คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่อนุมัติในหลักการให้กรมส่งเสริมการเกษตรจ้างพนักงานราชการ ซึ่งคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการได้กำหนดกรอบอัตรากำลังปีงบประมาณ พ.ศ. 2548-2551 ไว้แล้ว จำนวน 470 อัตรา ส่วนการขอสนับสนุนอัตรากำลังพนักงานราชการเพิ่มเติมในปีงบประมาณ 2551-2554 จำนวน 756 อัตรา นั้น ให้กรมส่งเสริมการเกษตร ไปหารือกับคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกำหนดกรอบและแนวทางการดำเนินภารกิจในเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจน ทั้งนี้ในการดำเนินการในปี พ.ศ. 2551 ให้ใช้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไว้แล้ว จำนวน 16.49 ล้านบาท เพื่อจ้างพนักงานราชการจำนวน 170 อัตรา สำหรับงบประมาณส่วนที่ขาดให้กรมส่งเสริมการเกษตรขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2551 ตามขั้นตอนต่อไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2550 และวันที่ 16 มกราคม 2550 ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2550 ที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร โดยเกษตรตำบลเป็นผู้รับเรื่องราวร้องทุกข์จากเกษตรกรที่เดือดร้อน และทำหน้าที่เชื่อมโยงเกษตรกรที่มีปัญหาความเดือดร้อนกับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานบังคับคดีในพื้นที่ในการดำเนินการหาข้อยุติเพื่อชะลอหนี้ให้แก่เกษตรกรแต่ละราย ทั้งนี้ ให้เกษตรตำบลเป็นผู้รับรองความเป็นเกษตรกรในกรณีที่เกษตรกรเป็นหนี้กับสถาบันการเงินอื่นที่มิใช่สหกรณ์หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่มีอัตรากำลังเพียงพอ ซึ่งปัจจุบันเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล 1 คน จะต้องรับผิดชอบ 1-5 ตำบล โดยกรอบอัตรากำลังข้าราชการของกรมส่งเสริมการเกษตร มีนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 3-5 หรือ 6ว ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเกษตรอำเภอทั่วประเทศ จำนวน 5,622 ตำแหน่ง ในขณะที่มีจำนวนตำบลทั่วประเทศ 7,255 ตำบล และ อีก 50 แขวง ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครรวมเป็น 7,305 ตำบล/แขวง ดังนั้น เพื่อให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบครบทุกตำบลต้องใช้พนักงานราชการมาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 1,683 อัตรา ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ได้อนุมัติกรอบพนักงานราชการในส่วนของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำสำนักงานเกษตรอำเภอแล้ว จำนวน 927 อัตรา (มีงบประมาณจ้าง จำนวน 457 อัตรา) และต้องการขออนุมัติกรอบพนักงานราชการเพิ่มเติม 756 อัตรา
3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ขอบเขตการทำงานในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม ควรได้รับการสนับสนุนอัตรากำลังในพื้นที่เพื่อช่วยปฏิบัติงานตามภารกิจดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานในระดับตำบลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล โดยสรุปสาระสำคัญและวัตถุประสงค์ของโครงการดังนี้
3.1 วัตถุประสงค์
(1) เสริมอัตรากำลังในตำบลที่ไม่มีเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล จำนวน 1,226 อัตรา เพื่อปฏิบัติหน้าที่ช่วยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (เกษตรตำบล) ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวง และภารกิจสำคัญของกรม และฝึกอบรมความรู้และทักษะของพนักงานราชการที่ปฏิบัติงานในฐานะเกษตรตำบล
(2) เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามนโยบายสำคัญๆ เร่งด่วนของรัฐบาลและมติคณะรัฐมนตรี ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 การช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องภัยธรรมชาติ มติคณะรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร เป็นต้น
3.2 เป้าหมาย
(1) เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในพื้นที่ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (เกษตรตำบล) ในตำบลที่ไม่มีเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล จำนวน 1,226 อัตรา
(2) พนักงานราชการที่ได้รับการแต่งตั้งและผ่านการฝึกอบรม จำนวน 1,226 อัตรา สามารถเสริมการปฏิบัติงานในตำบลได้ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ตามแผนปฏิบัติงานประจำปีได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 4 ปี
3.3 ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (ปี 2551-2554)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 กรกฎาคม 2550--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2550 และวันที่ 16 มกราคม 2550 ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2550 ที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร โดยเกษตรตำบลเป็นผู้รับเรื่องราวร้องทุกข์จากเกษตรกรที่เดือดร้อน และทำหน้าที่เชื่อมโยงเกษตรกรที่มีปัญหาความเดือดร้อนกับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานบังคับคดีในพื้นที่ในการดำเนินการหาข้อยุติเพื่อชะลอหนี้ให้แก่เกษตรกรแต่ละราย ทั้งนี้ ให้เกษตรตำบลเป็นผู้รับรองความเป็นเกษตรกรในกรณีที่เกษตรกรเป็นหนี้กับสถาบันการเงินอื่นที่มิใช่สหกรณ์หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่มีอัตรากำลังเพียงพอ ซึ่งปัจจุบันเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล 1 คน จะต้องรับผิดชอบ 1-5 ตำบล โดยกรอบอัตรากำลังข้าราชการของกรมส่งเสริมการเกษตร มีนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 3-5 หรือ 6ว ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเกษตรอำเภอทั่วประเทศ จำนวน 5,622 ตำแหน่ง ในขณะที่มีจำนวนตำบลทั่วประเทศ 7,255 ตำบล และ อีก 50 แขวง ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครรวมเป็น 7,305 ตำบล/แขวง ดังนั้น เพื่อให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบครบทุกตำบลต้องใช้พนักงานราชการมาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 1,683 อัตรา ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ได้อนุมัติกรอบพนักงานราชการในส่วนของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำสำนักงานเกษตรอำเภอแล้ว จำนวน 927 อัตรา (มีงบประมาณจ้าง จำนวน 457 อัตรา) และต้องการขออนุมัติกรอบพนักงานราชการเพิ่มเติม 756 อัตรา
3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ขอบเขตการทำงานในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม ควรได้รับการสนับสนุนอัตรากำลังในพื้นที่เพื่อช่วยปฏิบัติงานตามภารกิจดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานในระดับตำบลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล โดยสรุปสาระสำคัญและวัตถุประสงค์ของโครงการดังนี้
3.1 วัตถุประสงค์
(1) เสริมอัตรากำลังในตำบลที่ไม่มีเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล จำนวน 1,226 อัตรา เพื่อปฏิบัติหน้าที่ช่วยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (เกษตรตำบล) ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวง และภารกิจสำคัญของกรม และฝึกอบรมความรู้และทักษะของพนักงานราชการที่ปฏิบัติงานในฐานะเกษตรตำบล
(2) เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามนโยบายสำคัญๆ เร่งด่วนของรัฐบาลและมติคณะรัฐมนตรี ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 การช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องภัยธรรมชาติ มติคณะรัฐมนตรีเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร เป็นต้น
3.2 เป้าหมาย
(1) เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในพื้นที่ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (เกษตรตำบล) ในตำบลที่ไม่มีเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล จำนวน 1,226 อัตรา
(2) พนักงานราชการที่ได้รับการแต่งตั้งและผ่านการฝึกอบรม จำนวน 1,226 อัตรา สามารถเสริมการปฏิบัติงานในตำบลได้ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ตามแผนปฏิบัติงานประจำปีได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 4 ปี
3.3 ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (ปี 2551-2554)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 กรกฎาคม 2550--จบ--