แท็ก
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานนโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอดังนี้
ตามที่คณะรัฐมนตรีลงมติเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2548 รับทราบนโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติ และให้ยกเลิกแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการตามนโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว นั้น สำนักงาน สภาความมั่นคงแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหม ได้อำนวยการบริหารจัดการนโยบาย การเตรียมพร้อมแห่งชาติ ดังนี้
1. กระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดทำร่างกรอบแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการสาธารณภัยของหน่วยงานทุกภาคส่วนให้สอดรับกับแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ โดยครอบคลุมประเภทภัยต่าง ๆ และให้ความสำคัญกับการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติ แผนปฏิบัติการระดับจังหวัด แผนปฏิบัติการระดับอำเภอ/ท้องถิ่น โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ในภาวะปกติบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้นำไปประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับ
2. กระทรวงกลาโหม ได้จัดทำร่างแผนบรรเทาสาธารณภัยกลาโหม โดยมีศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม (ศบภ.กห.) เป็นหน่วยรับผิดชอบ โดยร่างแผนบรรเทาสาธารณภัยกลาโหม มุ่งเน้นการเตรียมและการใช้ทรัพยากรของกองทัพในการป้องกันบรรเทา ระงับภัย รวมทั้งฟื้นฟูภายหลังเกิดเหตุ โดยให้มีการประสานการปฏิบัติและสนับสนุนฝ่ายพลเรือนตามแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--
ตามที่คณะรัฐมนตรีลงมติเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2548 รับทราบนโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติ และให้ยกเลิกแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการตามนโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว นั้น สำนักงาน สภาความมั่นคงแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหม ได้อำนวยการบริหารจัดการนโยบาย การเตรียมพร้อมแห่งชาติ ดังนี้
1. กระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดทำร่างกรอบแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการสาธารณภัยของหน่วยงานทุกภาคส่วนให้สอดรับกับแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ โดยครอบคลุมประเภทภัยต่าง ๆ และให้ความสำคัญกับการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติ แผนปฏิบัติการระดับจังหวัด แผนปฏิบัติการระดับอำเภอ/ท้องถิ่น โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ในภาวะปกติบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้นำไปประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับ
2. กระทรวงกลาโหม ได้จัดทำร่างแผนบรรเทาสาธารณภัยกลาโหม โดยมีศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม (ศบภ.กห.) เป็นหน่วยรับผิดชอบ โดยร่างแผนบรรเทาสาธารณภัยกลาโหม มุ่งเน้นการเตรียมและการใช้ทรัพยากรของกองทัพในการป้องกันบรรเทา ระงับภัย รวมทั้งฟื้นฟูภายหลังเกิดเหตุ โดยให้มีการประสานการปฏิบัติและสนับสนุนฝ่ายพลเรือนตามแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--