คณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ปี 2549ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และเห็นชอบในหลักการมาตรการให้ความช่วยเหลือของธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ซึ่งจะต้องขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาล และมาตรการอื่น ๆ ที่จะมีเพิ่มเติม แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงการคลังรายงานว่า ในเบื้องต้นหน่วยงานภายใต้กระทรวงการคลัง เช่น สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน และอื่นๆ ได้มอบถุงยังชีพเพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนเฉพาะหน้าไปแล้ว และมีมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน
สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือโดยสรุปได้ดังนี้
1.1 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ธ.ก.ส.ได้ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ประชาชนรวมทั้งเกษตรกรลูกค้าแล้ว แต่การประสบภัยของเกษตรกรลูกค้าในครั้งนี้มีความรุนแรงมาก จึงเห็นสมควรให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าในพื้นที่ประสบภัย ดังนี้
1.1.1 กรณีเกษตรกรลูกค้าเสียชีวิต จะจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ โดย ธ.ก.ส. รับภาระเอง
1.1.2 กรณีเกษตรกรลูกค้าประสบภัยอย่างร้ายแรงและไม่เสียชีวิต
(1) หนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัย
1) ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี
2) งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2549 - 2551 โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี ลบ 1 (MRR-1) ซึ่งขณะนี้มีอัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี
(2) การให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต
1) ให้เงินกู้รายละไม่เกิน 30,000 บาท
2) ลดดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราปกติที่ธนาคารเรียกเก็บจากเกษตรกรลูกค้า ร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี
3) กำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้า
ในการให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตดังกล่าว ธ.ก.ส. จะลดหย่อนหลักประกันการกู้เงินจากหลักเกณฑ์ปกติ ดังนี้
1) กรณีกู้เงินโดยจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกัน ให้ขยายวงเงินกู้จากที่กู้ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของวงเงินจดทะเบียนจำนอง เป็นให้กู้ได้ไม่เกินวงเงินจดทะเบียนจำนอง
2) กรณีกู้เงินโดยใช้กลุ่มลูกค้ารับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ให้ขยายวงเงินในการประกันจากรายละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท
1.1.3 สำหรับวงเงินที่จะขอชดเชยจากรัฐบาล เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการแล้ว ธ.ก.ส. จะได้ประสานกับสำนักงบประมาณเพื่อขอจัดสรรงบประมาณชดเชยให้แก่ ธ.ก.ส. ต่อไป
1.1.4 ในปีบัญชี 2549 หากเกิดอุทกภัยในพื้นที่อื่นๆ อีก ธ.ก.ส. ขอถือใช้มาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าดังกล่าวเช่นเดียวกัน
อนึ่ง มาตรการให้ความช่วยเหลือของ ธ.ก.ส. ซึ่งจะต้องขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลตามที่กล่าวข้างต้น และมาตรการอื่นๆ ที่จะมีเพิ่มเติมซึ่งจะต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลังจะได้ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป
1.2 ธนาคารออมสิน ธนาคารออมสินได้ดำเนินการช่วยเหลือ ดังนี้
1.2.1 สำหรับการช่วยเหลือลูกค้าของธนาคารที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเคหะ สินเชื่อธุรกิจห้องแถว และสินเชื่อธนาคารประชาชน
(1) พักชำระหนี้เงินกู้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบเป็นเวลา 6 เดือน สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจะขยายการพักชำระหนี้เป็นเวลา 1 ปี
(2) เฉพาะลูกค้าสินเชื่อธนาคารประชาชนจะได้รับการลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 1 บาท ต่อเดือน เป็นร้อยละ 0.50 บาท ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 1 ปี
1.2.2 สำหรับประชาชนทั่วไปที่เป็นลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ ให้กู้ฉุกเฉินเป็นสินเชื่อบำรุงขวัญ เพื่อนำไปซ่อมแซมทรัพย์สินให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบในวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.0 ต่อปี พร้อมพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย 1 ปี และมีระยะเวลาการชำระเงินกู้ รวมระยะเวลาพักชำระหนี้ไม่เกิน 6 ปี โดยใช้บุคคลค้ำประกัน1.3 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเรื่องที่อยู่อาศัย ดังนี้
1.3.1 กรณีเป็นลูกหนี้เดิมของ ธอส.
