คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่มติรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุมแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก รายงานสถานการณ์และผลการดำเนินงานควบคุมโรคไข้หวัดนกสรุปได้ดังนี้
ตามที่ได้มีรายงานการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกในประเทศไทยระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม — 14 ตุลาคม 2548 ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี กำแพงเพชร ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครปฐม และกาญจนบุรี รวมถึงมีการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ จีน เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย และประเทศแถบทวีปยุโรป เช่น รัสเซีย ตุรกีและโรมาเนีย ทำให้หลายประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปได้เตรียมมาตรการขั้นสูงสุดในการป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดนกดังกล่าว โดยมีความกังวลว่าอาจจะมีการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ในคน (Pandemic Human Influenza) อันมีสาเหตุมาจากโรคไข้หวัดนก ซึ่งอาจจะทำให้มีประชากรป่วยตายนับล้านคน นั้น
สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทยมีพื้นที่พบเชื้อโรคไข้หวัดนก และอยู่ในระหว่างเฝ้าระวัง 4 จังหวัด อันได้แก่ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี กำแพงเพชร และนครปฐม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2547 จนถึงปัจจุบันยังไม่พบการรายงานการติดเชื้อโรคไข้หวัดนกในคน ทำให้ประเทศไทยถือว่าอยู่ในสถานะที่ควบคุมโรคได้ อย่างไรก็ตามสภาพภูมิอากาศในช่วงนี้ได้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งเอื้อต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกได้ง่าย รวมถึงเป็นช่วงที่มีการอพยพย้ายถิ่นของนกธรรมชาติจากประเทศจีนและรัสเซียมายังประเทศไทย ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ จึงได้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคในพื้นที่พบโรคไข้หวัดนก และเฝ้าระวังโรคโดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเชิงรุก โดยมีการปรับแผนการปฏิบัติงานให้มีความเข้มงวดในทุก ๆ มาตรการและอย่างต่อเนื่อง และให้มีการ x-ray (รณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ) ในพื้นที่เสี่ยงรวม 21 จังหวัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--
ตามที่ได้มีรายงานการพบเชื้อโรคไข้หวัดนกในประเทศไทยระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม — 14 ตุลาคม 2548 ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี กำแพงเพชร ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครปฐม และกาญจนบุรี รวมถึงมีการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ จีน เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย และประเทศแถบทวีปยุโรป เช่น รัสเซีย ตุรกีและโรมาเนีย ทำให้หลายประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปได้เตรียมมาตรการขั้นสูงสุดในการป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดนกดังกล่าว โดยมีความกังวลว่าอาจจะมีการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ในคน (Pandemic Human Influenza) อันมีสาเหตุมาจากโรคไข้หวัดนก ซึ่งอาจจะทำให้มีประชากรป่วยตายนับล้านคน นั้น
สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทยมีพื้นที่พบเชื้อโรคไข้หวัดนก และอยู่ในระหว่างเฝ้าระวัง 4 จังหวัด อันได้แก่ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี กำแพงเพชร และนครปฐม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2547 จนถึงปัจจุบันยังไม่พบการรายงานการติดเชื้อโรคไข้หวัดนกในคน ทำให้ประเทศไทยถือว่าอยู่ในสถานะที่ควบคุมโรคได้ อย่างไรก็ตามสภาพภูมิอากาศในช่วงนี้ได้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งเอื้อต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกได้ง่าย รวมถึงเป็นช่วงที่มีการอพยพย้ายถิ่นของนกธรรมชาติจากประเทศจีนและรัสเซียมายังประเทศไทย ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ จึงได้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคในพื้นที่พบโรคไข้หวัดนก และเฝ้าระวังโรคโดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเชิงรุก โดยมีการปรับแผนการปฏิบัติงานให้มีความเข้มงวดในทุก ๆ มาตรการและอย่างต่อเนื่อง และให้มีการ x-ray (รณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ) ในพื้นที่เสี่ยงรวม 21 จังหวัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--