คณะรัฐมนตรีพิจารณายุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน และจังหวัดเชียงใหม่ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนและจังหวัดเชียงใหม่ และแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ตามที่เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด มุ่งสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ พัฒนาการค้าการลงทุน เชื่อมโยงกลุ่มประเทศ GMS และ BIMSTEC เพิ่มมูลค่าให้กับฐานเศรษฐกิจเดิม และพัฒนาคนให้มีความรู้ สามารถปรับตัว มี คุณภาพชีวิตที่ดี และสืบทอดวัฒนธรรมล้านนา รวมทั้งดำรงความเป็นฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โดยใน ช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2547-49 กลุ่มจังหวัดได้ร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
(1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 : สร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ที่มีศักยภาพและโอกาสการแข่งขันในระดับนานาชาติ ได้มีการขับเคลื่อนในเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ การพัฒนาธุรกิจบริการทางการแพทย์ สปาเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์สมุนไพร
(2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาให้มีประตูการค้า การลงทุน และศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงกลุ่มประเทศ GMS และ BIMSTEC รวมทั้งนานาประเทศ ได้มีการขับเคลื่อนในเรื่องสำคัญ ๆ ได้แก่ การเตรียมการก่อสร้างท่าเรือเชียงแสน แห่งที่ 2 ปรับปรุงและขยายบริการท่าอากาศยานเชียงใหม่ การศึกษาและออกแบบระบบขนส่งมวลชนเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งการจัดทำผังเมืองรวมเมืองศูนย์กลางความเจริญภาคเหนือตอนบน
(3) ยุทธศาสตร์ที่ 3 : สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเกษตร อุตสาหกรรมและการ ท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับฐานเศรษฐกิจเดิมได้อย่างยั่งยืน มีการดำเนินงานด้าน (1) การท่องเที่ยว มีการ ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเดิม พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างขึ้นใหม่ ยกระดับสินค้าของที่ระลึก และบริการด้านที่พัก รวมทั้งพัฒนาตลาดต่างประเทศ (2) การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตผลเกษตร โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ลำไย และการส่งเสริม การผลิตลำไยนอกฤดู (3) อุตสาหกรรมเซรามิกส์มีการพัฒนาด้านวัตถุดิบ การออกแบบและการรวมกลุ่มธุรกิจ (4) การเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการหัตถกรรมอุตสาหกรรม และ OTOP
(4) ยุทธศาสตร์ที่ 4 : พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต ดำรงฐานวัฒนธรรมและทุนทางสังคมของล้านนา มีการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมล้านนา และมีการพัฒนาบุคลากรในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของกลุ่มจังหวัด
(5) ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ดำรงความเป็นฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และจัดการ คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้มีการดำเนินงานเพื่อฟื้นฟูความชุ่มชื้นแก่ป่าโดยการพัฒนาฝายแม้ว (Check Dam)
แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดระยะต่อไป การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดควรดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลตามเป้าประสงค์ และวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดไว้ โดยมีแนวทางการขับเคลื่อนในระยะต่อไป ดังต่อไปนี้
(1) ให้ความสำคัฐกับการต่อยอดการพัฒนาจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ ให้เกิด ผลการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นการพัฒนาธุรกิจการประชุมและการแสดงสินค้า (MICE) การขยายท่าอากาศยาน และคลังสินค้ารองรับการขนส่งทางอากาศ การพัฒนาเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ วัฒนธรรม โบราณสถาน และแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างขึ้นใหม่
(2) เร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมที่เชียงของ การพัฒนาศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จพร้อมคลังสินค้าที่ด่านสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 และการก่อสร้างคลังสินค้าที่อำเภอแม่สายและท่าเรือแห่งที่ 2
(3) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าของภาคการผลิตและบริการ โดยใช้ฐานความรู้วิชาการผสมผสานกับคุณค่าของธรรมชาติ สังคม และศิลปวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของล้านนา รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญกับการการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรม การพัฒนาบุคลากรในสาขาที่ตอบสนองต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจ SME ตลอดจนการสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มธุรกิจ
