คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพัฒนาดัชนีชี้วัดและรายงานสถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำขึ้น รวมทั้งรายงานสรุปผลการประชุมประจำปี 2550 ของ สศช. ซึ่ง สศช. จะได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางดำเนินการขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยตามที่เสนอต่อไป
1. ข้อเท็จจริง
1.1 สืบเนื่องจาก นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2549 ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ศึกษา ปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้วัดความสุขที่สามารถเข้าใจง่าย เป็นที่ยอมรับร่วมกันและนำไปใช้เป็นตัวชี้วัดการพัฒนาประเทศได้ต่อไป
1.2 สศช. จึงได้เริ่มกระบวนการพัฒนาดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย โดยพัฒนาต่อยอดและปรับปรุงจากดัชนีที่ทำไว้เดิม ภายใต้การประสานความร่วมมือกับภาคีพัฒนาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง มีการร่วมระดมความคิดเห็นผ่านเวทีประชุมสัมมนา มีการสำรวจความคิดเห็นทั้งจากภาครัฐ และชุมชนในภูมิภาคต่างๆ เพื่อวางกรอบแนวคิดการพัฒนาดัชนี ตลอดจนความหมาย องค์ประกอบหลักและจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัด โดยนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นระยะๆ จนแล้วเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2550
1.3 ต่อมา สศช. จึงได้จัดให้มีการประชุมประจำปี 2550 เรื่อง “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” ขึ้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เพื่อรายงานสถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยด้วยดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน รวมทั้งเพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีส่วนร่วมระดมความคิดเห็นต่อการพัฒนาดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมมุ่งสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันได้ต่อไป โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากทุกภาคส่วนในสังคม รวมทั้งสิ้นประมาณ 2,000 คน
1.4 การประชุมในช่วงเช้าเริ่มด้วยการนำเสนอวีดิทัศน์เรื่อง “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” และนายกรัฐมนตรี ได้แสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “รัฐบาลกับการสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” และการบรรยายพิเศษเรื่อง “ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข” โดยนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จากนั้นเป็นการนำเสนอและอภิปราย เรื่อง “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” ส่วนการประชุมในช่วงบ่ายเป็นการระดมความคิดเห็นให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในมิติต่างๆ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 : หนทางสร้างสุขของคนในชุมชนและสังคมไทย กลุ่มที่ 2 : ความเข้มแข็งและเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ กลุ่มที่ 3 : การอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และกลุ่มที่ 4 : วิถีเมืองและชนบทกับความอยู่เย็นเป็นสุข
2. สรุปสาระสำคัญผลการประชุมประจำปี 2550 ของ สศช.
2.1 สรุปสถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ในช่วงปี 2544 — 2549
สศช. ได้นำเสนอกรอบหลักการ แนวคิดพื้นฐานของความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย และการพัฒนาดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย รวมทั้งรายงานสถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันตามปัจจัยองค์ประกอบหลัก 6 องค์ประกอบ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานร่วมของการสร้างสุขในสังคมไทย โดยพบว่าสถานการณ์ภาพรวมความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ในช่วงปี 2544 — 2549 มีทิศทางดีขึ้น ดัชนีการพัฒนาโดยรวมปรับตัวขึ้นจากร้อยละ 61.59 เป็นร้อยละ 64.04 แต่ยังมีระดับที่ไม่น่าพอใจ เมื่อพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานร่วมของความอยู่เย็นเป็นสุขฯ พบว่า
(1) ด้านการเสริมสร้างสุขภาวะ ดีขึ้นเป็นลำดับ คนไทยมีโอกาสได้เข้ารับการดูแลสุขภาพดีขึ้น แต่ในด้านสุขภาพจิต การมีคุณธรรม และสติปัญญาใฝ่รู้นั้นยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำมาก
(2) ความอบอุ่นในครอบครัวเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านภาระหน้าที่ของครอบครัวในเรื่องที่จะต้องดูแลเด็กและเยาวชน และผู้สูงอายุน้อยลง ครอบครัวเริ่มแยกกันมากขึ้น ภาวะอัตราหย่าร้างสูงขึ้น
(3) ความเข้มแข็งของชุมชน อยู่ในระดับต่ำมาโดยตลอด และมีปัญหาอย่างมาก แม้การมีส่วนร่วมในการพัฒนา การรวมกลุ่มกันในการร่วมคิด วิเคราะห์ และมีการจัดทำแผนชุมชนต่างๆ จะเพิ่มมากขึ้น แต่การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ และมิติของการเกื้อกูลกันยังอยู่ในระดับต่ำ
(4) ความเข้มแข็งและเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ ในภาพรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน สะท้อนว่ามิติการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาที่ผ่านมาที่พิจารณาเชิงปริมาณนั้น ค่อนข้างดี แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสังเกตและต้องพัฒนายิ่งขึ้นคือความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ
(5) สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศสมดุล ยังอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง มีปัญหาที่น่าเป็นห่วงทั้งด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินซึ่งมีปัญหาที่รุนแรง และซับซ้อนมากขึ้น
(6) สังคมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล ยังอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง แม้จะมีความตื่นตัวในการดูแลปกป้องสิทธิเสรีภาพของตนเอง และการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นมากขึ้น
จากรายงานสถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ดังกล่าว ได้มีข้อเสนอประเด็นเร่งด่วนที่ต้องพิจารณาขับเคลื่อน อันได้แก่ 1) การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของคนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน 2) การป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม และยาเสพติด 3) การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาให้นำไปสู่การคิดเป็น ทำเป็น 4) การเรียนรู้ และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น 5) การสร้างระบบธรรมาภิบาล และการขับเคลื่อนการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วมของชุมชนที่ต้องมีการขยายอย่างต่อเนื่อง และ 6) การดูแลในเรื่องของคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมมลพิษซึ่งจะเป็นปัญหาในช่วงที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงขึ้น
2.2 สรุปความเห็นและข้อเสนอแนะจากที่ประชุมประจำปี 2550 ของ สศช.
ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ สศช. ในการพัฒนาดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ตลอดจนการนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินผลการพัฒนาประเทศ และเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขในสังคมไทย โดยที่ประชุมคาดหวังให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 เป็นแผนที่จะก่อให้เกิดจุดเปลี่ยนที่สำคัญในเรื่องความคิด วิธีคิด วิธีทำ และวิธีการจัดการ เพื่อให้การพัฒนาตามแผน บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ แนวทางการพัฒนา และบังเกิดผลสุดท้ายที่พึงปรารถนา คือ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 นอกจากนี้ ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้
(1) ด้านการพัฒนาดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
(1.1) ควรเพิ่มเติมตัวชี้วัดในเชิงคุณภาพ และมีประเด็นด้านบวกให้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ควรจะพัฒนาให้อยู่ในระดับที่สามารถบอกวิกฤตของการพัฒนา และใช้ระบุทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้ชัดเจนเป็นรายสาขา รวมทั้งพัฒนาให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล เพื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศได้
(1.2) สนับสนุนการสร้างและพัฒนาดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขในมิติพื้นที่เมืองและชนบท โดยให้คนในแต่ละพื้นที่ คิด สร้าง และพัฒนาด้วยตนเอง เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องตามความหลากหลายของแต่ละพื้นที่ สามารถสะท้อนการวัดความอยู่เย็นเป็นสุขที่แท้จริงของแต่ละพื้นที่ชุมชน โดยหน่วยงานกลาง ภาครัฐควรเป็นเพียงผู้สนับสนุนด้านกระบวนการจัดทำดัชนีชี้วัด
(1.3) พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลให้มีมาตรฐาน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ และได้มาตรฐานเพื่อขจัดปัญหาความคลาดเคลื่อน ความซ้ำซ้อน และความขัดแย้งของข้อมูล
(2) ด้านแนวทางขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ที่ประชุมให้ความสำคัญกับการสร้างวิสัยทัศน์ และเป้าหมายร่วมกันในสังคม อันจะเป็นพลังให้เกิดความร่วมมือร่วมใจดำเนินงานให้บังเกิดผลตามวิสัยทัศน์ และกำหนดทิศทางการพัฒนาความอยู่เย็นเป็นสุข มุ่งเน้นที่การสร้างรากฐานของความอยู่เย็นเป็นสุข 3 ประการ คือ การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ การพัฒนาชุมชน-ท้องถิ่นให้เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ และการส่งเสริมความเป็นประชาสังคม โดยมีแนวทางการขับเคลื่อนที่สำคัญ ดังนี้
(2.1) เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและความสมานฉันท์ในสังคม เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนได้ด้วยตนเอง โดยให้ความสำคัญกับ 1) สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน 2) เพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น 3) สนับสนุนบทบาทของชุมชน ในการจัดสวัสดิการ 4) ส่งเสริมการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาของชุมชน 5) เสริมสร้างความเข้มแข็งของการติดตามประเมินผลในระดับชุมชน และ 6) ผลักดันกระบวนการขับเคลื่อนของสังคมและกระบวนการจัดทำแผนชุมชน
(2.2) สร้างความเข้มแข็งและความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเป็นธรรมทางเศรษฐกิจบนฐานเศรษฐกิจภายในประเทศที่มั่นคง ได้แก่ 1) การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น 2) การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างคนจนกับคนรวย ระหว่างเมืองกับชนบท และการกระจายรายได้เพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคมและให้สังคมเป็นสุขมากขึ้น 3)การกำหนดนโยบายการพัฒนาที่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุของประชากรที่เปลี่ยนไปสู่ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น 4) การใช้นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้และความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ 5) พัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งในเชิงคุณภาพและประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ และ 6) การบังคับใช้กฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความเป็นธรรมในธุรกิจ
(2.3) พัฒนาแนวทางการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยการฟื้นฟูวิถีการดำรงชีวิตที่มีความเป็นไทย มีความความพอเพียง เคารพต่อธรรมชาติไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน มีความเสียสละ ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างคนในชุมชน สังคม และประเทศ และทำให้เกิดความสุขร่วมกันได้ในที่สุด โดยจัดทำยุทธศาสตร์การบริโภคและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมาเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการพัฒนา และสร้างความสมดุลของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
(2.4) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองให้เอื้อต่อการพัฒนาชนบท โดยสร้างความเชื่อมโยงการบริหารจัดการระหว่างเมืองและชนบทที่ชัดเจน สร้างเครือข่ายร่วมกัน เพื่อนำศักยภาพด้านองค์ความรู้ของเมืองมาช่วยหนุนเสริมการเรียนรู้ในการพัฒนาชนบท ควบคู่ไปกับการส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในการเชื่อมโยงการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างเกื้อกูล เพื่อกระจายโอกาสการพัฒนาให้ทัดเทียมและทั่วถึง และใช้การผลิตในโลกยุคใหม่เชื่อมโยงชนบทและเมือง เพื่อให้เกิดการผลิตที่เน้นคุณภาพและความแตกต่างของผลิตภัณฑ์