(1) ธอส. จะลดภาระหนี้ผ่อนชำระ โดยลดดอกเบี้ยให้คงเหลือร้อยละ 1 ต่อปี เป็นเวลา 6 เดือน โดยผู้กู้ผ่อนชำระเงินงวดเฉพาะดอกเบี้ยร้อยละ 1 และหลังจาก 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยและเงินงวดเป็นไปตามสัญญาเดิม
(2) ในกรณีที่ต้องการกู้เพิ่ม ธอส. คิดอัตราดอกเบี้ย 5 ปีแรก ในอัตรา MRR — 2.25% ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคาร
(3) กรณีอาคารที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ตามการตรวจสอบของ ธอส. ธอส. จะพิจารณาปลดภาระเฉพาะภาระหนี้ตามยอดคงเหลือในส่วนของอาคาร โดยผู้กู้ต้องผ่อนชำระหนี้ในส่วนของที่ดินที่คงเหลือ (ถ้ามี) ในอัตราดอกเบี้ย ตามสัญญาเดิม
1.3.2 กรณีลูกค้าใหม่ ธอส. คิดอัตราดอกเบี้ย 5 ปีแรก ในอัตรา MRR — 2.25% ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคาร ทั้งนี้ สามารถติดต่อยื่นคำขอกู้เพื่อปลูกสร้างหรือซ่อมแซมอาคารวงเงินไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคารหรือค่าซ่อมแซมอาคาร และกู้เพื่อไถ่ถอนจำนอง กู้ได้ไม่เกินยอดหนี้คงเหลือกับสถาบันการเงินเดิม โดยติดต่อยื่นคำขอกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม ถึง วันที่ 29 กันยายน 2549
1.4 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธพว. ให้ความช่วยเหลือ โดยการผ่อนปรนการชำระหนี้ และอนุมัติวงเงินสินเชื่อฉุกเฉินให้กับลูกค้าปัจจุบันเป็นการด่วน ดังนี้
1.4.1 จะดำเนินการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับลูกค้าทุกราย ที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่มีสถานประกอบการในพื้นที่ประสบอุทกภัย (ยกเว้นลูกค้าประเภทสินเชื่อเครดิตการค้า เช่าซื้อและลีสซิ่ง) ที่ได้รับความเสียหาย ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ตามปกติ ตั้งแต่งวดครบกำหนดชำระในเดือนพฤษภาคม 2549 เป็นต้นไป เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน โดยให้พิจารณาระยะเวลาเป็นรายๆ ตามความเหมาะสม รวมทั้งกรณีลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างชำระให้ตั้งพักชำระหนี้ค้างชำระที่เกิดขึ้นก่อนเดือนพฤษภาคม 2549 ทั้งจำนวน
1.4.2 มาตรการสนับสนุนวงเงินสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการ เพื่อช่วยฟื้นฟูสถานประกอบการที่ได้รับความเสียหาย โดยกำหนดวงเงินสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนในการปรับปรุง/ฟื้นฟูและหมุนเวียนในกิจการ ให้แก่กิจการที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มที่จะดำเนินการต่อไปได้ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าเดิมที่เป็นลูกค้าชั้นดี หรือลูกหนี้ที่ได้รับความเสียหาย โดยมีวงเงินรายละไม่เกิน 500,000 บาท ระยะเวลาการกู้ยืมไม่เกิน 3 ปี ระยะเวลาปลอดการชำระคืนเงินต้นไม่เกิน 1 ปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-3 เท่ากับ MLR ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธสน. จะติดตามและพิจารณาการผ่อนปรนเงื่อนไขสินเชื่อสำหรับลูกค้าของ ธสน. ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ต่อไป
1.6 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทยฯ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายเบื้องต้นของลูกหนี้ที่อยู่ในพื้นที่ และจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือ โดยการยืดระยะเวลาการชำระหนี้ในลูกหนี้บางราย และปรับปรุงโครงสร้างหนี้
1.7 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือดังนี้
1.7.1 มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 1 ปี สำหรับลูกค้าเก่าที่อยู่ในพื้นที่เกิดเหตุและได้รับความเสียหายจากอุทกภัย และถึงกำหนดต้องชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุการค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2549 เป็นต้นไป
1.7.2 มาตรการให้ความร่วมมือกับสถาบันการเงินที่ลูกหนี้ได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย. ในการผ่อนปรนเรื่องการพักชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย รวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินการต่อไปตามปกติ
1.7.3 มาตรการให้การค้ำประกันสินเชื่อเพิ่มเพื่อช่วยฟื้นฟูกิจการผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และจะขอสินเชื่อเพิ่มเติมจากสถาบันการเงิน โดยจะคิดค่าธรรมเนียมค้ำประกันปีแรกในอัตราพิเศษร้อยละ 0.5 ของวงเงินค้ำประกัน และปีที่สองในอัตราร้อยละ 1.0 ของวงเงินค้ำประกัน และกำหนดวงเงินค้ำประกันเพื่อให้ความช่วยเหลือสูงสุดต่อรายไม่เกิน 2 ล้านบาท