(4) ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่สำคัญและมีความจำเป็นเร่งด่วน ได้แก่ การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และน้ำ การพัฒนาบริการพื้นฐานของเมืองและสิ่งแวดล้อมเมืองและการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคม
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ เน้นการพัฒนาเชิงรุก เพื่อสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่บนพื้นฐานของวัฒนธรรมและเศรษฐกิจฐานความรู้ และการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) และเอเชียใต้ (BIMSTEC) รวมถึงการเพิ่มมูลค่าฐานเศรษฐกิจเดิม ทั้งด้านสินค้าหัตถกรรมและการท่องเที่ยว พร้อมทั้งดำเนินการแก้ไขจุดอ่อนทั้งด้านการฟื้นฟูวัฒนธรรมล้านนา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ การแก้ปัญหาความยากจน และการสร้างความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมียุทธศาสตร์ดังนี้
(1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ยุทธศาสตร์เชิงรุก เน้นการสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ และการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและเอเชียใต้ ได้มีการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ให้มีขีดความสามารถในการรองรับความเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคและเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การพัฒนาระบบ Logistic และ การพัฒนาฐานเศรษฐกิจใหม่ เพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ โดยดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และสมุนไพรเพื่อสุขภาพและธุรกิจสปา
(2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ยุทธศาสตร์ปรับตัว โดยเพิ่มมูลค่าฐานเศรษฐกิจเดิมทั้งด้านหัตถอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการเกษตร มีการดำเนินงานเพื่อยกระดับสินค้าหัตถกรรม โดยมีการดำเนินโครงการ Lanna Style เพื่อพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมให้มีเอกลักษณ์ การพัฒนาการท่องเที่ยว โดยดำเนินการบูรณะแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ การพัฒนาการเกษตร ส่งเสริมระบบการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย
(3) ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ยุทธศาสตร์ยั่งยืน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม และการแก้ไขปัญหาความยากจน ดำเนินโครงการ Mobile ICT ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาด้านวัฒนธรรม ดำเนินการจัดตั้งสถาบันล้านนาศึกษา เพื่อรวมรวมและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ดำเนินการสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน ฟื้นฟูป่าต้นน้ำและแหล่งน้ำ การแก้ปัญหาความยากจน โดยใช้แนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยดำเนินโครงการ SML และคาราวานแก้จน
แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดระยะต่อไป ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดจะต้องให้ความสำคัญกับการใช้ศักยภาพที่มีอยู่เดิมของจังหวัดควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดของพื้นที่ โดยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ 3 ฝ่าย ทั้งภาคราชการ ภาคสถาบันการศึกษา และภาคธุรกิจเอกชน ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์และเป้าประสงค์ของการพัฒนา ซึ่งมีแนวทางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้
(1) การบริหารจัดการโครงการและกิจกรรมที่มีอยู่เดิม เพื่อให้เกิดผลการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ โครงการเชียงใหม่ไนซาฟารี ศูนย์ SMEs ศูนย์ประชุมฯ และตลาดกลางเกษตร
(2) การต่อยอดและขยายผลการพัฒนาจากศักยภาพที่มีอยู่เดิม ให้สามารถเชื่อมโยงการพัฒนาภายในกลุ่มจังหวัด ได้แก่ การพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยว การพัฒนาตลาด MICE การอนุรักษ์โบราณสถานสู่การเป็นมรดกโลก และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางธรรมชาติ
(3) การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการลงทุนในกิจกรรมใหม่ ๆ อาทิ การพัฒนา Cluster อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ การพัฒนาศูนย์การบริการสุขภาพ การพัฒนาทางด้านการและบริการเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศ GMS
(4) การแก้ไขปัญหาพื้นฐาน เพื่อให้การพัฒนามีความยั่งยืน และลดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ ปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง ขยะ และน้ำเสีย รวมถึงการพัฒนาบริการพื้นฐานของเมืองเพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง โดยเฉพาะระบบขนส่งมวลชนและโครงข่ายการคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างภายในและภายนอกเขตเมือง