(3) ด้านกลไกขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ให้ความสำคัญกับ
(3.1) การมียุทธศาสตร์การจัดการ ซึ่งต้องมีองค์ความรู้และภูมิปัญญาในการจัดการทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับบน เป็นการจัดการระดับนโยบายและยุทธศาสตร์ ระดับกลาง เป็นการจัดการด้านประเด็นต่างๆ และระดับราก เป็นการจัดการในระดับรากหญ้า ได้แก่ ชุมชน หรือการจัดการวิสาหกิจชุมชน โดยยึดการทำงานในลักษณะบูรณาการกับภาคีทุกภาคส่วน
(3.2) ปรับบทบาทภาคีการพัฒนาทั้งภาครัฐ ภาคชุมชน และภาคธุรกิจ ให้เป็นเครือข่ายการพัฒนาร่วมในการคิด การวางแผนพัฒนา ติดตามประเมินผล โดยมีกลไกการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยเฉพาะภาคธุรกิจต้องดูแลการดำเนินงานให้มีธรรมาภิบาล มีความเป็นธรรมกับผู้ถือหุ้น พนักงาน ผู้บริโภค และคู่แข่ง และธุรกิจยังต้องมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้เสนอความเห็นต่อบทบาทของ สศช. โดยเสนอแนะให้ สศช. ให้ความสำคัญกับการผลิตข้อมูล การกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะยาว รวมทั้งกำกับและประสานนโยบาย ตลอดจนประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของประเทศและการลงทุนของภาครัฐ และทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้แก่รัฐบาลในด้านการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนมีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการเสริมสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจโดยดำเนินมาตรการด้านการเสริมสร้างความเสมอภาคทางด้านรายได้
3. แนวทางดำเนินการขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย
สศช. ได้ประมวลสังเคราะห์ผลการประชุมประจำปี 2550 สรุปเป็นข้อเสนอแนวทางดำเนินการ ขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยที่ สศช. จะดำเนินการ ดังนี้
3.1 ประสานหน่วยงานดำเนินแนวทางมาตรการที่ควรผลักดันขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติเพื่อสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันผลักดันดำเนินแนวทางและมาตรการที่สำคัญ ดังนี้
(1) กำหนดให้การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเป็นยุทธศาสตร์ชาติ ที่ทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดพลังผลักดันสังคมสู่คุณธรรมความดีงาม โดยการส่งเสริมคุณธรรมในทุกเพศทุกวัยและทุกสาขาอาชีพ ทั้งในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้องปรับปรุงให้เป็นเบ้าหลอมวินัย คุณธรรม และวัฒนธรรมและกับเยาวชนไทย การส่งเสริมประชาชนและข้าราชการ ผู้บริหาร และผู้ปกครองทุกระดับยึดถือและดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพและการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของศาสนา รวมทั้งสนับสนุนให้สถาบันครอบครัวมีบทบาทร่วมกับสถาบันทางศาสนา และสถาบันการศึกษา (บวร) ทำหน้าที่เป็นแกนกลางปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับสังคม โดยมีกระทรวงวัฒนธรรมเป็นแกนกลางประสานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นกลไกประสานกับภาคีการพัฒนาต่างๆ
(2) เสริมสร้างความอบอุ่นของครอบครัว โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของครอบครัว ควบคู่ไปกับการปลูกฝังและรณรงค์เรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต การสร้างความสัมพันธ์อันดีในครอบครัวให้มีความผูกพันทางใจโดยการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว รวมทั้งสนับสนุนให้ชุมชนมีบทบาทต่อการสร้างความอบอุ่นของครอบครัว โดยมีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นแกนหลักในการประสานกิจกรรมกับภาคีการพัฒนาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน ภาคประชาสังคมและสถานศึกษาระดับต่างๆ
(3) เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เน้นการสนับสนุนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยชุมชนและ การบริหารจัดการองค์กรภาคประชาชน/ชุมชน ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้วัตถุดิบและการจ้างงานในชุมชน โดยใช้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดเป็นเครื่องมือและใช้กลไกที่มีอยู่ทั้งระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับอำเภอเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
(4) สร้างเศรษฐกิจที่มีความเข้มแข็งและเป็นธรรม ภายใต้บทบาทของหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบและกลไกที่มีอยู่แล้ว โดย 1) เร่งรัดดำเนินการตามแผนแม่บทและแผนหลักที่สำคัญ ๆ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพแห่งชาติ แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา แผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ แผนพัฒนาพลังงานทดแทน และแผนบริหารจัดการน้ำ 2) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับพื้นที่ ตลอดจนการสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขัน และการคุ้มครองผู้บริโภค และ 3) ส่งเสริมสัมมาชีพให้เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างกว้างขวาง โดยติดตามและเร่งรัดโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ปฏิรูประบบประกันสังคม และพัฒนากองทุนการออมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายให้มีผลกระตุ้นการออมในทุกระดับของประเทศ
3.2 สศช. จะเร่งรัดดำเนินการขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย และการพัฒนาดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขฯ ภายใต้การดำเนินการที่ สศช. เป็นหลักดำเนินการเอง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย
(1) ด้านการขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ควรเร่งรัดดำเนินการ ดังนี้
(1.1) เร่งผลักดันการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริโภคและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสู่การปฏิบัติ โดยพิจารณาปรับปรุงยุทธศาสตร์การบริโภคและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และผลักดันให้มีกลไกระดับชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นกลไกบริหารระดับนโยบายและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริโภคและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยทำหน้าที่กำหนดกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์ กำกับและบริหารจัดการ ตลอดจนประสานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ และติดตามประเมินผล โดยมอบให้ สศช. เป็นแกนหลักประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณานำเสนอให้มีการแต่งตั้งต่อไป ทั้งนี้ องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ควรมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาคประชาชนและภาคเอกชน เป็นกรรมการ
(1.2) ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเมืองและชนบทสู่ความอยู่เย็นเป็นสุข ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่น และภาคีพัฒนา โดยเริ่มจากชุมชนเมืองศูนย์กลางในภูมิภาค และชุมชนชนบทที่มีความพร้อมก่อน โดย สศช. เป็นแกนหลักประสานกับหน่วยงานเกี่ยวข้องควบคู่กับการศึกษาสร้างความชัดเจนของการเชื่อมโยงการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างเกื้อกูล เพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและกระจายโอกาสการพัฒนาอย่างเป็นธรรม
(2) ด้านการพัฒนาดัชนีชี้วัดและระบบข้อมูลความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ควรเร่งรัดดำเนินการ ดังนี้
(2.1) สนับสนุนพัฒนาดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยในทุกระดับควบคู่กับการเสริมสร้างบทบาทความร่วมมือกับเครือข่ายภาคีพัฒนา โดย สศช. เป็นแกนหลักรับผิดชอบพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขฯ ในระดับภาพรวมประเทศและจำแนกตามพื้นที่เมือง-ชนบท อย่างต่อเนื่อง ส่วนระดับจังหวัดและพื้นที่ชุมชนให้เป็นกระบวนการขับเคลื่อนของแต่ละพื้นที่ที่ต้องคิดและจัดทำตัวชี้วัดหรือเกณฑ์วัดที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคม วิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม โดยสนับสนุนและประสานความร่วมมือกับภาคีพัฒนาที่ร่วมขับเคลื่อนดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุข จัดให้มีเวทีระดมความคิดเพื่อขยายผล และขยายแนวคิดการจัดทำดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยและในระดับเมืองและชนบทให้กว้างขวางมากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสและสร้างองค์ความรู้ในการจัดทำดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขฯ ในระดับจังหวัดต่อไป
(2.2) ให้มีกลไกประสานการพัฒนาระบบข้อมูลชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย โดยพิจารณาจัดตั้งขึ้นเป็นกลไกภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยความร่วมมือของเครือข่ายหน่วยงานที่มีบทบาทรับผิดชอบการพัฒนาข้อมูล มีสำนักงานสถิติแห่งชาติและ สศช.ร่วมเป็นหน่วยงานกลางประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดทิศทางการจัดระบบข้อมูลและเกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาข้อมูลตัวชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขฯ เพิ่มเติม โดยร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาปรับปรุงข้อมูลตัววัดเดิมที่มีการจัดเก็บข้อมูลอยู่แล้วให้มีความถูกต้อง ต่อเนื่อง สมบูรณ์ทันสมัย สะดวกต่อการใช้งานและเข้าถึงได้ง่าย และพัฒนาข้อมูลตัวชี้วัดขึ้นใหม่ทั้งตัวชี้วัดเชิงปริมาณ และการจัดทำตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ รวมถึงการสำรวจความพึงพอใจในชีวิตและความรู้สึกอยู่เย็นเป็นสุขของคนไทย โดยอาศัยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ และหน่วยงานกระทรวง ทบวง กรม ร่วมพัฒนาและขยายการจัดเก็บข้อมูล สำรวจ และประมวลผลข้อมูล รวมทั้งร่วมพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลและระบบการสำรวจข้อมูลที่จำเป็นจากระดับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 สิงหาคม 2550--จบ--
1. ข้อเท็จจริง
1.1 สืบเนื่องจาก นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2549 ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ศึกษา ปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้วัดความสุขที่สามารถเข้าใจง่าย เป็นที่ยอมรับร่วมกันและนำไปใช้เป็นตัวชี้วัดการพัฒนาประเทศได้ต่อไป
1.2 สศช. จึงได้เริ่มกระบวนการพัฒนาดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย โดยพัฒนาต่อยอดและปรับปรุงจากดัชนีที่ทำไว้เดิม ภายใต้การประสานความร่วมมือกับภาคีพัฒนาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง มีการร่วมระดมความคิดเห็นผ่านเวทีประชุมสัมมนา มีการสำรวจความคิดเห็นทั้งจากภาครัฐ และชุมชนในภูมิภาคต่างๆ เพื่อวางกรอบแนวคิดการพัฒนาดัชนี ตลอดจนความหมาย องค์ประกอบหลักและจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัด โดยนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นระยะๆ จนแล้วเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2550
