คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงแรงงานเสนอว่า เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและแรงกดดันจากการแข่งขันทางการค้า ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพการทำงาน กระบวนการทำงาน และการจัดองค์กรทางธุรกิจ อันเป็นการนำอันตรายและความเสี่ยงใหม่ ๆ มาสู่ผู้ปฏิบัติงานและโดยที่การจัดการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในองค์กรเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบประการหนึ่งของนายจ้าง สมควรกำหนดมาตรฐานให้นายจ้างดำเนินการในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จึงได้เสนอ
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดขอบเขตการใช้บังคับแก่นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปที่ประกอบกิจการบางประเภท เช่น การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียม หรือปิโตรเคมี
2. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามขนาดของสถานประกอบกิจการ
3.กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยมีผู้แทนลูกจ้างร่วมในการจัดทำนโยบายฯ
4. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการชี้บ่งอันตรายหรือความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยที่เกิดขึ้นจากการทำงาน และให้ผู้ที่มีความสามารถเฉพาะดำเนินการเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในการทำงานและสุขภาพของลูกจ้าง
5. กำหนดให้นายจ้างจัดทำแผนป้องกันและเตรียมความพร้อมสำหรับตอบโต้เหตุฉุกเฉินตามความเสี่ยงของสถานประกอบกิจการ และจัดให้มีการฝึกซ้อมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
6. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีระบบการสอบสวนหาสาเหตุของการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย โรค อุบัติเหตุ และเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงาน
7. กำหนดให้นายจ้างตรวจประเมิน และทบทวนระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
กระทรวงแรงงานเสนอว่า เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและแรงกดดันจากการแข่งขันทางการค้า ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพการทำงาน กระบวนการทำงาน และการจัดองค์กรทางธุรกิจ อันเป็นการนำอันตรายและความเสี่ยงใหม่ ๆ มาสู่ผู้ปฏิบัติงานและโดยที่การจัดการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในองค์กรเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบประการหนึ่งของนายจ้าง สมควรกำหนดมาตรฐานให้นายจ้างดำเนินการในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จึงได้เสนอ
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดขอบเขตการใช้บังคับแก่นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปที่ประกอบกิจการบางประเภท เช่น การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียม หรือปิโตรเคมี
2. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามขนาดของสถานประกอบกิจการ
3.กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยมีผู้แทนลูกจ้างร่วมในการจัดทำนโยบายฯ
4. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการชี้บ่งอันตรายหรือความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยที่เกิดขึ้นจากการทำงาน และให้ผู้ที่มีความสามารถเฉพาะดำเนินการเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในการทำงานและสุขภาพของลูกจ้าง
5. กำหนดให้นายจ้างจัดทำแผนป้องกันและเตรียมความพร้อมสำหรับตอบโต้เหตุฉุกเฉินตามความเสี่ยงของสถานประกอบกิจการ และจัดให้มีการฝึกซ้อมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
6. กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีระบบการสอบสวนหาสาเหตุของการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย โรค อุบัติเหตุ และเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงาน
7. กำหนดให้นายจ้างตรวจประเมิน และทบทวนระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--