คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการจัดตั้งบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดภูเก็ตโดยความช่วยเหลือจากรัฐบาลโปรตุเกส ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ แล้วมีมติเห็นชอบดังนี้
1. ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันเพื่อการสนับสนุนการพัฒนาแห่งโปรตุเกสและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยเรื่องความช่วยเหลือในการบูรณะและฟื้นฟูจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและธรณีพิบัติภัยสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547
2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในนามของรัฐบาลไทย
3. ให้กระทรวงการต่างประเทศ จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
4. ให้ปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญก่อนการลงนามโดยหารือกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ
ทั้งนี้ การลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะเป็นการเสริมสร้างมิตรภาพ การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยและโปรตุเกส
โดยร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
1. ภาคีทั้งสองฝ่ายจะให้การสนับสนุนและส่งเสริมการปฏิบัติงานตามโครงการ “การจัดตั้งบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดภูเก็ต” ในประเทศไทย ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณ 140,472 ยูโร
2. ภาคีทั้งสองฝ่ายจะเบิกจ่ายเงินที่ได้รับความช่วยเหลือตามจำนวนที่อ้างถึงให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด
3. ภาคีทั้งสองฝ่ายจะแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับโครงการอย่างสม่ำเสมอ โดยการจัดส่งรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะ ๆ และการสนับสนุนด้านวิชาการ
4. ภาคีทั้งสองฝ่ายจะพยายามเผยแพร่ให้โครงการบูรณะและฟื้นฟูดังกล่าวเป็นที่รู้จักเพื่อสร้างหลักประกันให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นถึงสภาพความเป็นจริงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ
5. สถาบันเพื่อการสนับสนุนการพัฒนาแห่งโปรตุเกสและสถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้แทนของประเทศโปรตุเกส และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประเทศไทย ในฐานะผู้แทนของประเทศไทย จะรับผิดชอบในการติดตามผลและการประสานความร่วมมือตามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้
6. บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ ณ วันที่ลงนามและจะมีผลสมบูรณ์เป็นเวลา 3 ปี ทั้งนี้ ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจทำให้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้สิ้นสุดลงได้โดยการทำหนังสือแจ้งไปยังภาคีอีกฝ่ายหนึ่งภายในเวลา 3 เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--
1. ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันเพื่อการสนับสนุนการพัฒนาแห่งโปรตุเกสและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยเรื่องความช่วยเหลือในการบูรณะและฟื้นฟูจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและธรณีพิบัติภัยสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547
2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในนามของรัฐบาลไทย
3. ให้กระทรวงการต่างประเทศ จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
4. ให้ปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญก่อนการลงนามโดยหารือกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ
ทั้งนี้ การลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะเป็นการเสริมสร้างมิตรภาพ การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยและโปรตุเกส
โดยร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
1. ภาคีทั้งสองฝ่ายจะให้การสนับสนุนและส่งเสริมการปฏิบัติงานตามโครงการ “การจัดตั้งบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดภูเก็ต” ในประเทศไทย ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณ 140,472 ยูโร
2. ภาคีทั้งสองฝ่ายจะเบิกจ่ายเงินที่ได้รับความช่วยเหลือตามจำนวนที่อ้างถึงให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด
3. ภาคีทั้งสองฝ่ายจะแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับโครงการอย่างสม่ำเสมอ โดยการจัดส่งรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะ ๆ และการสนับสนุนด้านวิชาการ
4. ภาคีทั้งสองฝ่ายจะพยายามเผยแพร่ให้โครงการบูรณะและฟื้นฟูดังกล่าวเป็นที่รู้จักเพื่อสร้างหลักประกันให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นถึงสภาพความเป็นจริงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ
5. สถาบันเพื่อการสนับสนุนการพัฒนาแห่งโปรตุเกสและสถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ณ กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้แทนของประเทศโปรตุเกส และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประเทศไทย ในฐานะผู้แทนของประเทศไทย จะรับผิดชอบในการติดตามผลและการประสานความร่วมมือตามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้
6. บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ ณ วันที่ลงนามและจะมีผลสมบูรณ์เป็นเวลา 3 ปี ทั้งนี้ ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจทำให้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้สิ้นสุดลงได้โดยการทำหนังสือแจ้งไปยังภาคีอีกฝ่ายหนึ่งภายในเวลา 3 เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 สิงหาคม 2550--จบ--