2. เห็นชอบอนุมัติแผนงานโครงการกลุ่มจังหวัดที่มีความสำคัญเร่งด่วนและพร้อมดำเนินการในปีงบประมาณ 2549 รวม 1 โครงการ วงเงิน 27.6 ล้านบาท และผูกพันงบประมาณปี 2550-51 วงเงิน 32.4 ล้านบาท ได้แก่ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองโบราณสถานเวียงลอ จังหวัดพะเยา และแผนงานโครงการของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความสำคัญเร่งด่วนและพร้อมดำเนินการในปีงบประมาณ 2549 รวม 3 โครงการ วงเงินรวม 165.97 ล้านบาท ได้แก่ โครงการด้านสังคม 2 โครงการ โครงการด้านสิ่งแวดล้อม 1 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและ มีความพร้อม โดยให้พิจารณาจัดสรรงบกลางปี 2549 จำนวน 4 โครงการ งบประมาณรวม 193.57 ล้านบาท และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดและทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการสนับสนุนงบกลางปี 2549 ต่อไป
3. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำโครงการที่มีความสำคัญและมีความพร้อมของกลุ่มจังหวัด รวม 13 โครงการ วงเงินรวม 879.53 ล้านบาท และผูกพันงบประมาณปี 2551 เป็นต้นไป วงเงิน 1,164.24 ล้านบาท ประกอบด้วย แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว 3 โครงการ แผนงานวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร รวม 6 โครงการ แผนงานพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 4 โครงการ และแผนงานโครงการของจังหวัดเชียงใหม่ รวม 38 โครงการ วงเงินรวม 931.86 ล้านบาท ประกอบด้วย แผนงานด้านการท่องเที่ยว 7 โครงการ แผนงานด้านการพัฒนาเกษตร 1 โครงการ แผนงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการ แผนงานด้านสังคม 6 โครงการ แผนงานด้านแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 12 โครงการ แผนงานด้านสิ่งแวดล้อม 7 โครงการ ไปดำเนินการจัดทำรายละเอียดเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณปี 2550 ต่อไป
4. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำโครงการที่มีความสำคัญแต่ยังต้องจัดทำรายละเอียดของโครงการกลุ่มจังหวัด รวม 23 โครงการ ประกอบด้วย แผนงานพัฒนาบริการด้านการค้า การลงทุน 4 โครงการ แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ถนน) เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวและการค้าชายแดน 7 โครงการ แผนงานพัฒนาการผลิตภาคเกษตร อุตสาหกรรม รวม 4 โครงการ แผนงานพัฒนาการท่องเที่ยวเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติประวัติศาสตร์ 8 โครงการ และแผนงานโครงการของจังหวัดเชียงใหม่ รวม 42 โครงการ ประกอบด้วย แผนงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน 18 โครงการ แผนงานด้านการท่องเที่ยว 4 โครงการ แผนงานด้านแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 10 โครงการ แผนงานด้านสังคม 2 โครงการ แผนงานสิ่งแวดล้อม 8 โครงการ ไปดำเนินการจัดทำรายละเอียดให้สมบูรณ์เพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--
1. เห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนและจังหวัดเชียงใหม่ และแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ตามที่เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด มุ่งสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ พัฒนาการค้าการลงทุน เชื่อมโยงกลุ่มประเทศ GMS และ BIMSTEC เพิ่มมูลค่าให้กับฐานเศรษฐกิจเดิม และพัฒนาคนให้มีความรู้ สามารถปรับตัว มี คุณภาพชีวิตที่ดี และสืบทอดวัฒนธรรมล้านนา รวมทั้งดำรงความเป็นฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โดยใน ช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2547-49 กลุ่มจังหวัดได้ร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
(1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 : สร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ที่มีศักยภาพและโอกาสการแข่งขันในระดับนานาชาติ ได้มีการขับเคลื่อนในเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ การพัฒนาธุรกิจบริการทางการแพทย์ สปาเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์สมุนไพร
(2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาให้มีประตูการค้า การลงทุน และศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงกลุ่มประเทศ GMS และ BIMSTEC รวมทั้งนานาประเทศ ได้มีการขับเคลื่อนในเรื่องสำคัญ ๆ ได้แก่ การเตรียมการก่อสร้างท่าเรือเชียงแสน แห่งที่ 2 ปรับปรุงและขยายบริการท่าอากาศยานเชียงใหม่ การศึกษาและออกแบบระบบขนส่งมวลชนเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งการจัดทำผังเมืองรวมเมืองศูนย์กลางความเจริญภาคเหนือตอนบน
(3) ยุทธศาสตร์ที่ 3 : สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเกษตร อุตสาหกรรมและการ ท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับฐานเศรษฐกิจเดิมได้อย่างยั่งยืน มีการดำเนินงานด้าน (1) การท่องเที่ยว มีการ ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเดิม พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างขึ้นใหม่ ยกระดับสินค้าของที่ระลึก และบริการด้านที่พัก รวมทั้งพัฒนาตลาดต่างประเทศ (2) การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตผลเกษตร โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ลำไย และการส่งเสริม การผลิตลำไยนอกฤดู (3) อุตสาหกรรมเซรามิกส์มีการพัฒนาด้านวัตถุดิบ การออกแบบและการรวมกลุ่มธุรกิจ (4) การเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการหัตถกรรมอุตสาหกรรม และ OTOP