1.3 ต่อมา สศช. จึงได้จัดให้มีการประชุมประจำปี 2550 เรื่อง “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” ขึ้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เพื่อรายงานสถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยด้วยดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน รวมทั้งเพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีส่วนร่วมระดมความคิดเห็นต่อการพัฒนาดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมมุ่งสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันได้ต่อไป โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากทุกภาคส่วนในสังคม รวมทั้งสิ้นประมาณ 2,000 คน
1.4 การประชุมในช่วงเช้าเริ่มด้วยการนำเสนอวีดิทัศน์เรื่อง “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” และนายกรัฐมนตรี ได้แสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “รัฐบาลกับการสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” และการบรรยายพิเศษเรื่อง “ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข” โดยนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จากนั้นเป็นการนำเสนอและอภิปราย เรื่อง “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” ส่วนการประชุมในช่วงบ่ายเป็นการระดมความคิดเห็นให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในมิติต่างๆ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 : หนทางสร้างสุขของคนในชุมชนและสังคมไทย กลุ่มที่ 2 : ความเข้มแข็งและเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ กลุ่มที่ 3 : การอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และกลุ่มที่ 4 : วิถีเมืองและชนบทกับความอยู่เย็นเป็นสุข
2. สรุปสาระสำคัญผลการประชุมประจำปี 2550 ของ สศช.
2.1 สรุปสถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ในช่วงปี 2544 — 2549
สศช. ได้นำเสนอกรอบหลักการ แนวคิดพื้นฐานของความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย และการพัฒนาดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย รวมทั้งรายงานสถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันตามปัจจัยองค์ประกอบหลัก 6 องค์ประกอบ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานร่วมของการสร้างสุขในสังคมไทย โดยพบว่าสถานการณ์ภาพรวมความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ในช่วงปี 2544 — 2549 มีทิศทางดีขึ้น ดัชนีการพัฒนาโดยรวมปรับตัวขึ้นจากร้อยละ 61.59 เป็นร้อยละ 64.04 แต่ยังมีระดับที่ไม่น่าพอใจ เมื่อพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานร่วมของความอยู่เย็นเป็นสุขฯ พบว่า
(1) ด้านการเสริมสร้างสุขภาวะ ดีขึ้นเป็นลำดับ คนไทยมีโอกาสได้เข้ารับการดูแลสุขภาพดีขึ้น แต่ในด้านสุขภาพจิต การมีคุณธรรม และสติปัญญาใฝ่รู้นั้นยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำมาก
(2) ความอบอุ่นในครอบครัวเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านภาระหน้าที่ของครอบครัวในเรื่องที่จะต้องดูแลเด็กและเยาวชน และผู้สูงอายุน้อยลง ครอบครัวเริ่มแยกกันมากขึ้น ภาวะอัตราหย่าร้างสูงขึ้น
(3) ความเข้มแข็งของชุมชน อยู่ในระดับต่ำมาโดยตลอด และมีปัญหาอย่างมาก แม้การมีส่วนร่วมในการพัฒนา การรวมกลุ่มกันในการร่วมคิด วิเคราะห์ และมีการจัดทำแผนชุมชนต่างๆ จะเพิ่มมากขึ้น แต่การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ และมิติของการเกื้อกูลกันยังอยู่ในระดับต่ำ
(4) ความเข้มแข็งและเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ ในภาพรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน สะท้อนว่ามิติการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาที่ผ่านมาที่พิจารณาเชิงปริมาณนั้น ค่อนข้างดี แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสังเกตและต้องพัฒนายิ่งขึ้นคือความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ
(5) สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศสมดุล ยังอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง มีปัญหาที่น่าเป็นห่วงทั้งด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินซึ่งมีปัญหาที่รุนแรง และซับซ้อนมากขึ้น
(6) สังคมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล ยังอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง แม้จะมีความตื่นตัวในการดูแลปกป้องสิทธิเสรีภาพของตนเอง และการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นมากขึ้น
จากรายงานสถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ดังกล่าว ได้มีข้อเสนอประเด็นเร่งด่วนที่ต้องพิจารณาขับเคลื่อน อันได้แก่ 1) การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของคนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน 2) การป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม และยาเสพติด 3) การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาให้นำไปสู่การคิดเป็น ทำเป็น 4) การเรียนรู้ และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น 5) การสร้างระบบธรรมาภิบาล และการขับเคลื่อนการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วมของชุมชนที่ต้องมีการขยายอย่างต่อเนื่อง และ 6) การดูแลในเรื่องของคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมมลพิษซึ่งจะเป็นปัญหาในช่วงที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงขึ้น
2.2 สรุปความเห็นและข้อเสนอแนะจากที่ประชุมประจำปี 2550 ของ สศช.
ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ สศช. ในการพัฒนาดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ตลอดจนการนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินผลการพัฒนาประเทศ และเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขในสังคมไทย โดยที่ประชุมคาดหวังให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 เป็นแผนที่จะก่อให้เกิดจุดเปลี่ยนที่สำคัญในเรื่องความคิด วิธีคิด วิธีทำ และวิธีการจัดการ เพื่อให้การพัฒนาตามแผน บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ แนวทางการพัฒนา และบังเกิดผลสุดท้ายที่พึงปรารถนา คือ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 นอกจากนี้ ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้
(1) ด้านการพัฒนาดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
(1.1) ควรเพิ่มเติมตัวชี้วัดในเชิงคุณภาพ และมีประเด็นด้านบวกให้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ควรจะพัฒนาให้อยู่ในระดับที่สามารถบอกวิกฤตของการพัฒนา และใช้ระบุทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้ชัดเจนเป็นรายสาขา รวมทั้งพัฒนาให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล เพื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศได้
(1.2) สนับสนุนการสร้างและพัฒนาดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขในมิติพื้นที่เมืองและชนบท โดยให้คนในแต่ละพื้นที่ คิด สร้าง และพัฒนาด้วยตนเอง เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องตามความหลากหลายของแต่ละพื้นที่ สามารถสะท้อนการวัดความอยู่เย็นเป็นสุขที่แท้จริงของแต่ละพื้นที่ชุมชน โดยหน่วยงานกลาง ภาครัฐควรเป็นเพียงผู้สนับสนุนด้านกระบวนการจัดทำดัชนีชี้วัด
(1.3) พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลให้มีมาตรฐาน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ และได้มาตรฐานเพื่อขจัดปัญหาความคลาดเคลื่อน ความซ้ำซ้อน และความขัดแย้งของข้อมูล
(2) ด้านแนวทางขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ที่ประชุมให้ความสำคัญกับการสร้างวิสัยทัศน์ และเป้าหมายร่วมกันในสังคม อันจะเป็นพลังให้เกิดความร่วมมือร่วมใจดำเนินงานให้บังเกิดผลตามวิสัยทัศน์ และกำหนดทิศทางการพัฒนาความอยู่เย็นเป็นสุข มุ่งเน้นที่การสร้างรากฐานของความอยู่เย็นเป็นสุข 3 ประการ คือ การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ การพัฒนาชุมชน-ท้องถิ่นให้เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ และการส่งเสริมความเป็นประชาสังคม โดยมีแนวทางการขับเคลื่อนที่สำคัญ ดังนี้
(2.1) เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและความสมานฉันท์ในสังคม เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนได้ด้วยตนเอง โดยให้ความสำคัญกับ 1) สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน 2) เพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น 3) สนับสนุนบทบาทของชุมชน ในการจัดสวัสดิการ 4) ส่งเสริมการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาของชุมชน 5) เสริมสร้างความเข้มแข็งของการติดตามประเมินผลในระดับชุมชน และ 6) ผลักดันกระบวนการขับเคลื่อนของสังคมและกระบวนการจัดทำแผนชุมชน
(2.2) สร้างความเข้มแข็งและความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเป็นธรรมทางเศรษฐกิจบนฐานเศรษฐกิจภายในประเทศที่มั่นคง ได้แก่ 1) การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น 2) การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างคนจนกับคนรวย ระหว่างเมืองกับชนบท และการกระจายรายได้เพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคมและให้สังคมเป็นสุขมากขึ้น 3)การกำหนดนโยบายการพัฒนาที่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุของประชากรที่เปลี่ยนไปสู่ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น 4) การใช้นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้และความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ 5) พัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งในเชิงคุณภาพและประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ และ 6) การบังคับใช้กฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความเป็นธรรมในธุรกิจ
(2.3) พัฒนาแนวทางการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยการฟื้นฟูวิถีการดำรงชีวิตที่มีความเป็นไทย มีความความพอเพียง เคารพต่อธรรมชาติไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน มีความเสียสละ ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างคนในชุมชน สังคม และประเทศ และทำให้เกิดความสุขร่วมกันได้ในที่สุด โดยจัดทำยุทธศาสตร์การบริโภคและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมาเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการพัฒนา และสร้างความสมดุลของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
