คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ปรับเพิ่มวงเงินค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ภายใต้หลักการและแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย ดังนี้
1. หลักการ
(1) ให้มีการยกเว้นเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท
(2) ให้มีการยกเว้นได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้นตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะที่จ่ายให้แก่
(ก) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ข) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ค) นิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวเข้ารับช่วงสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวมตาม (ก) หรือ (ข) ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง
(3) ให้มีการยกเว้นเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
อาคารตาม (1) (2) และ (3) ให้หมายความรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วยสำหรับการใช้สิทธิตามเสนอนั้น เงินได้ที่จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยซึ่งผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนหรือได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรนั้น จะต้องมีจำนวนรวมกันแล้วไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป
2. แนวทางการปรับปรุงกฎหมาย
การให้สิทธิประโยชน์ตามเสนอ สามารถดำเนินการได้โดยออกเป็นกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ.2550) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และภายหลังจากกฎกระทรวงที่นำเสนอมีผลบังคับใช้แล้ว จะได้มีการออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ในการได้รับสิทธิประโยชน์ให้สอดคล้องกันต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 พฤษภาคม 2550--จบ--
1. หลักการ
(1) ให้มีการยกเว้นเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท
(2) ให้มีการยกเว้นได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้นตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะที่จ่ายให้แก่
(ก) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ข) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ค) นิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวเข้ารับช่วงสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวมตาม (ก) หรือ (ข) ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง
(3) ให้มีการยกเว้นเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
อาคารตาม (1) (2) และ (3) ให้หมายความรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วยสำหรับการใช้สิทธิตามเสนอนั้น เงินได้ที่จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยซึ่งผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนหรือได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรนั้น จะต้องมีจำนวนรวมกันแล้วไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป
2. แนวทางการปรับปรุงกฎหมาย
การให้สิทธิประโยชน์ตามเสนอ สามารถดำเนินการได้โดยออกเป็นกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ.2550) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และภายหลังจากกฎกระทรวงที่นำเสนอมีผลบังคับใช้แล้ว จะได้มีการออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ในการได้รับสิทธิประโยชน์ให้สอดคล้องกันต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 พฤษภาคม 2550--จบ--