(4) ยุทธศาสตร์ที่ 4 : พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต ดำรงฐานวัฒนธรรมและทุนทางสังคมของล้านนา มีการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมล้านนา และมีการพัฒนาบุคลากรในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของกลุ่มจังหวัด
(5) ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ดำรงความเป็นฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และจัดการ คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้มีการดำเนินงานเพื่อฟื้นฟูความชุ่มชื้นแก่ป่าโดยการพัฒนาฝายแม้ว (Check Dam)
แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดระยะต่อไป การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดควรดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลตามเป้าประสงค์ และวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดไว้ โดยมีแนวทางการขับเคลื่อนในระยะต่อไป ดังต่อไปนี้
(1) ให้ความสำคัฐกับการต่อยอดการพัฒนาจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ ให้เกิด ผลการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นการพัฒนาธุรกิจการประชุมและการแสดงสินค้า (MICE) การขยายท่าอากาศยาน และคลังสินค้ารองรับการขนส่งทางอากาศ การพัฒนาเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ วัฒนธรรม โบราณสถาน และแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างขึ้นใหม่
(2) เร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมที่เชียงของ การพัฒนาศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จพร้อมคลังสินค้าที่ด่านสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 และการก่อสร้างคลังสินค้าที่อำเภอแม่สายและท่าเรือแห่งที่ 2
(3) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าของภาคการผลิตและบริการ โดยใช้ฐานความรู้วิชาการผสมผสานกับคุณค่าของธรรมชาติ สังคม และศิลปวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของล้านนา รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญกับการการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรม การพัฒนาบุคลากรในสาขาที่ตอบสนองต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจ SME ตลอดจนการสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มธุรกิจ
(4) ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่สำคัญและมีความจำเป็นเร่งด่วน ได้แก่ การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และน้ำ การพัฒนาบริการพื้นฐานของเมืองและสิ่งแวดล้อมเมืองและการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคม
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ เน้นการพัฒนาเชิงรุก เพื่อสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่บนพื้นฐานของวัฒนธรรมและเศรษฐกิจฐานความรู้ และการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) และเอเชียใต้ (BIMSTEC) รวมถึงการเพิ่มมูลค่าฐานเศรษฐกิจเดิม ทั้งด้านสินค้าหัตถกรรมและการท่องเที่ยว พร้อมทั้งดำเนินการแก้ไขจุดอ่อนทั้งด้านการฟื้นฟูวัฒนธรรมล้านนา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ การแก้ปัญหาความยากจน และการสร้างความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมียุทธศาสตร์ดังนี้
(1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ยุทธศาสตร์เชิงรุก เน้นการสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ และการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและเอเชียใต้ ได้มีการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ให้มีขีดความสามารถในการรองรับความเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคและเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การพัฒนาระบบ Logistic และ การพัฒนาฐานเศรษฐกิจใหม่ เพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ โดยดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และสมุนไพรเพื่อสุขภาพและธุรกิจสปา
(2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ยุทธศาสตร์ปรับตัว โดยเพิ่มมูลค่าฐานเศรษฐกิจเดิมทั้งด้านหัตถอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการเกษตร มีการดำเนินงานเพื่อยกระดับสินค้าหัตถกรรม โดยมีการดำเนินโครงการ Lanna Style เพื่อพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมให้มีเอกลักษณ์ การพัฒนาการท่องเที่ยว โดยดำเนินการบูรณะแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ การพัฒนาการเกษตร ส่งเสริมระบบการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย
(3) ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ยุทธศาสตร์ยั่งยืน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม และการแก้ไขปัญหาความยากจน ดำเนินโครงการ Mobile ICT ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาด้านวัฒนธรรม ดำเนินการจัดตั้งสถาบันล้านนาศึกษา เพื่อรวมรวมและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ดำเนินการสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน ฟื้นฟูป่าต้นน้ำและแหล่งน้ำ การแก้ปัญหาความยากจน โดยใช้แนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยดำเนินโครงการ SML และคาราวานแก้จน
แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดระยะต่อไป ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดจะต้องให้ความสำคัญกับการใช้ศักยภาพที่มีอยู่เดิมของจังหวัดควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดของพื้นที่ โดยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ 3 ฝ่าย ทั้งภาคราชการ ภาคสถาบันการศึกษา และภาคธุรกิจเอกชน ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์และเป้าประสงค์ของการพัฒนา ซึ่งมีแนวทางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้
(1) การบริหารจัดการโครงการและกิจกรรมที่มีอยู่เดิม เพื่อให้เกิดผลการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ โครงการเชียงใหม่ไนซาฟารี ศูนย์ SMEs ศูนย์ประชุมฯ และตลาดกลางเกษตร
(2) การต่อยอดและขยายผลการพัฒนาจากศักยภาพที่มีอยู่เดิม ให้สามารถเชื่อมโยงการพัฒนาภายในกลุ่มจังหวัด ได้แก่ การพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยว การพัฒนาตลาด MICE การอนุรักษ์โบราณสถานสู่การเป็นมรดกโลก และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางธรรมชาติ
(3) การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการลงทุนในกิจกรรมใหม่ ๆ อาทิ การพัฒนา Cluster อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ การพัฒนาศูนย์การบริการสุขภาพ การพัฒนาทางด้านการและบริการเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศ GMS
(4) การแก้ไขปัญหาพื้นฐาน เพื่อให้การพัฒนามีความยั่งยืน และลดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ ปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง ขยะ และน้ำเสีย รวมถึงการพัฒนาบริการพื้นฐานของเมืองเพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง โดยเฉพาะระบบขนส่งมวลชนและโครงข่ายการคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างภายในและภายนอกเขตเมือง
2. เห็นชอบอนุมัติแผนงานโครงการกลุ่มจังหวัดที่มีความสำคัญเร่งด่วนและพร้อมดำเนินการในปีงบประมาณ 2549 รวม 1 โครงการ วงเงิน 27.6 ล้านบาท และผูกพันงบประมาณปี 2550-51 วงเงิน 32.4 ล้านบาท ได้แก่ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองโบราณสถานเวียงลอ จังหวัดพะเยา และแผนงานโครงการของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความสำคัญเร่งด่วนและพร้อมดำเนินการในปีงบประมาณ 2549 รวม 3 โครงการ วงเงินรวม 165.97 ล้านบาท ได้แก่ โครงการด้านสังคม 2 โครงการ โครงการด้านสิ่งแวดล้อม 1 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและ มีความพร้อม โดยให้พิจารณาจัดสรรงบกลางปี 2549 จำนวน 4 โครงการ งบประมาณรวม 193.57 ล้านบาท และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดและทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการสนับสนุนงบกลางปี 2549 ต่อไป
3. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำโครงการที่มีความสำคัญและมีความพร้อมของกลุ่มจังหวัด รวม 13 โครงการ วงเงินรวม 879.53 ล้านบาท และผูกพันงบประมาณปี 2551 เป็นต้นไป วงเงิน 1,164.24 ล้านบาท ประกอบด้วย แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว 3 โครงการ แผนงานวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร รวม 6 โครงการ แผนงานพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 4 โครงการ และแผนงานโครงการของจังหวัดเชียงใหม่ รวม 38 โครงการ วงเงินรวม 931.86 ล้านบาท ประกอบด้วย แผนงานด้านการท่องเที่ยว 7 โครงการ แผนงานด้านการพัฒนาเกษตร 1 โครงการ แผนงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการ แผนงานด้านสังคม 6 โครงการ แผนงานด้านแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 12 โครงการ แผนงานด้านสิ่งแวดล้อม 7 โครงการ ไปดำเนินการจัดทำรายละเอียดเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณปี 2550 ต่อไป
4. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำโครงการที่มีความสำคัญแต่ยังต้องจัดทำรายละเอียดของโครงการกลุ่มจังหวัด รวม 23 โครงการ ประกอบด้วย แผนงานพัฒนาบริการด้านการค้า การลงทุน 4 โครงการ แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ถนน) เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวและการค้าชายแดน 7 โครงการ แผนงานพัฒนาการผลิตภาคเกษตร อุตสาหกรรม รวม 4 โครงการ แผนงานพัฒนาการท่องเที่ยวเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติประวัติศาสตร์ 8 โครงการ และแผนงานโครงการของจังหวัดเชียงใหม่ รวม 42 โครงการ ประกอบด้วย แผนงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน 18 โครงการ แผนงานด้านการท่องเที่ยว 4 โครงการ แผนงานด้านแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 10 โครงการ แผนงานด้านสังคม 2 โครงการ แผนงานสิ่งแวดล้อม 8 โครงการ ไปดำเนินการจัดทำรายละเอียดให้สมบูรณ์เพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--