คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสรุปสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และชุมพรพร้อมข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไข ดังนี้
1. สถานการณ์อุทกภัย
1.1 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันในวันที่ 14-15 สิงหาคม 2549 บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี โดยมีปริมาณฝน(14 ส.ค.2549) ที่บ้านดงไม้งาม อ.บางสะพาน วัดได้ 93.8 มม. ที่บ้านในล็อค อ.บางสะพาน วัดได้ 99.6 มม. และปริมาณฝน(15 ส.ค.2549)ที่บ้านดงไม้งาม อ.บางสะพาน วัดได้ 74.6 มม. ที่บ้านในล็อค อ.บางสะพาน วัดได้ 69.2 มม. ทำให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ในเขต อ.บางสะพาน ตั้งแต่ เวลา 09.00 น. ของ วันที่ 15 สิงหาคม 2549 ระดับน้ำในแม่น้ำบางสะพานเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในเขตเทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ น้ำท่วมโรงพยาบาลบางสะพาน ระดับน้ำสูง 0.70 ม. และท่วมในเขต ต.พงศ์ประศาสน์(หมู่ที่ 1,4,5,6,7) ต.แม่รำพึง(หมู่ที่ 6,7,8) ต.ร่อนทอง(หมู่ที่5,8) ต.ทองมงคล ต.ชัยเกษม ต.ธงชัย สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 16 สิงหาคม 2549 จากสภาพน้ำท่วมในครั้งนี้ กรมชลประทานได้หารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายอำเภอบางสะพาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลบางสะพาน พงศ์ประศาสน์ แม่รำพึง ร่อนทอง ทองมงคล ชัยเกษม และธงชัย ในวันที่ 17 สิงหาคม 2549 พอสรุปปัญหาที่เกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไขได้ ดังนี้
1.1.1 ปัญหาที่เกิดขึ้น ปัจจุบันคลองระบายน้ำในเขตอำเภอบางสะพานสามสาย ได้แก่ คลองบางสะพาน คลองห้วยม้าร้อง(ปากปิด) คลองแม่รำพึง ได้ดำเนินการขุดลอกไปแล้วทั้งสามสาย โดยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา แต่พบว่ายังมีอุปสรรคในการระบายน้ำไหลลงสู่ทะเล กล่าวคือ บริเวณช่วงปากคลองที่ออกสู่ทะเล เกิดปัญหาการตกตะกอนทรายของร่องน้ำทะเลบริเวณปากคลอง ทำให้เกิดลักษณะเป็นสันดอนปิดร่องน้ำ ส่งผลให้การระบายน้ำในคลองที่จะไหลลงทะเลมีการชะลอตัวและเอ่อล้นท่วมตลิ่งในบริเวณที่ลุ่ม
1.1.2 แนวทางการแก้ไข แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
1) ระยะเร่งด่วน
- ขุดลอกตะกอนทรายเพื่อเปิดร่องน้ำให้น้ำไหลระบายได้สะดวกขึ้น
- ก่อสร้างอาคารป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล(รอดักทรายแบบตัว I) โดยกรมเจ้าท่าเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ บริเวณปากคลองปัตตามัง(คลองปากปิด)
- ก่อสร้างประตูระบายน้ำปากคลองผันน้ำฝั่งซ้าย(ปตร.ปากคลองห้วยไทร) ขนาดบานระบาย 2.30 x 6.00 ม. จำนวน 2 บาน (บานโค้ง) ระบายน้ำได้ 60 ลบ.ม./วินาที วงเงิน 34.5 ล้านบาท เพื่อผันน้ำส่วนหนึ่ง จำนวน 60 ลบ.ม./วินาที ไม่ให้ไหลผ่านเข้าตัวอำเภอบางสะพาน ได้ดำเนินการออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว
- ก่อสร้างประตูระบายน้ำปากคลองผันน้ำฝั่งขวา(ปตร.ปากคลองปัตตามัง) ขนาดบานระบาย 2.30 x 6.00 ม. จำนวน 2 บาน (บานโค้ง) ระบายน้ำได้ 60 ลบ.ม./วินาที วงเงิน 34.5 ล้านบาท เพื่อผันน้ำส่วนหนึ่ง จำนวน 60 ลบ.ม./วินาที ไม่ให้ไหลผ่านเข้าตัวอำเภอบางสะพาน ได้ดำเนินการออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว
2) ระยะกลาง
- ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองลอย พร้อมระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก 17.46 ล้าน ลบ.ม. บริเวณ ต.ร่อนทอง อ.บางสะพาน วงเงินงบประมาณ 670,000,000 บาท ปัจจุบันจัดเข้าแผนงาน ขจัดความยากจนระดับประเทศ ผลผลิตที่ 1 การจัดหาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน แผนงานก่อสร้างปีงบประมาณ พ.ศ.2550-2551
- ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบ้านไทรทอง พร้อมระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก 13.29 ล้าน ลบ.ม. บริเวณ ต.ทองมงคล อ.บางสะพาน วงเงินงบประมาณ 680,000,000 บาท ปัจจุบันจัดเข้าแผนงาน ขจัดความยากจนระดับประเทศ ผลผลิตที่ 1 การจัดหาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน แผนงานก่อสร้างปีงบประมาณ พ.ศ.2551-2552ซึ่งได้ศึกษาสำรวจออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วทั้งสองอ่าง
1.2 จังหวัดชุมพร ได้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันในวันที่14-15 สิงหาคม 2549 โดยปริมาณฝนตกวันที่ 14 ส.ค.2549 ที่ อ.เมือง 153.5 มม. อ.สวี 122.3 มม. อ.ท่าแซะ 115.5 มม. อ.หลังสวน 68.0 มม. อ.พะโต๊ะ 120.8 อ.ละแม 62.0 มม. อ.ปะทิว 112.0 มม. อ.ทุ่งตะโก 58.8 มม. ปริมาณฝนตกวันที่ 15 ส.ค.2549 ที่ อ.ท่าแซะ 55.7 มม. อ.พะโต๊ะ 60.2 มม. อ.ละแม 74.0 มม. อ.สวี 35.0 มม. อ.ปะทิว 43.4 มม. เกิดน้ำท่วมในอำเภอต่างๆ ดังนี้
อ.เมืองชุมพร ปริมาณน้ำในคลองชุมพรเอ่อล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมในเขต ต.บ้านนา ต.ขุนกระทิง ต.ตากแดด ต.วังไผ่ คาดว่า สถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่สภาวะปกติ ในวันที่ 20 สิงหาคม 2549
อ.ท่าแซะ น้ำในคลองรับร่อเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ในเขต ต.ท่าข้าม(หมู่ที่ 1-4,6,7,9,14) ต.นากระตาม(หมู่ที่ 1,5,8,9,11) ระดับน้ำสูง 1.00-1.20 ม. ส่วนที่ ต.รับร่อ(หมู่ที่ 1-8,20) ต.หินแก้ว(หมู่ที่1,2) ต.คุริง (หมูที่ 1-3) ต.สลุย ต.ท่าแซะ(หมู่ที่1,7,10,11,16) ต.หงษ์เจริญ(หมู่ที่1,4,8,14) ต.ทรัพย์อนันต์(หมู่ที่1,2,7) ต.สองพี่น้อง ระดับน้ำสูง 0.20-0.60 ม. คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 20 ส.ค.2549
อ.ปะทิว น้ำท่วมในเขต ต.สะพลี(หม่ที่ 2,4,6,7,10,11) ต.เขาไชยราช(หมู่ที่ 1,3,6,8) ต.บางสน(หมู่ที่ 2-5) ต.ชุมโค(หมู่ที่ 1-4,6,9,10,11) ต.ปากคลอง(หมู่ที่ 1,3,4,6) ต.ทะเลทรัพย์(หมู่ที่ 1-3) ต.ดอนยาง (หมู่ที่ 2,3,5,6,8,9,15) สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2549
อ.หลังสวน น้ำท่วมในเขต ต.ท่ามะพลา(หมู่ที่ 2,8) ต.บางมะพร้าว(หมู่ที่9) ต.หาดยาย(หมู่ที่ 1,2,4,5,6,9) ต.พ้อแดง(หมู่ที่1,3,4,5,7,8) ต.แหลมทราย(หมู่ที่1,11) ต.วังตะกอ(หมู่ที่1) สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2549
