แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กระทรวงการคลัง
กสท โทรคมนาคม
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ดำเนินโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว AAG (ASIA (AMERICA GATEWAY) ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ และให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงการคลังไปประกอบการพิจารณาด้วย โดยมีสาระสำคัญดังนี้
เหตุผลและความจำเป็น
1. ในปัจจุบันเครือข่ายระบบสื่อสัญญาณเคเบิลใต้น้ำใยแก้วเชื่อมโยงระหว่างประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสหรัฐอเมริกาที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ใช้งานอยู่มีจำนวนวงจรจำกัดและยังขาดความสมบูรณ์ ทำให้เกิดความแออัดของการเชื่อมต่อวงจร ดังนั้น หน่วยงานโทรคมนาคมระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเห็นพ้องกันว่าควรจัดสร้างระบบเพื่อรองรับปริมาณการใช้งานวงจร Bandwidth สูง ๆ ในอนาคต รวมทั้งเพื่อเป็นระบบสำรองให้กับระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างกันมากขึ้นอีกด้วย
2. บมจ. กสท โทรคมนาคม มีเครือข่ายการติดต่อต่างประเทศผ่านระบบเคเบิลใต้น้ำจำนวน 6 ระบบ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์มีจำนวนระบบเคเบิลใต้น้ำจำนวน 7 และ 9 ระบบ ตามลำดับ ดังนั้น บมจ.กสท โทรคมนาคม จึงจำเป็นต้องก่อสร้างระบบเคเบิลใยแก้วเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มทางเลือกในเส้นทางติดต่อให้กับผู้ใช้บริการให้หลากหลายมากขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน
3. บมจ. กสท โทรคมนาคม ในฐานะหน่วยงานด้านโทรคมนาคมระหว่างประเทศ จำเป็นต้องพัฒนาการให้บริการที่ทันสมัย รวมทั้งจัดเตรียมช่องสัญญาณให้เพียงพอเพื่อรองรับบริการต่าง ๆ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้ทันเวลา และมีขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ ซึ่งบริการเหล่านี้มีความจำเป็นต้องใช้แถบความถี่กว้าง (Wide Bandwidth) เพื่อที่จะทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูง ดังนั้น การเข้าร่วมโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว AAG จึงเป็นการจัดเตรียมเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่จำเป็นต่อการรองรับการใช้งานแถบความถี่กว้าง มีความจุสูง และทำให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้บริการต่าง ๆ ได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้ระบบสื่อสัญญาณหลักระบบหนึ่งสำหรับรองรับปริมาณทราฟฟิคระหว่างประเทศที่จะเพิ่มขึ้น
2. เพื่อขยายจำนวนวงจรติดต่อกับประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้สามารถรองรับการบริการโทรคมนาคมทุกรูปแบบโดยไม่มีข้อจำกัด โดยเฉพาะบริการที่ทันสมัย เช่น บริการ Multimedia บริการ Internet และบริการ Broadband อื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้จำเป็นต้องใช้แถบความถี่กว้าง (Wide Bandwidth) เพื่อรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูง
3. เพื่อพัฒนา และส่งเสริมความมั่นคงของเครือข่ายระบบสื่อสัญญาณระหว่างประเทศของไทย ให้มีศักยภาพทัดเทียมกับประเทศในภูมิภาค เป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจแก่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ในการเข้าสู่การเปิดเสรีบริการโทรคมนาคม
4. เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางให้บริการด้านสื่อสารและโทรคมนาคมในภูมิภาค
เป้าหมาย
1. ร่วมจัดสร้างเครือข่ายระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว ขนาดไม่ต่ำกว่า 640 Gbps ต่อคู่ใยแก้ว (640,000 ล้านบิทต่อวินาทีต่อคู่ใยแก้ว) โดยใช้เทคโนโลยี SDH (Synchronous Digital Hierarchy) และ DWDM (Densed Wavelength Division Multiplex) และจัดสร้างร่วมกับหน่วยงานโทรคมนาคมจำนวน 10 แห่ง 9 ประเทศ โดยมีเป้าหมายแล้วเสร็จสามารถใช้งานได้ ในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2552 มีจุดขึ้นบกในประเทศไทยที่ อ.ศรีราชา ชลบุรี และติดตั้งอุปกรณ์ที่สถานีเคเบิลใต้น้ำชลี 3-ศรีราชา
2. จัดหาวงจรในระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วและหรือระบบเคเบิลบนบกที่จำเป็นเพื่อเชื่อมโยงวงจรจากสถานีเคเบิลใต้น้ำไปหาจุดเชื่อมต่อในประเทศต่าง ๆ และเพื่อเพิ่มเส้นทางต่อเชื่อมให้หลากหลายมากขึ้น
3. จัดซื้ออุปกรณ์สำหรับระบบเชื่อมโยงระหว่างสถานีเคเบิลใต้น้ำกับชุมสายโทรศัพท์ระหว่างประเทศ และชุมสายระบบสื่อสารข้อมูลที่บางรัก นนทบุรีและศรีราชา
ระยะเวลาดำเนินงาน รวม 3 ปี (ปี 2550-2552) โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2552 เป็นต้นไป
เงินลงทุนของโครงการฯ เงินรายได้ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม เป็นวงเงินทั้งสิ้น 3,600 ล้านบาท
