แท็ก
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
ร่างพระราชบัญญัติ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
พัฒนาที่ดิน
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการ ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้รับข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า โดยที่พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2526 ได้บังคับใช้มาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาที่ดินให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ปัญหาความเสื่อมโทรมของดินได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น นอกจากการนำที่ดินที่เหมาะสมต่อการเกษตรที่รัฐได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเกษตรไว้แล้วไปใช้เพื่อกิจกรรมอื่น ยังได้มีการนำพื้นที่บริเวณที่มีความลาดชันและพื้นที่สูงมาใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยไม่มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เกิดการชะล้างพังทลายของดิน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งความมั่นคงทางอาหารของชาติโดยรวม เพื่อป้องกันความเสียหายดังกล่าว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2526 เกี่ยวกับนิยาม องค์ประกอบของคณะกรรมการ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ การสำรวจอนุรักษ์ดินและน้ำ และบทกำหนดโทษ ดังนี้
1. กำหนดบทนิยามคำว่า “การชะล้างพังทลายของดิน” “การอนุรักษ์ดินและน้ำ” “มาตรการวิธีกล” “มาตรการวิธีพืช” (เพิ่มเติมร่างมาตรา 3)
2. กำหนดส่วนราชการที่เป็นองค์ประกอบคณะกรรมการพัฒนาที่ดินให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และเพิ่มเติม “ปลัดกระทรวงมหาดไทย” “ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม” “ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ” และ “อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ” เป็นคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน (แก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 4)
3. กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาที่ดินในการพิจารณาวางแผนใช้ที่ดิน กำหนดบริเวณการใช้ที่ดิน และประกาศกำหนดเขตสำรวจการอนุรักษ์ดินและน้ำ การกำหนดเขตอนุรักษ์ดินและน้ำ การกำหนดมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ การเยียวยาผู้ครอบครองพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการกำหนดมาตรการต่าง ๆ (แก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 5)
4. กำหนดให้คณะกรรมการมีสิทธิเลือกประธานในที่ประชุม กรณี ประธานไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ (แก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 8 วรรคแรก)
5. กำหนดให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการพัฒนาที่ดินออกกฎกระทรวงเพื่อให้การกำหนดบริเวณการใช้ที่ดินมีผลบังคับในทางปฏิบัติ(แก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 10)
6. กำหนดลักษณะพื้นที่ลาดชันเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดิน หรือเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม เพื่อให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการพัฒนาที่ดินออกกฎกระทรวงกำหนดพื้นที่เป็นเขตอนุรักษ์ดินและน้ำ (แก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 11)
7. กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาที่ดินในการควบคุมพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินที่จะนำไปสู่การปนเปื้อนของสารพิษ (แก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 12)
8. กำหนดมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างไว้ในกฎกระทรวงที่รัฐมนตรีประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ดินและน้ำ และการควบคุมการใช้ที่ดินเพื่อป้องกันสารพิษ (แก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 13)
9. กำหนดขั้นตอนในการกำหนดเขตอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 11 เป็นร่างมาตรา 15)
10. กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการในเขตสำรวจการอนุรักษ์ดินและน้ำ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 12 วรรคแรก เป็นร่างมาตรา 16)
11. กำหนดให้บริการแผนที่ หรือข้อมูลทางแผนที่แก่เอกชนเป็นการเฉพาะราย โดยเสียค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 14 เป็นร่างมาตรา 18)
12. กำหนดบทลงโทษบุคคลผู้กระทำการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 13 (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 16 เป็นร่างมาตรา 20)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า โดยที่พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2526 ได้บังคับใช้มาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาที่ดินให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ปัญหาความเสื่อมโทรมของดินได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น นอกจากการนำที่ดินที่เหมาะสมต่อการเกษตรที่รัฐได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเกษตรไว้แล้วไปใช้เพื่อกิจกรรมอื่น ยังได้มีการนำพื้นที่บริเวณที่มีความลาดชันและพื้นที่สูงมาใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยไม่มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เกิดการชะล้างพังทลายของดิน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งความมั่นคงทางอาหารของชาติโดยรวม เพื่อป้องกันความเสียหายดังกล่าว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2526 เกี่ยวกับนิยาม องค์ประกอบของคณะกรรมการ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ การสำรวจอนุรักษ์ดินและน้ำ และบทกำหนดโทษ ดังนี้
1. กำหนดบทนิยามคำว่า “การชะล้างพังทลายของดิน” “การอนุรักษ์ดินและน้ำ” “มาตรการวิธีกล” “มาตรการวิธีพืช” (เพิ่มเติมร่างมาตรา 3)
2. กำหนดส่วนราชการที่เป็นองค์ประกอบคณะกรรมการพัฒนาที่ดินให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และเพิ่มเติม “ปลัดกระทรวงมหาดไทย” “ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม” “ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ” และ “อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ” เป็นคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน (แก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 4)
3. กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาที่ดินในการพิจารณาวางแผนใช้ที่ดิน กำหนดบริเวณการใช้ที่ดิน และประกาศกำหนดเขตสำรวจการอนุรักษ์ดินและน้ำ การกำหนดเขตอนุรักษ์ดินและน้ำ การกำหนดมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ การเยียวยาผู้ครอบครองพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการกำหนดมาตรการต่าง ๆ (แก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 5)
4. กำหนดให้คณะกรรมการมีสิทธิเลือกประธานในที่ประชุม กรณี ประธานไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ (แก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 8 วรรคแรก)
5. กำหนดให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการพัฒนาที่ดินออกกฎกระทรวงเพื่อให้การกำหนดบริเวณการใช้ที่ดินมีผลบังคับในทางปฏิบัติ(แก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 10)
6. กำหนดลักษณะพื้นที่ลาดชันเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดิน หรือเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม เพื่อให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการพัฒนาที่ดินออกกฎกระทรวงกำหนดพื้นที่เป็นเขตอนุรักษ์ดินและน้ำ (แก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 11)
7. กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาที่ดินในการควบคุมพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินที่จะนำไปสู่การปนเปื้อนของสารพิษ (แก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 12)
8. กำหนดมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างไว้ในกฎกระทรวงที่รัฐมนตรีประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ดินและน้ำ และการควบคุมการใช้ที่ดินเพื่อป้องกันสารพิษ (แก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 13)
9. กำหนดขั้นตอนในการกำหนดเขตอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 11 เป็นร่างมาตรา 15)
10. กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการในเขตสำรวจการอนุรักษ์ดินและน้ำ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 12 วรรคแรก เป็นร่างมาตรา 16)
11. กำหนดให้บริการแผนที่ หรือข้อมูลทางแผนที่แก่เอกชนเป็นการเฉพาะราย โดยเสียค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 14 เป็นร่างมาตรา 18)
12. กำหนดบทลงโทษบุคคลผู้กระทำการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 13 (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 16 เป็นร่างมาตรา 20)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 เมษายน 2550--จบ--