สำหรับในเขตเทศบาลเมืองชุมพร ปริมาณน้ำในคลองท่าตะเภาที่บ้านวังครก อ.ท่าแซะ มีระดับน้ำสูงสุด 12.15 ม. ปริมาณน้ำสูงสุด 1,095 ลบ.ม./วินาที (เวลา 19.00 น.ของวันที่ 15 ส.ค.49) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเทศบาลเมืองชุมพรในเวลาต่อมา(เริ่มมีผลกระทบเมื่อระดับน้ำที่บ้านครกมีระดับเกิน 12.00 ม.) ปริมาณน้ำจากบ้านวังครกได้ไหลลงสู่เทศบาลเมืองชุมพร น้ำเริ่มท่วมแมืองชุมพรบริเวณที่ลุ่มรอบนอกตั้งแต่เวลา 16.00 น.(16 ส.ค.49)ในเขตชุมชนหนองทองคำ ชุมชนวัดสุบรรณ ชุมชนรังนกออก ชุมชนดอนหลวง โดยทำให้บริเวณสะพานเทศบาล2 อ.เมือง มีระดับน้ำสูงสุด 4.00 ม. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 285 ลบ.ม./วินาทีในวันที่ 17 ส.ค.2549 เวลา 05.00 น.(ระดับเริ่มท่วม 3.80 ม. ปริมาณน้ำ 260 ลบ.ม./วินาที) ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองชุมพรเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง ทั้งนี้ เนื่องจากกรมชลประทานได้ผันน้ำส่วนหนึ่งที่ไหลมาจากบ้านวังครก อ.ท่าแซะ เข้าคลองหัววัง-พนังตัก(ปริมาณน้ำไหลผ่าน ปตร.หัววัง จำนวน 580 ลบ.ม./วินาที) และคลองสามแก้ว(ปริมาณน้ำไหลผ่าน ปตร.สามแก้ว จำนวน 230 ลบ.ม./วินาที) ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้น้ำไหลออกสู่ทะเลโดยไม่ไหลผ่านเข้าตัวเมืองชุมพร นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่เร่งสูบน้ำ ที่ ปตร.พนังตัก จำนวน 3 เครื่อง เทศบาลเมืองชุมพร จำนวน 6 เครื่อง สถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองชุมพรได้เริ่มเข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 18 สิงหาคม 2549 แต่ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำในหลายตำบลรอบนอกเขตเทศบาลเมืองชุมพร กรมชลประทานได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 10 เครื่อง เข้าช่วยเหลือพื้นที่รอบนอก รวมเป็นครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือทั้งหมด 19 เครื่อง
สรุปความเสียหายเนื่องจากอุทกภัยจังหวัดชุมพร(14-16 สิงหาคม 2549)
1) พื้นที่ประสบอุทกภัย 4 อำเภอ 28 ตำบล 135 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน ประมาณ 3,434 ครัวเรือน
2) พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ประมาณ 8,000 ไร่
3) อาคารชลประทานในเขตโครงการชลประทานชุมพร ได้รับความเสียหาย ดังนี้
- อาคารระบายน้ำท่อลอดถนนบริเวณปากคลองน้อย มีหินเรียงพร้อมเอ็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ชำรุดเสียหาย 1 แห่ง
- ผิวราดยางถนนของอาคารท่อลอดถนนสายวัดประเดิม ชำรุดเสียหาย 1 แห่ง
- อาคารบ้านพัก/ที่ทำการ ของโครงการก่อสร้าง 2ฝ14 ถูกน้ำท่วมชำรุดเสียหาย 1 แห่ง
-คันกั้นน้ำคลองสามแก้วและคลองบางโหลง น้ำกัดเซาะพังเสียหาย รวม 2 สายคลอง ประมาณ 300 เมตร
แนวทางการแก้ไข
1) ปรับปรุงคลองสามแก้ว และอาคารประกอบแทนขุดลอกคลองพนังตัก-หูรอ เป็นงานขุดขยายคลองเพื่อผันน้ำส่วนเกินจากคลองหัววัง-พนังตัก และคลองสามแก้ว ออกสู่ทะเลเพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 800 ลบ.ม./วินาที ขนาดคลองระบายน้ำก้นคลองกว้าง 90 เมตร ยาว 5,000 เมตร พร้อมอาคารประกอบ งบประมาณ 80,000,000 บาท
2) ปรับปรุงประตูระบายน้ำพนังตักเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำจาก 400 ลบ.ม./วินาที เป็น 580 ลบ.ม./วินาที ลักษณะงานเป็นการปรับปรุงเพิ่มช่องประตูระบายน้ำขนาด 6.00 X 6.50 เมตร จากเดิม 5 ช่อง เป็น 8 ช่อง งบประมาณ 130,000,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--