1.8 บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) ได้กำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ดังนี้
1.8.1 กรณีบ้านและที่ทำกินเสียหายโดยสิ้นเชิง จะได้รับการพักชำระหนี้ไว้เป็นเวลา 1 ปี และดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ยกให้ทั้งหมด
1.8.2 กรณีบ้านและที่ทำกินเสียหายบางส่วน จะได้รับการพักชำระหนี้ไว้เป็นเวลา 1 ปี และดอกเบี้ยในช่วงพักการชำระหนี้ ยกให้ทั้งหมด
1.9 บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) ได้กำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ดังนี้
1.9.1 กลุ่มที่อยู่ในจังหวัดที่เสียหายโดยตรง ได้แก่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง และตาก บสส. ยกดอกเบี้ยค้างชำระทั้งหมด ไม่คิดดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 1 ปี และยืดระยะเวลาการชำระหนี้ 1 ปี
1.9.2 กลุ่มที่อยู่ในจังหวัดที่เสียหายทางอ้อม บสส. ไม่คิดดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 1 ปี และยืดระยะเวลาการชำระหนี้ 1 ปี
1.10 บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) อยู่ระหว่างการจัดมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ดังนี้
1.10.1 กลุ่มลูกหนี้ที่ประสบภัยและได้รับความเสียหายโดยตรง บสท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 0 เป็นระยะเวลา 1 ปี และทบทวนแผนการปรับโครงสร้างหนี้ โดยพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปรับลดเงินชำระหนี้ต่องวดแล้วแต่กรณีกลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบทางธุรกิจทางอ้อม บสท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 1 เป็นระยะเวลา 1 ปี และทบทวนแผนการปรับโครงสร้างหนี้ โดยพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปรับลดเงินชำระหนี้ต่องวดแล้วแต่กรณี
2. มาตรการด้านภาษีและค่าธรรมเนียม
2.1 กรมสรรพากร ได้ดำเนินการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและอำนวยความสะดวก ดังนี้
2.1.1 ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งหรือชำระภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 และมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับภาษีเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีภายในวันที่ 7 มิถุนายน 2549 ออกไปอีก 1 เดือน
2.1.2 ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 68 และ มาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2548 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2549 ออกไปอีก 1 เดือน
2.1.3 ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเดือนภาษีพฤษภาคม 2549 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2549 ออกไปอีก 1 เดือน
2.1.4 ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40) ตามมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร ออกไปอีก 1 เดือน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร
กระทรวงการคลังได้ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบข้างต้น สำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่อุตรดิตถ์ทุกอำเภอ และสำนักงานสรรพากรพื้นที่สุโขทัย ได้แก่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองสุโขทัย สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาสวรรคโลก สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาศรีสัชนาลัย และสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาศรีสำโรง กรมสรรพสามิต จะขยายกำหนดระยะเวลาการชำระภาษีสรรพสามิตให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม และผู้ประกอบกิจการสถานบริการที่ประกอบกิจการในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่านตาก ลำปาง และสุโขทัย กรณีความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 โดยให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2549 (ขยายระยะเวลาจากกำหนดเดิมออกไปอีก 1 เดือน) ซึ่งมาตรการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะออกประกาศกระทรวงการคลัง เพื่อขยายกำหนดเวลาการชำระภาษีสรรพสามิตดังกล่าวต่อไป
3. มาตรการด้านอื่นๆ
