คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินงานโครงการสำคัญเพื่อป้องกันและสกัดกั้นโรคไข้หวัดนก ดังนี้
1. มาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายในการดำเนินมาตรการควบคุมโรคไข้หวัดนก โดยยึดหลักการรู้โรคเร็ว ควบคุมโรคเร็ว เน้นความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลักควบคู่ไปกับการควบคุมป้องกันโรคในสัตว์ปีก และมีมาตรการเชิงรุกเพิ่มเติมได้แก่
1. โครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (x-ray) ครั้งที่ 2/2549 (1 มิถุนายน — 31 กรกฎาคม 2549)
วิธีดำเนินการ เป็นการระดมเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกจากหลายๆ หน่วยงาน ดำเนินการสำรวจจำนวนประชากรสัตว์ปีก ค้นหาสัตว์ปีกป่วยตาย พร้อมกันทั่วประเทศ รวมทั้งสุ่มตรวจหาเชื้อไข้หวัดนกในไก่พื้นเมืองและเป็ด ซึ่งเป็นสัตว์ปีกที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคและเป็นพาหะของโรคไข้หวัดนกในพื้นที่เสี่ยง ซึ่งได้แก่พื้นที่ที่เคยพบโรคไข้หวัดนกและพื้นที่ที่มีนกอพยพ หรือนกประจำถิ่นอาศัยอยู่ และให้ดำเนินการตามมาตรการทุกมาตรการในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกที่ได้กำหนดไว้แล้ว
ผลการดำเนินงาน
- ตัวอย่างซากสัตว์ปีกป่วยตายส่งตรวจทั้งหมด 678 ตัวอย่าง พบผลบวก 3 ตัวอย่างใน 2 จุด คือ หมู่ที่ 11 ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร และหมู่ที่ 13 ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม โดยได้มีการทำลายสัตว์ปีกพร้อมพ่นยาฆ่าเชื้อในจุดที่พบเชื้อเรียบร้อย สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ โดยไม่แพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่น
- เก็บตัวอย่าง Cloacal swab จากสัตว์ปีกทั้งหมด 85,596 ตัวอย่าง ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการของกรมปศุสัตว์ ผลการตรวจตัวอย่าง Cloacal swab ทางห้องปฏิบัติการให้ผลลบต่อเชื้อไข้หวัดนกทั้งหมด
- ตัวอย่างซีรั่มจากสัตว์ปีก ทั้งหมด 7,774 ตัวอย่าง อยู่ระหว่างรอผลการตรวจ
2. โครงการเนื้อไก่ปลอดภัยฉลองสาร์ทจีน ( 5 — 8 สิงหาคม 2549 )
วิธีดำเนินการ สุ่มตรวจหาเชื้อโรคไข้หวัดนก จากเนื้อสัตว์ปีกที่วางจำหน่ายในตลาดสดทั่วไปในพื้นที่ 29 จังหวัดซึ่งเคยมีการพบเชื้อโรคไข้หวัดนก โดยดำเนินการในช่วงเทศกาลสาร์ทจีน ระหว่างวันที่ 5 - 8 สิงหาคม 2549 อันเป็นการสร้างความมั่นใจในการบริโภคเนื้อสัตว์ปีกของประชาชน และเป็นการเสริมมาตรการตรวจสอบเชื้อโรคก่อนการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก
ผลการดำเนินงาน มีจำนวนตัวอย่างที่ส่งตรวจทั้งสิ้น 525 ตัวอย่าง ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการให้ผลลบต่อเชื้อไข้หวัดนก ซึ่งแสดงว่าเนื้อสัตว์ปีกที่วางจำหน่ายตามตลาดสดต่างๆ ช่วงเทศกาลสาร์ทจีน มีความปลอดภัยต่อโรคไข้หวัดนก อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะวางระบบในการควบคุมตรวจสอบ ตั้งแต่สถานที่ เลี้ยงสัตว์ปีก สถานที่ชำแหละหรือโรงฆ่าสัตว์ปีก รวมทั้งสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ปีก เพื่อให้เกิดความมั่นใจถึงความปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้บริโภคทุกๆ ขั้นตอนต่อไป
3. โครงการรณรงค์สกัดกั้นโรคไข้หวัดนก ( 7 - 13 สิงหาคม 2549 )
