คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอเรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ไปพลางก่อน ดังนี้
ตามที่พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้ง ทั่วไป พ.ศ.2549 ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่อันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม 2549 มีผลทำให้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ประกาศใช้บังคับไม่ทันในวันที่ 1 ตุลาคม 2549 อันเป็นวันเริ่มต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 179 บัญญัติให้ใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณก่อนนั้นไปพลางก่อน และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 16 บัญญัติให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อนได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนดโดยอนุมัตินายกรัฐมนตรี นั้น
สำนักงบประมาณจึงได้เสนอหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ไปพลางก่อน โดยมีหลักการและสาระสำคัญ ดังนี้
1. ข้อบัญญัติแห่งกฎหมายที่อนุญาตให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อนนั้น เป็นมาตราการชั่วคราวให้รัฐบาลสามารถจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพื่อให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนและประเทศชาติได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ไปพลางก่อนจึงต้องเคร่งครัดในหลักการ แต่ควรผ่อนคลายและยืดหยุ่นได้ในกรณีที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
2. การใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ไปพลางก่อนนั้น จำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายที่จะนำมาใช้จ่ายต้องเป็นส่วนหนึ่งของแผนงบประมาณและรายการตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 และค่าใช้จ่ายในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนและประเทศชาตินั้นต้องเป็นไปตามจำเป็นและเหมาะสม รวมทั้งสอดคล้องกับระยะเวลา ตั้งแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จนถึงวันประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
3. เนื่องจากระยะเวลาและขั้นตอนในการจัดทำและอนุมัติพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ตามปฏิทินงบประมาณซึ่งคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 คาดว่าจะให้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยประมาณการว่าจะประกาศใช้บังคับได้ในเดือนมีนาคม 2550 นั้น ค่อนข้างเร่งรัดโดยเฉพาะในขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติของรัฐสภามีเวลาประมาณ 70 วัน (ตากฎหมายกำหนดให้เสร็จภายใน 125 วัน) ซึ่งการพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติ (สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา) มีความเป็นอิสระและสามารถใช้เวลาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายอย่างเต็มที่ และในทางปฏิบัติอาจจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาเกินกว่าที่กำหนดไว้ในปฏิทินงบประมาณ รวมทั้งปฏิทินงบประมาณดังกล่าว ยังมิได้รวมขั้นตอนการโปรดเกล้าฯ และอาจมีเหตุการณ์กรณีใดกรณีหนึ่งซึ่งทำให้การจัดทำและอนุมัติงบประมาณไม่แล้วเสร็จทันตามระยะเวลาที่กำหนด
ดังนั้น เพื่อความยืดหยุ่นและคล่องตัวพอสมควร จึงเห็นควรกำหนดสัดส่วนวงเงินเผื่อไว้ (โดยกรอบของกฎหมายสามารถกำหนดสัดส่วนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้ตามความจำเป็น) เพื่อใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ไปพลางก่อนได้อย่างไม่ขาดตอน และไม่กระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม ประชาชนและประเทศชาติ โดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายที่จะนำมาใช้จ่ายในสัดส่วนของวงเงินงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ดังนี้
(1) งบประมาณรายจ่ายสำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา จัดสรรงบประมาณได้ไม่เกินสามในสี่ของงบประมาณรายจ่ายในแต่ละแผนงบประมาณ
(2) งบประมาณรายจ่ายงบกลาง และงบประมาณรายจ่ายเพื่อเป็นกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน จัดสรรงบประมาณได้ไม่เกินสามในสี่ของงบประมาณรายจ่ายในแต่ละรายการ
(3) ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือที่มีการรวม การโอนหรือการยุบหน่วยงานและมีบทบัญญัติของกฎหมายให้โอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เช่น การจัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นใหม่ เป็นต้น จัดสรรงบประมาณได้ไม่เกินจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายในแต่ละแผนงบประมาณที่ได้รับโอนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
4. เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารราชการแผ่นดินมิให้เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจ สังคม ประเทศชาติ และอำนวยความสะดวกในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยามีความจำเป็นต้องจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ตามข้อ 3 เห็นควรกำหนดให้มีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็นเฉพาะในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) มีข้อผูกพันตามสัญญา
(2) ต้องดำเนินการตามข้อตกลงที่รัฐบาลทำไว้กับต่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ
(3) มีความจำเป็นและเร่งด่วน ซึ่งหากไม่ดำเนินการจะเสียหายต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
5. เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 มีผลใช้บังคับแล้ว เห็นควรกำหนดเงื่อนไขในการหักงบประมาณรายจ่ายที่ได้ใช้จ่ายไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ไปพลางก่อน โดยให้สามารถหักงบประมาณรายจ่ายในแต่ละรายการและแผนงบประมาณ ทั้งที่เป็นรายการและแผนงบประมาณเดิมหรือรายการและแผนงบประมาณที่มีการปรับปรุงขึ้นใหม่ตามนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ที่แถลงต่อรัฐสภา หรือตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินและแผนปฏิบัติราชการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550
6. เพื่อให้การบริหารงบประมาณไปพลางก่อนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เห็นควรมอบหมายให้สำนักงบประมาณกำหนดวิธีปฏิบัติในการบริหารงบประมาณและการหักงบประมาณรายจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขฯ ได้ตามความจำเป็น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--