3.1 กรมธนารักษ์ ได้ดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้เช่าที่ราชพัสดุที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหาย ดังนี้
3.1.1 จะพิจารณายกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าที่ราชพัสดุ 1-2 ปี กรณีเกิดความเสียหายต่อผู้เช่าที่ราชพัสดุเพื่อประกอบการเกษตรหรืออยู่อาศัย
3.1.2 จะพิจารณายกเว้นหรือลดหย่อนการเรียกเก็บค่าเช่า และยกเว้นการเรียกเก็บค่าปรับให้ กรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของผู้เช่าอาคารราชพัสดุ
ทั้งนี้ แนวทางในการให้ความช่วยเหลือ และระยะเวลาในการยกเว้นหรือลดหย่อนการเรียกเก็บค่าเช่าและยกเว้นการเรียกเก็บค่าปรับ กรมธนารักษ์จะพิจารณาตามข้อเท็จจริงและความเสียหายที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ กรมธนารักษ์ได้ช่วยเหลือผู้เช่าที่ราชพัสดุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้รับความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยประมาณ 50 ครอบครัว ให้อาศัยอยู่ในบริเวณศูนย์ราชการกระทรวงการคลัง จังหวัดอุตรดิตถ์แล้ว
3.2 กรมบัญชีกลาง ได้ดำเนินมาตรการเพิ่มความคล่องตัวในการใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คล่องตัว รวดเร็วและทั่วถึง ดังนี้
3.2.1 ขยายวงเงินทดรองราชการในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย และแพร่ จากเดิม 50 ล้านบาท เป็น 100 ล้านบาท เพื่อให้มีวงเงินเพียงพอในการให้ความช่วยเหลือ
3.2.2 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ น่าน และลำปาง นำเงินทดรองราชการที่อยู่ในอำนาจ ไปสนับสนุนให้แก่หน่วยทหารทุกเหล่าทัพและตำรวจ เพื่อเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่นของยานพาหนะ เครื่องจักรกล ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าวได้เป็นกรณีพิเศษ
3.2.3 จัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของกระทรวงการคลัง โดยคลังจังหวัดดำเนินการในแต่ละจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ เพื่อรับแจ้งปัญหาและดำเนินการประสานหาแนวทางแก้ไขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะเดียวกันกับกรณีการเกิดธรณีพิบัติในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ เมื่อปี 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--
กระทรวงการคลังรายงานว่า ในเบื้องต้นหน่วยงานภายใต้กระทรวงการคลัง เช่น สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน และอื่นๆ ได้มอบถุงยังชีพเพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนเฉพาะหน้าไปแล้ว และมีมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน
สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือโดยสรุปได้ดังนี้
1.1 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ธ.ก.ส.ได้ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ประชาชนรวมทั้งเกษตรกรลูกค้าแล้ว แต่การประสบภัยของเกษตรกรลูกค้าในครั้งนี้มีความรุนแรงมาก จึงเห็นสมควรให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าในพื้นที่ประสบภัย ดังนี้
1.1.1 กรณีเกษตรกรลูกค้าเสียชีวิต จะจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ โดย ธ.ก.ส. รับภาระเอง
1.1.2 กรณีเกษตรกรลูกค้าประสบภัยอย่างร้ายแรงและไม่เสียชีวิต
(1) หนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัย
1) ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี
2) งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2549 - 2551 โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี ลบ 1 (MRR-1) ซึ่งขณะนี้มีอัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี
(2) การให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต
1) ให้เงินกู้รายละไม่เกิน 30,000 บาท
2) ลดดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราปกติที่ธนาคารเรียกเก็บจากเกษตรกรลูกค้า ร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี
3) กำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้า
ในการให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตดังกล่าว ธ.ก.ส. จะลดหย่อนหลักประกันการกู้เงินจากหลักเกณฑ์ปกติ ดังนี้
1) กรณีกู้เงินโดยจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกัน ให้ขยายวงเงินกู้จากที่กู้ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของวงเงินจดทะเบียนจำนอง เป็นให้กู้ได้ไม่เกินวงเงินจดทะเบียนจำนอง
