คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานผลการดำเนินการตามมติการประชุมนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชนกลุ่ม 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม 2 (กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี) จนถึงเดือนกรกฎาคม 2549 พบว่า ผลการดำเนินการสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. เรื่องที่ดำเนินการแล้วเสร็จ มีจำนวน 2 เรื่องคือ
1.1 การจัดหาสถานที่ตั้งกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ทำการศึกษาโดยละเอียดพบว่า พื้นที่บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ มีความเหมาะสมมากกว่าจังหวัดนครสวรรค์ เนื่องจากช่วยให้เกิดการประหยัดงบประมาณ และสะดวกต่อการประสานงานกับส่วนราชการอื่น รวมทั้งการบริการประชาชนและเกษตรกร
1.2 การใช้ไบโอดีเซลในการขนส่ง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ทำการศึกษาข้อเท็จจริงการใช้ไบโอดีเซลในรถบรรทุกของภาคเอกชนพบว่า มีการเริ่มใช้ B10 B20 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2548 และใช้ B50, B70 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2548 ซึ่งยังไม่พบว่ามีปัญหากับเครื่องยนต์ การเผาไหม้สะอาด และการสิ้นเปลืองน้ำมันไม่แตกต่างจากน้ำมันดีเซล สำหรับแนวทางการบริหารจัดการวัตถุดิบให้เหมาะสมกับความต้องการใช้เพื่อบริโภคและเป็นพลังงานทดแทน จะอยู่ในแผนปฏิบัติการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548
2. เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 6 เรื่อง แยกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
2.1 การพัฒนากลุ่มจังหวัดให้เป็นศูนย์ธุรกิจข้าวชั้นนำของประเทศ (Rice Hub City of Thailand) จำนวน 1 เรื่อง
(1) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแผนการเร่งรัดให้มีงานวิจัยการแปรรูปข้าวให้มีความหลากหลายมากขึ้น และนำผลงานไปขยายผลในเชิงพาณิชย์ สำหรับการวิจัยด้านโภชนาการข้าว อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาปริมาณธาตุเหล็กในข้าวพันธุ์ต่าง ๆ และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีธาตุเหล็กสูง
2.2 การพัฒนาระบบขนส่ง จำนวน 2 เรื่อง
(1) การส่งเสริมการขนส่งทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา กรมขนส่งทางน้ำและ พาณิชยนาวี ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยขอนแก่นดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสำรวจออกแบบเพื่อก่อสร้างสถานีขนส่งทางน้ำ เพื่อการประหยัดพลังงาน ขณะนี้มีความก้าวหน้า ร้อยละ 50
(2) การก่อสร้าง Truck Terminal กรมการขนส่งทางบก อยู่ระหว่างการเสนอของบประมาณปี 2550 จำนวน 21.32 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าในเมืองหลักและจังหวัดชายแดน ซึ่งรวมทั้งจังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงทางรถไฟจากสถานีปากน้ำโพถึงท่าข้าวกำนันทรง เพื่อสนับสนุนการขนส่งข้าวและสินค้าเกษตร และกระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างการก่อสร้างเพื่อขยายทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ด้านใต้เป็น 4 ช่องจราจร
2.3 การส่งเสริมการผลิตพลังงานชีวมวล (Biomass Energy) และพืชพลังงาน (Bio-energy) จำนวน 2 เรื่อง
(1) การนำสินค้าและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เป็นพลังงานทดแทนกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ประเมินศักยภาพชีวมวลของกลุ่มจังหวัดดังกล่าว พบว่ามีพืช 4 ชนิด ได้แก่ ข้าว อ้อย ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ที่มีศักยภาพในการนำชีวมวลมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้รวมทั้งสิ้น 733 เมกะวัตต์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำแกลบและกากอ้อยมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า 6 แห่ง คิดเป็นกำลังผลิตรวม 165.88 เมกะวัตต์ ส่วนชีวมวลอื่น ๆ เช่น ฟางข้าว, ใบอ้อย,ซังข้าวโพด และเหง้ามันสำปะหลัง จะมีปัญหาในด้านการจัดการเก็บรวบรวมและมีต้นทุนในการเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงค่อนข้างสูง จะต้องใช้งบประมาณในการศึกษารายละเอียดเป็นเฉพาะกรณี
(2) การเปรียบเทียบต้นทุนการใช้ปาล์มเป็นพลังงานกับการใช้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการใช้น้ำมันปาล์มเป็นพลังงานกับการบริโภค และต้นทุนการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบในกรณีที่น้ำมันปาล์มในประเทศไม่เพียงพอ ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขรายงานขั้นสุดท้าย
2.4 การเป็นชุมทางสู่เมืองล้านนาและมาตรการสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก จำนวน 1 เรื่อง
(1) การพัฒนาการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาบึงบอระเพ็ดเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนร่วมกับองค์การการท่องเที่ยวโลก ซึ่งได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาข้อมูลบึงบอระเพ็ด ในเดือนมีนาคม 2549 และขณะนี้ได้ส่งรายงานการศึกษาฯ มาให้กระทรวงท่องเที่ยวฯ แล้ว นอกจากนี้ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยรังสิต ศึกษาออกแบบการพัฒนาบึงบอระเพ็ด ในรูปแบบ Animation Virtual Reality กำหนดแล้วเสร็จภายในมิถุนายน 2549
ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายเร่งดำเนินการแล้วรายงานสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประจำทุก 6 เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 สิงหาคม 2549--จบ--
1. เรื่องที่ดำเนินการแล้วเสร็จ มีจำนวน 2 เรื่องคือ
1.1 การจัดหาสถานที่ตั้งกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ทำการศึกษาโดยละเอียดพบว่า พื้นที่บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ มีความเหมาะสมมากกว่าจังหวัดนครสวรรค์ เนื่องจากช่วยให้เกิดการประหยัดงบประมาณ และสะดวกต่อการประสานงานกับส่วนราชการอื่น รวมทั้งการบริการประชาชนและเกษตรกร
1.2 การใช้ไบโอดีเซลในการขนส่ง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ทำการศึกษาข้อเท็จจริงการใช้ไบโอดีเซลในรถบรรทุกของภาคเอกชนพบว่า มีการเริ่มใช้ B10 B20 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2548 และใช้ B50, B70 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2548 ซึ่งยังไม่พบว่ามีปัญหากับเครื่องยนต์ การเผาไหม้สะอาด และการสิ้นเปลืองน้ำมันไม่แตกต่างจากน้ำมันดีเซล สำหรับแนวทางการบริหารจัดการวัตถุดิบให้เหมาะสมกับความต้องการใช้เพื่อบริโภคและเป็นพลังงานทดแทน จะอยู่ในแผนปฏิบัติการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548
2. เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 6 เรื่อง แยกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
2.1 การพัฒนากลุ่มจังหวัดให้เป็นศูนย์ธุรกิจข้าวชั้นนำของประเทศ (Rice Hub City of Thailand) จำนวน 1 เรื่อง
(1) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแผนการเร่งรัดให้มีงานวิจัยการแปรรูปข้าวให้มีความหลากหลายมากขึ้น และนำผลงานไปขยายผลในเชิงพาณิชย์ สำหรับการวิจัยด้านโภชนาการข้าว อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาปริมาณธาตุเหล็กในข้าวพันธุ์ต่าง ๆ และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีธาตุเหล็กสูง
2.2 การพัฒนาระบบขนส่ง จำนวน 2 เรื่อง
(1) การส่งเสริมการขนส่งทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา กรมขนส่งทางน้ำและ พาณิชยนาวี ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยขอนแก่นดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสำรวจออกแบบเพื่อก่อสร้างสถานีขนส่งทางน้ำ เพื่อการประหยัดพลังงาน ขณะนี้มีความก้าวหน้า ร้อยละ 50
(2) การก่อสร้าง Truck Terminal กรมการขนส่งทางบก อยู่ระหว่างการเสนอของบประมาณปี 2550 จำนวน 21.32 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าในเมืองหลักและจังหวัดชายแดน ซึ่งรวมทั้งจังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงทางรถไฟจากสถานีปากน้ำโพถึงท่าข้าวกำนันทรง เพื่อสนับสนุนการขนส่งข้าวและสินค้าเกษตร และกระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างการก่อสร้างเพื่อขยายทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ด้านใต้เป็น 4 ช่องจราจร
2.3 การส่งเสริมการผลิตพลังงานชีวมวล (Biomass Energy) และพืชพลังงาน (Bio-energy) จำนวน 2 เรื่อง
(1) การนำสินค้าและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เป็นพลังงานทดแทนกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ประเมินศักยภาพชีวมวลของกลุ่มจังหวัดดังกล่าว พบว่ามีพืช 4 ชนิด ได้แก่ ข้าว อ้อย ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ที่มีศักยภาพในการนำชีวมวลมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้รวมทั้งสิ้น 733 เมกะวัตต์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำแกลบและกากอ้อยมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า 6 แห่ง คิดเป็นกำลังผลิตรวม 165.88 เมกะวัตต์ ส่วนชีวมวลอื่น ๆ เช่น ฟางข้าว, ใบอ้อย,ซังข้าวโพด และเหง้ามันสำปะหลัง จะมีปัญหาในด้านการจัดการเก็บรวบรวมและมีต้นทุนในการเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงค่อนข้างสูง จะต้องใช้งบประมาณในการศึกษารายละเอียดเป็นเฉพาะกรณี
(2) การเปรียบเทียบต้นทุนการใช้ปาล์มเป็นพลังงานกับการใช้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการใช้น้ำมันปาล์มเป็นพลังงานกับการบริโภค และต้นทุนการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบในกรณีที่น้ำมันปาล์มในประเทศไม่เพียงพอ ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขรายงานขั้นสุดท้าย
2.4 การเป็นชุมทางสู่เมืองล้านนาและมาตรการสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก จำนวน 1 เรื่อง
(1) การพัฒนาการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาบึงบอระเพ็ดเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนร่วมกับองค์การการท่องเที่ยวโลก ซึ่งได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาข้อมูลบึงบอระเพ็ด ในเดือนมีนาคม 2549 และขณะนี้ได้ส่งรายงานการศึกษาฯ มาให้กระทรวงท่องเที่ยวฯ แล้ว นอกจากนี้ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยรังสิต ศึกษาออกแบบการพัฒนาบึงบอระเพ็ด ในรูปแบบ Animation Virtual Reality กำหนดแล้วเสร็จภายในมิถุนายน 2549
ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายเร่งดำเนินการแล้วรายงานสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประจำทุก 6 เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 สิงหาคม 2549--จบ--