คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2531 เรื่อง การจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมส่งออกลาดกระบัง ส่วนขยายที่ 3 ประเด็นที่ไม่อนุญาตให้ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ตั้งในเขตอุตสาหกรรมส่งออกลาดกระบัง ส่วนขยายที่ 3 ได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ เมื่อยกเลิกแล้วมีผลให้ผู้ได้รับการส่งเสริมในเขตดังกล่าวได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลตามสิทธิของผู้ได้รับการส่งเสริมตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุน
กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานว่า มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2531 เป็นการจำกัดสิทธิผู้ได้รับ การส่งเสริมที่ตั้งโรงงานในเขตอุตสาหกรรมส่งออกลาดกระบัง ส่วนขยายที่ 3 โดยไม่ได้รับสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลและเป็นการทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันกับผู้ประกอบการรายอื่นที่ได้รับการส่งเสริมทั้งที่ตั้งนอกและในนิคมหรือ เขตอุตสาหกรรมในเขตส่งเสริมการลงทุนเขต 1 ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2543 เรื่อง นโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2543 ในการให้ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520
ปัจจุบันไม่มีความจำเป็นในการผลักดันให้ผู้ประกอบการไปลงทุนที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังแล้ว ประกอบกับพื้นที่ในส่วนขยายที่ 3 ยังสามารถรองรับการลงทุนที่เพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก และการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวย่อมเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการที่จะขอรับการส่งเสริมในส่วนขยายที่ 3 ที่จะตั้งขึ้นใหม่หรือขยายกิจการ
กระทรวงอุตาหกรรมจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามข้อเสนอดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 สิงหาคม 2550--จบ--
กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานว่า มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2531 เป็นการจำกัดสิทธิผู้ได้รับ การส่งเสริมที่ตั้งโรงงานในเขตอุตสาหกรรมส่งออกลาดกระบัง ส่วนขยายที่ 3 โดยไม่ได้รับสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลและเป็นการทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันกับผู้ประกอบการรายอื่นที่ได้รับการส่งเสริมทั้งที่ตั้งนอกและในนิคมหรือ เขตอุตสาหกรรมในเขตส่งเสริมการลงทุนเขต 1 ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2543 เรื่อง นโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2543 ในการให้ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520
ปัจจุบันไม่มีความจำเป็นในการผลักดันให้ผู้ประกอบการไปลงทุนที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังแล้ว ประกอบกับพื้นที่ในส่วนขยายที่ 3 ยังสามารถรองรับการลงทุนที่เพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก และการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวย่อมเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการที่จะขอรับการส่งเสริมในส่วนขยายที่ 3 ที่จะตั้งขึ้นใหม่หรือขยายกิจการ
กระทรวงอุตาหกรรมจึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามข้อเสนอดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 สิงหาคม 2550--จบ--