วิธีดำเนินการ เป็นโครงการที่ปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข และอาสาสมัครเกษตร ปศุสัตว์ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสนธิกำลังทุกหน่วยเข้าพบเกษตรกรและประชาชนทุกบ้าน เพื่อค้นหาผู้ป่วยในระบบทางเดินหาย ขึ้นทะเบียนสัตว์ปีก พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีก ประชาสัมพันธ์ให้รู้ถึงวิธีปฏิบัติตนและวิธีเลี้ยงสัตว์ปีกที่ถูกต้อง และวิธีดำเนินการเมื่อพบสัตว์ปีกป่วยตาย เป็นต้น ดำเนินการพร้อมกัน 29 จังหวัด ที่เคยพบโรคไข้หวัดนกในปีที่ผ่านมา เน้นพื้นที่เสี่ยงในภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางระหว่างวันที่ 7 - 13 สิงหาคม 2549 ทั้งนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในโครงการประกาศเป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติของโรคไข้หวัดนกไว้ก่อน หากพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติให้ทำลายสัตว์ปีกในรัศมี 1 กิโลเมตร ยกเว้นฟาร์มมาตรฐาน โดยไม่ต้องรอผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการ
ผลการดำเนินงาน
- มีการเข้าสำรวจเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกจำนวน 2,765,464 หลังคาเรือน จาก 6,413 ตำบล และ 45,523 หมู่บ้าน
- จำนวนสัตว์ปีกที่สำรวจทั้งหมด 101,010,265 ตัว พบสัตว์ปีกป่วยตายทั้งสิ้น 10,272 ตัว จากเกษตรกร 664 ราย ส่งตัวอย่างสัตว์ปีกตรวจวินิจฉัยทั้งสิ้น 850 ตัวอย่าง
- พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค 1,053,203 หลังคาเรือน
- ทำลายสัตว์ปีกในรัศมี 1 กิโลเมตร จำนวนสัตว์ปีกที่ทำลาย 89,993 ตัว จาก เกษตรกร 5,498ราย
ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวทำให้สถานการณ์ที่มีสัตว์ปีกป่วยตายในแต่ละพื้นที่เบาบางลง เป็นการลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคในแต่ละพื้นที่ อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังคงให้แต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงได้เฝ้าระวังโรคอย่างเข้มงวดและต่อเนื่องโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดชายแดน
4. โครงการรณรงค์ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรค (1 - 14 สิงหาคม 2549) ดำเนินการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคพร้อมกันทุกจังหวัด โดยให้เน้นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หวัดนก ได้แก่ สถานที่เลี้ยงสัตว์ปีก ฟาร์มสัตว์ปีก สถานที่ฆ่าสัตว์ปีก และบริเวณที่พักอาศัยของนกธรรมชาติที่ใกล้เคียงกับสถานที่เลี้ยงสัตว์ปีกของเกษตรกร
2. ผลการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อไวรัสไข้หวัดนก
กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างเชื้อไวรัสไข้หวัดนกจาก พื้นที่ที่พบโรคตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันกว่า 200 ตัวอย่าง ส่งพิสูจน์สายพันธุ์ของเชื้อโดยได้รับความร่วมมือจากคณะแพทยศาสตร์ (ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ) คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะสัตว-แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งจากการถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกจากจังหวัดพิจิตร และจังหวัดนครพนม พบว่าสายพันธุ์เชื้อที่จังหวัดพิจิตรเป็นสายพันธุ์เดียวกับที่เคยมีการระบาดในประเทศไทย เมื่อปี 2547 และ ปี 2548 ที่ผ่านมา