คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า ตามที่ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดตั้งกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยมีงบประมาณรองรับ 10,000 ล้านบาท ระยะเวลา 10 ปี เพื่อใช้ในการปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรและ ช่วยเหลือเกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตและพัฒนาช่องทางการตลาดของสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการมีข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ขณะนี้ได้มีการจัดสรรงบประมาณให้แล้ว 200 ล้านบาท
ข้อเท็จจริง
1. การเปิดการค้าเสรีระหว่างไทย - จีน ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2546 ส่งผลทำให้มูลค่าสินค้าเกษตรของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในสินค้ากลุ่มผักและผลไม้ที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 5,900 ล้านบาท ในปี 2545 เป็น 15,836 ล้านบาท ในปี 2548 คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว แต่มีสินค้าบางชนิดได้รับผลกระทบโดยเฉพาะกระเทียม เนื่องจากมีการนำเข้ากระเทียมเพิ่มขึ้นจาก 15,480 ตัน ใน ปี 2545 เป็น 64,310 ตัน ในปี 2547 ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมลดลงจาก 32,206 บาท/ครัวเรือน ในปี 2545 เป็น 28,110 บาท/ครัวเรือน ในปี 2547 สำหรับปี 2548 เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นเป็น 40,925 บาท เนื่องจากรัฐบาลได้ดำเนินการแทรกแซงตลาดโดยใช้งบประมาณเพื่อการนี้ประมาณ 400 ล้านบาท
2 . สินค้ากระเทียมไทยเสียเปรียบกระเทียมจีนในเรื่องราคาและต้นทุนการผลิต แต่มีข้อได้เปรียบในเรื่องกลิ่น รสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมต่อการนำไปผลิตเป็นยา และเครื่องปรุงรสอาหารไทย ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงจำเป็นต้องรักษาการผลิตกระเทียมไว้ส่วนหนึ่ง โดยคงไว้ในพื้นที่ที่มีศักยภาพที่มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่มากกว่า 1,000 กิโลกรัม เพื่อสนองความต้องการของตลาด ส่วนในพื้นที่ที่มีผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม จะปรับเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่มีตลาดรองรับที่แน่นอน และที่สำคัญคือ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
การดำเนินงาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการปรับโครงสร้างสินค้ากระเทียม โดยมีเป้าหมายการดำเนินการในพื้นที่ปลูกกระเทียม 106,000 ไร่ โดยจะดำเนินการตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาด ดังนี้
1. รักษาระดับพื้นที่ที่ปลูกกระเทียมที่มีศักยภาพจำนวน 85,000 ไร่ จากการศึกษากระเทียมทั้งระบบความต้องการใช้ภายในประเทศจะมีปริมาณ 158,250 ตัน ส่งออก 3,000 ตัน และจากการเปิดเสรีทางการค้าทำให้มีการนำเข้ากระเทียมเพื่อใช้บริโภค/อุตสาหกรรมแปรรูป 55,000 ตัน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างตลาดกับผลผลิตที่จะเป็นผลดีในเรื่องราคาจำเป็นต้องทำการผลิตจำนวน 106,250 ตัน ในพื้นที่ที่เหมาะสม 85,000 ไร่ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจาก 1,006 กก./ไร่ เป็น 1,250 กก./ไร่เปลี่ยนพันธุ์ดี จัดทำ GAP วิจัยสินค้ากระเทียมและผลิตภัณฑ์ และการแปรรูปโดยการทำ Contract กับโรงงานแปรรูปอาหารเพิ่มจาก 10,000 ตัน เป็น 15,500 ตัน
2. สร้างทางเลือกใหม่ สำหรับพื้นที่ที่ผลผลิตต่ำกว่า 1,000 กก./ไร่ ซึ่งมีปัญหาเรื่องการแข่งขันกับกระเทียมจีน โดยดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย 7 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา ลำปาง แม่ฮ่องสอน และตาก ปรับเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ มีตลาดรองรับที่แน่นอน จำนวนรวมทั้งสิ้น 21,000 ไร่ ได้แก่ พริกหวาน 600 ไร่ มันฝรั่งโรงงาน 10,000 ไร่ และยางพารา 10,400 ไร่
3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกับ ธ.ก.ส. และภาคเอกชนจำนวน 5 บริษัท ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกพริกหวานจำนวน 2 บริษัท ได้แก่ บริษัทเจียไต๋โปรดิ๊วซ์ จำกัด และบริษัทธานียามา สยาม จำกัดและบริษัทผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์มันฝรั่งจำนวน 3 บริษัท ได้แก่ บริษัทเป๊ปซี่ - โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด บริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จำกัด และบริษัท ยูนิแชมป์ จำกัด ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือในการดำเนินโครงการปรับโครงสร้างสินค้ากระเทียมที่ได้รับผลกระทบจาก FTA เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2549 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อ ภาคเอกชนจัดหาปัจจัยการผลิตและรับซื้อผลผลิตในราคาตลาดแต่ไม่ต่ำกว่าราคาประกันขั้นต่ำ พริกหวานกิโลกรัมละ 30 บาท และมันฝรั่งโรงงานกิโลกรัมละ 8.50 บาท โดยจัดทำสัญญาข้อตกลง (Contract Farming) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรฯ ชดเชยดอกเบี้ยให้เกษตรกรในวงเงิน 31.3 ล้านบาท
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เมื่อโครงการปรับโครงสร้างสินค้ากระเทียมดำเนินการไปตามเป้าหมายเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 28,110 บาท/ครัวเรือน ในปี 2547 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มเปิดเสรีทางการค้า เป็น 46,873 บาท/ครัวเรือน ในปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 67 เนื่องจากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ประกอบกับการที่ผลผลิตภายในประเทศลดลงอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาด ทำให้ราคาที่เกษตรกรขายได้จะเพิ่มขึ้นจาก 16.74 บาท/กก. เป็น 22.30 บาท/กก.
2. เกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนการปลูกกระเทียมจะมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีอาชีพที่ยั่งยืน โดยจะมีรายได้จากการปลูกพริกหวาน 186,940 บาท/ไร่ และมันฝรั่งโรงงาน 5,159 บาท/ไร่
3. สร้างรายได้ให้กับประเทศจากการผลิตพริกหวานเพื่อการส่งออกได้ประมาณ 30,000 ตัน มูลค่า 288 ล้านบาท โดยลดสัดส่วนการนำเข้าพริกหวานได้มูลค่า 50 ล้านบาท และสามารถผลิตมันฝรั่งโรงงานได้ประมาณ 30,000 ตัน รองรับอุตสาหกรรมแปรรูปมันฝรั่งภายในประเทศคิดเป็นมูลค่า 915 ล้านบาท อันส่งผลในภาพรวมของการเพิ่มมูลค่าการผลิตพริกหวานและมันฝรั่งโรงงานในประเทศได้ประมาณ 1,203 ล้านบาท ขณะเดียวกันสามารถลดภาระการแทรกแซงกระเทียมของรัฐบาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า ตามที่ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดตั้งกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยมีงบประมาณรองรับ 10,000 ล้านบาท ระยะเวลา 10 ปี เพื่อใช้ในการปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรและ ช่วยเหลือเกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตและพัฒนาช่องทางการตลาดของสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการมีข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ขณะนี้ได้มีการจัดสรรงบประมาณให้แล้ว 200 ล้านบาท
ข้อเท็จจริง
1. การเปิดการค้าเสรีระหว่างไทย - จีน ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2546 ส่งผลทำให้มูลค่าสินค้าเกษตรของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในสินค้ากลุ่มผักและผลไม้ที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 5,900 ล้านบาท ในปี 2545 เป็น 15,836 ล้านบาท ในปี 2548 คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว แต่มีสินค้าบางชนิดได้รับผลกระทบโดยเฉพาะกระเทียม เนื่องจากมีการนำเข้ากระเทียมเพิ่มขึ้นจาก 15,480 ตัน ใน ปี 2545 เป็น 64,310 ตัน ในปี 2547 ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมลดลงจาก 32,206 บาท/ครัวเรือน ในปี 2545 เป็น 28,110 บาท/ครัวเรือน ในปี 2547 สำหรับปี 2548 เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นเป็น 40,925 บาท เนื่องจากรัฐบาลได้ดำเนินการแทรกแซงตลาดโดยใช้งบประมาณเพื่อการนี้ประมาณ 400 ล้านบาท
2 . สินค้ากระเทียมไทยเสียเปรียบกระเทียมจีนในเรื่องราคาและต้นทุนการผลิต แต่มีข้อได้เปรียบในเรื่องกลิ่น รสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมต่อการนำไปผลิตเป็นยา และเครื่องปรุงรสอาหารไทย ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงจำเป็นต้องรักษาการผลิตกระเทียมไว้ส่วนหนึ่ง โดยคงไว้ในพื้นที่ที่มีศักยภาพที่มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่มากกว่า 1,000 กิโลกรัม เพื่อสนองความต้องการของตลาด ส่วนในพื้นที่ที่มีผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม จะปรับเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่มีตลาดรองรับที่แน่นอน และที่สำคัญคือ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
การดำเนินงาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการปรับโครงสร้างสินค้ากระเทียม โดยมีเป้าหมายการดำเนินการในพื้นที่ปลูกกระเทียม 106,000 ไร่ โดยจะดำเนินการตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาด ดังนี้