2) กรณีกู้เงินโดยใช้กลุ่มลูกค้ารับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ให้ขยายวงเงินในการประกันจากรายละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท
1.1.3 สำหรับวงเงินที่จะขอชดเชยจากรัฐบาล เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการแล้ว ธ.ก.ส. จะได้ประสานกับสำนักงบประมาณเพื่อขอจัดสรรงบประมาณชดเชยให้แก่ ธ.ก.ส. ต่อไป
1.1.4 ในปีบัญชี 2549 หากเกิดอุทกภัยในพื้นที่อื่นๆ อีก ธ.ก.ส. ขอถือใช้มาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าดังกล่าวเช่นเดียวกัน
อนึ่ง มาตรการให้ความช่วยเหลือของ ธ.ก.ส. ซึ่งจะต้องขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลตามที่กล่าวข้างต้น และมาตรการอื่นๆ ที่จะมีเพิ่มเติมซึ่งจะต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลังจะได้ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป
1.2 ธนาคารออมสิน ธนาคารออมสินได้ดำเนินการช่วยเหลือ ดังนี้
1.2.1 สำหรับการช่วยเหลือลูกค้าของธนาคารที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเคหะ สินเชื่อธุรกิจห้องแถว และสินเชื่อธนาคารประชาชน
(1) พักชำระหนี้เงินกู้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบเป็นเวลา 6 เดือน สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจะขยายการพักชำระหนี้เป็นเวลา 1 ปี
(2) เฉพาะลูกค้าสินเชื่อธนาคารประชาชนจะได้รับการลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 1 บาท ต่อเดือน เป็นร้อยละ 0.50 บาท ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 1 ปี
1.2.2 สำหรับประชาชนทั่วไปที่เป็นลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ ให้กู้ฉุกเฉินเป็นสินเชื่อบำรุงขวัญ เพื่อนำไปซ่อมแซมทรัพย์สินให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบในวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.0 ต่อปี พร้อมพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย 1 ปี และมีระยะเวลาการชำระเงินกู้ รวมระยะเวลาพักชำระหนี้ไม่เกิน 6 ปี โดยใช้บุคคลค้ำประกัน1.3 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเรื่องที่อยู่อาศัย ดังนี้
1.3.1 กรณีเป็นลูกหนี้เดิมของ ธอส.
(1) ธอส. จะลดภาระหนี้ผ่อนชำระ โดยลดดอกเบี้ยให้คงเหลือร้อยละ 1 ต่อปี เป็นเวลา 6 เดือน โดยผู้กู้ผ่อนชำระเงินงวดเฉพาะดอกเบี้ยร้อยละ 1 และหลังจาก 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยและเงินงวดเป็นไปตามสัญญาเดิม
(2) ในกรณีที่ต้องการกู้เพิ่ม ธอส. คิดอัตราดอกเบี้ย 5 ปีแรก ในอัตรา MRR — 2.25% ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคาร
(3) กรณีอาคารที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ตามการตรวจสอบของ ธอส. ธอส. จะพิจารณาปลดภาระเฉพาะภาระหนี้ตามยอดคงเหลือในส่วนของอาคาร โดยผู้กู้ต้องผ่อนชำระหนี้ในส่วนของที่ดินที่คงเหลือ (ถ้ามี) ในอัตราดอกเบี้ย ตามสัญญาเดิม
1.3.2 กรณีลูกค้าใหม่ ธอส. คิดอัตราดอกเบี้ย 5 ปีแรก ในอัตรา MRR — 2.25% ต่อปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคาร ทั้งนี้ สามารถติดต่อยื่นคำขอกู้เพื่อปลูกสร้างหรือซ่อมแซมอาคารวงเงินไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคารหรือค่าซ่อมแซมอาคาร และกู้เพื่อไถ่ถอนจำนอง กู้ได้ไม่เกินยอดหนี้คงเหลือกับสถาบันการเงินเดิม โดยติดต่อยื่นคำขอกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม ถึง วันที่ 29 กันยายน 2549
1.4 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธพว. ให้ความช่วยเหลือ โดยการผ่อนปรนการชำระหนี้ และอนุมัติวงเงินสินเชื่อฉุกเฉินให้กับลูกค้าปัจจุบันเป็นการด่วน ดังนี้
1.4.1 จะดำเนินการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับลูกค้าทุกราย ที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่มีสถานประกอบการในพื้นที่ประสบอุทกภัย (ยกเว้นลูกค้าประเภทสินเชื่อเครดิตการค้า เช่าซื้อและลีสซิ่ง) ที่ได้รับความเสียหาย ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ตามปกติ ตั้งแต่งวดครบกำหนดชำระในเดือนพฤษภาคม 2549 เป็นต้นไป เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน โดยให้พิจารณาระยะเวลาเป็นรายๆ ตามความเหมาะสม รวมทั้งกรณีลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างชำระให้ตั้งพักชำระหนี้ค้างชำระที่เกิดขึ้นก่อนเดือนพฤษภาคม 2549 ทั้งจำนวน