ส่วนสายพันธุ์เชื้อที่จังหวัดนครพนมมีลักษณะเหมือนและคล้ายคลึงกับสายพันธุ์ที่เคยมีรายงานไว้ในประเทศจีน ทางตะวันออกเฉียงใต้ (จังหวัดเจ๋อเจียง ฟูเจี้ยน กวางสี และอันฮุย) แสดงว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 สายพันธุ์ที่พบที่จังหวัดนครพนมมีแหล่งกำเนิดเดียวกันกับที่พบทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน และเป็นคนละกลุ่มกับที่พบที่จังหวัดพิจิตร หรือที่พบในปี 2547 และ ปี 2548 ทั้งนี้เชื้อไวรัสทั้ง 2 กลุ่ม ยังคงมีความรุนแรงในการก่อโรค แต่ยังไม่พบการกลายพันธุ์ของเชื้อ การติดเชื้อจากคนสู่คน หรือการดื้อต่อยา Oseltamivir (TimifluR) แต่อย่างใด สำหรับเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิด H5N1 ในปัจจุบันที่พบทั่วโลก มีทั้งสิ้น 4 สายพันธุ์ ดังนี้
(1) สายพันธุ์ที่พบในมลฑลชิงไห่ ประเทศจีน
(2) สายพันธุ์ที่พบในประเทศไทยและเวียดนาม
(3) สายพันธุ์ที่พบในประเทศอินโดนีเซีย
(4) สายพันธุ์ที่พบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน (จังหวัดเจ๋อเจียง ฟูเจี้ยน กวางสี และอันฮุย) และเชื้อไวรัสไข้หวัดนกในปัจจุบันที่พบ ทั้ง 4 สายพันธุ์ ยังคงมีความรุนแรงในการก่อให้เกิดโรคใกล้เคียงกัน จากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศแถบยุโรป และแอฟริกา พบว่า สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสนั้น จากการถอดรหัสทางพันธุกรรมพบว่าเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับสายพันธุ์ที่พบในมลฑลชิงไห่ ประเทศจีน ดังนั้น จึงสันนิษฐานได้ว่ามีการแพร่ระบาดของเชื้อมาจากประเทศจีน ไม่ได้แพร่ระบาดมาจากประเทศไทยแต่อย่างใด
3. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในประเทศไทย
3.1 สถานการณ์ในประเทศไทย
มีรายงานพบโรคไข้หวัดนก ชนิด H5N1 ในสัตว์ปีก 2 จุด ดังนี้
จุดที่ 1 พบที่ หมู่ที่ 11 ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 ใน ไก่พื้นเมือง เฝ้าระวังครบ 21 วันแล้ว เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2549 (ปลดออกจากบัญชีเฝ้าระวังแล้ว)
จุดที่ 2 พบที่หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2549 ในฟาร์มไก่ไข่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเฝ้าระวังยังไม่ครบ 21 วัน
3.2 สถานการณ์ต่างประเทศ
ในเดือนสิงหาคม 2549 พบเชื้อไข้หวัดนกใน 5 ประเทศ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ พบเชื้อชนิด H7 ในฟาร์มสัตว์ปีก ประเทศอินโดนีเซีย พบเชื้อชนิด H5N1 ในสัตว์ปีกพื้นเมือง ประเทศเวียดนาม พบเชื้อชนิด H5N1 ในเป็ด ประเทศจีน พบเชื้อชนิด H5N1 ในเป็ด และ ประเทศเยอรมัน พบเชื้อชนิด H5N1 ในหงส์ แสดงว่าในหลายประเทศยังคงมีการระบาดของโรคไข้หวัดนกซ้ำ โดยเฉพาะประเทศจีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศไทยยังคงต้องป้องกันและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องต่อไป
นอกจากนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีมาตรการเข้มงวดการตรวจสอบและพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคจากยานพาหนะที่บรรทุก สัตว์ปีก ไข่ไก่ อาหารสัตว์ ที่นำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านในพื้นที่ 30 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ตามจุดผ่อนปรน จุดผ่านแดนเข้าออก หรือช่องทางนำเข้าด่านศุลกากรทุกแห่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--
1. มาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายในการดำเนินมาตรการควบคุมโรคไข้หวัดนก โดยยึดหลักการรู้โรคเร็ว ควบคุมโรคเร็ว เน้นความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลักควบคู่ไปกับการควบคุมป้องกันโรคในสัตว์ปีก และมีมาตรการเชิงรุกเพิ่มเติมได้แก่
1. โครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (x-ray) ครั้งที่ 2/2549 (1 มิถุนายน — 31 กรกฎาคม 2549)
วิธีดำเนินการ เป็นการระดมเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกจากหลายๆ หน่วยงาน ดำเนินการสำรวจจำนวนประชากรสัตว์ปีก ค้นหาสัตว์ปีกป่วยตาย พร้อมกันทั่วประเทศ รวมทั้งสุ่มตรวจหาเชื้อไข้หวัดนกในไก่พื้นเมืองและเป็ด ซึ่งเป็นสัตว์ปีกที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคและเป็นพาหะของโรคไข้หวัดนกในพื้นที่เสี่ยง ซึ่งได้แก่พื้นที่ที่เคยพบโรคไข้หวัดนกและพื้นที่ที่มีนกอพยพ หรือนกประจำถิ่นอาศัยอยู่ และให้ดำเนินการตามมาตรการทุกมาตรการในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกที่ได้กำหนดไว้แล้ว
ผลการดำเนินงาน
- ตัวอย่างซากสัตว์ปีกป่วยตายส่งตรวจทั้งหมด 678 ตัวอย่าง พบผลบวก 3 ตัวอย่างใน 2 จุด คือ หมู่ที่ 11 ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร และหมู่ที่ 13 ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม โดยได้มีการทำลายสัตว์ปีกพร้อมพ่นยาฆ่าเชื้อในจุดที่พบเชื้อเรียบร้อย สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ โดยไม่แพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่น
- เก็บตัวอย่าง Cloacal swab จากสัตว์ปีกทั้งหมด 85,596 ตัวอย่าง ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการของกรมปศุสัตว์ ผลการตรวจตัวอย่าง Cloacal swab ทางห้องปฏิบัติการให้ผลลบต่อเชื้อไข้หวัดนกทั้งหมด
- ตัวอย่างซีรั่มจากสัตว์ปีก ทั้งหมด 7,774 ตัวอย่าง อยู่ระหว่างรอผลการตรวจ
2. โครงการเนื้อไก่ปลอดภัยฉลองสาร์ทจีน ( 5 — 8 สิงหาคม 2549 )
วิธีดำเนินการ สุ่มตรวจหาเชื้อโรคไข้หวัดนก จากเนื้อสัตว์ปีกที่วางจำหน่ายในตลาดสดทั่วไปในพื้นที่ 29 จังหวัดซึ่งเคยมีการพบเชื้อโรคไข้หวัดนก โดยดำเนินการในช่วงเทศกาลสาร์ทจีน ระหว่างวันที่ 5 - 8 สิงหาคม 2549 อันเป็นการสร้างความมั่นใจในการบริโภคเนื้อสัตว์ปีกของประชาชน และเป็นการเสริมมาตรการตรวจสอบเชื้อโรคก่อนการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก
ผลการดำเนินงาน มีจำนวนตัวอย่างที่ส่งตรวจทั้งสิ้น 525 ตัวอย่าง ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการให้ผลลบต่อเชื้อไข้หวัดนก ซึ่งแสดงว่าเนื้อสัตว์ปีกที่วางจำหน่ายตามตลาดสดต่างๆ ช่วงเทศกาลสาร์ทจีน มีความปลอดภัยต่อโรคไข้หวัดนก อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะวางระบบในการควบคุมตรวจสอบ ตั้งแต่สถานที่ เลี้ยงสัตว์ปีก สถานที่ชำแหละหรือโรงฆ่าสัตว์ปีก รวมทั้งสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ปีก เพื่อให้เกิดความมั่นใจถึงความปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้บริโภคทุกๆ ขั้นตอนต่อไป
3. โครงการรณรงค์สกัดกั้นโรคไข้หวัดนก ( 7 - 13 สิงหาคม 2549 )