(2.4) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองให้เอื้อต่อการพัฒนาชนบท โดยสร้างความเชื่อมโยงการบริหารจัดการระหว่างเมืองและชนบทที่ชัดเจน สร้างเครือข่ายร่วมกัน เพื่อนำศักยภาพด้านองค์ความรู้ของเมืองมาช่วยหนุนเสริมการเรียนรู้ในการพัฒนาชนบท ควบคู่ไปกับการส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในการเชื่อมโยงการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างเกื้อกูล เพื่อกระจายโอกาสการพัฒนาให้ทัดเทียมและทั่วถึง และใช้การผลิตในโลกยุคใหม่เชื่อมโยงชนบทและเมือง เพื่อให้เกิดการผลิตที่เน้นคุณภาพและความแตกต่างของผลิตภัณฑ์
(3) ด้านกลไกขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ให้ความสำคัญกับ
(3.1) การมียุทธศาสตร์การจัดการ ซึ่งต้องมีองค์ความรู้และภูมิปัญญาในการจัดการทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับบน เป็นการจัดการระดับนโยบายและยุทธศาสตร์ ระดับกลาง เป็นการจัดการด้านประเด็นต่างๆ และระดับราก เป็นการจัดการในระดับรากหญ้า ได้แก่ ชุมชน หรือการจัดการวิสาหกิจชุมชน โดยยึดการทำงานในลักษณะบูรณาการกับภาคีทุกภาคส่วน
(3.2) ปรับบทบาทภาคีการพัฒนาทั้งภาครัฐ ภาคชุมชน และภาคธุรกิจ ให้เป็นเครือข่ายการพัฒนาร่วมในการคิด การวางแผนพัฒนา ติดตามประเมินผล โดยมีกลไกการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยเฉพาะภาคธุรกิจต้องดูแลการดำเนินงานให้มีธรรมาภิบาล มีความเป็นธรรมกับผู้ถือหุ้น พนักงาน ผู้บริโภค และคู่แข่ง และธุรกิจยังต้องมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้เสนอความเห็นต่อบทบาทของ สศช. โดยเสนอแนะให้ สศช. ให้ความสำคัญกับการผลิตข้อมูล การกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะยาว รวมทั้งกำกับและประสานนโยบาย ตลอดจนประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของประเทศและการลงทุนของภาครัฐ และทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้แก่รัฐบาลในด้านการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนมีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการเสริมสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจโดยดำเนินมาตรการด้านการเสริมสร้างความเสมอภาคทางด้านรายได้
3. แนวทางดำเนินการขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย
สศช. ได้ประมวลสังเคราะห์ผลการประชุมประจำปี 2550 สรุปเป็นข้อเสนอแนวทางดำเนินการ ขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยที่ สศช. จะดำเนินการ ดังนี้
3.1 ประสานหน่วยงานดำเนินแนวทางมาตรการที่ควรผลักดันขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติเพื่อสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันผลักดันดำเนินแนวทางและมาตรการที่สำคัญ ดังนี้
(1) กำหนดให้การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเป็นยุทธศาสตร์ชาติ ที่ทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดพลังผลักดันสังคมสู่คุณธรรมความดีงาม โดยการส่งเสริมคุณธรรมในทุกเพศทุกวัยและทุกสาขาอาชีพ ทั้งในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้องปรับปรุงให้เป็นเบ้าหลอมวินัย คุณธรรม และวัฒนธรรมและกับเยาวชนไทย การส่งเสริมประชาชนและข้าราชการ ผู้บริหาร และผู้ปกครองทุกระดับยึดถือและดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพและการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของศาสนา รวมทั้งสนับสนุนให้สถาบันครอบครัวมีบทบาทร่วมกับสถาบันทางศาสนา และสถาบันการศึกษา (บวร) ทำหน้าที่เป็นแกนกลางปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับสังคม โดยมีกระทรวงวัฒนธรรมเป็นแกนกลางประสานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นกลไกประสานกับภาคีการพัฒนาต่างๆ
(2) เสริมสร้างความอบอุ่นของครอบครัว โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของครอบครัว ควบคู่ไปกับการปลูกฝังและรณรงค์เรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต การสร้างความสัมพันธ์อันดีในครอบครัวให้มีความผูกพันทางใจโดยการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว รวมทั้งสนับสนุนให้ชุมชนมีบทบาทต่อการสร้างความอบอุ่นของครอบครัว โดยมีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นแกนหลักในการประสานกิจกรรมกับภาคีการพัฒนาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน ภาคประชาสังคมและสถานศึกษาระดับต่างๆ
(3) เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เน้นการสนับสนุนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยชุมชนและ การบริหารจัดการองค์กรภาคประชาชน/ชุมชน ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้วัตถุดิบและการจ้างงานในชุมชน โดยใช้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดเป็นเครื่องมือและใช้กลไกที่มีอยู่ทั้งระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับอำเภอเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