1.4.2 มาตรการสนับสนุนวงเงินสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการ เพื่อช่วยฟื้นฟูสถานประกอบการที่ได้รับความเสียหาย โดยกำหนดวงเงินสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนในการปรับปรุง/ฟื้นฟูและหมุนเวียนในกิจการ ให้แก่กิจการที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มที่จะดำเนินการต่อไปได้ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าเดิมที่เป็นลูกค้าชั้นดี หรือลูกหนี้ที่ได้รับความเสียหาย โดยมีวงเงินรายละไม่เกิน 500,000 บาท ระยะเวลาการกู้ยืมไม่เกิน 3 ปี ระยะเวลาปลอดการชำระคืนเงินต้นไม่เกิน 1 ปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-3 เท่ากับ MLR ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธสน. จะติดตามและพิจารณาการผ่อนปรนเงื่อนไขสินเชื่อสำหรับลูกค้าของ ธสน. ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ต่อไป
1.6 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทยฯ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายเบื้องต้นของลูกหนี้ที่อยู่ในพื้นที่ และจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือ โดยการยืดระยะเวลาการชำระหนี้ในลูกหนี้บางราย และปรับปรุงโครงสร้างหนี้
1.7 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือดังนี้
1.7.1 มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 1 ปี สำหรับลูกค้าเก่าที่อยู่ในพื้นที่เกิดเหตุและได้รับความเสียหายจากอุทกภัย และถึงกำหนดต้องชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุการค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2549 เป็นต้นไป
1.7.2 มาตรการให้ความร่วมมือกับสถาบันการเงินที่ลูกหนี้ได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย. ในการผ่อนปรนเรื่องการพักชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย รวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินการต่อไปตามปกติ
1.7.3 มาตรการให้การค้ำประกันสินเชื่อเพิ่มเพื่อช่วยฟื้นฟูกิจการผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และจะขอสินเชื่อเพิ่มเติมจากสถาบันการเงิน โดยจะคิดค่าธรรมเนียมค้ำประกันปีแรกในอัตราพิเศษร้อยละ 0.5 ของวงเงินค้ำประกัน และปีที่สองในอัตราร้อยละ 1.0 ของวงเงินค้ำประกัน และกำหนดวงเงินค้ำประกันเพื่อให้ความช่วยเหลือสูงสุดต่อรายไม่เกิน 2 ล้านบาท
1.8 บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) ได้กำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ดังนี้
1.8.1 กรณีบ้านและที่ทำกินเสียหายโดยสิ้นเชิง จะได้รับการพักชำระหนี้ไว้เป็นเวลา 1 ปี และดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ยกให้ทั้งหมด
1.8.2 กรณีบ้านและที่ทำกินเสียหายบางส่วน จะได้รับการพักชำระหนี้ไว้เป็นเวลา 1 ปี และดอกเบี้ยในช่วงพักการชำระหนี้ ยกให้ทั้งหมด
1.9 บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) ได้กำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ดังนี้
1.9.1 กลุ่มที่อยู่ในจังหวัดที่เสียหายโดยตรง ได้แก่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง และตาก บสส. ยกดอกเบี้ยค้างชำระทั้งหมด ไม่คิดดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 1 ปี และยืดระยะเวลาการชำระหนี้ 1 ปี
1.9.2 กลุ่มที่อยู่ในจังหวัดที่เสียหายทางอ้อม บสส. ไม่คิดดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 1 ปี และยืดระยะเวลาการชำระหนี้ 1 ปี
1.10 บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) อยู่ระหว่างการจัดมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ดังนี้
1.10.1 กลุ่มลูกหนี้ที่ประสบภัยและได้รับความเสียหายโดยตรง บสท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 0 เป็นระยะเวลา 1 ปี และทบทวนแผนการปรับโครงสร้างหนี้ โดยพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปรับลดเงินชำระหนี้ต่องวดแล้วแต่กรณีกลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบทางธุรกิจทางอ้อม บสท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 1 เป็นระยะเวลา 1 ปี และทบทวนแผนการปรับโครงสร้างหนี้ โดยพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปรับลดเงินชำระหนี้ต่องวดแล้วแต่กรณี
2. มาตรการด้านภาษีและค่าธรรมเนียม
2.1 กรมสรรพากร ได้ดำเนินการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและอำนวยความสะดวก ดังนี้