1. รักษาระดับพื้นที่ที่ปลูกกระเทียมที่มีศักยภาพจำนวน 85,000 ไร่ จากการศึกษากระเทียมทั้งระบบความต้องการใช้ภายในประเทศจะมีปริมาณ 158,250 ตัน ส่งออก 3,000 ตัน และจากการเปิดเสรีทางการค้าทำให้มีการนำเข้ากระเทียมเพื่อใช้บริโภค/อุตสาหกรรมแปรรูป 55,000 ตัน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างตลาดกับผลผลิตที่จะเป็นผลดีในเรื่องราคาจำเป็นต้องทำการผลิตจำนวน 106,250 ตัน ในพื้นที่ที่เหมาะสม 85,000 ไร่ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจาก 1,006 กก./ไร่ เป็น 1,250 กก./ไร่เปลี่ยนพันธุ์ดี จัดทำ GAP วิจัยสินค้ากระเทียมและผลิตภัณฑ์ และการแปรรูปโดยการทำ Contract กับโรงงานแปรรูปอาหารเพิ่มจาก 10,000 ตัน เป็น 15,500 ตัน
2. สร้างทางเลือกใหม่ สำหรับพื้นที่ที่ผลผลิตต่ำกว่า 1,000 กก./ไร่ ซึ่งมีปัญหาเรื่องการแข่งขันกับกระเทียมจีน โดยดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย 7 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา ลำปาง แม่ฮ่องสอน และตาก ปรับเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ มีตลาดรองรับที่แน่นอน จำนวนรวมทั้งสิ้น 21,000 ไร่ ได้แก่ พริกหวาน 600 ไร่ มันฝรั่งโรงงาน 10,000 ไร่ และยางพารา 10,400 ไร่
3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกับ ธ.ก.ส. และภาคเอกชนจำนวน 5 บริษัท ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกพริกหวานจำนวน 2 บริษัท ได้แก่ บริษัทเจียไต๋โปรดิ๊วซ์ จำกัด และบริษัทธานียามา สยาม จำกัดและบริษัทผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์มันฝรั่งจำนวน 3 บริษัท ได้แก่ บริษัทเป๊ปซี่ - โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด บริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จำกัด และบริษัท ยูนิแชมป์ จำกัด ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือในการดำเนินโครงการปรับโครงสร้างสินค้ากระเทียมที่ได้รับผลกระทบจาก FTA เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2549 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อ ภาคเอกชนจัดหาปัจจัยการผลิตและรับซื้อผลผลิตในราคาตลาดแต่ไม่ต่ำกว่าราคาประกันขั้นต่ำ พริกหวานกิโลกรัมละ 30 บาท และมันฝรั่งโรงงานกิโลกรัมละ 8.50 บาท โดยจัดทำสัญญาข้อตกลง (Contract Farming) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรฯ ชดเชยดอกเบี้ยให้เกษตรกรในวงเงิน 31.3 ล้านบาท
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เมื่อโครงการปรับโครงสร้างสินค้ากระเทียมดำเนินการไปตามเป้าหมายเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 28,110 บาท/ครัวเรือน ในปี 2547 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มเปิดเสรีทางการค้า เป็น 46,873 บาท/ครัวเรือน ในปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 67 เนื่องจากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ประกอบกับการที่ผลผลิตภายในประเทศลดลงอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาด ทำให้ราคาที่เกษตรกรขายได้จะเพิ่มขึ้นจาก 16.74 บาท/กก. เป็น 22.30 บาท/กก.
2. เกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนการปลูกกระเทียมจะมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีอาชีพที่ยั่งยืน โดยจะมีรายได้จากการปลูกพริกหวาน 186,940 บาท/ไร่ และมันฝรั่งโรงงาน 5,159 บาท/ไร่
3. สร้างรายได้ให้กับประเทศจากการผลิตพริกหวานเพื่อการส่งออกได้ประมาณ 30,000 ตัน มูลค่า 288 ล้านบาท โดยลดสัดส่วนการนำเข้าพริกหวานได้มูลค่า 50 ล้านบาท และสามารถผลิตมันฝรั่งโรงงานได้ประมาณ 30,000 ตัน รองรับอุตสาหกรรมแปรรูปมันฝรั่งภายในประเทศคิดเป็นมูลค่า 915 ล้านบาท อันส่งผลในภาพรวมของการเพิ่มมูลค่าการผลิตพริกหวานและมันฝรั่งโรงงานในประเทศได้ประมาณ 1,203 ล้านบาท ขณะเดียวกันสามารถลดภาระการแทรกแซงกระเทียมของรัฐบาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--