คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ โดยให้รับความเห็นและข้อเสนอของคณะรัฐมนตรีไปปรับปรุงในบางประเด็นให้ชัดเจนยิ่งขึ้นและดำเนินการต่อไป
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. หลักการของยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
การกำหนดยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ได้จัดทำขึ้น ภายใต้กรอบนโยบายรัฐบาล วาระสำคัญของรัฐบาล และยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 — 2554) โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล รวมทั้งหลักความโปร่งใส เป็นธรรม ประหยัด และประสิทธิภาพ มาเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงาน ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการประเทศไป สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
กรอบหลักของการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับนโยบายของรัฐบาล วาระสำคัญของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 สรุปได้ดังนี้
กรอบหลักของการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
นโยบายรัฐบาล วาระสำคัญของรัฐบาล ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ยุทธศาสตร์งบประมาณ 2551
1.นโยบายสังคม 1.การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 1.การพัฒนาคนและสังคมไทยสู่สังคม 1.การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุข
ประชาชนอยู่ดีมีสุข แห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ภาพที่ดี มีคุณธรรมนำความรู้และ
2.การสร้างความเข้มแข็งของ สามารถปรับตัวสู่สังคมฐานความรู้
ชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐาน 2.การแก้ไขความยากจน กระจาย
ที่มั่นคงของประเทศ ความเจริญสู่ชนบท และลดช่องว่าง
ของรายได้
2.นโยบายเศรษฐกิจ 2.การเพิ่มประสิทธิภาพ 3.การปรับโครงสร้างทาง 3.การเพิ่มขีดความสามารถในการ
แห่งชาติ เศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน แข่งขันเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัว
3.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ทางปัญญา
4.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
และระบบการรับ-ส่ง-ดูแล
สินค้าและบริการ
3.นโยบายการต่าง
ประเทศ
5.การจัดการทรัพยากรน้ำ 4.การพัฒนาบนความหลากหลาย 4.การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
ทางชีวภาพและการสร้างความ สิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์
มั่นคงของฐานทรัพยากรและ จากความหลากหลายทางชีวภาพ
สิ่งแวดล้อม ให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและ
สังคม
4.นโยบายการปฏิรูป 6.การปฏิรูปการเมือง 5.การเสริมสร้างธรรมาภิบาล 5.การพัฒนาการเมืองและการ
การเมือง การ ในการบริหารจัดการประเทศ บริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ
ปกครอง และการ และเป็นธรรม
บริหาร
5.นโยบายการรักษา 6.การรักษาความมั่นคงของชาติ
ความมั่นคงของรัฐ และความสงบสุขของสังคม
7.รายการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ
2. สาระสำคัญของยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จะประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ และรายการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ โดยมีสาระสำคัญโดยสรุปแต่ละยุทธศาสตร์ ดังนี้
2.1 การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี มีคุณธรรมนำความรู้ และสามารถปรับตัวสู่สังคมฐานความรู้
การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมยุคฐานความรู้ และข้อจำกัดของโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่ยุคผู้สูงอายุ จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพทางปัญญา และมีสุขภาพที่แข็งแรง เพื่อเป็นกำลังแรงงานที่มีคุณภาพของประเทศ และปรับปรุงระบบสวัสดิการทางสังคมให้สามารถดูแลผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้ในระยะยาว ซึ่งได้แก่ การเร่งรัดปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต การอนุรักษ์ สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม การปรับปรุงและพัฒนาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า การเสริมสร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม การพัฒนาและเสริมสร้างโอกาสให้แก่กลุ่มคนพิการและผู้ด้อยโอกาสและการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เป็นต้น
2.2 การแก้ไขความยากจน กระจายความเจริญสู่ชนบท และลดช่องว่างของรายได้
มุ่งเน้นการส่งเสริมการรวมตัวของชุมชนในระดับท้องถิ่นและชนบทให้มีความสามารถในการพัฒนาตนเองบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างรายได้ที่เพียงพอสำหรับการยังชีพ และการสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อชุมชนและชนบท ซึ่งได้แก่ การขจัดความยากจนและพัฒนาชนบท และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข และโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
2.3 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