1. สถานการณ์อุทกภัย
1.1 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันในวันที่ 14-15 สิงหาคม 2549 บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี โดยมีปริมาณฝน(14 ส.ค.2549) ที่บ้านดงไม้งาม อ.บางสะพาน วัดได้ 93.8 มม. ที่บ้านในล็อค อ.บางสะพาน วัดได้ 99.6 มม. และปริมาณฝน(15 ส.ค.2549)ที่บ้านดงไม้งาม อ.บางสะพาน วัดได้ 74.6 มม. ที่บ้านในล็อค อ.บางสะพาน วัดได้ 69.2 มม. ทำให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ในเขต อ.บางสะพาน ตั้งแต่ เวลา 09.00 น. ของ วันที่ 15 สิงหาคม 2549 ระดับน้ำในแม่น้ำบางสะพานเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในเขตเทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ น้ำท่วมโรงพยาบาลบางสะพาน ระดับน้ำสูง 0.70 ม. และท่วมในเขต ต.พงศ์ประศาสน์(หมู่ที่ 1,4,5,6,7) ต.แม่รำพึง(หมู่ที่ 6,7,8) ต.ร่อนทอง(หมู่ที่5,8) ต.ทองมงคล ต.ชัยเกษม ต.ธงชัย สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 16 สิงหาคม 2549 จากสภาพน้ำท่วมในครั้งนี้ กรมชลประทานได้หารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายอำเภอบางสะพาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลบางสะพาน พงศ์ประศาสน์ แม่รำพึง ร่อนทอง ทองมงคล ชัยเกษม และธงชัย ในวันที่ 17 สิงหาคม 2549 พอสรุปปัญหาที่เกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไขได้ ดังนี้
1.1.1 ปัญหาที่เกิดขึ้น ปัจจุบันคลองระบายน้ำในเขตอำเภอบางสะพานสามสาย ได้แก่ คลองบางสะพาน คลองห้วยม้าร้อง(ปากปิด) คลองแม่รำพึง ได้ดำเนินการขุดลอกไปแล้วทั้งสามสาย โดยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา แต่พบว่ายังมีอุปสรรคในการระบายน้ำไหลลงสู่ทะเล กล่าวคือ บริเวณช่วงปากคลองที่ออกสู่ทะเล เกิดปัญหาการตกตะกอนทรายของร่องน้ำทะเลบริเวณปากคลอง ทำให้เกิดลักษณะเป็นสันดอนปิดร่องน้ำ ส่งผลให้การระบายน้ำในคลองที่จะไหลลงทะเลมีการชะลอตัวและเอ่อล้นท่วมตลิ่งในบริเวณที่ลุ่ม
1.1.2 แนวทางการแก้ไข แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
1) ระยะเร่งด่วน
- ขุดลอกตะกอนทรายเพื่อเปิดร่องน้ำให้น้ำไหลระบายได้สะดวกขึ้น
- ก่อสร้างอาคารป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล(รอดักทรายแบบตัว I) โดยกรมเจ้าท่าเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ บริเวณปากคลองปัตตามัง(คลองปากปิด)
- ก่อสร้างประตูระบายน้ำปากคลองผันน้ำฝั่งซ้าย(ปตร.ปากคลองห้วยไทร) ขนาดบานระบาย 2.30 x 6.00 ม. จำนวน 2 บาน (บานโค้ง) ระบายน้ำได้ 60 ลบ.ม./วินาที วงเงิน 34.5 ล้านบาท เพื่อผันน้ำส่วนหนึ่ง จำนวน 60 ลบ.ม./วินาที ไม่ให้ไหลผ่านเข้าตัวอำเภอบางสะพาน ได้ดำเนินการออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว
- ก่อสร้างประตูระบายน้ำปากคลองผันน้ำฝั่งขวา(ปตร.ปากคลองปัตตามัง) ขนาดบานระบาย 2.30 x 6.00 ม. จำนวน 2 บาน (บานโค้ง) ระบายน้ำได้ 60 ลบ.ม./วินาที วงเงิน 34.5 ล้านบาท เพื่อผันน้ำส่วนหนึ่ง จำนวน 60 ลบ.ม./วินาที ไม่ให้ไหลผ่านเข้าตัวอำเภอบางสะพาน ได้ดำเนินการออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว
2) ระยะกลาง
- ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองลอย พร้อมระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก 17.46 ล้าน ลบ.ม. บริเวณ ต.ร่อนทอง อ.บางสะพาน วงเงินงบประมาณ 670,000,000 บาท ปัจจุบันจัดเข้าแผนงาน ขจัดความยากจนระดับประเทศ ผลผลิตที่ 1 การจัดหาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน แผนงานก่อสร้างปีงบประมาณ พ.ศ.2550-2551
- ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบ้านไทรทอง พร้อมระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก 13.29 ล้าน ลบ.ม. บริเวณ ต.ทองมงคล อ.บางสะพาน วงเงินงบประมาณ 680,000,000 บาท ปัจจุบันจัดเข้าแผนงาน ขจัดความยากจนระดับประเทศ ผลผลิตที่ 1 การจัดหาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน แผนงานก่อสร้างปีงบประมาณ พ.ศ.2551-2552ซึ่งได้ศึกษาสำรวจออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วทั้งสองอ่าง
1.2 จังหวัดชุมพร ได้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันในวันที่14-15 สิงหาคม 2549 โดยปริมาณฝนตกวันที่ 14 ส.ค.2549 ที่ อ.เมือง 153.5 มม. อ.สวี 122.3 มม. อ.ท่าแซะ 115.5 มม. อ.หลังสวน 68.0 มม. อ.พะโต๊ะ 120.8 อ.ละแม 62.0 มม. อ.ปะทิว 112.0 มม. อ.ทุ่งตะโก 58.8 มม. ปริมาณฝนตกวันที่ 15 ส.ค.2549 ที่ อ.ท่าแซะ 55.7 มม. อ.พะโต๊ะ 60.2 มม. อ.ละแม 74.0 มม. อ.สวี 35.0 มม. อ.ปะทิว 43.4 มม. เกิดน้ำท่วมในอำเภอต่างๆ ดังนี้
อ.เมืองชุมพร ปริมาณน้ำในคลองชุมพรเอ่อล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมในเขต ต.บ้านนา ต.ขุนกระทิง ต.ตากแดด ต.วังไผ่ คาดว่า สถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่สภาวะปกติ ในวันที่ 20 สิงหาคม 2549
อ.ท่าแซะ น้ำในคลองรับร่อเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ในเขต ต.ท่าข้าม(หมู่ที่ 1-4,6,7,9,14) ต.นากระตาม(หมู่ที่ 1,5,8,9,11) ระดับน้ำสูง 1.00-1.20 ม. ส่วนที่ ต.รับร่อ(หมู่ที่ 1-8,20) ต.หินแก้ว(หมู่ที่1,2) ต.คุริง (หมูที่ 1-3) ต.สลุย ต.ท่าแซะ(หมู่ที่1,7,10,11,16) ต.หงษ์เจริญ(หมู่ที่1,4,8,14) ต.ทรัพย์อนันต์(หมู่ที่1,2,7) ต.สองพี่น้อง ระดับน้ำสูง 0.20-0.60 ม. คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 20 ส.ค.2549
อ.ปะทิว น้ำท่วมในเขต ต.สะพลี(หม่ที่ 2,4,6,7,10,11) ต.เขาไชยราช(หมู่ที่ 1,3,6,8) ต.บางสน(หมู่ที่ 2-5) ต.ชุมโค(หมู่ที่ 1-4,6,9,10,11) ต.ปากคลอง(หมู่ที่ 1,3,4,6) ต.ทะเลทรัพย์(หมู่ที่ 1-3) ต.ดอนยาง (หมู่ที่ 2,3,5,6,8,9,15) สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2549
อ.หลังสวน น้ำท่วมในเขต ต.ท่ามะพลา(หมู่ที่ 2,8) ต.บางมะพร้าว(หมู่ที่9) ต.หาดยาย(หมู่ที่ 1,2,4,5,6,9) ต.พ้อแดง(หมู่ที่1,3,4,5,7,8) ต.แหลมทราย(หมู่ที่1,11) ต.วังตะกอ(หมู่ที่1) สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่สภาวะปกติ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2549