วิธีดำเนินการ เป็นโครงการที่ปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข และอาสาสมัครเกษตร ปศุสัตว์ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสนธิกำลังทุกหน่วยเข้าพบเกษตรกรและประชาชนทุกบ้าน เพื่อค้นหาผู้ป่วยในระบบทางเดินหาย ขึ้นทะเบียนสัตว์ปีก พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีก ประชาสัมพันธ์ให้รู้ถึงวิธีปฏิบัติตนและวิธีเลี้ยงสัตว์ปีกที่ถูกต้อง และวิธีดำเนินการเมื่อพบสัตว์ปีกป่วยตาย เป็นต้น ดำเนินการพร้อมกัน 29 จังหวัด ที่เคยพบโรคไข้หวัดนกในปีที่ผ่านมา เน้นพื้นที่เสี่ยงในภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางระหว่างวันที่ 7 - 13 สิงหาคม 2549 ทั้งนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในโครงการประกาศเป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติของโรคไข้หวัดนกไว้ก่อน หากพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติให้ทำลายสัตว์ปีกในรัศมี 1 กิโลเมตร ยกเว้นฟาร์มมาตรฐาน โดยไม่ต้องรอผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการ
ผลการดำเนินงาน
- มีการเข้าสำรวจเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกจำนวน 2,765,464 หลังคาเรือน จาก 6,413 ตำบล และ 45,523 หมู่บ้าน
- จำนวนสัตว์ปีกที่สำรวจทั้งหมด 101,010,265 ตัว พบสัตว์ปีกป่วยตายทั้งสิ้น 10,272 ตัว จากเกษตรกร 664 ราย ส่งตัวอย่างสัตว์ปีกตรวจวินิจฉัยทั้งสิ้น 850 ตัวอย่าง
- พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค 1,053,203 หลังคาเรือน
- ทำลายสัตว์ปีกในรัศมี 1 กิโลเมตร จำนวนสัตว์ปีกที่ทำลาย 89,993 ตัว จาก เกษตรกร 5,498ราย
ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวทำให้สถานการณ์ที่มีสัตว์ปีกป่วยตายในแต่ละพื้นที่เบาบางลง เป็นการลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคในแต่ละพื้นที่ อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังคงให้แต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงได้เฝ้าระวังโรคอย่างเข้มงวดและต่อเนื่องโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดชายแดน
4. โครงการรณรงค์ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรค (1 - 14 สิงหาคม 2549) ดำเนินการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคพร้อมกันทุกจังหวัด โดยให้เน้นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หวัดนก ได้แก่ สถานที่เลี้ยงสัตว์ปีก ฟาร์มสัตว์ปีก สถานที่ฆ่าสัตว์ปีก และบริเวณที่พักอาศัยของนกธรรมชาติที่ใกล้เคียงกับสถานที่เลี้ยงสัตว์ปีกของเกษตรกร
2. ผลการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อไวรัสไข้หวัดนก
กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างเชื้อไวรัสไข้หวัดนกจาก พื้นที่ที่พบโรคตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันกว่า 200 ตัวอย่าง ส่งพิสูจน์สายพันธุ์ของเชื้อโดยได้รับความร่วมมือจากคณะแพทยศาสตร์ (ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ) คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะสัตว-แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งจากการถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกจากจังหวัดพิจิตร และจังหวัดนครพนม พบว่าสายพันธุ์เชื้อที่จังหวัดพิจิตรเป็นสายพันธุ์เดียวกับที่เคยมีการระบาดในประเทศไทย เมื่อปี 2547 และ ปี 2548 ที่ผ่านมา ส่วนสายพันธุ์เชื้อที่จังหวัดนครพนมมีลักษณะเหมือนและคล้ายคลึงกับสายพันธุ์ที่เคยมีรายงานไว้ในประเทศจีน