คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรธรณี รายงานสรุปสถานภาพทรัพยากรแร่และเชื้อเพลิงธรรมชาติของประเทศไทย ดังนี้
1. ประเภทของทรัพยากรแร่และเชื้อเพลิงธรรมชาติ
1.1 ทรัพยากรแร่ หมายถึง แร่ประเภทต่างๆ ซึ่งกำหนดนิยามไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2545) โดยหมายความรวมถึง ถ่านหิน หินน้ำมัน หินอ่อน หินประดับ หินอุตสาหกรรม ดินอุตสาหกรรม หรือทรายอุตสาหกรรม แต่ไม่รวมถึง เกลือสินเธาว์ ลูกรัง หิน ดิน หรือทราย
1.2 ทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ปิโตรเลียม) หมายถึง น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งกำหนดนิยามไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2534)
2. มูลค่าการผลิต
2.1 มูลค่าการผลิตทรัพยากรแร่ ในปี พ.ศ. 2548 ผลิตได้มูลค่ารวมมากกว่า 33,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลผลิตจากประทานบัตรทำเหมืองแร่ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการผลิต จำนวนประมาณ 1,400 แปลง (เนื้อที่รวมประมาณกว่า 300,000 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.1 ของเนื้อที่ประเทศไทย) โดยมีมูลค่าการผลิตของถ่านหินเป็นมูลค่าการผลิตสูงสุดอันดับ 1 มีมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท อันดับ 2 เป็นหินประดับ และหินอุตสาหกรรมก่อสร้าง ประเภทหินปูน ผลิตมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาท อันดับ 3 เป็นหินอุตสาหกรรมซีเมนต์ ประเภทหินปูน ผลิตมูลค่ามากกว่า 4,000 ล้านบาท อันดับ 4 เป็นยิปซัม ผลิตมูลค่ามากกว่า 3,000 ล้านบาท และอันดับ 5 เป็นทองคำ ผลิตมูลค่ามากกว่า 2,000 ล้านบาท
2.2 มูลค่าการผลิตทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ปิโตรเลียม) ในปี พ.ศ. 2548 ผลิตน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมชาติเหลว ได้มูลค่ารวมมากกว่า 230,000 ล้านบาท จากสัมปทานปิโตรเลียมที่มีการผลิต ทั้งบนบก และในทะเล โดยมีมูลค่าการผลิตของก๊าซธรรมชาติเป็นมูลค่าการผลิตสูงสุดมากกว่า 90,000 ล้านบาท
3. ปริมาณสำรองที่ได้รับอนุญาตให้ทำการผลิต และมูลค่า
3.1 ปริมาณทรัพยากรแร่สำรองที่ได้รับอนุญาตให้ทำการผลิต หมายถึงปริมาณสำรองที่รวบรวมได้จากประทานบัตรทำเหมืองแร่ที่กระทรวงอุตสาหกรรมอนุญาตให้ทำการผลิต ซึ่งเจ้าของประทานบัตรได้ทำการสำรวจและรายงานไว้ โดยใช้ข้อมูลจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม แล้วนำมาประเมินร่วมกับราคาแร่เฉลี่ยในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2548 ยกเว้นแร่ที่ไม่มีการซื้อขายในประเทศไทย จะใช้ราคาแร่เฉลี่ยจากตลาดกลางในต่างประเทศ ผลการประเมินมูลค่าทรัพยากรแร่สำรองที่ได้รับอนุญาตให้ผลิต มีมูลค่ารวมมากกว่า 1,950,000 ล้านบาท
3.2 ปริมาณทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติสำรอง (ปิโตรเลียม) ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการผลิต หมายถึง ปริมาณสำรองปิโตรเลียมประเภทพิสูจน์แล้ว ซึ่งประเมินได้จากสัมปทานปิโตรเลียม โดยข้อมูลจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ผลการประเมินมูลค่าทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติที่ได้รับอนุญาตให้ผลิต มีมูลค่ารวมมากกว่า 2,460,000 ล้านบาท
4. ปริมาณสำรองมีศักยภาพเป็นไปได้ และมูลค่า
4.1 ปริมาณทรัพยากรแร่สำรองมีศักยภาพเป็นไปได้ หมายถึง ปริมาณสำรองที่ประเมินในพื้นที่ที่มีการพบแร่ แต่ยังมิได้มีการสำรวจเพื่อพิสูจน์ว่ามีปริมาณความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เป็นทรัพยากรแร่สำรองที่จะต้องทำการสำรวจเพิ่มเติมจนถึงขั้นรายละเอียด เพื่อให้ทราบปริมาณและความสมบูรณ์ รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาก่อนที่จะลงทุนทำเหมืองแร่ โดยในการประเมินใช้การประเมินทางสถิติ และวิชาการธรณีวิทยาเป็นปัจจัยหลัก ผลการประเมินมูลค่าทรัพยากรแร่สำรองมีศักยภาพเป็นไปได้ มีมูลค่ารวมมากว่า 10,945,000,000 ล้านบาท
4.2 ปริมาณทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติสำรองมีศักยภาพเป็นไปได้ หมายถึงปริมาณสำรองปิโตรเลียมประเภทที่น่าจะพบรวมกับปริมาณสำรองปิโตรเลียมประเภทที่อาจจะพบ ซึ่งประเมินได้จากสัมปทานปิโตรเลียม โดยใช้ข้อมูลจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ผลการประเมินมูลค่าทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติมีศักยภาพเป็นไปได้ มีมูลค่ารวมมากว่า 4,330,000 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กรกฎาคม 2549--จบ--
