คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเจ้าภาพร่วมกับมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีบ จัดการประชุมนานาชาติเรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 22-28 พฤศจิกายน 2550 ณ จังหวัดหนองคาย และกรุงเทพมหานคร และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 รองรับ ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รายงานว่า
1. การประชุมนานาชาติ เรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ ครั้งที่ 1 ณ เมืองธิมปู ประเทศภูฎาน ได้จัดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547 หัวข้อการประชุมคือ “การนำแนวคิดความสุขมวลรวมประชาชาติมาปฏิบัติจริง” และครั้งที่ 2 ณ เมืองโนวาสกอตเซีย ประเทศแคนาดา เมื่อเดือนมิถุนายน 2548 หัวข้อการประชุมคือ “คิดใหม่เกี่ยวกับการพัฒนา : จากวิถีท้องถิ่นสู่ความอยู่ดีมีสุขของโลก” โดยมีผู้แทนจากประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมทั้ง 2 ครั้ง และเพื่อให้แนวคิดเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติเกิดการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องในระดับนานาชาติ ที่ประชุมครั้งที่ 2 จึงได้มอบหมายให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติ เรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ ครั้งที่ 3
2. เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความสุขมวลรวมประชาชาติอย่างต่อเนื่อง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีบ จึงได้กำหนดจัดการประชุมนานาชาติ เรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ ครั้งที่ 3 ขึ้นในประเทศไทย ในหัวข้อการประชุม คือ “สู่การปรับเปลี่ยนระดับโลก : โลกทัศน์ที่นำมาซึ่งความแตกต่าง” (The 3rd International Conference on Gross National Happiness “Towards Global Transformation : WORLDVIEWS MAKE A DIFFERENCE”) ระหว่างวันที่ 22-28 พฤศจิกายน 2550 ณ จังหวัดหนองคายและกรุงเทพมหานคร โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์ของการประชุม
2.1.1 เพื่อเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนกรณีศึกษาในระดับพื้นที่ทั้งประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆ รวมทั้งการสื่อสารด้านวัฒนธรรม อันจะสร้างแรงบันดาลใจต่อการปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ผ่านเรื่องราวของแต่ละกรณีที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ (Case Study)
2.1.2 เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดการแลกเปลี่ยน การปฏิสัมพันธ์การถกเถียงทางวิชาการ และการเชื่อมโยงเครือข่ายงานวิจัยเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติและเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อเตรียมการสำหรับกรอบงานวิจัยที่ต่อเนื่อง (Research)
2.1.3 เพื่อส่งเสริมวิธีการใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนเครือข่ายต่าง ๆ เช่น องค์การพัฒนาสังคม ภาคประชาสังคม ภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรภาคธุรกิจ แลผู้ประกอบการด้านสังคม (Policy Advocacy and Networking) ที่สนับสนุนให้เกิดผลลัพธ์ที่จับต้องได้ในการปรับปรุงด้านความสุขของประชาชน หลักคิดเรื่องความพอเพียง สุขภาวะ สันติภาพ และความมั่นคงของมนุษย์
2.2.2 กลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้ตอบแทนหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งองค์กรภาครัฐและองค์กรอิสระของรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรต่างประเทศ
ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้นประมาณ 600 คน โดยเป็นผู้เข้าร่วมจากประเทศไทย จำนวน 300 คน จากเอเชียจำนวน 150 คน จากประเทศอื่น ๆ จำนวน 100 คน และจากองค์กรระหว่างประเทศ จำนวน 50 คน
2.2.3 วิธีการสัมมนา การประชุมครั้งนี้เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่าง พม. มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีบ (หน่วยงานประสานการจัดงาน) และศูนย์ภูฎานศึกษา โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) และประธานมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีบ (อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์) เป็นประธานร่วมการประชุมจะแบ่งเป็นสองช่วง คือ ช่วงที่ 1 การประชุมระหว่างวันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2550 ที่จังหวัดหนองคาย มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 300 คน ช่วงที่ 2 การประชุมระหว่างวันที่ 26-28 พฤศจิกายน 2550 ที่กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 600 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รายงานว่า
