คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ตั้งอยู่บริเวณโรงไฟฟ้าพระนครเหนือเดิม ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ลงทุนรวม 17,547.00 ล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวบรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2547 — 2558 (PDP 2004) และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547
2. เห็นชอบให้ กฟผ. จัดทำรายละเอียดข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกันกับโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่ 3 ดังนี้
2.1 จัดทำรายละเอียดการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะในการปฏิบัติการของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแต่ละหน่วย (Operating Characteristics for the Generating Unit and System Standards) การคำนวณค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payments) และการคำนวณค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payments) ในลักษณะเดียวกันกับที่กำหนดใน Schedule 1 — 3 ของสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. กับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (IPP) ให้กระทรวงพลังงาน พิจารณา
2.2 ให้ กฟผ. ปฏิบัติตาม Grid Code เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าเอกชน และในอนาคตให้ครอบคลุมถึงโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ทุกโรงด้วย เพื่อความมั่นคงและปลอดภัยของระบบไฟฟ้า
2.3 ให้ กฟผ. จัดส่งแผนการปฏิบัติการ (Action Plan) ของการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าความร้อนร่วมพระนครเหนือชุดที่ 1 และรายงานความก้าวหน้า การดำเนินการให้กระทรวงพลังงานทราบทุก 3 เดือน
2.4 ให้ กฟผ. จัดส่งรายละเอียดการบันทึกบัญชีและข้อมูลทางด้านเทคนิคของโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ทุกๆ สิ้นปี จัดส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) หรือองค์กรกำกับดูแลที่จะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ตรวจสอบรายละเอียดดังกล่าว เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินศักยภาพและผลประโยชน์ที่ได้จากการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าของ กฟผ.
2.5 ให้ กฟผ.จัดส่งรายงานความคืบหน้าและรายละเอียดในการดำเนินการตามนโยบายการนำพลังงานหมุนเวียนจ่ายเข้าระบบไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของโรงไฟฟ้าใหม่ และการจัดตั้งกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (Energy Tax) ในอัตรา 1 สตางค์/หน่วย ของพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายเข้าระบบ
3. เห็นชอบให้ กฟผ. ปฏิบัติตามเงื่อนไขของมติดคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 9/2548 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ดังนี้
3.1 ปฏิบัติมาตรการป้องกัน แก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในรูปแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมตามที่เสนอในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1 อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งรายงานผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาตามระยะเวลาที่กำหนดในแผนปฏิบัติการ โดยให้เป็นไปตามแนวทางการนำเสนอผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3.2 ในกรณี กฟผ. จะว่าจ้างบริษัทผู้รับจ้างในการออกแบบ/ก่อสร้าง/ดำเนินการ กฟผ. จะต้องนำรายละเอียดมาตรการในแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมไปกำหนดในเงื่อนไขสัญญาจ้างบริษัทผู้รับจ้างและให้ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในทางปฏิบัติ
3.3 ทำการบำรุงรักษา ดูแลการทำงานของระบบหล่อเย็นให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีเป็นประจำ และมีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและประชาชนในบริเวณใกล้เคียง
3.4 หากผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมแสดงให้เห็นแนวโน้มปัญหาสิ่งแวดล้อม กฟผ. ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขปัญหานั้นโดยเร็วและหากเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กฟผ. ต้องแจ้งให้จังหวัดนนทบุรี กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทราบโดยเร็ว เพื่อจะได้ประสานให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
3.5 หาก กฟผ.มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการและ/หรือแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งแตกต่างจากที่นำเสนอในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กฟผ. จะต้องเสนอรายงานแสดงรายละเอียดการขอเปลี่ยนแปลง ผลการศึกษาและประเมินผลกระทบในรายละเอียดที่ขอเปลี่ยนแปลงเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง
3.6 หากยังมีประเด็นปัญหา ข้อวิตกกังวลและห่วงใยของชุมชนต่อการดำเนินโครงการ กฟผ. จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้งของชุมชนในพื้นที่ทันที
โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1 มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เสริมความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าของระบบ ซึ่งการก่อสร้างโรงไฟฟ้าไว้ใกล้ศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้าจะสามารถลดการลงทุนด้านระบบส่งไฟฟ้าและลดความสูญเสียในระบบส่งไฟฟ้าได้
2. การดำเนินงาน มีระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี (พ.ศ. 2547-2553) ประกอบด้วยงานก่อสร้าง 2 ส่วน
2.1 งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมขนาดกำลังผลิตประมาณ 700 เมกะวัตต์ มีประสิทธิภาพสูงประมาณร้อยละ 48.4 ประกอบด้วย เครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันแก๊ส จำนวน 2 เครื่อง เครื่องผลิตไอน้ำแรงดันสูงแบบใช้ไอเสีย (Heat Recovery Steam Generator : HRSG) จำนวน 2 เครื่อง และเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันไอน้ำ จำนวน 1 เครื่อง โดยโครงการฯ ตั้งอยู่ในบริเวณโรงไฟฟ้าพระนครเหนือเดิม ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
2.2 งานก่อสร้างสายส่งเชื่อมโยงกับระบบไฟฟ้าเขตภาคกลาง โดย (1) ขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 230 เควี พระนครเหนือ เพื่อรับโรงไฟฟ้าชุดใหม่ แต่เนื่องจากโครงการขยายระบบไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะที่ 1 กำลังดำเนินการปรับปรุงอุปกรณ์ 230 เควี ที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงพระนครเหนือให้มีขนาดใหญ่ขึ้นพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ Bay 230 เควี ไว้ด้วยแล้ว ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จประมาณเดือนมิถุนายน 2550 ดังนั้น จึงไม่คิดค่าใช้จ่ายในการขยาย Bay 230 เควี เพื่อรองรับโรงไฟฟ้าชุดใหม่ และ (2) ก่อสร้างสายส่งไฟฟ้า 230 เควี จากลานไกไฟฟ้าโรงไฟฟ้าฯ — สถานีไฟฟ้าแรงสูงพระนครเหนือ วงจรคู่ ระยะทางประมาณ 0.5 กิโลเมตร
3. แหล่งเชื้อเพลิง ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงจากโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทรน้อย — โรงไฟฟ้าพระนครใต้/เหนือ โดย บมจ. ปตท. จะดำเนินการเชื่อมต่อท่อส่งก๊าซธรรมชาติเข้ากับท่อส่งก๊าซธรรมชาติราชบุรี — วังน้อย ที่รับก๊าซมาจากสหภาพพม่าที่อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี และวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติแยกมาจากท่อส่งก๊าซฯ ไทรน้อย — โรงไฟฟ้าพระนครใต้/เหนือ ที่บริเวณสถานีควบคุมก๊าซฯ ศาลาธรรมสพน์ จนถึงบริเวณสะพานพระราม 7 แล้วจึงแยกไปยังโรงไฟฟ้าฯ ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าฯ มีความต้องการใช้ก๊าซในอัตราสูงสุดประมาณ 125 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันที่ค่าความร้อนประมาณ 962 บีทียู ต่อลูกบาศก์ฟุต
4. การใช้น้ำ ระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าใช้น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีปริมาณการใช้น้ำสูงสุด 38,666 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และน้ำใช้ภายในโรงไฟฟ้าและระบบอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ใช้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีปริมาณการใช้น้ำสูงสุด 554 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน สำหรับในช่วงฤดูแล้ง กรณีที่แม่น้ำเจ้าพระยามีสภาพเป็นน้ำกร่อย โรงไฟฟ้าฯ จะใช้น้ำจากการประปานครหลวงเป็นแหล่งน้ำสำรองสำหรับการผลิตไฟฟ้าและการอุปโภคบริโภค
5. วงเงินลงทุนและแหล่งเงินลงทุน รวมทั้งสิ้นประมาณ 17,547.00 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายอุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศ 10,393.70 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 59 ของวงเงินลงทุน และค่าใช้จ่ายในประเทศ 7,153.30 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41 ของวงเงินลงทุน โดย กฟผ. จะพิจารณาจากหลายแหล่งเงินทุน ทั้งนี้ ในหลักการ กฟผ. จะประสานงานกับกระทรวงการคลังผ่านสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะในการพิจารณาแหล่งเงินกู้ตามภาวะตลาดการเงิน ดอกเบี้ย วิธีการและเงื่อนไขต่อไป
6. ผลตอบแทนการลงทุน อัตราผลตอบแทนการลงทุนของโครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ (EIRR) คิดเป็นร้อยละ 21.07 และอัตราผลตอบแทนการลงทุนของโครงการทางด้านการเงิน (FIRR) คิดเป็นร้อยละ 20.06
7. ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ รักษาระดับความมั่นคงของระบบไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ ตลอดจนรักษาความสามารถในการจ่ายไฟฟ้าได้ตามมาตรฐาน อีกทั้งการก่อสร้างโรงไฟฟ้าไว้ใกล้ศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้าจะช่วยลดความสูญเสียในระบบส่งไฟฟ้าได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--
1. อนุมัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ตั้งอยู่บริเวณโรงไฟฟ้าพระนครเหนือเดิม ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ลงทุนรวม 17,547.00 ล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวบรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2547 — 2558 (PDP 2004) และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2547
2. เห็นชอบให้ กฟผ. จัดทำรายละเอียดข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกันกับโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่ 3 ดังนี้
2.1 จัดทำรายละเอียดการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะในการปฏิบัติการของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแต่ละหน่วย (Operating Characteristics for the Generating Unit and System Standards) การคำนวณค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payments) และการคำนวณค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payments) ในลักษณะเดียวกันกับที่กำหนดใน Schedule 1 — 3 ของสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. กับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (IPP) ให้กระทรวงพลังงาน พิจารณา
2.2 ให้ กฟผ. ปฏิบัติตาม Grid Code เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าเอกชน และในอนาคตให้ครอบคลุมถึงโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ทุกโรงด้วย เพื่อความมั่นคงและปลอดภัยของระบบไฟฟ้า
2.3 ให้ กฟผ. จัดส่งแผนการปฏิบัติการ (Action Plan) ของการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าความร้อนร่วมพระนครเหนือชุดที่ 1 และรายงานความก้าวหน้า การดำเนินการให้กระทรวงพลังงานทราบทุก 3 เดือน
2.4 ให้ กฟผ. จัดส่งรายละเอียดการบันทึกบัญชีและข้อมูลทางด้านเทคนิคของโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ทุกๆ สิ้นปี จัดส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) หรือองค์กรกำกับดูแลที่จะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ตรวจสอบรายละเอียดดังกล่าว เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินศักยภาพและผลประโยชน์ที่ได้จากการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าของ กฟผ.
2.5 ให้ กฟผ.จัดส่งรายงานความคืบหน้าและรายละเอียดในการดำเนินการตามนโยบายการนำพลังงานหมุนเวียนจ่ายเข้าระบบไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของโรงไฟฟ้าใหม่ และการจัดตั้งกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (Energy Tax) ในอัตรา 1 สตางค์/หน่วย ของพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายเข้าระบบ
3. เห็นชอบให้ กฟผ. ปฏิบัติตามเงื่อนไขของมติดคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 9/2548 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ดังนี้
3.1 ปฏิบัติมาตรการป้องกัน แก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในรูปแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมตามที่เสนอในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1 อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งรายงานผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาตามระยะเวลาที่กำหนดในแผนปฏิบัติการ โดยให้เป็นไปตามแนวทางการนำเสนอผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3.2 ในกรณี กฟผ. จะว่าจ้างบริษัทผู้รับจ้างในการออกแบบ/ก่อสร้าง/ดำเนินการ กฟผ. จะต้องนำรายละเอียดมาตรการในแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมไปกำหนดในเงื่อนไขสัญญาจ้างบริษัทผู้รับจ้างและให้ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในทางปฏิบัติ
3.3 ทำการบำรุงรักษา ดูแลการทำงานของระบบหล่อเย็นให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีเป็นประจำ และมีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและประชาชนในบริเวณใกล้เคียง
3.4 หากผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมแสดงให้เห็นแนวโน้มปัญหาสิ่งแวดล้อม กฟผ. ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขปัญหานั้นโดยเร็วและหากเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กฟผ. ต้องแจ้งให้จังหวัดนนทบุรี กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทราบโดยเร็ว เพื่อจะได้ประสานให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
3.5 หาก กฟผ.มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการและ/หรือแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งแตกต่างจากที่นำเสนอในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กฟผ. จะต้องเสนอรายงานแสดงรายละเอียดการขอเปลี่ยนแปลง ผลการศึกษาและประเมินผลกระทบในรายละเอียดที่ขอเปลี่ยนแปลงเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง
3.6 หากยังมีประเด็นปัญหา ข้อวิตกกังวลและห่วงใยของชุมชนต่อการดำเนินโครงการ กฟผ. จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้งของชุมชนในพื้นที่ทันที
โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1 มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เสริมความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าของระบบ ซึ่งการก่อสร้างโรงไฟฟ้าไว้ใกล้ศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้าจะสามารถลดการลงทุนด้านระบบส่งไฟฟ้าและลดความสูญเสียในระบบส่งไฟฟ้าได้
2. การดำเนินงาน มีระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี (พ.ศ. 2547-2553) ประกอบด้วยงานก่อสร้าง 2 ส่วน
2.1 งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมขนาดกำลังผลิตประมาณ 700 เมกะวัตต์ มีประสิทธิภาพสูงประมาณร้อยละ 48.4 ประกอบด้วย เครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันแก๊ส จำนวน 2 เครื่อง เครื่องผลิตไอน้ำแรงดันสูงแบบใช้ไอเสีย (Heat Recovery Steam Generator : HRSG) จำนวน 2 เครื่อง และเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันไอน้ำ จำนวน 1 เครื่อง โดยโครงการฯ ตั้งอยู่ในบริเวณโรงไฟฟ้าพระนครเหนือเดิม ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
2.2 งานก่อสร้างสายส่งเชื่อมโยงกับระบบไฟฟ้าเขตภาคกลาง โดย (1) ขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 230 เควี พระนครเหนือ เพื่อรับโรงไฟฟ้าชุดใหม่ แต่เนื่องจากโครงการขยายระบบไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะที่ 1 กำลังดำเนินการปรับปรุงอุปกรณ์ 230 เควี ที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงพระนครเหนือให้มีขนาดใหญ่ขึ้นพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ Bay 230 เควี ไว้ด้วยแล้ว ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จประมาณเดือนมิถุนายน 2550 ดังนั้น จึงไม่คิดค่าใช้จ่ายในการขยาย Bay 230 เควี เพื่อรองรับโรงไฟฟ้าชุดใหม่ และ (2) ก่อสร้างสายส่งไฟฟ้า 230 เควี จากลานไกไฟฟ้าโรงไฟฟ้าฯ — สถานีไฟฟ้าแรงสูงพระนครเหนือ วงจรคู่ ระยะทางประมาณ 0.5 กิโลเมตร
3. แหล่งเชื้อเพลิง ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงจากโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทรน้อย — โรงไฟฟ้าพระนครใต้/เหนือ โดย บมจ. ปตท. จะดำเนินการเชื่อมต่อท่อส่งก๊าซธรรมชาติเข้ากับท่อส่งก๊าซธรรมชาติราชบุรี — วังน้อย ที่รับก๊าซมาจากสหภาพพม่าที่อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี และวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติแยกมาจากท่อส่งก๊าซฯ ไทรน้อย — โรงไฟฟ้าพระนครใต้/เหนือ ที่บริเวณสถานีควบคุมก๊าซฯ ศาลาธรรมสพน์ จนถึงบริเวณสะพานพระราม 7 แล้วจึงแยกไปยังโรงไฟฟ้าฯ ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าฯ มีความต้องการใช้ก๊าซในอัตราสูงสุดประมาณ 125 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันที่ค่าความร้อนประมาณ 962 บีทียู ต่อลูกบาศก์ฟุต
4. การใช้น้ำ ระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าใช้น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีปริมาณการใช้น้ำสูงสุด 38,666 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และน้ำใช้ภายในโรงไฟฟ้าและระบบอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ใช้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีปริมาณการใช้น้ำสูงสุด 554 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน สำหรับในช่วงฤดูแล้ง กรณีที่แม่น้ำเจ้าพระยามีสภาพเป็นน้ำกร่อย โรงไฟฟ้าฯ จะใช้น้ำจากการประปานครหลวงเป็นแหล่งน้ำสำรองสำหรับการผลิตไฟฟ้าและการอุปโภคบริโภค
5. วงเงินลงทุนและแหล่งเงินลงทุน รวมทั้งสิ้นประมาณ 17,547.00 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายอุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศ 10,393.70 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 59 ของวงเงินลงทุน และค่าใช้จ่ายในประเทศ 7,153.30 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41 ของวงเงินลงทุน โดย กฟผ. จะพิจารณาจากหลายแหล่งเงินทุน ทั้งนี้ ในหลักการ กฟผ. จะประสานงานกับกระทรวงการคลังผ่านสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะในการพิจารณาแหล่งเงินกู้ตามภาวะตลาดการเงิน ดอกเบี้ย วิธีการและเงื่อนไขต่อไป
6. ผลตอบแทนการลงทุน อัตราผลตอบแทนการลงทุนของโครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ (EIRR) คิดเป็นร้อยละ 21.07 และอัตราผลตอบแทนการลงทุนของโครงการทางด้านการเงิน (FIRR) คิดเป็นร้อยละ 20.06
7. ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ รักษาระดับความมั่นคงของระบบไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ ตลอดจนรักษาความสามารถในการจ่ายไฟฟ้าได้ตามมาตรฐาน อีกทั้งการก่อสร้างโรงไฟฟ้าไว้ใกล้ศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้าจะช่วยลดความสูญเสียในระบบส่งไฟฟ้าได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--