คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอเรื่องการพัฒนาการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ ประกอบด้วยความคืบหน้าของการดำเนินงานโครงการเสริมความรู้สู่มหาวิทยาลัย และโครงการคาราวานแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างสมานฉันท์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
โครงการเสริมความรู้สู่มหาวิทยาลัย
ผลการดำเนินงาน
1. วิทยากรผู้สอน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประสานงานครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนดีเด่นใน โรงเรียนที่เป็นที่ยอมรับ ทั้งในกรุงเทพมหานครและนครราชสีมา โดยกำหนดให้โรงเรียนรับผิดชอบจัดครูและวิทยากรเข้าสอน ดังนี้ จังหวัดนราธิวาส : โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โรงเรียนระนองวิทยาคม และ โรงเรียนสตรีนนทบุรี รับผิดชอบ จังหวัดยะลา : โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โรงเรียนสตรีวิทยา และโรงเรียนบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รับผิดชอบ จังหวัดปัตตานี : โรงเรียนราชวินิตมัธยม โรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนบวรนิเวศ รับผิดชอบ
2. นักเรียนเข้าร่วมโครงการ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จำนวน 11,043 คน เข้าร่วมโครงการ 7,093 คน คิดเป็นร้อยละ 64.23 นอกจากนี้ นักเรียนในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา เข้าร่วมโครงการด้วย จำนวน 120 คน รวมทั้งสิ้น 7,213 คน จำแนกเป็นรายจังหวัด ดังนี้ จังหวัดยะลา จำนวน 1,958 คน จังหวัดปัตตานี จำนวน 3,017 คน จังหวัดนราธิวาส จำนวน 2,238 คน
3. ผลการสำรวจความคิดเห็น
3.1 ครูและวิทยากร มีความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการดังกล่าว 3 ลำดับแรก ได้แก่ เนื้อหาวิชาในการดำเนินการเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน การสร้างเจตคติและพฤติกรรมในทางที่ดีแก่นักเรียน และมีความสะดวกในการบริการของศูนย์เสริมความรู้แต่ละจังหวัด โดยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระยะเวลา กล่าวคือ ควรใช้เวลามากกว่านี้ และไม่ควรจัดในช่วงการถือศีลอด
3.2 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มีความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการ 3 ลำดับแรก ได้แก่ เอกสารประกอบมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ความมีประสิทธิภาพการใช้สื่ออุปกรณ์ประกอบการเรียนรู้แก่นักเรียนของวิทยากรและเนื้อหาสาระตรงความต้องการของนักเรียน และวิทยากรมีความรู้ความสามารถให้นักเรียนมีเทคนิคการจดจำเพื่อศึกษาความรู้เพิ่มเติม
สำหรับข้อเสนอแนะ พบว่า สอดคล้องกับความคิดเห็นของครูและวิทยากร ได้แก่ ระยะเวลาการเสริมความรู้ควรมากกว่านี้ และควรติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดด้วย
4. สรุป การจัดกิจกรรมเสริมความรู้สู่มหาวิทยาลัย เป็นกิจกรรมที่เน้นความร่วมมือของทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งส่วนราชการที่สนับสนุนงบประมาณ ความเสียสละของวิทยากรและบุคลากรที่จัดกิจกรรม ความรู้สึกที่ดีของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม สอดคล้องกับ พระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ให้ทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือช่วยเหลือในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
โครงการคาราวานแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างสมานฉันท์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการจัดทำคู่มือและประชุมชี้แจงองค์กรเครือข่ายในการเสริมสร้างสันติสุข ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการจัดคาราวานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและวิชาชีพ ระหว่างประชาชน ณ มัสยิดต่าง ๆ 30 มัสยิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นเพื่อสร้างสมานฉันท์ แบ่งเป็น 3 กิจกรรม งบประมาณ 225,000 บาท
กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำคู่มือกรอบแนวทางการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา 6 เขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหน่วยงานหลัก 10 คน ประธานและคณะกรรมการชมรมสถาบันศึกษาปอเนาะ 3 คน สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและคณะกรรมการสมาคม 5 คน ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 3 จังหวัด เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง 3 คน