มุ่งเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพของภาคการผลิต การขยายโอกาสของการผลิตสินค้าไปสู่สินค้าที่สร้างมูลค่าสูงบนพื้นฐานของการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้เอื้ออำนวยการลดต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งได้แก่ การเสริมสร้างประสิทธิภาพแห่งชาติ การพัฒนาระบบเครือข่ายการขนส่งและการรับ-ส่ง-ดูแลสินค้าและบริการ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา การสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม การสร้างความมั่นคงและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และพัฒนาพลังงานทดแทน การปรับโครงสร้างภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ภาคบริการและการค้า การส่งเสริมการบริหารการเงิน และการคลังที่ยั่งยืน และการดำเนินนโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นต้น
2.4 การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม มุ่งเน้นการฟื้นฟูและดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กลับสู่ธรรมชาติ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งได้แก่ การจัดการทรัพยากรน้ำ การสร้างสมดุลของการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ การควบคุมมลพิษจากขยะ น้ำเสีย ฝุ่นละออง ก๊าซ กลิ่น สารระเหย และเสียง และการส่งเสริมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
2.5 การพัฒนาการเมืองและการบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม มุ่งปรับปรุงระบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างเหมาะสม สร้างความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่ถูกต้อง และการปรับปรุงระบบการให้บริการของภาครัฐเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งได้แก่ การพัฒนาการเมือง การบริหารจัดการภาครัฐ การกระจายอำนาจและส่งเสริมประสิทธิภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบริหารบุคลากรภาครัฐ ค่าใช้จ่ายเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เป็นต้น
2.6 การรักษาความมั่นคงของชาติและความสงบสุขของสังคม มุ่งสร้างความเข้มแข็งของระบบป้องกันและรักษาความมั่นคงของชาติ ที่มีการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ โดยเฉพาะการก่อการร้ายสากล ภัยสังคมที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และภัยธรรมชาติ ตลอดจนสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทย ซึ่งได้แก่ การรักษาความมั่นคง การส่งเสริมความเข้มแข็งและประสิทธิภาพของกองทัพ และตำรวจ การเสริมสร้างความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การสร้างระบบการเตรียมพร้อม ดูแลและรักษาความปลอดภัยจากภัยคุกคามของการก่อการร้าย ภัยธรรมชาติและสาธารณภัย การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และยาเสพติด เป็นต้น
2.7 รายการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ เป็นรายการเพื่อรองรับการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มีนาคม 2550--จบ--
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. หลักการของยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
การกำหนดยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ได้จัดทำขึ้น ภายใต้กรอบนโยบายรัฐบาล วาระสำคัญของรัฐบาล และยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 — 2554) โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล รวมทั้งหลักความโปร่งใส เป็นธรรม ประหยัด และประสิทธิภาพ มาเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงาน ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการประเทศไป สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
กรอบหลักของการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับนโยบายของรัฐบาล วาระสำคัญของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 สรุปได้ดังนี้
กรอบหลักของการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
นโยบายรัฐบาล วาระสำคัญของรัฐบาล ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ยุทธศาสตร์งบประมาณ 2551
1.นโยบายสังคม 1.การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 1.การพัฒนาคนและสังคมไทยสู่สังคม 1.การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุข
ประชาชนอยู่ดีมีสุข แห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ภาพที่ดี มีคุณธรรมนำความรู้และ
2.การสร้างความเข้มแข็งของ สามารถปรับตัวสู่สังคมฐานความรู้
ชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐาน 2.การแก้ไขความยากจน กระจาย
ที่มั่นคงของประเทศ ความเจริญสู่ชนบท และลดช่องว่าง
ของรายได้
2.นโยบายเศรษฐกิจ 2.การเพิ่มประสิทธิภาพ 3.การปรับโครงสร้างทาง 3.การเพิ่มขีดความสามารถในการ
แห่งชาติ เศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน แข่งขันเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัว
3.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ทางปัญญา
4.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
และระบบการรับ-ส่ง-ดูแล
สินค้าและบริการ
3.นโยบายการต่าง
ประเทศ
5.การจัดการทรัพยากรน้ำ 4.การพัฒนาบนความหลากหลาย 4.การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
ทางชีวภาพและการสร้างความ สิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์
มั่นคงของฐานทรัพยากรและ จากความหลากหลายทางชีวภาพ
สิ่งแวดล้อม ให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและ
สังคม
4.นโยบายการปฏิรูป 6.การปฏิรูปการเมือง 5.การเสริมสร้างธรรมาภิบาล 5.การพัฒนาการเมืองและการ