(4) สร้างเศรษฐกิจที่มีความเข้มแข็งและเป็นธรรม ภายใต้บทบาทของหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบและกลไกที่มีอยู่แล้ว โดย 1) เร่งรัดดำเนินการตามแผนแม่บทและแผนหลักที่สำคัญ ๆ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพแห่งชาติ แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา แผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ แผนพัฒนาพลังงานทดแทน และแผนบริหารจัดการน้ำ 2) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับพื้นที่ ตลอดจนการสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขัน และการคุ้มครองผู้บริโภค และ 3) ส่งเสริมสัมมาชีพให้เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างกว้างขวาง โดยติดตามและเร่งรัดโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด ปฏิรูประบบประกันสังคม และพัฒนากองทุนการออมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายให้มีผลกระตุ้นการออมในทุกระดับของประเทศ
3.2 สศช. จะเร่งรัดดำเนินการขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย และการพัฒนาดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขฯ ภายใต้การดำเนินการที่ สศช. เป็นหลักดำเนินการเอง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย
(1) ด้านการขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ควรเร่งรัดดำเนินการ ดังนี้
(1.1) เร่งผลักดันการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริโภคและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสู่การปฏิบัติ โดยพิจารณาปรับปรุงยุทธศาสตร์การบริโภคและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และผลักดันให้มีกลไกระดับชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นกลไกบริหารระดับนโยบายและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริโภคและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยทำหน้าที่กำหนดกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์ กำกับและบริหารจัดการ ตลอดจนประสานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ และติดตามประเมินผล โดยมอบให้ สศช. เป็นแกนหลักประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณานำเสนอให้มีการแต่งตั้งต่อไป ทั้งนี้ องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ควรมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาคประชาชนและภาคเอกชน เป็นกรรมการ
(1.2) ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเมืองและชนบทสู่ความอยู่เย็นเป็นสุข ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่น และภาคีพัฒนา โดยเริ่มจากชุมชนเมืองศูนย์กลางในภูมิภาค และชุมชนชนบทที่มีความพร้อมก่อน โดย สศช. เป็นแกนหลักประสานกับหน่วยงานเกี่ยวข้องควบคู่กับการศึกษาสร้างความชัดเจนของการเชื่อมโยงการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างเกื้อกูล เพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและกระจายโอกาสการพัฒนาอย่างเป็นธรรม
(2) ด้านการพัฒนาดัชนีชี้วัดและระบบข้อมูลความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ควรเร่งรัดดำเนินการ ดังนี้
(2.1) สนับสนุนพัฒนาดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยในทุกระดับควบคู่กับการเสริมสร้างบทบาทความร่วมมือกับเครือข่ายภาคีพัฒนา โดย สศช. เป็นแกนหลักรับผิดชอบพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขฯ ในระดับภาพรวมประเทศและจำแนกตามพื้นที่เมือง-ชนบท อย่างต่อเนื่อง ส่วนระดับจังหวัดและพื้นที่ชุมชนให้เป็นกระบวนการขับเคลื่อนของแต่ละพื้นที่ที่ต้องคิดและจัดทำตัวชี้วัดหรือเกณฑ์วัดที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคม วิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม โดยสนับสนุนและประสานความร่วมมือกับภาคีพัฒนาที่ร่วมขับเคลื่อนดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุข จัดให้มีเวทีระดมความคิดเพื่อขยายผล และขยายแนวคิดการจัดทำดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยและในระดับเมืองและชนบทให้กว้างขวางมากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสและสร้างองค์ความรู้ในการจัดทำดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขฯ ในระดับจังหวัดต่อไป
(2.2) ให้มีกลไกประสานการพัฒนาระบบข้อมูลชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย โดยพิจารณาจัดตั้งขึ้นเป็นกลไกภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยความร่วมมือของเครือข่ายหน่วยงานที่มีบทบาทรับผิดชอบการพัฒนาข้อมูล มีสำนักงานสถิติแห่งชาติและ สศช.ร่วมเป็นหน่วยงานกลางประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดทิศทางการจัดระบบข้อมูลและเกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาข้อมูลตัวชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขฯ เพิ่มเติม โดยร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาปรับปรุงข้อมูลตัววัดเดิมที่มีการจัดเก็บข้อมูลอยู่แล้วให้มีความถูกต้อง ต่อเนื่อง สมบูรณ์ทันสมัย สะดวกต่อการใช้งานและเข้าถึงได้ง่าย และพัฒนาข้อมูลตัวชี้วัดขึ้นใหม่ทั้งตัวชี้วัดเชิงปริมาณ และการจัดทำตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ รวมถึงการสำรวจความพึงพอใจในชีวิตและความรู้สึกอยู่เย็นเป็นสุขของคนไทย โดยอาศัยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ และหน่วยงานกระทรวง ทบวง กรม ร่วมพัฒนาและขยายการจัดเก็บข้อมูล สำรวจ และประมวลผลข้อมูล รวมทั้งร่วมพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลและระบบการสำรวจข้อมูลที่จำเป็นจากระดับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 สิงหาคม 2550--จบ--