กิจกรรมที่ 2 ประชุมชี้แจงการใช้คู่มือกรอบภารกิจขององค์กรเครือข่าย 30 กลุ่ม ๆ ละ 7 คน รวม 210 คน ประกอบด้วย ตัวแทนเขตพื้นที่การศึกษา จุดละ 1 คน 30 มัสยิด 30 คน ตัวแทนอำเภอ จุดละ 1 คน 30 มัสยิด 30 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จุดละ 3 คน 30 มัสยิด 90 คน อิหม่าม คอเต็บ หรือบิหล่าน 2 คน 30 มัสยิด 60 คน
กิจกรรมที่ 3 คาราวานแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสริมสร้างสมานฉันท์ 30 มัสยิด ใน 6 อำเภอ ดังนี้ เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 1 อำเภอยะหริ่ง 5 มัสยิด เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2 อำเภอยะรัง 5 มัสยิด เขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 1 อำเภอเมือง 5 มัสยิด เขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2 อำเภอยะหา 5 มัสยิด เขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 อำเภอยี่งอ 7 มัสยิด เขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 2 อำเภอสุไหงโกลก 3 มัสยิด
ผลการดำเนินงาน
1. ได้คู่มือเป็นแนวทางขององค์กรเครือข่ายในการเสริมสร้างสมานฉันท์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2. องค์กรเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจตามแนวทางในคู่มือในการเสริมสร้างสมานฉันท์ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
3. ประชาชน (สัปบุรุษ) ทั้ง 30 มัสยิด ประมาณ 3,000 คน มีความรู้ความเข้าใจนโยบายการจัดการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้รับทราบปัญหาจากประชาชน (สัปบุรุษ) แต่ละมัสยิด เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนต่อไป
5. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน
ภารกิจที่จะดำเนินการต่อไป
1. โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างสมานฉันท์ เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยตรง จึงเห็นควรขยายการดำเนินการให้ทั่วถึงทุกมัสยิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2. เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ เพราะการดำเนินการในช่วงสิ้นปีงบประมาณ จะมีปัญหา เนื่องจากวงเงินงบประมาณไม่ได้กำหนดไว้ในแผนฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--
โครงการเสริมความรู้สู่มหาวิทยาลัย
ผลการดำเนินงาน
1. วิทยากรผู้สอน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประสานงานครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนดีเด่นใน โรงเรียนที่เป็นที่ยอมรับ ทั้งในกรุงเทพมหานครและนครราชสีมา โดยกำหนดให้โรงเรียนรับผิดชอบจัดครูและวิทยากรเข้าสอน ดังนี้ จังหวัดนราธิวาส : โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โรงเรียนระนองวิทยาคม และ โรงเรียนสตรีนนทบุรี รับผิดชอบ จังหวัดยะลา : โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โรงเรียนสตรีวิทยา และโรงเรียนบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รับผิดชอบ จังหวัดปัตตานี : โรงเรียนราชวินิตมัธยม โรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนบวรนิเวศ รับผิดชอบ
2. นักเรียนเข้าร่วมโครงการ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จำนวน 11,043 คน เข้าร่วมโครงการ 7,093 คน คิดเป็นร้อยละ 64.23 นอกจากนี้ นักเรียนในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา เข้าร่วมโครงการด้วย จำนวน 120 คน รวมทั้งสิ้น 7,213 คน จำแนกเป็นรายจังหวัด ดังนี้ จังหวัดยะลา จำนวน 1,958 คน จังหวัดปัตตานี จำนวน 3,017 คน จังหวัดนราธิวาส จำนวน 2,238 คน
3. ผลการสำรวจความคิดเห็น
3.1 ครูและวิทยากร มีความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการดังกล่าว 3 ลำดับแรก ได้แก่ เนื้อหาวิชาในการดำเนินการเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน การสร้างเจตคติและพฤติกรรมในทางที่ดีแก่นักเรียน และมีความสะดวกในการบริการของศูนย์เสริมความรู้แต่ละจังหวัด โดยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระยะเวลา กล่าวคือ ควรใช้เวลามากกว่านี้ และไม่ควรจัดในช่วงการถือศีลอด