1. ประเภทของทรัพยากรแร่และเชื้อเพลิงธรรมชาติ
1.1 ทรัพยากรแร่ หมายถึง แร่ประเภทต่างๆ ซึ่งกำหนดนิยามไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2545) โดยหมายความรวมถึง ถ่านหิน หินน้ำมัน หินอ่อน หินประดับ หินอุตสาหกรรม ดินอุตสาหกรรม หรือทรายอุตสาหกรรม แต่ไม่รวมถึง เกลือสินเธาว์ ลูกรัง หิน ดิน หรือทราย
1.2 ทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ปิโตรเลียม) หมายถึง น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งกำหนดนิยามไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2534)
2. มูลค่าการผลิต
2.1 มูลค่าการผลิตทรัพยากรแร่ ในปี พ.ศ. 2548 ผลิตได้มูลค่ารวมมากกว่า 33,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลผลิตจากประทานบัตรทำเหมืองแร่ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการผลิต จำนวนประมาณ 1,400 แปลง (เนื้อที่รวมประมาณกว่า 300,000 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.1 ของเนื้อที่ประเทศไทย) โดยมีมูลค่าการผลิตของถ่านหินเป็นมูลค่าการผลิตสูงสุดอันดับ 1 มีมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท อันดับ 2 เป็นหินประดับ และหินอุตสาหกรรมก่อสร้าง ประเภทหินปูน ผลิตมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาท อันดับ 3 เป็นหินอุตสาหกรรมซีเมนต์ ประเภทหินปูน ผลิตมูลค่ามากกว่า 4,000 ล้านบาท อันดับ 4 เป็นยิปซัม ผลิตมูลค่ามากกว่า 3,000 ล้านบาท และอันดับ 5 เป็นทองคำ ผลิตมูลค่ามากกว่า 2,000 ล้านบาท
2.2 มูลค่าการผลิตทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ปิโตรเลียม) ในปี พ.ศ. 2548 ผลิตน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมชาติเหลว ได้มูลค่ารวมมากกว่า 230,000 ล้านบาท จากสัมปทานปิโตรเลียมที่มีการผลิต ทั้งบนบก และในทะเล โดยมีมูลค่าการผลิตของก๊าซธรรมชาติเป็นมูลค่าการผลิตสูงสุดมากกว่า 90,000 ล้านบาท
3. ปริมาณสำรองที่ได้รับอนุญาตให้ทำการผลิต และมูลค่า
3.1 ปริมาณทรัพยากรแร่สำรองที่ได้รับอนุญาตให้ทำการผลิต หมายถึงปริมาณสำรองที่รวบรวมได้จากประทานบัตรทำเหมืองแร่ที่กระทรวงอุตสาหกรรมอนุญาตให้ทำการผลิต ซึ่งเจ้าของประทานบัตรได้ทำการสำรวจและรายงานไว้ โดยใช้ข้อมูลจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม แล้วนำมาประเมินร่วมกับราคาแร่เฉลี่ยในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2548 ยกเว้นแร่ที่ไม่มีการซื้อขายในประเทศไทย จะใช้ราคาแร่เฉลี่ยจากตลาดกลางในต่างประเทศ ผลการประเมินมูลค่าทรัพยากรแร่สำรองที่ได้รับอนุญาตให้ผลิต มีมูลค่ารวมมากกว่า 1,950,000 ล้านบาท
3.2 ปริมาณทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติสำรอง (ปิโตรเลียม) ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการผลิต หมายถึง ปริมาณสำรองปิโตรเลียมประเภทพิสูจน์แล้ว ซึ่งประเมินได้จากสัมปทานปิโตรเลียม โดยข้อมูลจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ผลการประเมินมูลค่าทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติที่ได้รับอนุญาตให้ผลิต มีมูลค่ารวมมากกว่า 2,460,000 ล้านบาท
4. ปริมาณสำรองมีศักยภาพเป็นไปได้ และมูลค่า
4.1 ปริมาณทรัพยากรแร่สำรองมีศักยภาพเป็นไปได้ หมายถึง ปริมาณสำรองที่ประเมินในพื้นที่ที่มีการพบแร่ แต่ยังมิได้มีการสำรวจเพื่อพิสูจน์ว่ามีปริมาณความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เป็นทรัพยากรแร่สำรองที่จะต้องทำการสำรวจเพิ่มเติมจนถึงขั้นรายละเอียด เพื่อให้ทราบปริมาณและความสมบูรณ์ รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาก่อนที่จะลงทุนทำเหมืองแร่ โดยในการประเมินใช้การประเมินทางสถิติ และวิชาการธรณีวิทยาเป็นปัจจัยหลัก ผลการประเมินมูลค่าทรัพยากรแร่สำรองมีศักยภาพเป็นไปได้ มีมูลค่ารวมมากว่า 10,945,000,000 ล้านบาท
4.2 ปริมาณทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติสำรองมีศักยภาพเป็นไปได้ หมายถึงปริมาณสำรองปิโตรเลียมประเภทที่น่าจะพบรวมกับปริมาณสำรองปิโตรเลียมประเภทที่อาจจะพบ ซึ่งประเมินได้จากสัมปทานปิโตรเลียม โดยใช้ข้อมูลจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ผลการประเมินมูลค่าทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติมีศักยภาพเป็นไปได้ มีมูลค่ารวมมากว่า 4,330,000 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กรกฎาคม 2549--จบ--