่ผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 320 คน
สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease)
1. สถานการณ์การระบาดในต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข สหพันธรัฐมาเลเซียได้รายงาน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 ว่า มีการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในรัฐซาราวัค บนเกาะบอร์เนียว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 18 กุมภาพันธ์ 2549 มีผู้ป่วย 942 ราย ซึ่งสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2548 เกือบ 4 เท่า (ช่วงเดียวกันของปี 2548 มีผู้ป่วย เพียง 270 ราย) ในจำนวนดังกล่าวเสียชีวิต 3 ราย จากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เกิดอาการไข้ มีผื่นขึ้นในปากและตุ่มพองที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า รายล่าสุดเสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2549 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้เสียชีวิต 1 ราย พบเชื้อ Enterovirus 71 ซึ่งเคยเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก เมื่อปี 2540 ที่ผ่านมา และเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ได้มีการสั่งให้ปิดโรงเรียนอนุบาล 488 แห่ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2549 มีรายงานข่าวจากประเทศบรูไน ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว และมีเขตติดต่อกับรัฐซาราวัคของสหพันธ์มาเลเซีย มีการสั่งปิดโรงเรียนอนุบาล ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก และโรงเรียนประถมศึกษา หลังจาก พบว่า มีผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก มากกว่า 30 ราย และเสียชีวิต 1 ราย เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2549 ที่ผ่านมา ส่วนรายอื่น ๆ อาการไม่รุนแรง
2. สถานการณ์ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 1 มีนาคม 2549 มีรายงานผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก 147 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต พบที่จังหวัดลำปาง และจังหวัดน่านเกิดขึ้นในศูนย์เด็กเล็กเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ที่ผ่านมา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้แจ้งให้ทุกจังหวัดทำการเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องเป็นประจำแล้ว โดยเฉพาะในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล พร้อมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมโรค ให้สถานบริการดังกล่าวดำเนินการ ดังนี้
- ให้กำจัดสิ่งขับถ่าย อย่างถูกสุขลักษณะ ล้างทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ ของเล่น ด้วยน้ำผงซักฟอก
- ให้พี่เลี้ยงเด็ก ล้างมือทุกครั้งหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม และก่อนเตรียมอาหาร สำหรับเด็กต้องให้มีการล้างมือทุกครั้งหลังจากขับถ่าย ใช้ช้อนกลางและหลีกเลี่ยงการใช้แก้วน้ำหรือหลอดดูดน้ำร่วมกัน
- หากพบเด็กมีอาการ ไข้ ผื่นคัน ให้หยุดเรียน และแนะนำให้ผู้ปกครองพาไปพบแพทย์เพื่อการตรวจรักษาที่รวดเร็ว อย่างถูกต้องเหมาะสม
- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบระดับคลอรีนตกค้างในน้ำอุปโภค บริโภค รวมถึงสระว่ายน้ำ เพื่อให้มั่นใจว่ามีคุณภาพ ได้ตามมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับประชาชน
- หากพบผู้ป่วย ให้รายงานตามระบบเฝ้าระวังโรค ไปที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อทำการสอบสวนและควบคุมโรคโดยเร่งด่วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 มีนาคม 2549--จบ--
สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคน
1. ในต่างประเทศรวมทั้งประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้อหวัดนก H5N1 ขององค์การอนามัยโลก (เฉพาะที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยัน) ณ วันที่ 1 มีนาคม 2549 มีผู้ป่วยไข้หวัดนก รวม 174 ราย เสียชีวิต 94 ราย ดังนี้
- สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีผู้ป่วย 93 ราย เสียชีวิต 42 ราย
- ราชอาณาจักรกัมพูชา มีผู้ป่วย 4 ราย เสียชีวิตทั้งหมด
- สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีผู้ป่วย 27 ราย เสียชีวิต 20 ราย
- ประเทศไทย มีผู้ป่วย 22 ราย เสียชีวิต 14 ราย
- สาธารณรัฐประชาชนจีน มีผู้ป่วย 14 ราย เสียชีวิต 8 ราย
- ประเทศตุรกี มีผู้ป่วย 12 ราย เสียชีวิต 4 ราย
- ประเทศอิรัก มีผู้ป่วย 2 ราย เสียชีวิตทั้งหมด
2. ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 8 มีนาคม 2549 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่หรือ ปอดบวม อยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก จาก 61 จังหวัด จำนวน 695 ราย และจากการสอบสวนโรคไม่พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไข้หวัดนกรายใหม่
3. ความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านสาธารณสุข
ในวันที่ 2-3 มีนาคม 2549 ที่ผ่านมา มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่และกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้จัดสัมมนาวิชาการโรคไข้หวัดใหญ่ ปี 2549 เรื่อง Influenza Inter-Pandemic Preparedness Plan Episode lll ณ จังหวัดภูเก็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนเรื่องไข้หวัดนก ทั้งด้านสถานการณ์และความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมทั้งนโยบายเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ให้แก่ผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 320 คน
สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease)
1. สถานการณ์การระบาดในต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข สหพันธรัฐมาเลเซียได้รายงาน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 ว่า มีการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในรัฐซาราวัค บนเกาะบอร์เนียว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 18 กุมภาพันธ์ 2549 มีผู้ป่วย 942 ราย ซึ่งสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2548 เกือบ 4 เท่า (ช่วงเดียวกันของปี 2548 มีผู้ป่วย เพียง 270 ราย) ในจำนวนดังกล่าวเสียชีวิต 3 ราย จากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เกิดอาการไข้ มีผื่นขึ้นในปากและตุ่มพองที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า รายล่าสุดเสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2549 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้เสียชีวิต 1 ราย พบเชื้อ Enterovirus 71 ซึ่งเคยเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก เมื่อปี 2540 ที่ผ่านมา และเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ได้มีการสั่งให้ปิดโรงเรียนอนุบาล 488 แห่ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2549 มีรายงานข่าวจากประเทศบรูไน ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว และมีเขตติดต่อกับรัฐซาราวัคของสหพันธ์มาเลเซีย มีการสั่งปิดโรงเรียนอนุบาล ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก และโรงเรียนประถมศึกษา หลังจาก พบว่า มีผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก มากกว่า 30 ราย และเสียชีวิต 1 ราย เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2549 ที่ผ่านมา ส่วนรายอื่น ๆ อาการไม่รุนแรง
2. สถานการณ์ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 1 มีนาคม 2549 มีรายงานผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก 147 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต พบที่จังหวัดลำปาง และจังหวัดน่านเกิดขึ้นในศูนย์เด็กเล็กเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ที่ผ่านมา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้แจ้งให้ทุกจังหวัดทำการเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องเป็นประจำแล้ว โดยเฉพาะในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล พร้อมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมโรค ให้สถานบริการดังกล่าวดำเนินการ ดังนี้
- ให้กำจัดสิ่งขับถ่าย อย่างถูกสุขลักษณะ ล้างทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ ของเล่น ด้วยน้ำผงซักฟอก
- ให้พี่เลี้ยงเด็ก ล้างมือทุกครั้งหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม และก่อนเตรียมอาหาร สำหรับเด็กต้องให้มีการล้างมือทุกครั้งหลังจากขับถ่าย ใช้ช้อนกลางและหลีกเลี่ยงการใช้แก้วน้ำหรือหลอดดูดน้ำร่วมกัน
- หากพบเด็กมีอาการ ไข้ ผื่นคัน ให้หยุดเรียน และแนะนำให้ผู้ปกครองพาไปพบแพทย์เพื่อการตรวจรักษาที่รวดเร็ว อย่างถูกต้องเหมาะสม
- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบระดับคลอรีนตกค้างในน้ำอุปโภค บริโภค รวมถึงสระว่ายน้ำ เพื่อให้มั่นใจว่ามีคุณภาพ ได้ตามมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับประชาชน
- หากพบผู้ป่วย ให้รายงานตามระบบเฝ้าระวังโรค ไปที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อทำการสอบสวนและควบคุมโรคโดยเร่งด่วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 มีนาคม 2549--จบ--