ทางตะวันออกเฉียงใต้ (จังหวัดเจ๋อเจียง ฟูเจี้ยน กวางสี และอันฮุย) แสดงว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 สายพันธุ์ที่พบที่จังหวัดนครพนมมีแหล่งกำเนิดเดียวกันกับที่พบทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน และเป็นคนละกลุ่มกับที่พบที่จังหวัดพิจิตร หรือที่พบในปี 2547 และ ปี 2548 ทั้งนี้เชื้อไวรัสทั้ง 2 กลุ่ม ยังคงมีความรุนแรงในการก่อโรค แต่ยังไม่พบการกลายพันธุ์ของเชื้อ การติดเชื้อจากคนสู่คน หรือการดื้อต่อยา Oseltamivir (TimifluR) แต่อย่างใด สำหรับเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิด H5N1 ในปัจจุบันที่พบทั่วโลก มีทั้งสิ้น 4 สายพันธุ์ ดังนี้
(1) สายพันธุ์ที่พบในมลฑลชิงไห่ ประเทศจีน
(2) สายพันธุ์ที่พบในประเทศไทยและเวียดนาม
(3) สายพันธุ์ที่พบในประเทศอินโดนีเซีย
(4) สายพันธุ์ที่พบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน (จังหวัดเจ๋อเจียง ฟูเจี้ยน กวางสี และอันฮุย) และเชื้อไวรัสไข้หวัดนกในปัจจุบันที่พบ ทั้ง 4 สายพันธุ์ ยังคงมีความรุนแรงในการก่อให้เกิดโรคใกล้เคียงกัน จากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศแถบยุโรป และแอฟริกา พบว่า สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสนั้น จากการถอดรหัสทางพันธุกรรมพบว่าเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับสายพันธุ์ที่พบในมลฑลชิงไห่ ประเทศจีน ดังนั้น จึงสันนิษฐานได้ว่ามีการแพร่ระบาดของเชื้อมาจากประเทศจีน ไม่ได้แพร่ระบาดมาจากประเทศไทยแต่อย่างใด
3. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในประเทศไทย
3.1 สถานการณ์ในประเทศไทย
มีรายงานพบโรคไข้หวัดนก ชนิด H5N1 ในสัตว์ปีก 2 จุด ดังนี้
จุดที่ 1 พบที่ หมู่ที่ 11 ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 ใน ไก่พื้นเมือง เฝ้าระวังครบ 21 วันแล้ว เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2549 (ปลดออกจากบัญชีเฝ้าระวังแล้ว)
จุดที่ 2 พบที่หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2549 ในฟาร์มไก่ไข่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเฝ้าระวังยังไม่ครบ 21 วัน
3.2 สถานการณ์ต่างประเทศ
ในเดือนสิงหาคม 2549 พบเชื้อไข้หวัดนกใน 5 ประเทศ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ พบเชื้อชนิด H7 ในฟาร์มสัตว์ปีก ประเทศอินโดนีเซีย พบเชื้อชนิด H5N1 ในสัตว์ปีกพื้นเมือง ประเทศเวียดนาม พบเชื้อชนิด H5N1 ในเป็ด ประเทศจีน พบเชื้อชนิด H5N1 ในเป็ด และ ประเทศเยอรมัน พบเชื้อชนิด H5N1 ในหงส์ แสดงว่าในหลายประเทศยังคงมีการระบาดของโรคไข้หวัดนกซ้ำ โดยเฉพาะประเทศจีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศไทยยังคงต้องป้องกันและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องต่อไป
นอกจากนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีมาตรการเข้มงวดการตรวจสอบและพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคจากยานพาหนะที่บรรทุก สัตว์ปีก ไข่ไก่ อาหารสัตว์ ที่นำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านในพื้นที่ 30 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ตามจุดผ่อนปรน จุดผ่านแดนเข้าออก หรือช่องทางนำเข้าด่านศุลกากรทุกแห่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--