2.1.1 ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งหรือชำระภาษี ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 และมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับภาษีเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีภายในวันที่ 7 มิถุนายน 2549 ออกไปอีก 1 เดือน
2.1.2 ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 68 และ มาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2548 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2549 ออกไปอีก 1 เดือน
2.1.3 ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเดือนภาษีพฤษภาคม 2549 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2549 ออกไปอีก 1 เดือน
2.1.4 ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40) ตามมาตรา 91/10 แห่งประมวลรัษฎากร ออกไปอีก 1 เดือน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร
กระทรวงการคลังได้ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบข้างต้น สำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่อุตรดิตถ์ทุกอำเภอ และสำนักงานสรรพากรพื้นที่สุโขทัย ได้แก่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองสุโขทัย สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาสวรรคโลก สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาศรีสัชนาลัย และสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาศรีสำโรง กรมสรรพสามิต จะขยายกำหนดระยะเวลาการชำระภาษีสรรพสามิตให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม และผู้ประกอบกิจการสถานบริการที่ประกอบกิจการในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่านตาก ลำปาง และสุโขทัย กรณีความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 โดยให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2549 (ขยายระยะเวลาจากกำหนดเดิมออกไปอีก 1 เดือน) ซึ่งมาตรการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะออกประกาศกระทรวงการคลัง เพื่อขยายกำหนดเวลาการชำระภาษีสรรพสามิตดังกล่าวต่อไป
3. มาตรการด้านอื่นๆ
3.1 กรมธนารักษ์ ได้ดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้เช่าที่ราชพัสดุที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหาย ดังนี้
3.1.1 จะพิจารณายกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าที่ราชพัสดุ 1-2 ปี กรณีเกิดความเสียหายต่อผู้เช่าที่ราชพัสดุเพื่อประกอบการเกษตรหรืออยู่อาศัย
3.1.2 จะพิจารณายกเว้นหรือลดหย่อนการเรียกเก็บค่าเช่า และยกเว้นการเรียกเก็บค่าปรับให้ กรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของผู้เช่าอาคารราชพัสดุ
ทั้งนี้ แนวทางในการให้ความช่วยเหลือ และระยะเวลาในการยกเว้นหรือลดหย่อนการเรียกเก็บค่าเช่าและยกเว้นการเรียกเก็บค่าปรับ กรมธนารักษ์จะพิจารณาตามข้อเท็จจริงและความเสียหายที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ กรมธนารักษ์ได้ช่วยเหลือผู้เช่าที่ราชพัสดุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้รับความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยประมาณ 50 ครอบครัว ให้อาศัยอยู่ในบริเวณศูนย์ราชการกระทรวงการคลัง จังหวัดอุตรดิตถ์แล้ว
3.2 กรมบัญชีกลาง ได้ดำเนินมาตรการเพิ่มความคล่องตัวในการใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คล่องตัว รวดเร็วและทั่วถึง ดังนี้
3.2.1 ขยายวงเงินทดรองราชการในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย และแพร่ จากเดิม 50 ล้านบาท เป็น 100 ล้านบาท เพื่อให้มีวงเงินเพียงพอในการให้ความช่วยเหลือ
3.2.2 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ น่าน และลำปาง นำเงินทดรองราชการที่อยู่ในอำนาจ ไปสนับสนุนให้แก่หน่วยทหารทุกเหล่าทัพและตำรวจ เพื่อเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่นของยานพาหนะ เครื่องจักรกล ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าวได้เป็นกรณีพิเศษ
3.2.3 จัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของกระทรวงการคลัง โดยคลังจังหวัดดำเนินการในแต่ละจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ เพื่อรับแจ้งปัญหาและดำเนินการประสานหาแนวทางแก้ไขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะเดียวกันกับกรณีการเกิดธรณีพิบัติในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ เมื่อปี 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--