คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. ... ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. ... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 6-ร่างมาตรา 8)
2. ให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เรียกชื่อย่อว่า “กอ.รมน.” เป็นหน่วยงานในสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และให้ กอ.รมน. มีบทบาท ภารกิจและอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 9- ร่างมาตรา 12)
3. ให้จัดตั้งสำนักเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เรียกโดยย่อว่า “สน.ลธ.รมน.” เป็นหน่วยงานภายใน กอ.รมน. โดยมีเสนาธิการทหารบก เป็นเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และให้ สน.ลธ.รมน. มีอำนาจหน้าที่ตามกำหนด (ร่างมาตรา 13)
4. ให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค ประกอบด้วย แม่ทัพภาค เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด รวมทั้งให้มีการจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค เรียกโดยย่อว่า “ กอ.รมน.ภาค.” ขึ้นในทุกภาค เป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับ กอ.รมน. โดยมีแม่ทัพภาคเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค และให้ กอ.รมน.ภาค. มีอำนาจหน้าที่ตามกำหนด (ร่างมาตรา 15-ร่างมาตรา 17)
5. ให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิ และให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามกำหนด รวมทั้งให้มีการจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “กอ.รมน.จว.” เป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับ กอ.รมน.ภาค. โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดและให้ กอ.รมน.จว. มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 18-ร่างมาตรา 20)
6. ให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด รวมทั้งให้มีการจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า “กอ.รมน.กทม.” เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อ กอ.รมน.ภาค 1 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร และให้ กอ.รมน.กทม. มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 21-ร่างมาตรา 23)
7. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การปฏิบัติหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร (ร่างมาตรา 24-ร่างมาตรา 31)
8. กำหนดให้การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรต้องใช้มาตรการที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของบุคคลที่เกี่ยวข้องน้อยที่สุด โดยให้คำนึงถึงการปกป้องคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ และความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นหลัก (ร่างมาตรา 32)
9. การใช้อำนาจของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการลบล้างอำนาจของฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก หรือตามกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ประกาศไว้ (ร่างมาตรา 33 )
10. ให้ ผอ.รมน.ภาค ผอ.รมน.จว. ผอ.รมน.กทม. โดยความเห็นชอบของ ผอ.กอ.รมน. มีอำนาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรออกจากพื้นที่ตามที่กำหนด และห้ามมิให้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ภายในระยะเวลาหรือเงื่อนไขตามที่กำหนด และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นไปรายงานตัวตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 34)
11. ในกรณีที่ปรากฏว่า มีการกระทำที่อาจกระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร หรือการกระทำผิดอาญาที่อาจเชื่อมโยง หรือเกี่ยวพันกับการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ให้เจ้าพนักงานมีหน้าที่แจ้งให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว (ร่างมาตรา 35)
12. ให้ ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชบัญญัตินี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ร่างมาตรา 36)
13. ให้เจ้าพนักงาน และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัยเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หากเป็นการกระทำโดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติและไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (ร่างมาตรา 37)
14. กำหนดให้เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ได้สิทธิประโยชน์ตามคำสั่ง ระเบียบ และประกาศของ กอ.รมน.โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด (ร่างมาตรา 38)
15. กำหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 39)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. ... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 6-ร่างมาตรา 8)
2. ให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เรียกชื่อย่อว่า “กอ.รมน.” เป็นหน่วยงานในสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และให้ กอ.รมน. มีบทบาท ภารกิจและอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 9- ร่างมาตรา 12)
3. ให้จัดตั้งสำนักเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เรียกโดยย่อว่า “สน.ลธ.รมน.” เป็นหน่วยงานภายใน กอ.รมน. โดยมีเสนาธิการทหารบก เป็นเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และให้ สน.ลธ.รมน. มีอำนาจหน้าที่ตามกำหนด (ร่างมาตรา 13)
4. ให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค ประกอบด้วย แม่ทัพภาค เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด รวมทั้งให้มีการจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค เรียกโดยย่อว่า “ กอ.รมน.ภาค.” ขึ้นในทุกภาค เป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับ กอ.รมน. โดยมีแม่ทัพภาคเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค และให้ กอ.รมน.ภาค. มีอำนาจหน้าที่ตามกำหนด (ร่างมาตรา 15-ร่างมาตรา 17)
5. ให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิ และให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามกำหนด รวมทั้งให้มีการจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “กอ.รมน.จว.” เป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับ กอ.รมน.ภาค. โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดและให้ กอ.รมน.จว. มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 18-ร่างมาตรา 20)
6. ให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด รวมทั้งให้มีการจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า “กอ.รมน.กทม.” เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อ กอ.รมน.ภาค 1 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร และให้ กอ.รมน.กทม. มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 21-ร่างมาตรา 23)
7. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การปฏิบัติหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร (ร่างมาตรา 24-ร่างมาตรา 31)
8. กำหนดให้การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรต้องใช้มาตรการที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของบุคคลที่เกี่ยวข้องน้อยที่สุด โดยให้คำนึงถึงการปกป้องคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ และความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นหลัก (ร่างมาตรา 32)
9. การใช้อำนาจของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการลบล้างอำนาจของฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก หรือตามกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ประกาศไว้ (ร่างมาตรา 33 )
10. ให้ ผอ.รมน.ภาค ผอ.รมน.จว. ผอ.รมน.กทม. โดยความเห็นชอบของ ผอ.กอ.รมน. มีอำนาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรออกจากพื้นที่ตามที่กำหนด และห้ามมิให้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ภายในระยะเวลาหรือเงื่อนไขตามที่กำหนด และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นไปรายงานตัวตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 34)
11. ในกรณีที่ปรากฏว่า มีการกระทำที่อาจกระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร หรือการกระทำผิดอาญาที่อาจเชื่อมโยง หรือเกี่ยวพันกับการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ให้เจ้าพนักงานมีหน้าที่แจ้งให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว (ร่างมาตรา 35)
12. ให้ ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชบัญญัตินี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ร่างมาตรา 36)
13. ให้เจ้าพนักงาน และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัยเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หากเป็นการกระทำโดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติและไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (ร่างมาตรา 37)
14. กำหนดให้เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ได้สิทธิประโยชน์ตามคำสั่ง ระเบียบ และประกาศของ กอ.รมน.โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด (ร่างมาตรา 38)
15. กำหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 39)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มิถุนายน 2550--จบ--