คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า ได้ร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาดำเนินการตาม คำสั่งนายกรัฐมนตรีตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 แล้ว และได้จัดทำเป็นร่างพระราชบัญญัติฉบับเดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ ร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. ... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถใช้ไฟฉายเรืองแสงในการแสดงสัญญาณจราจรในเวลากลางคืนได้ (เพิ่มเติมวรรคสามของมาตรา 24 (ร่างมาตรา 3))
2. กำหนดให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจกักตัวผู้ขับขี่ที่ไม่ยอมให้ทดสอบไว้ดำเนินการทดสอบได้ หากผู้นั้นไม่ยอมทดสอบ ให้สันนิษฐานว่าผู้นั้นหย่อนความสามารถในอันที่จะขับขี่รถหรือขับขี่รถในขณะเมาสุรา หรือของเมาอย่างอื่น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 142 (ร่างมาตรา 4))
3. ปรับปรุงอัตราโทษในกรณีที่ผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้มีการทดสอบว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะขับรถ (แก้ไขวรรคหนึ่ง (3) ของมาตรา 154 (ร่างมาตรา 5))
4. กำหนดอัตราโทษกรณีที่ผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้มีการทดสอบว่าเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น (เพิ่มเติมมาตรา 154/1 (ร่างมาตรา 6))
5. กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งพักใช้ เพิกถอน หรือห้ามผู้นั้นขับรถมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีในกรณีที่ผู้ขับขี่ต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น รวมทั้งกำหนดอัตราโทษในกรณีผู้กระทำผิดฐานขับรถขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลดังกล่าว (แก้ไขมาตรา 162 (ร่างมาตรา 7))
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 มิถุนายน 2550--จบ--
กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า ได้ร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาดำเนินการตาม คำสั่งนายกรัฐมนตรีตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 แล้ว และได้จัดทำเป็นร่างพระราชบัญญัติฉบับเดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ ร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. ... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถใช้ไฟฉายเรืองแสงในการแสดงสัญญาณจราจรในเวลากลางคืนได้ (เพิ่มเติมวรรคสามของมาตรา 24 (ร่างมาตรา 3))
2. กำหนดให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจกักตัวผู้ขับขี่ที่ไม่ยอมให้ทดสอบไว้ดำเนินการทดสอบได้ หากผู้นั้นไม่ยอมทดสอบ ให้สันนิษฐานว่าผู้นั้นหย่อนความสามารถในอันที่จะขับขี่รถหรือขับขี่รถในขณะเมาสุรา หรือของเมาอย่างอื่น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 142 (ร่างมาตรา 4))
3. ปรับปรุงอัตราโทษในกรณีที่ผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้มีการทดสอบว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะขับรถ (แก้ไขวรรคหนึ่ง (3) ของมาตรา 154 (ร่างมาตรา 5))
4. กำหนดอัตราโทษกรณีที่ผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้มีการทดสอบว่าเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น (เพิ่มเติมมาตรา 154/1 (ร่างมาตรา 6))
5. กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งพักใช้ เพิกถอน หรือห้ามผู้นั้นขับรถมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีในกรณีที่ผู้ขับขี่ต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น รวมทั้งกำหนดอัตราโทษในกรณีผู้กระทำผิดฐานขับรถขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลดังกล่าว (แก้ไขมาตรา 162 (ร่างมาตรา 7))
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 มิถุนายน 2550--จบ--