1. การประชุมนานาชาติ เรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ ครั้งที่ 1 ณ เมืองธิมปู ประเทศภูฎาน ได้จัดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547 หัวข้อการประชุมคือ “การนำแนวคิดความสุขมวลรวมประชาชาติมาปฏิบัติจริง” และครั้งที่ 2 ณ เมืองโนวาสกอตเซีย ประเทศแคนาดา เมื่อเดือนมิถุนายน 2548 หัวข้อการประชุมคือ “คิดใหม่เกี่ยวกับการพัฒนา : จากวิถีท้องถิ่นสู่ความอยู่ดีมีสุขของโลก” โดยมีผู้แทนจากประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมทั้ง 2 ครั้ง และเพื่อให้แนวคิดเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติเกิดการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องในระดับนานาชาติ ที่ประชุมครั้งที่ 2 จึงได้มอบหมายให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติ เรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ ครั้งที่ 3
2. เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความสุขมวลรวมประชาชาติอย่างต่อเนื่อง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีบ จึงได้กำหนดจัดการประชุมนานาชาติ เรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ ครั้งที่ 3 ขึ้นในประเทศไทย ในหัวข้อการประชุม คือ “สู่การปรับเปลี่ยนระดับโลก : โลกทัศน์ที่นำมาซึ่งความแตกต่าง” (The 3rd International Conference on Gross National Happiness “Towards Global Transformation : WORLDVIEWS MAKE A DIFFERENCE”) ระหว่างวันที่ 22-28 พฤศจิกายน 2550 ณ จังหวัดหนองคายและกรุงเทพมหานคร โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์ของการประชุม
2.1.1 เพื่อเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนกรณีศึกษาในระดับพื้นที่ทั้งประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆ รวมทั้งการสื่อสารด้านวัฒนธรรม อันจะสร้างแรงบันดาลใจต่อการปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ผ่านเรื่องราวของแต่ละกรณีที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ (Case Study)
2.1.2 เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดการแลกเปลี่ยน การปฏิสัมพันธ์การถกเถียงทางวิชาการ และการเชื่อมโยงเครือข่ายงานวิจัยเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติและเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อเตรียมการสำหรับกรอบงานวิจัยที่ต่อเนื่อง (Research)
2.1.3 เพื่อส่งเสริมวิธีการใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนเครือข่ายต่าง ๆ เช่น องค์การพัฒนาสังคม ภาคประชาสังคม ภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรภาคธุรกิจ แลผู้ประกอบการด้านสังคม (Policy Advocacy and Networking) ที่สนับสนุนให้เกิดผลลัพธ์ที่จับต้องได้ในการปรับปรุงด้านความสุขของประชาชน หลักคิดเรื่องความพอเพียง สุขภาวะ สันติภาพ และความมั่นคงของมนุษย์
2.2.2 กลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้ตอบแทนหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งองค์กรภาครัฐและองค์กรอิสระของรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรต่างประเทศ
ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้นประมาณ 600 คน โดยเป็นผู้เข้าร่วมจากประเทศไทย จำนวน 300 คน จากเอเชียจำนวน 150 คน จากประเทศอื่น ๆ จำนวน 100 คน และจากองค์กรระหว่างประเทศ จำนวน 50 คน
2.2.3 วิธีการสัมมนา การประชุมครั้งนี้เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่าง พม. มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีบ (หน่วยงานประสานการจัดงาน) และศูนย์ภูฎานศึกษา โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) และประธานมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีบ (อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์) เป็นประธานร่วมการประชุมจะแบ่งเป็นสองช่วง คือ ช่วงที่ 1 การประชุมระหว่างวันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2550 ที่จังหวัดหนองคาย มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 300 คน ช่วงที่ 2 การประชุมระหว่างวันที่ 26-28 พฤศจิกายน 2550 ที่กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 600 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--