3.2 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มีความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการ 3 ลำดับแรก ได้แก่ เอกสารประกอบมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ความมีประสิทธิภาพการใช้สื่ออุปกรณ์ประกอบการเรียนรู้แก่นักเรียนของวิทยากรและเนื้อหาสาระตรงความต้องการของนักเรียน และวิทยากรมีความรู้ความสามารถให้นักเรียนมีเทคนิคการจดจำเพื่อศึกษาความรู้เพิ่มเติม
สำหรับข้อเสนอแนะ พบว่า สอดคล้องกับความคิดเห็นของครูและวิทยากร ได้แก่ ระยะเวลาการเสริมความรู้ควรมากกว่านี้ และควรติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดด้วย
4. สรุป การจัดกิจกรรมเสริมความรู้สู่มหาวิทยาลัย เป็นกิจกรรมที่เน้นความร่วมมือของทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งส่วนราชการที่สนับสนุนงบประมาณ ความเสียสละของวิทยากรและบุคลากรที่จัดกิจกรรม ความรู้สึกที่ดีของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม สอดคล้องกับ พระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ให้ทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือช่วยเหลือในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
โครงการคาราวานแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างสมานฉันท์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการจัดทำคู่มือและประชุมชี้แจงองค์กรเครือข่ายในการเสริมสร้างสันติสุข ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการจัดคาราวานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและวิชาชีพ ระหว่างประชาชน ณ มัสยิดต่าง ๆ 30 มัสยิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นเพื่อสร้างสมานฉันท์ แบ่งเป็น 3 กิจกรรม งบประมาณ 225,000 บาท
กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำคู่มือกรอบแนวทางการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา 6 เขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหน่วยงานหลัก 10 คน ประธานและคณะกรรมการชมรมสถาบันศึกษาปอเนาะ 3 คน สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและคณะกรรมการสมาคม 5 คน ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 3 จังหวัด เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง 3 คน
กิจกรรมที่ 2 ประชุมชี้แจงการใช้คู่มือกรอบภารกิจขององค์กรเครือข่าย 30 กลุ่ม ๆ ละ 7 คน รวม 210 คน ประกอบด้วย ตัวแทนเขตพื้นที่การศึกษา จุดละ 1 คน 30 มัสยิด 30 คน ตัวแทนอำเภอ จุดละ 1 คน 30 มัสยิด 30 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จุดละ 3 คน 30 มัสยิด 90 คน อิหม่าม คอเต็บ หรือบิหล่าน 2 คน 30 มัสยิด 60 คน
กิจกรรมที่ 3 คาราวานแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสริมสร้างสมานฉันท์ 30 มัสยิด ใน 6 อำเภอ ดังนี้ เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 1 อำเภอยะหริ่ง 5 มัสยิด เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2 อำเภอยะรัง 5 มัสยิด เขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 1 อำเภอเมือง 5 มัสยิด เขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2 อำเภอยะหา 5 มัสยิด เขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 อำเภอยี่งอ 7 มัสยิด เขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 2 อำเภอสุไหงโกลก 3 มัสยิด
ผลการดำเนินงาน
1. ได้คู่มือเป็นแนวทางขององค์กรเครือข่ายในการเสริมสร้างสมานฉันท์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2. องค์กรเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจตามแนวทางในคู่มือในการเสริมสร้างสมานฉันท์ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
3. ประชาชน (สัปบุรุษ) ทั้ง 30 มัสยิด ประมาณ 3,000 คน มีความรู้ความเข้าใจนโยบายการจัดการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้รับทราบปัญหาจากประชาชน (สัปบุรุษ) แต่ละมัสยิด เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนต่อไป
5. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน
ภารกิจที่จะดำเนินการต่อไป
1. โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างสมานฉันท์ เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยตรง จึงเห็นควรขยายการดำเนินการให้ทั่วถึงทุกมัสยิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2. เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ เพราะการดำเนินการในช่วงสิ้นปีงบประมาณ จะมีปัญหา เนื่องจากวงเงินงบประมาณไม่ได้กำหนดไว้ในแผนฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--