คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการเกี่ยวกับรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์และปัญหาพื้นที่ชายแดนไทย — กัมพูชา ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป ดังนี้
กระทรวงการต่างประเทศ ได้สรุปสถานะความสัมพันธ์ไทย — กัมพูชา และผลการดำเนินงานใน ส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. ภาพรวมความสัมพันธ์ไทย — กัมพูชา ปัจจุบันผู้นำระดับสูงของไทยกับกัมพูชามีความสัมพันธ์อันดีต่อกันและในแต่ละปีไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ แก่กัมพูชาในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สาธารณสุข และสังคม อย่างไรก็ดี ในพื้นที่ชายแดนยังคงปรากฏปัญหาต่าง ๆ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความใกล้ชิดกันทางภูมิศาสตร์และความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ใช้ความพยายามร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาผ่านกลไกทั้งในระดับรัฐบาลและในระดับท้องถิ่น
2. กัมพูชาได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย — กัมพูชา ครั้งที่ 5 ที่กรุงพนมเปญ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ปรึกษาหารือกันในเรื่องต่าง ๆ กว่า 30 หัวข้อ ครอบคลุมกว่า 70 ประเด็น ปรากฏว่าความร่วมมือส่วนใหญ่มีความคืบหน้าและหลายเรื่องเป็นความร่วมมือใหม่ ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสัมพันธ์และส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนไทย — กัมพูชา ดังนี้
2.1 ด้านการศึกษา ไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาและฝึกอบรมแก่กัมพูชาเป็นจำนวนมาก ซึ่งนอกจากเป็นการให้ความช่วยเหลือโดยตรงจากส่วนราชการ สถาบันการศึกษาและภาคเอกชนต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและพื้นที่ชายแดนแล้ว สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศยังได้ให้ทุนการศึกษาและฝึกอบรมเฉลี่ยปีละ 300 — 400 ทุน รวมทั้งการสนับสนุนโครงการโรงเรียนพระราชทานกัมปงเฌอเตียล ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ไทย — กัมพูชา การจัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานไทย — กัมพูชา เป็นต้น
2.2 ด้านสาธารณสุข ไทยได้ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาโรงพยาบาลพระบาทนโรดม สีหนุ กรุงพนมเปญ และโรงพยาบาลสำโรง จังหวัดอุดรมีชัย การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อร้ายแรงต่าง ๆ ทั้งในคนและสัตว์ในพื้นที่ชายแดน นอกจากนี้ หน่วยงานในระดับท้องถิ่นยังได้ให้ความอนุเคราะห์ให้ชาวกัมพูชาในพื้นที่ชายแดน ได้เข้ามารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลและสถานีอนามัยในประเทศไทยด้วย
2.3 ด้านความมั่นคง ไทยกับกัมพูชาได้ให้การรับรองเอกสาร Concept Paper on Thailand — Cambodia Border Points of Entry : Ways towards New Order, Effective Border Management and Greater Bilateral Cooperation เพื่อใช้เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างกันในการบริหารและจัดการพื้นที่ชายแดนให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีกลไกทำงานในระดับท้องถิ่นทั้งในกรอบทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง จึงทำให้พื้นที่ชายแดนมีความมั่นคงในระดับหนึ่งประกอบกับภาคเอกชนของไทยกับกัมพูชามีความร่วมมือระหว่างกันอย่างใกล้ชิด ดังนั้น การค้าชายแดนไทย — กัมพูชาจึงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่า หลังการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมทางบกระหว่างไทย — กัมพูชาแล้วเสร็จ การค้าชายแดนระหว่างสองประเทศจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก
2.4 ด้านแรงงาน ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงานเมื่อปี 2546 และร่วมมือกันแก้ไขปัญหาแรงงานชาวกัมพูชาลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย อีกทั้งมีมาตรการหลายด้านที่ดำเนินการโดยกระทรวงแรงงานเพื่อจัดระเบียบในเรื่องนี้
2.5 การเปิดจุดผ่านแดนและปัญหาบ่อนการพนัน ปัจจุบันไทยกับกัมพูชามีจุดผ่านแดนถาวรระหว่างกัน 6 จุด และจุดผ่อนปรนอีก 9 จุด เพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจรข้ามแดนระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ บนพื้นฐานของความตกลงว่าด้วยการสัญจรข้ามแดนไทย — กัมพูชา พ.ศ. 2540 โดยใช้เอกสารผ่านแดนที่ถูกต้องซึ่งได้แก่หนังสือเดินทางและบัตรผ่านแดน อย่างไรก็ดี ปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับบ่อนการพนันในกัมพูชาเป็นปัญหาทางสังคมและเกี่ยวเนื่องกับอาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อป้องปรามมิให้คนไทยออกไปเล่นการพนัน เช่น มาตรการควบคุมการสัญจรข้ามแดนที่เคร่งครัด เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--