สำหรับในเขตเทศบาลเมืองชุมพร ปริมาณน้ำในคลองท่าตะเภาที่บ้านวังครก อ.ท่าแซะ มีระดับน้ำสูงสุด 12.15 ม. ปริมาณน้ำสูงสุด 1,095 ลบ.ม./วินาที (เวลา 19.00 น.ของวันที่ 15 ส.ค.49) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเทศบาลเมืองชุมพรในเวลาต่อมา(เริ่มมีผลกระทบเมื่อระดับน้ำที่บ้านครกมีระดับเกิน 12.00 ม.) ปริมาณน้ำจากบ้านวังครกได้ไหลลงสู่เทศบาลเมืองชุมพร น้ำเริ่มท่วมแมืองชุมพรบริเวณที่ลุ่มรอบนอกตั้งแต่เวลา 16.00 น.(16 ส.ค.49)ในเขตชุมชนหนองทองคำ ชุมชนวัดสุบรรณ ชุมชนรังนกออก ชุมชนดอนหลวง โดยทำให้บริเวณสะพานเทศบาล2 อ.เมือง มีระดับน้ำสูงสุด 4.00 ม. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 285 ลบ.ม./วินาทีในวันที่ 17 ส.ค.2549 เวลา 05.00 น.(ระดับเริ่มท่วม 3.80 ม. ปริมาณน้ำ 260 ลบ.ม./วินาที) ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองชุมพรเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง ทั้งนี้ เนื่องจากกรมชลประทานได้ผันน้ำส่วนหนึ่งที่ไหลมาจากบ้านวังครก อ.ท่าแซะ เข้าคลองหัววัง-พนังตัก(ปริมาณน้ำไหลผ่าน ปตร.หัววัง จำนวน 580 ลบ.ม./วินาที) และคลองสามแก้ว(ปริมาณน้ำไหลผ่าน ปตร.สามแก้ว จำนวน 230 ลบ.ม./วินาที) ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้น้ำไหลออกสู่ทะเลโดยไม่ไหลผ่านเข้าตัวเมืองชุมพร นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่เร่งสูบน้ำ ที่ ปตร.พนังตัก จำนวน 3 เครื่อง เทศบาลเมืองชุมพร จำนวน 6 เครื่อง สถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองชุมพรได้เริ่มเข้าสู่สภาวะปกติในวันที่ 18 สิงหาคม 2549 แต่ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำในหลายตำบลรอบนอกเขตเทศบาลเมืองชุมพร กรมชลประทานได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 10 เครื่อง เข้าช่วยเหลือพื้นที่รอบนอก รวมเป็นครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือทั้งหมด 19 เครื่อง
สรุปความเสียหายเนื่องจากอุทกภัยจังหวัดชุมพร(14-16 สิงหาคม 2549)
1) พื้นที่ประสบอุทกภัย 4 อำเภอ 28 ตำบล 135 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน ประมาณ 3,434 ครัวเรือน
2) พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ประมาณ 8,000 ไร่
3) อาคารชลประทานในเขตโครงการชลประทานชุมพร ได้รับความเสียหาย ดังนี้
- อาคารระบายน้ำท่อลอดถนนบริเวณปากคลองน้อย มีหินเรียงพร้อมเอ็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ชำรุดเสียหาย 1 แห่ง
- ผิวราดยางถนนของอาคารท่อลอดถนนสายวัดประเดิม ชำรุดเสียหาย 1 แห่ง
- อาคารบ้านพัก/ที่ทำการ ของโครงการก่อสร้าง 2ฝ14 ถูกน้ำท่วมชำรุดเสียหาย 1 แห่ง
-คันกั้นน้ำคลองสามแก้วและคลองบางโหลง น้ำกัดเซาะพังเสียหาย รวม 2 สายคลอง ประมาณ 300 เมตร
แนวทางการแก้ไข
1) ปรับปรุงคลองสามแก้ว และอาคารประกอบแทนขุดลอกคลองพนังตัก-หูรอ เป็นงานขุดขยายคลองเพื่อผันน้ำส่วนเกินจากคลองหัววัง-พนังตัก และคลองสามแก้ว ออกสู่ทะเลเพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 800 ลบ.ม./วินาที ขนาดคลองระบายน้ำก้นคลองกว้าง 90 เมตร ยาว 5,000 เมตร พร้อมอาคารประกอบ งบประมาณ 80,000,000 บาท
2) ปรับปรุงประตูระบายน้ำพนังตักเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำจาก 400 ลบ.ม./วินาที เป็น 580 ลบ.ม./วินาที ลักษณะงานเป็นการปรับปรุงเพิ่มช่องประตูระบายน้ำขนาด 6.00 X 6.50 เมตร จากเดิม 5 ช่อง เป็น 8 ช่อง งบประมาณ 130,000,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--