แท็ก
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
สาธารณสุข
ข้าราชการ
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการพัฒนาและบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เสนอ แล้วมีมติอนุมัติตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 (ฝ่ายสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาศาสตร์) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุชัย เจริญรัตนกุล) เป็นประธานดังนี้
1. รับทราบความคืบหน้าการพัฒนาและบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
2. ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 (ฝ่ายสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาศาสตร์) และความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการในระยะเปลี่ยนผ่านและแผนแม่บทการพัฒนาฐานข้อมูลผู้มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและบุคคลในครอบครัว และส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง แล้วเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 (ฝ่ายสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาศาสตร์) พิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
สปสช. รายงานเกี่ยวกับการพัฒนาและบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ดังนี้
1. การดำเนินการที่ผ่านมา
1.1 การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยคณะทำงานร่วมของ สปสช. และกรมบัญชีกลาง
1.2 การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาฐานข้อมูลผู้มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและบุคคลในครอบครัว
1.3 จัดประชุมชี้แจงยุทธศาสตร์ฯ แก่ผู้บริหารสถานพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ
1.4 การเตรียมความพร้อมของระบบ ประกอบด้วย
(1) ขยายจำนวนโรงพยาบาลที่เบิกแทนผู้มีสิทธิผ่านระบบเบิกจ่ายอิเล็กทรอนิกส์
(2) ปรับปรุงและพัฒนาฐานข้อมูลผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว
2. ผลการดำเนินงานในระยะแรก เริ่มดำเนินโครงการระยะแรกตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2548 โดยผู้รับเบี้ยหวัด/บำนาญที่เจ็บป่วยทุกโรคสามารถใช้บริการผู้ป่วยนอกโดยไม่ต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อน และใช้บริการผู้ป่วยในโดยไม่ต้องใช้หนังสือส่งตัวจากต้นสังกัดผู้มีสิทธิสามารถใช้บริการได้ที่โรงพยาบาลจังหวัดทั่วประเทศ (ขยายครอบคลุมไปยังโรงพยาบาลของรัฐทุกระดับทั่วประเทศในเดือนเมษายน 2549) ทั้งนี้ มีผู้รับเบี้ยหวัด / บำนาญ ลงทะเบียนแสดงความจำนงเพื่อให้โรงพยาบาลเป็นผู้เบิกแทนร้อยละ 40 ของผู้มีสิทธิทั้งหมด (322,786 คน)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--
1. รับทราบความคืบหน้าการพัฒนาและบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
2. ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 (ฝ่ายสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาศาสตร์) และความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการในระยะเปลี่ยนผ่านและแผนแม่บทการพัฒนาฐานข้อมูลผู้มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและบุคคลในครอบครัว และส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง แล้วเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 (ฝ่ายสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาศาสตร์) พิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
สปสช. รายงานเกี่ยวกับการพัฒนาและบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ดังนี้
1. การดำเนินการที่ผ่านมา
1.1 การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยคณะทำงานร่วมของ สปสช. และกรมบัญชีกลาง
1.2 การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาฐานข้อมูลผู้มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและบุคคลในครอบครัว
1.3 จัดประชุมชี้แจงยุทธศาสตร์ฯ แก่ผู้บริหารสถานพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ
1.4 การเตรียมความพร้อมของระบบ ประกอบด้วย
(1) ขยายจำนวนโรงพยาบาลที่เบิกแทนผู้มีสิทธิผ่านระบบเบิกจ่ายอิเล็กทรอนิกส์
(2) ปรับปรุงและพัฒนาฐานข้อมูลผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว
2. ผลการดำเนินงานในระยะแรก เริ่มดำเนินโครงการระยะแรกตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2548 โดยผู้รับเบี้ยหวัด/บำนาญที่เจ็บป่วยทุกโรคสามารถใช้บริการผู้ป่วยนอกโดยไม่ต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อน และใช้บริการผู้ป่วยในโดยไม่ต้องใช้หนังสือส่งตัวจากต้นสังกัดผู้มีสิทธิสามารถใช้บริการได้ที่โรงพยาบาลจังหวัดทั่วประเทศ (ขยายครอบคลุมไปยังโรงพยาบาลของรัฐทุกระดับทั่วประเทศในเดือนเมษายน 2549) ทั้งนี้ มีผู้รับเบี้ยหวัด / บำนาญ ลงทะเบียนแสดงความจำนงเพื่อให้โรงพยาบาลเป็นผู้เบิกแทนร้อยละ 40 ของผู้มีสิทธิทั้งหมด (322,786 คน)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--