ตามที่พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้ง ทั่วไป พ.ศ.2549 ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่อันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม 2549 มีผลทำให้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ประกาศใช้บังคับไม่ทันในวันที่ 1 ตุลาคม 2549 อันเป็นวันเริ่มต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 179 บัญญัติให้ใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณก่อนนั้นไปพลางก่อน และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 16 บัญญัติให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อนได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนดโดยอนุมัตินายกรัฐมนตรี นั้น
สำนักงบประมาณจึงได้เสนอหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ไปพลางก่อน โดยมีหลักการและสาระสำคัญ ดังนี้
1. ข้อบัญญัติแห่งกฎหมายที่อนุญาตให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อนนั้น เป็นมาตราการชั่วคราวให้รัฐบาลสามารถจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพื่อให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนและประเทศชาติได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ไปพลางก่อนจึงต้องเคร่งครัดในหลักการ แต่ควรผ่อนคลายและยืดหยุ่นได้ในกรณีที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
2. การใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ไปพลางก่อนนั้น จำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายที่จะนำมาใช้จ่ายต้องเป็นส่วนหนึ่งของแผนงบประมาณและรายการตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 และค่าใช้จ่ายในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนและประเทศชาตินั้นต้องเป็นไปตามจำเป็นและเหมาะสม รวมทั้งสอดคล้องกับระยะเวลา ตั้งแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จนถึงวันประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
3. เนื่องจากระยะเวลาและขั้นตอนในการจัดทำและอนุมัติพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ตามปฏิทินงบประมาณซึ่งคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 คาดว่าจะให้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยประมาณการว่าจะประกาศใช้บังคับได้ในเดือนมีนาคม 2550 นั้น ค่อนข้างเร่งรัดโดยเฉพาะในขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติของรัฐสภามีเวลาประมาณ 70 วัน (ตากฎหมายกำหนดให้เสร็จภายใน 125 วัน) ซึ่งการพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติ (สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา) มีความเป็นอิสระและสามารถใช้เวลาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายอย่างเต็มที่ และในทางปฏิบัติอาจจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาเกินกว่าที่กำหนดไว้ในปฏิทินงบประมาณ รวมทั้งปฏิทินงบประมาณดังกล่าว ยังมิได้รวมขั้นตอนการโปรดเกล้าฯ และอาจมีเหตุการณ์กรณีใดกรณีหนึ่งซึ่งทำให้การจัดทำและอนุมัติงบประมาณไม่แล้วเสร็จทันตามระยะเวลาที่กำหนด
ดังนั้น เพื่อความยืดหยุ่นและคล่องตัวพอสมควร จึงเห็นควรกำหนดสัดส่วนวงเงินเผื่อไว้ (โดยกรอบของกฎหมายสามารถกำหนดสัดส่วนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้ตามความจำเป็น) เพื่อใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ไปพลางก่อนได้อย่างไม่ขาดตอน และไม่กระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม ประชาชนและประเทศชาติ โดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายที่จะนำมาใช้จ่ายในสัดส่วนของวงเงินงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ดังนี้
(1) งบประมาณรายจ่ายสำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา จัดสรรงบประมาณได้ไม่เกินสามในสี่ของงบประมาณรายจ่ายในแต่ละแผนงบประมาณ
(2) งบประมาณรายจ่ายงบกลาง และงบประมาณรายจ่ายเพื่อเป็นกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน จัดสรรงบประมาณได้ไม่เกินสามในสี่ของงบประมาณรายจ่ายในแต่ละรายการ
(3) ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือที่มีการรวม การโอนหรือการยุบหน่วยงานและมีบทบัญญัติของกฎหมายให้โอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เช่น การจัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นใหม่ เป็นต้น จัดสรรงบประมาณได้ไม่เกินจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายในแต่ละแผนงบประมาณที่ได้รับโอนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
4. เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารราชการแผ่นดินมิให้เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจ สังคม ประเทศชาติ และอำนวยความสะดวกในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยามีความจำเป็นต้องจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ตามข้อ 3 เห็นควรกำหนดให้มีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็นเฉพาะในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) มีข้อผูกพันตามสัญญา
(2) ต้องดำเนินการตามข้อตกลงที่รัฐบาลทำไว้กับต่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ
(3) มีความจำเป็นและเร่งด่วน ซึ่งหากไม่ดำเนินการจะเสียหายต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
5. เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 มีผลใช้บังคับแล้ว เห็นควรกำหนดเงื่อนไขในการหักงบประมาณรายจ่ายที่ได้ใช้จ่ายไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ไปพลางก่อน โดยให้สามารถหักงบประมาณรายจ่ายในแต่ละรายการและแผนงบประมาณ ทั้งที่เป็นรายการและแผนงบประมาณเดิมหรือรายการและแผนงบประมาณที่มีการปรับปรุงขึ้นใหม่ตามนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ที่แถลงต่อรัฐสภา หรือตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินและแผนปฏิบัติราชการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550
6. เพื่อให้การบริหารงบประมาณไปพลางก่อนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เห็นควรมอบหมายให้สำนักงบประมาณกำหนดวิธีปฏิบัติในการบริหารงบประมาณและการหักงบประมาณรายจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขฯ ได้ตามความจำเป็น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--