ผลตอบแทนการลงทุน Financial Internal Rate of Return (FIRR) เท่ากับ ร้อยละ 19.15 Net Present Value (NPV) เท่ากับ 1,584 ล้านบาท ณ อัตราส่วนลดร้อยละ 12 Pay Back (Year) เท่ากับ 6.77 ปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--
เหตุผลและความจำเป็น
1. ในปัจจุบันเครือข่ายระบบสื่อสัญญาณเคเบิลใต้น้ำใยแก้วเชื่อมโยงระหว่างประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสหรัฐอเมริกาที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ใช้งานอยู่มีจำนวนวงจรจำกัดและยังขาดความสมบูรณ์ ทำให้เกิดความแออัดของการเชื่อมต่อวงจร ดังนั้น หน่วยงานโทรคมนาคมระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเห็นพ้องกันว่าควรจัดสร้างระบบเพื่อรองรับปริมาณการใช้งานวงจร Bandwidth สูง ๆ ในอนาคต รวมทั้งเพื่อเป็นระบบสำรองให้กับระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างกันมากขึ้นอีกด้วย
2. บมจ. กสท โทรคมนาคม มีเครือข่ายการติดต่อต่างประเทศผ่านระบบเคเบิลใต้น้ำจำนวน 6 ระบบ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์มีจำนวนระบบเคเบิลใต้น้ำจำนวน 7 และ 9 ระบบ ตามลำดับ ดังนั้น บมจ.กสท โทรคมนาคม จึงจำเป็นต้องก่อสร้างระบบเคเบิลใยแก้วเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มทางเลือกในเส้นทางติดต่อให้กับผู้ใช้บริการให้หลากหลายมากขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน
3. บมจ. กสท โทรคมนาคม ในฐานะหน่วยงานด้านโทรคมนาคมระหว่างประเทศ จำเป็นต้องพัฒนาการให้บริการที่ทันสมัย รวมทั้งจัดเตรียมช่องสัญญาณให้เพียงพอเพื่อรองรับบริการต่าง ๆ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้ทันเวลา และมีขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ ซึ่งบริการเหล่านี้มีความจำเป็นต้องใช้แถบความถี่กว้าง (Wide Bandwidth) เพื่อที่จะทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูง ดังนั้น การเข้าร่วมโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว AAG จึงเป็นการจัดเตรียมเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่จำเป็นต่อการรองรับการใช้งานแถบความถี่กว้าง มีความจุสูง และทำให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้บริการต่าง ๆ ได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้ระบบสื่อสัญญาณหลักระบบหนึ่งสำหรับรองรับปริมาณทราฟฟิคระหว่างประเทศที่จะเพิ่มขึ้น
2. เพื่อขยายจำนวนวงจรติดต่อกับประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้สามารถรองรับการบริการโทรคมนาคมทุกรูปแบบโดยไม่มีข้อจำกัด โดยเฉพาะบริการที่ทันสมัย เช่น บริการ Multimedia บริการ Internet และบริการ Broadband อื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้จำเป็นต้องใช้แถบความถี่กว้าง (Wide Bandwidth) เพื่อรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูง
3. เพื่อพัฒนา และส่งเสริมความมั่นคงของเครือข่ายระบบสื่อสัญญาณระหว่างประเทศของไทย ให้มีศักยภาพทัดเทียมกับประเทศในภูมิภาค เป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจแก่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ในการเข้าสู่การเปิดเสรีบริการโทรคมนาคม
4. เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางให้บริการด้านสื่อสารและโทรคมนาคมในภูมิภาค
เป้าหมาย
1. ร่วมจัดสร้างเครือข่ายระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว ขนาดไม่ต่ำกว่า 640 Gbps ต่อคู่ใยแก้ว (640,000 ล้านบิทต่อวินาทีต่อคู่ใยแก้ว) โดยใช้เทคโนโลยี SDH (Synchronous Digital Hierarchy) และ DWDM (Densed Wavelength Division Multiplex) และจัดสร้างร่วมกับหน่วยงานโทรคมนาคมจำนวน 10 แห่ง 9 ประเทศ โดยมีเป้าหมายแล้วเสร็จสามารถใช้งานได้ ในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2552 มีจุดขึ้นบกในประเทศไทยที่ อ.ศรีราชา ชลบุรี และติดตั้งอุปกรณ์ที่สถานีเคเบิลใต้น้ำชลี 3-ศรีราชา
2. จัดหาวงจรในระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วและหรือระบบเคเบิลบนบกที่จำเป็นเพื่อเชื่อมโยงวงจรจากสถานีเคเบิลใต้น้ำไปหาจุดเชื่อมต่อในประเทศต่าง ๆ และเพื่อเพิ่มเส้นทางต่อเชื่อมให้หลากหลายมากขึ้น
3. จัดซื้ออุปกรณ์สำหรับระบบเชื่อมโยงระหว่างสถานีเคเบิลใต้น้ำกับชุมสายโทรศัพท์ระหว่างประเทศ และชุมสายระบบสื่อสารข้อมูลที่บางรัก นนทบุรีและศรีราชา
ระยะเวลาดำเนินงาน รวม 3 ปี (ปี 2550-2552) โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2552 เป็นต้นไป
เงินลงทุนของโครงการฯ เงินรายได้ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม เป็นวงเงินทั้งสิ้น 3,600 ล้านบาท
ผลตอบแทนการลงทุน Financial Internal Rate of Return (FIRR) เท่ากับ ร้อยละ 19.15 Net Present Value (NPV) เท่ากับ 1,584 ล้านบาท ณ อัตราส่วนลดร้อยละ 12 Pay Back (Year) เท่ากับ 6.77 ปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--