กระทรวงการต่างประเทศ ได้สรุปสถานะความสัมพันธ์ไทย — กัมพูชา และผลการดำเนินงานใน ส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. ภาพรวมความสัมพันธ์ไทย — กัมพูชา ปัจจุบันผู้นำระดับสูงของไทยกับกัมพูชามีความสัมพันธ์อันดีต่อกันและในแต่ละปีไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ แก่กัมพูชาในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สาธารณสุข และสังคม อย่างไรก็ดี ในพื้นที่ชายแดนยังคงปรากฏปัญหาต่าง ๆ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความใกล้ชิดกันทางภูมิศาสตร์และความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ใช้ความพยายามร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาผ่านกลไกทั้งในระดับรัฐบาลและในระดับท้องถิ่น
2. กัมพูชาได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย — กัมพูชา ครั้งที่ 5 ที่กรุงพนมเปญ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ปรึกษาหารือกันในเรื่องต่าง ๆ กว่า 30 หัวข้อ ครอบคลุมกว่า 70 ประเด็น ปรากฏว่าความร่วมมือส่วนใหญ่มีความคืบหน้าและหลายเรื่องเป็นความร่วมมือใหม่ ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสัมพันธ์และส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนไทย — กัมพูชา ดังนี้
2.1 ด้านการศึกษา ไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาและฝึกอบรมแก่กัมพูชาเป็นจำนวนมาก ซึ่งนอกจากเป็นการให้ความช่วยเหลือโดยตรงจากส่วนราชการ สถาบันการศึกษาและภาคเอกชนต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและพื้นที่ชายแดนแล้ว สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศยังได้ให้ทุนการศึกษาและฝึกอบรมเฉลี่ยปีละ 300 — 400 ทุน รวมทั้งการสนับสนุนโครงการโรงเรียนพระราชทานกัมปงเฌอเตียล ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ไทย — กัมพูชา การจัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานไทย — กัมพูชา เป็นต้น
2.2 ด้านสาธารณสุข ไทยได้ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาโรงพยาบาลพระบาทนโรดม สีหนุ กรุงพนมเปญ และโรงพยาบาลสำโรง จังหวัดอุดรมีชัย การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อร้ายแรงต่าง ๆ ทั้งในคนและสัตว์ในพื้นที่ชายแดน นอกจากนี้ หน่วยงานในระดับท้องถิ่นยังได้ให้ความอนุเคราะห์ให้ชาวกัมพูชาในพื้นที่ชายแดน ได้เข้ามารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลและสถานีอนามัยในประเทศไทยด้วย
2.3 ด้านความมั่นคง ไทยกับกัมพูชาได้ให้การรับรองเอกสาร Concept Paper on Thailand — Cambodia Border Points of Entry : Ways towards New Order, Effective Border Management and Greater Bilateral Cooperation เพื่อใช้เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างกันในการบริหารและจัดการพื้นที่ชายแดนให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีกลไกทำงานในระดับท้องถิ่นทั้งในกรอบทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง จึงทำให้พื้นที่ชายแดนมีความมั่นคงในระดับหนึ่งประกอบกับภาคเอกชนของไทยกับกัมพูชามีความร่วมมือระหว่างกันอย่างใกล้ชิด ดังนั้น การค้าชายแดนไทย — กัมพูชาจึงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่า หลังการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมทางบกระหว่างไทย — กัมพูชาแล้วเสร็จ การค้าชายแดนระหว่างสองประเทศจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก
2.4 ด้านแรงงาน ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงานเมื่อปี 2546 และร่วมมือกันแก้ไขปัญหาแรงงานชาวกัมพูชาลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย อีกทั้งมีมาตรการหลายด้านที่ดำเนินการโดยกระทรวงแรงงานเพื่อจัดระเบียบในเรื่องนี้
2.5 การเปิดจุดผ่านแดนและปัญหาบ่อนการพนัน ปัจจุบันไทยกับกัมพูชามีจุดผ่านแดนถาวรระหว่างกัน 6 จุด และจุดผ่อนปรนอีก 9 จุด เพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจรข้ามแดนระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ บนพื้นฐานของความตกลงว่าด้วยการสัญจรข้ามแดนไทย — กัมพูชา พ.ศ. 2540 โดยใช้เอกสารผ่านแดนที่ถูกต้องซึ่งได้แก่หนังสือเดินทางและบัตรผ่านแดน อย่างไรก็ดี ปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับบ่อนการพนันในกัมพูชาเป็นปัญหาทางสังคมและเกี่ยวเนื่องกับอาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อป้องปรามมิให้คนไทยออกไปเล่นการพนัน เช่น มาตรการควบคุมการสัญจรข้ามแดนที่เคร่งครัด เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--