การเมือง การ ในการบริหารจัดการประเทศ บริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ
ปกครอง และการ และเป็นธรรม
บริหาร
5.นโยบายการรักษา 6.การรักษาความมั่นคงของชาติ
ความมั่นคงของรัฐ และความสงบสุขของสังคม
7.รายการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ
2. สาระสำคัญของยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จะประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ และรายการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ โดยมีสาระสำคัญโดยสรุปแต่ละยุทธศาสตร์ ดังนี้
2.1 การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี มีคุณธรรมนำความรู้ และสามารถปรับตัวสู่สังคมฐานความรู้
การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมยุคฐานความรู้ และข้อจำกัดของโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่ยุคผู้สูงอายุ จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพทางปัญญา และมีสุขภาพที่แข็งแรง เพื่อเป็นกำลังแรงงานที่มีคุณภาพของประเทศ และปรับปรุงระบบสวัสดิการทางสังคมให้สามารถดูแลผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้ในระยะยาว ซึ่งได้แก่ การเร่งรัดปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต การอนุรักษ์ สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม การปรับปรุงและพัฒนาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า การเสริมสร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม การพัฒนาและเสริมสร้างโอกาสให้แก่กลุ่มคนพิการและผู้ด้อยโอกาสและการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เป็นต้น
2.2 การแก้ไขความยากจน กระจายความเจริญสู่ชนบท และลดช่องว่างของรายได้
มุ่งเน้นการส่งเสริมการรวมตัวของชุมชนในระดับท้องถิ่นและชนบทให้มีความสามารถในการพัฒนาตนเองบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างรายได้ที่เพียงพอสำหรับการยังชีพ และการสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อชุมชนและชนบท ซึ่งได้แก่ การขจัดความยากจนและพัฒนาชนบท และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข และโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
2.3 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
มุ่งเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพของภาคการผลิต การขยายโอกาสของการผลิตสินค้าไปสู่สินค้าที่สร้างมูลค่าสูงบนพื้นฐานของการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้เอื้ออำนวยการลดต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งได้แก่ การเสริมสร้างประสิทธิภาพแห่งชาติ การพัฒนาระบบเครือข่ายการขนส่งและการรับ-ส่ง-ดูแลสินค้าและบริการ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา การสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม การสร้างความมั่นคงและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และพัฒนาพลังงานทดแทน การปรับโครงสร้างภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ภาคบริการและการค้า การส่งเสริมการบริหารการเงิน และการคลังที่ยั่งยืน และการดำเนินนโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นต้น
2.4 การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม มุ่งเน้นการฟื้นฟูและดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กลับสู่ธรรมชาติ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งได้แก่ การจัดการทรัพยากรน้ำ การสร้างสมดุลของการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ การควบคุมมลพิษจากขยะ น้ำเสีย ฝุ่นละออง ก๊าซ กลิ่น สารระเหย และเสียง และการส่งเสริมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
2.5 การพัฒนาการเมืองและการบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม มุ่งปรับปรุงระบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างเหมาะสม สร้างความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่ถูกต้อง และการปรับปรุงระบบการให้บริการของภาครัฐเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งได้แก่ การพัฒนาการเมือง การบริหารจัดการภาครัฐ การกระจายอำนาจและส่งเสริมประสิทธิภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบริหารบุคลากรภาครัฐ ค่าใช้จ่ายเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เป็นต้น
2.6 การรักษาความมั่นคงของชาติและความสงบสุขของสังคม มุ่งสร้างความเข้มแข็งของระบบป้องกันและรักษาความมั่นคงของชาติ ที่มีการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ โดยเฉพาะการก่อการร้ายสากล ภัยสังคมที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และภัยธรรมชาติ ตลอดจนสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทย ซึ่งได้แก่ การรักษาความมั่นคง การส่งเสริมความเข้มแข็งและประสิทธิภาพของกองทัพ และตำรวจ การเสริมสร้างความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การสร้างระบบการเตรียมพร้อม ดูแลและรักษาความปลอดภัยจากภัยคุกคามของการก่อการร้าย ภัยธรรมชาติและสาธารณภัย การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และยาเสพติด เป็นต้น
2.7 รายการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ เป็นรายการเพื่อรองรับการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มีนาคม 2550--จบ--